ไทยแลนด์
Friday 26th of April 2024
0
نفر 0

หลักประกันความปลอดภัยจากการลงโทษของพระผู้เป็นเจ้า

หลักประกันความปลอดภัยจากการลงโทษของพระผู้เป็นเจ้า


หลักประกันความปลอดภัยจากการลงโทษของพระผู้เป็นเจ้า

 

พฤติกรรมและการกระทำที่เป็นความชั่วและน่ารังเกียจของมนุษย์นั้น นอกจากจะมีผลพวงที่เป็นโทษทัณฑ์สำหรับชีวิตทางปรโลกแล้ว ยังมีผลกระทบต่อชีวิตในโลกนี้ของพวกเขาอีกด้วย หนึ่งในผลพวงของความชั่วที่จะเกิดขึ้นกับสังคมของมนุษย์นั้น คือการลงโทษ (อะซาบ) จากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจนในโองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอานและในฮะดีษ (วจนะ) ต่างๆ ในกรณีดังกล่าวนี้ เพียงพอแล้วที่เราจะอ่านดูได้จากโองการที่เกี่ยวกับการถูกทำลายล้างของหมู่ชนทั้งหลายในอดีตที่เป็นผู้ละเมิดต่อพระผู้เป็นเจ้าและก่อความเสียหายในหน้าแผ่นดิน

 

     แต่อย่างไรก็ดี ผลประการหนึ่งของการดำรงอยู่ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั้นก็คือ ตราบที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคมและประชาชนนั้น พระผู้เป็นเจ้าจะไม่ทรงลงโทษ (อะซาบ) และทำลายล้างใดๆ ต่อพวกเขา คุณลักษณะพิเศษดังกล่าวนี้ถูกอธิบายไว้อย่างชัดเจนในคัมภีร์อัลกุรอาน โดยที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสว่า :

 

وَمَا كَانَ اللَّهُ لِيُعَذِّبَهُمْ وَأَنْتَ فِيهِمْ ۚ وَمَا كَانَ اللَّهُ مُعَذِّبَهُمْ وَهُمْ يَسْتَغْفِرُونَ

 

"และอัลลอฮ์จะไม่ทรงลงโทษพวกเขาอย่างแน่นอน ในขณะที่เจ้า (ศาสดามุฮัมมัด) ยังอยู่ในหมู่พวกเขา และอัลลอฮ์จะไม่ทรงลงโทษพวกเขา ในขณะที่พวกเขายังวิงวอนขออภัยโทษ (อิสติฆฟาร)" (1)

 

     บุคคลแรกที่นำเอาคุณลักษณะพิเศษดังกล่าวนี้จากคัมภีร์อัลกุรอานมาอธิบายแก่ประชาชน คือท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ.) ท่านได้อธิบายไว้ในถ้อยคำสั้นๆ ของท่านว่า :

 

كَانَ فِي الْأَرْضِ أَمَانَانِ مِنْ عَذَابِ اللَهُ، وَقَدْ رُفِعَ أَحَدُهُمَا، فَدُونَكُمُ الْآخَرَ فَتَمَسَّكُوا بِهِ: أَمَّا الْأَمَانُ الَّذِي رُفِعَ فَهُوَ رَسُولُ اللهُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَلَّمِ. وَأَمَّا الْأَمَانُ الْبَاقِي فَالْإِسْتِغْفَارْ، قَالَ اللهُ تَعَالى : وَمَا كَانَ اللهُ لِيُعَذِّبَهُمْ وَأَنْتَ فِيهِمْ وَمَا كَانَ اللهُ مُعَذِّبَهُمْ وهُمْ يَسْتَغْفِرُونَ

 

"ในหน้าแผ่นดินนี้ มีหลักประกันความปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮ์อยู่สองประการ และหนึ่งจากทั้งสองประการนั้นถูกยกออกไปแล้ว และยังคงเหลืออีกประการหนึ่งสำหรับพวกท่าน ดังนั้นท่านทั้งหลายจงยึดมั่นมันไว้ สำหรับหลักประกันความปลอดภัยที่ถูกยกออกไปแล้วนั่นก็คือ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ)”

 

     ส่วนหลักประกันความปลอดภัยที่ยังเหลืออยู่ คือการวิงวอนขอการอภัยโทษ (อิสติฆฟาร) โดยที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า :

 

وَمَا كَانَ اللَّهُ لِيُعَذِّبَهُمْ وَأَنْتَ فِيهِمْ ۚ وَمَا كَانَ اللَّهُ مُعَذِّبَهُمْ وَهُمْ يَسْتَغْفِرُونَ

 

"และอัลลอฮ์จะไม่ทรงลงโทษพวกเขาอย่างแน่นอน ในขณะที่เจ้า (ศาสดามุฮัมมัด) ยังอยู่ในหมู่พวกเขา และอัลลอฮ์จะไม่ทรงลงโทษพวกเขา ในขณะที่พวกเขายังวิงวอนขออภัยโทษ (อิสติฆฟาร)" (2)

 

แหล่งที่มา :

 

(1) อัลกุรอาน บทอัลอันฟาล โองการที่ 33

(2) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ฮิกมะฮ์ที่ 85

 

บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อิมามอะลี ...
เตาฮีด ...
...
อิสลามกับการบริจาค
“มุบาฮะละฮ์” ...
อัลมะอาด วันแห่งการฟื้นคืนชีพ
...
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
อายะฮ์กุรซี กุญแจไขปัญหาต่างๆ

 
user comment