ไทยแลนด์
Saturday 27th of April 2024
0
نفر 0

อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?

อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
คำตอบโดยสังเขป
ในแวดวงวิชาการ มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้น บ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวา อีหม่าน และอะมั้ลที่ศอลิห์ จึงควรค่าแก่การเน้นย้ำอย่างสม่ำเสมอ
บางคนเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อเน้นถึงความจำเป็นที่ขั้นตอนดังกล่าวจะต้องเคียงคู่กับตักวาที่แท้จริงเสมอ และจะต้องปราศจากเจตนาแอบแฝง
แต่บางคนเชื่อว่าตักวาในท่อนแรกหมายถึงการงดดื่มสุราหลังมีคำสั่งห้าม ตักวาท่อนที่สองหมายถึงความหนักแน่นในการงดดื่มสุรา ตักวาท่อนที่สามหมายถึงการละเว้นบาปทุกประการและหันมาประกอบความดี
คำตอบเชิงรายละเอียด

ในแวดวงวิขาการ มีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการกล่าวย้ำคำว่าตักวาในโองการนี้
บ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของหลักตักวา อีหม่าน และอะมั้ลศอลิห์ จึงควรได้รับการเน้นย้ำเป็นพิเศษ แต่นักตัฟซี้รบางคนเชื่อว่าเนื้อหาแต่ละท่อนต่างก็สะท้อนถึงนัยยะที่ต่างกัน ซึ่งจะขอนำเสนอ ณ ที่นี้

 

1. นัยยะของตักวาในท่อนแรกหมายถึงการสำนึกระดับเบื้องต้นต่อหน้าที่ในการแสวงหาสัจธรรม ผ่านการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับศาสนามุอ์ญิซาตของท่านนบี(ซ.ล.) อันจะกระตุ้นให้เกิดอีหม่านและแรงจูงใจในการประกอบอะมั้ลศอลิห์ กล่าวคือ ตราบใดที่คนเราไม่มีตักวาระดับพื้นฐานในหัวใจ ก็ย่อมไม่ประสงค์ที่จะค้นหาสัจธรรม ฉะนั้น ในท่อนแรกของโองการนี้จึงกล่าวถึงตักวาในระดับดังกล่าว ซึ่งก็มิได้ขัดต่อต้นโองการที่ว่า
لَیسَ عَلَى الَّذِینَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ เนื่องจากอีหม่านในประโยคนี้อาจหมายถึงการจำนนระดับผิวเผิน ทว่าอีหม่านที่เกิดจากตักวาเท่านั้นที่เป็นอีหม่านที่แท้จริง

 

ส่วนนัยยะของตักว่าในท่อนที่สองหมายถึง ตักวาที่หยั่งรากในหัวใจมนุษย์มากขึ้น ซึ่งจะเสริมสร้างให้เกิดอีหม่านที่มั่นคง อันมีอะมั้ลศอลิห์เป็นผลิตผลโดยปริยาย ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องกล่าวถึงอะมั้ลศอลิห์อีกครั้ง แต่กล่าวเพียง
 ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا กล่าวคือ อีหม่านในขั้นนี้มั่นคงและมีประสิทธิผลในระดับที่ไม่ต้องจำแนกจากอะมั้ลศอลิห์อีกต่อไป

 

ส่วนตักวาในท่อนที่สาม คือตักวาระดับสูงสุด เพราะนอกจากเขาจะปฏิบัติตามข้อบังคับทางศาสนาอย่างไม่ขาดตกบกพร่องแล้ว ยังประกอบกุศลกรรมภาอาสาอีกด้วย

 

สรุปคือ ตักวาในแต่ละท่อนของโองการนี้บ่งชี้ถึงความยำเกรงและความสำนึกแต่ละระดับขั้น อันได้แก่ ระดับพื้นฐาน ปานกลาง และระดับสูง ซึ่งแต่ละระดับได้รับการยืนยันจากนัยยะของโองการดังกล่าว[1]

 

2. อีกทัศนะหนึ่งเชื่อว่าจุดประสงค์ที่กล่าวซ้ำถึงสามครั้งโดยผนวกเข้ากับระดับขั้นของอีหม่าน อะมั้ลศอลิห์ และอิห์ซานก็คือ เพื่อให้เล็งเห็นถึงเพื่อเน้นถึงความจำเป็นที่ขั้นตอนดังกล่าวจะต้องเคียงคู่กับตักวาที่แท้จริงเสมอ และจะต้องปราศจากเจตนาอื่นๆแอบแฝง

 

ฉะนั้น นัยยะของโองการ لَیسَ عَلَى الَّذِینَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ جُناحٌ فِیما طَعِمُوا ก็คือ เหล่าผู้ศรัทธาที่ประกอบอะมั้ลศอลิห์ล้วนไม่ต้องรับกรรมที่เคยก่อไว้ก่อนหน้าที่จะมีศรัทธา แต่มีเงื่อนไขว่าศรัทธา (อีหม่าน) และอะมั้ลศอลิห์จะต้องมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของพวกเขาแล้วเท่านั้น โดยจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและงดเว้นข้อห้ามทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ถ้าหากเป็นไปตามนี้ อัลลอฮ์จะไม่ทรงลงโทษพวกเขาต่อบาปที่เคยก่อไว้ก่อนที่จะมีคำสั่งห้าม หรือก่อนที่จะรับรู้ถึงคำสั่งห้ามนั้นๆ[2]

 

3. บางทัศนะเชื่อว่า ตักวาในท่อนแรกหมายถึงการงดดื่มสุราหลังมีคำสั่งห้าม ตักวาท่อนที่สองหมายถึงความหนักแน่นในการงดดื่มสุรา ตักวาท่อนที่สามหมายถึงการละเว้นบาปทุกประการและหันมาประกอบความดี[3]

 



[1] ดู:  มะการิม ชีรอซี, นาศิร, ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ล เล่ม 5,หน้า 78-79,ดารุ้ลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหราน

 

[2] เฏาะบาเฏาะบาอี, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุเซน, อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 6,หน้า 12, สำนักพิมพ์อิสลามี,กุม,..1417

 

[3] เฏาะบัรซี, มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 3,หน้า 372,นาศิร โคสโร,เตหราน,1372

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

บทเรียนจากอาชูรอถึงอัรบะอีน
...
อิมามอะลี ...
เตาฮีด ...
...
อิสลามกับการบริจาค
“มุบาฮะละฮ์” ...
อัลมะอาด วันแห่งการฟื้นคืนชีพ
...
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...

 
user comment