ไทยแลนด์
Friday 26th of April 2024
0
نفر 0

อิมามฮุเซน (อ.) แบบอย่างการดำเนินชีวิต (9)

อิมามฮุเซน (อ.) แบบอย่างการดำเนินชีวิต (9)

อิมามฮุเซน (อ.) แบบอย่างการดำเนินชีวิต (9)

ดุอาอ์และการภาวนาขอพร

 

สภาพที่ดีที่สุดและมีคุณค่าที่สุดของความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อพระผู้เป็นเจ้า นั่นคือในช่วงของการวิงวอนขอ (ดุอาอ์) และการภาวนาขอพรต่อพระองค์ คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า

 

«قُلْ ما یعْبَؤُا بِكُمْ رَبّی لَوْلا دُعاؤُكُمْ»

 

“จงกล่าวเถิด องค์พระผู้อภิบาลของฉันไม่ใส่ใจต่อพวกท่านดอก แม้จะไม่มีการวิงวอนขอของพวกท่าน (จากพระองค์) เลยก็ตาม” (1)

 

ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้เป็นเจ้าจึงมีบัญชาอย่างชัดเจนให้ปวงบ่าววิงวอนขอพร (ดุอาอ์) ต่อพระองค์ และพระองค์ทรงให้หลักประกันไว้ด้วยเช่นเดียวกันว่าพระองค์จะทรงตอบรับการ วิงวอนขอของพวกเขา โดยที่พระองค์ได้ทรงตรัสว่า

 


وَ اِذا سَأَلَكَ عِبادی عَنّی فَاِنّی قَریبٌ اُجیبُ دَعْوَةَ الدّاعِ اِذا دَعانِ فَلْیسْتَجیبُوا لی وَلْیؤْمِنُوا بی لَعَلَّهُمْ یرْشُدُونَ»

 

“และเมื่อปวงบ่าวของข้าได้ถามเจ้าเกี่ยวกับข้า ดังนั้น (เจ้าก็จงบอกพวกเขาเถิดว่า) แท้จริงข้าอยู่ใกล้ (พวกเขา) ข้าจะตอบรับการวิงวอนของผู้วอนขอ เมื่อเขาวอนขอต่อข้า ดังนั้นพวกเขาจงตอบรับต่อข้า (ในสิ่งที่ข้าเรียกร้องและบัญชา) และจงศรัทธามั่นต่อข้า เผื่อว่าพวกเขาจะได้รับการชี้นำ” (2)

 

 ประเด็นที่น่าสนใจจากโองการข้างต้นก็คือ พระผู้เป็นเจ้าทรงกล่าวถึงตัวพระองค์เองถึงเจ็ดครั้งเพื่อพระองค์ทรงต้องการ จะแสดงให้เห็นความใกล้ชิด ความผูกพันและความรักที่พระองค์มีต่อปวงบ่าวที่วิงวอนขอต่อพระองค์ ทั้งทางด้านแนวคิดและการปฏิบัตินั้น ท่านอบาอับดิลลาฮ์ (อ.) มีความผูกพันและยืนหยัดอยู่กับการวิงวอนและการภาวนาขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าเป็นอย่างมาก ทางด้านแนวคิดนั้น ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้กล่าวว่า

 

 

اَعْجَزُ النّاسِ مَنْ عَجَزَ عَنِ الدُّعاءِ

 

 “มนุษย์ที่อ่อนแอที่สุดนั้น คือผู้ที่อ่อนแอ (และไร้ความสามารถ) จากการวิงวอนขอ (ดุอาอ์)” (3)

 

   เช่นเดียวกันนี้ท่านยังได้กล่าวว่า

 

اَمّا اِنَّهُمْ لَوْ كانُوا دَعَوُا اللّهَ بَمُحَمَّدٍ وَآلِهِ الطَّیبینَ بِصِدْقٍ مِنْ نِیاتِهِمْ وَصِحَّةِ اِعْتِقادِهِمْ مِنْ قُلُوبِهِمْ اَنْ یعْصِمَهُمْ، حَتّی لا یعانِدُوهُ بَعْدَ مُشاهَدَةِ تِلْكَ الْمُعْجِزاتِ الْباهِراتِ لَفَعَلَ ذلِكَ بِجُودِهِ وَكَرَمِهِ

 

 “หากพวกเขาวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์โดยผ่านมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และวงศ์วานผู้สะอาดบริสุทธิ์ของท่านด้วยเหนียต (เจตนา) ที่สัจจริง และด้วยความเชื่อมั่นที่ถูกต้องจากหัวใจของพวกเขา โดยขอให้พระองค์ทรงปกป้องพวกเขา เพื่อไม่ให้พวกเขาดื้อดึง (และละเมิด) ต่อพระองค์ภายหลังจากที่ได้เห็นมุอ์ญิซาต (สิ่งปาฏิหาริย์ต่างๆ) ที่ชัดแจ้งแล้ว แน่นอนยิ่งพระองค์จะทรงทำให้สิ่ง (ที่พวกเขาวอนขอ) นั้นเป็นจริงด้วยความกรุณาและความเอื้ออาทรของพระองค์” (4)

 

 และบางครั้งเพื่อที่จะแนะนำและส่งเสริมปวงบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าในการวิงวอนขอ (ดุอาอ์) ให้มากยิ่งขึ้น ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้แนะนำสถานที่ต่างๆ ที่ดุอาอ์ (การวอนขอ) จะถูกตอบรับ (มุสตะญับ) ไว้ ตัวอย่างเช่น ท่านได้กล่าวว่า

 

 اَلرُّكْنُ الْیمانِی بابٌ مِنْ اَبْوابِ الْجَنَّةِ لَمْ یمْنَعْهُ مُنْذُ فَتَحَهُ، وَ اِنَّ ما بَینَ هذَینِ الرُّكْنَینِ (اَلاْسْوَدِ وَاَلْیمانی) مَلَكٌ یدْعی هِجّیرَ، یؤَمِّنُ عَلی دُعاءِ الْمُؤْمِنینَ

 

 “รุกน์ยะมะนี (มุมหนึ่งของอาคารกะอ์บะฮ์) คือประตูหนึ่งจากบรรดาประตูสวรรค์ นับตั้งแต่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงเปิดมัน พระองค์ก็มิได้ปิดมันลง (จากปวงบ่าวของพระองค์) เลย และแท้จริงในระหว่างสองรุกน์ (คือรุกน์อัสวัดและรุกยะมะนี) จะมีมะลาอิกะฮ์ท่านหนึ่งซึ่งมีนามว่า “ฮิจญ์ญีร” จะคอยกล่าว “อามีน” (ขอจากพระผู้เป็นเจ้า) ให้ทรงตอบรับดุอาอ์ (การวอนขอ) ของปวงผู้ศรัทธา” (5)

 

  ส่วนด้านการปฏิบัตินั้น มีบทดุอาอ์จำนวนมากมายจากท่านอิมามฮุเซน (อ.) ที่ได้รายงานไว้เป็นมรดกสืบทอดมาถึงพวกเราทุกคน ซึ่งดุอาอ์บทที่มีชื่อเสียงมากที่สุดนั้นก็คือ “ดุอาอ์อะรอฟะฮ์” ณ ที่นี้จะขอชี้ถึงบางส่วนจากดุอาอ์ (อื่นนอกเหนือจากดุอาอ์อะรอฟะฮ์) ไว้เป็นตัวอย่าง

 

(ก) ดุอาอ์ญาเมี๊ยะอ์

 

 ดุอาอ์ญาเมี๊ยะฮ์ คือหนึ่งจากดุอาอ์ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ที่ท่านได้วิงวอนขอคุณค่าและความดีงามต่างๆ ที่สำคัญด้านจริยธรรมและจิต วิญญาณ เนื้อหาของดุอาอ์มีดังนี้คือ

 

اَللّهُمَّ اِنّی اَسْئَلُكَ تَوْفیقَ اَهْلِ الْهُدی وَ اَعْمالَ اَهْلِ التَّقْوی، وَ مُناصَحَةَ اَهْلِ التَّوْبَةِ، وَعَزْمَ اَهْلِ الصَّبْرِ وَحَذَرَ اَهْلِ الْخَشْیةِ، وَطَلَبَ اَهْلِ الْعِلْمِ، وَزینَةَ اَهْلِ الْوَرَعِ، وَخَوْفَ اَهْلِ الْجَزَعِ، حَتّی اَخافَكَ

 

 “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า แท้จริงข้าฯ วอนขอต่อพระองค์ในเตาฟีก (การประทานความสำเร็จที่พระองค์ได้ทรงมอบให้) แด่บรรดาผู้ที่ได้รับทางนำ อะมั้ล (การกระทำ) ต่างๆ ของบรรดาผู้ยำเกรง ความบริสุทธิ์ใจ (และความจริงใจ) ของบรรดาผู้กลับเนื้อกลับตัว ความมั่นคงเด็ดเดี่ยวของบรรดาผู้ที่มีความอดทน การระมัดระวังตนของมวลผู้มีความเกรงกลัว (ต่อพระองค์) การแสวงหาของบรรดาผู้ที่มีความรู้ ความสวยงามของบรรดาผู้เคร่งครัด และความหวาดกลัวของผู้มีความกลัวเกรง (ต่อพระองค์) เพื่อที่ข้าฯ จะได้มีความเกรงกลัวต่อพระองค์”

 

  จากนั้นท่านได้กล่าวว่า

 

اَللّهُمَّ مَخافَةً تَحْجُزُنی عَنْ مُعاصیكَ وَحَتّی اَعْمَلَ بِطاعَتِكَ عَمَلاً اَسْتَحِقُّ بِهِ كَرامَتَكَ، وَحَتّی اُناصِحَكَ فِی التَّوْبَةِ خَوْفا لَكَ،

 

  وَحَتّی اُخْلِصَ لَكَ فِی النَّصیحَةِ حُبّا لَكَ، وَحَتّی اَتَوَكَّلَ عَلَیكَ فِی الاُْمُورِ حُسْنَ ظَنٍّ بِكَ، سُبْحانَ خالِقِ النُّورِ وَ سُبْحانَ اللّهِ الْعَظیمِ وَ بِحَمْدِهِ

 

 “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า (มันคือ) ความเกรงกลัวที่จะป้องกันข้าฯ จากการละเมิดฝ่าฝืนพระองค์ เพื่อว่าด้วยกับการเชื่อฟังพระองค์ ข้าฯ จะได้ปฏิบัติอะมั้ล (การกระทำ) ที่คู่ควรต่อการได้เกียรติ (กะรอมัต) จากพระองค์ และเพื่อที่ข้าฯ จะได้มีความบริสุทธิ์ใจและจริงใจในการสารภาพผิดและ กลับเนื้อกลับตัว (ไปสู่พระองค์) ด้วยความกลัวเกรงต่อพระองค์โดยแท้จริง และเพี่อที่ข้าฯ จะได้มีความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ในความจริงใจต่อความรักที่มีต่อพระองค์ และเพื่อที่ข้าฯ จะได้มอบหมายต่อพระองค์ในกิจการงานทั้งปวงด้วยกับความ คิดที่ดีงาม (และความไว้เนื้อเชื่อใจ) ต่อพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่ผู้ทรงสร้างนูร (รัศมี) และมหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ และมวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์แด่พระองค์” (6)

 

เป็นความจริงที่ว่า ความยิ่งใหญ่และความสูงส่งของมนุษย์ทุกคนนั้นสามารถรับรู้และเข้าใจได้จากความต้องการและเจตนารมณ์ต่างๆ ของเขา ในบทดุอาอ์ข้างต้น ความยิ่งใหญ่และเนื้อหาอันสูงส่งของความต้องการต่างๆ คือเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และเจตนารมณ์อันสูงส่งของท่านอบาอับดิลลาฮิลฮุเซน(อ.)

 

 (ข) ดุอาอ์ของท่านอิมาม (อ.) ในกะอ์บะฮ์

 

 اِلهی اَنْعَمْتَ عَلَی فَلَمْ تَجِدْنی شاكِرا،

 

 وَابْتَلَیتَنی فَلَمْ تَجِدْنی صابِرا، فَلا اَنْتَ سَلَبْتَ النِّعْمَةَ بِتَرْكِ الشُّكْرِ، وَلا اَنْتَ اَدَمْتَ الشِّدَّةَ بِتَرْكِ الصَّبْرِ اِلهی ما یكُونُ مِنَ الْكَریمِ اِلاَّ الْكَرَمُ

 

 “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ได้ทรงประทานความโปรดปรานแก่ข้าฯ แต่พระองค์กลับพบว่าข้าฯ มิได้เป็นผู้กตัญญูขอบคุณต่อพระองค์ และพระองค์ทรงทดสอบข้าฯ แต่พระองค์กลับไม่พบว่าข้าฯ เป็นผู้มีความอดทน แต่กระนั้นก็ตามพระองค์มิได้เอาเนี๊ยะอ์มัต (ความโปรดปราน)เหล่านั้นกลับคืน อันเนื่องมาจากการละเลยต่อความกตัญญูขอบคุณ (ของข้าฯ) และพระองค์ยังคงทำการ (ทดสอบด้วย) ความทุกข์ยาก (แก่ข้าฯ) แม้จะไม่มีความอดทน (จากข้าฯ) ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่มีสิ่งใดที่เกิดจากผู้ที่มีความเอื้ออาทรนอกเสียจากความเอื้ออาทร” (7)

 

(ค) ดุอาอ์ของท่านอิมาม (อ.) ในขณะซุญูด

ชุร็อยห์ได้เล่าว่า ฉันได้เข้าไปในมัสยิดมะดีนะฮ์ ฉันได้เห็นท่านอิมามฮุเซน (อ.) วางใบหน้าของท่านลงแนบกับพื้นดิน และท่านได้วิงวอนขอในขณะซุญูดด้วยดุอาอ์ (คำวิงวอนขอ) ต่อไปนี้คือ

 

سَیدی وَمَوْلای اَلِمَقامِعِ الْحَدیدِ خَلَقْتَ اَعْضائی، ام لِشُرْبِ الْحَمیمِ خَلَقْتَ اَمْعائی، اِلهی لَئِنْ طالَبْتَنی بِذُنُوبی لاَطالِبَنَّكَ بِكَرَمِكَ وَلَئِنْ حَبَسْتَنی مَعَ الْخاطِئینَ لاَخْبِرَنَّهُمْ بِحُبّی لَكَ، سَیدی اِنَّ طاعَتَكَ لا تَنْفَعُكَ وَمَعْصِیتی لا تَضُرُّكَ، فَهَبْ لی ما لا ینْفَعُكَ، وَاغْفِرْلی ما لا یضُرُّكَ فَاِنَّكَ اَرْحَمُ الرّاحِمینِ

 

“โอ้นายของข้าฯ โอ้ผู้ปกครองของข้าฯ พระองค์ได้ทรงสร้างอวัยวะร่างกายต่างๆ ของข้าฯ ขึ้นมาเพื่อ (การทุบตีของ) ท่อนเหล็ก (ในนรก) หรือพระองค์ได้สร้างลำไส้ต่างๆ ของข้าฯ ขึ้นมา เพื่อการดื่มกินฮะมีม (น้ำอันเดือดพล่านแห่งนรก) ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า หากพระองค์จะทรงเอาโทษข้าฯ ด้วยความผิดบาปของข้าฯ ข้าฯ ก็จะวิงวอนขอต่อพระองค์ด้วยความกรุณาของพระองค์ และหากพระองค์จะจองจำข้าฯ ให้อยู่ร่วมกับบรรดาผู้ประพฤติผิดทั้งหลาย ข้าฯ ก็จะบอกเล่าแก่พวกเขาถึงความรักของข้าฯ ที่มีต่อพระองค์ โอ้นายของข้าฯ แท้จริงการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์มันมิได้ยังคุณประโยชน์อันใดต่อพระองค์ และการละเมิดผ่าฝืนของข้าฯ ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดโทษภัยใดๆ ต่อพระองค์เลย ดังนั้นขอพระองค์ทรงโปรดมอบแก่ข้าฯ ในสิ่งที่มิได้ยังคุณใดๆ แก่พระองค์ และโปรดอภัยโทษแก่ข้าฯ ในสิ่งที่ไม่ให้โทษภัยใดๆ ต่อพระองค์ เพราะแท้จริงพระองค์คือผู้ทรงเมตตาที่สุดในหมู่ผู้เมตตาทั้งหลาย” (8)

 

(ง) ดุอาอ์ (คำวิงวอน) ในสุสาน (กุโบร์)

ทุกครั้งที่ท่านอิมามฮุเซน (อ.) เข้าสู่สุสาน ท่านจะใช้ให้บรรดาผู้ร่วมเดินทางไปกับท่านอ่านดุอาอ์ (คำวิงวอน) บทนี้ คือ

 

اَللّهُمَّ رَبَّ هذِهِ الاْرَواحِ الْفانِیةِ وَالاْجْسادِ الْبالِیةِ، وَالْعِظامِ النَّخِرَةِ الَّتی خَرَجَتْ مِنَ الدُّنْیا وَ هِی بِكَ مُؤْمِنَةٌ، اَدْخِلْ عَلَیهِمْ رَوْحا مِنْكَ وَسَلاما مِنّی

 

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โอ้องค์พระผู้อภิบาลของบรรดาดวงวิญญาณที่ล่วงลับ บรรดาเรือนร่างที่ผุพัง และบรรดากระดูกที่ผุสลายเหล่านี้ที่ได้ออกจากโลกนี้ไปแล้ว ในสภาพที่เป็นผู้ศรัทธามั่นต่อพระองค์ โปรดประทานความสงบสุขจากพระองค์ และ (โปรดนำ) สลามจากข้าฯ ลงมาสู่พวกเขาด้วยเถิด” (9)

 

(จ) ดุอาอ์สำหรับบรรดาชะฮีด

หลังจาก “เกซ บินมุซะฮ์ฮัร” ผู้ถือสาส์นของท่านอิมาฮุเซน (อ.) ได้เป็นชะฮีดโดยน้ำมือของ ฮะซีน บิน ตะมีม ซึ่งถูกบัญชาการโดย อิบนิซิยาด ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้กล่าวว่า

 

اَللّهُمَّ اجْعَلْ لَنا وَلَهُمُ الْجَنَّةَ نُزُلاً، وَاجْمَعْ بَینَنا وَبَینَهُمْ فی مُسْتَقَرِّ رَحْمَتِكَ

 

وَ رَغائِبِ مَذْخُورِ ثَوابِكَ

 

“โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดประทานสรวงสวรรค์เป็นสิ่งที่ถูกเตรียมไว้รับรองพวกเราและพวกเขา (บรรดาผู้ช่วยเหลือ) ด้วยเถิด และโปรดรวมระหว่างพวกเราและพวกเขาเข้าอยู่ในสถานที่พำนักอันมั่นคงแห่งความ เมตตาของพระองค์และปัจจัยอำนวยสุขอันเป็นที่พึงปรารถนาถูกนำเสนอในฐานะผลรางวัลตอบแทนของพระองค์ด้วยเถิด” (10)

 

(ฉ) การกำชับสั่งเสียให้อ่านดุอาอ์เญาชันกะบีร

ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้กล่าวว่า

"ท่านอมีรุลมุอ์มินีนอะลี (อ.) บิดาของฉันได้กำชับสั่งเสียแก่ฉันอย่างมากมายและจริงจังเกี่ยวกับดุอาอ์เญาชันกะบีร โดยให้ฉันถ่องจำและรักษามันให้ดี และท่านยังได้กล่าวต่อฉันว่า โอ้ลูกรักของพ่อ จงเขียนดุอาอ์บทนี้ลงบนกะฟัน (ผ้าห่อศพ) ของพ่อด้วยเถิด และฉันก็ได้กระทำตามที่บิดาของฉันได้สั่งเสียไว้” (11)

 

(ช) การวิงวอนขอ (ดุอาอ์) ในช่วงเช้า (ซุบฮิ์) ของวันอาชูรอ

เนื้อหาบางส่วนของบทดุอาอ์ต้นสุดท้ายที่ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้อ่านในช่วงเช้าตรู่ของวันอาชูรอ ท่านได้กล่าวว่า

 

اَللّهُمَّ اَنْتَ ثِقَتی فی كُلِّ كَرْبٍ وَ اَنْتَ رَجائی فی كُلِّ شِدَّةٍ، وَاَنْتَ لی فی كُلِّ اَمْرٍ نَزَلَ بی ثِقَةٌ وَ عُدَّةٌ، كَمْ مِنْ هَمٍّ یضْعُفُ فیهِ الْفُؤادُ وَ تَقِلُّ فیهِ الْحیلَةُ وَ یخْذُلُ فیهِ الصَّدیقُ وَ یشْمَتُ فیهِ الْعَدُوُّ، اَنْزَلْتُهُ بِكَ وَ شَكَوْتُهُ اِلَیكَ

 

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระองค์คือแหล่งแห่งความไว้วางใจของข้าฯ ในทุกๆ ความทุกข์โศก และพระองค์คือที่มุ่งหวังของข้าฯ ในทุกๆ ความทุกข์ยาก และพระองค์คือผู้ที่ไว้วางใจและเป็นผู้ให้การช่วยเหลือแก่ข้าฯ ในทุกๆ เหตุการณ์ (และความทุกข์ยาก) ที่มาประสบกับข้าฯ ตั้งมากมายเท่าใดแล้วจากความทุกข์กังวลที่จิตใจทั้งหลายมีความอ่อนแอต่อมัน และหนทางเยียวยาแก้ไขมันได้ตีบตัน และมิตรสหายได้ทอดทิ้ง และบรรดาศัตรูได้ประณามหยามเหยียด (ในสภาวการณ์เช่นนี้) ข้าฯ ได้นำมัน (ความทุกข์กังวล) มายังพระองค์และข้าฯ ได้ร้องทุกข์โอดครวญมันต่อพระองค์” (12)

 

 

แหล่งอ้างอิง :

 

(1) ซูเราะฮ์อัลฟุรกอน/อายะฮ์ที่ 77

(2) ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์/อายะฮ์ที่ 186

(3) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 93, หน้า 494, ฮะดีษที่ 23 ; อัลอามาลี, เชคมุฟีด, หน้า 88, ฮะดีษที่ 132

(4) ตัฟซีร อิมามอัซกะรี, หน้า 216, ฮะดีษที่ 134 และ 135 ; ตัฟซีรอัลบุรฮาน, เล่มที่ 1, หน้า 106, ฮะดีษที่ 9 ; บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 26, หน้า 290, ฮะดีษที่ 48

(5) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 99, หน้า 354, ฮะดีษที่ 11 ; มุสตัดร่อดุลวะซาอิล, เล่มที่ 9, หน้า 309, ฮะดีษที่ 11151

(6) มุฮะญุดดะอะวาต, หน้า 157 ; บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 94, หน้า 191, ฮะดีษที่ 5

(7) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 99, หน้า 197, ฮะดีษที่ 13 ; ฟัรฮังก์สุคอนอน อิมามฮุเซน (อ.), หน้า 318 ; อิห์กอกุลฮักก์, เล่มที่ 11, หน้า 595

(8) ซ่อฮีฟะฮ์ อัลฮุเซน, หน้า 65 ; อิห์กอกุลฮักก์, เล่มที่ 11, หน้า 424 ; ฟัรฮังก์สุคอนอน อิมามฮุเซน (อ.) หน้า 319

(9) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 102, หน้า 300

(10) ตารีค อัฏฏ็อบรี, เล่มที่ 3, หน้า 308 ; อัลกามิล, อิบนิอะซีร, เล่มที่ 2, หน้า 553

(11) บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 94, หน้า 397 และ เล่มที่ 81, หน้า 332

(12) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 45, หน้า 4 ; อัลอะวาลิม, อัลบะห์รอนี, เล่มที่ 17, หน้า 248

 

โดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ขอขอบคุณเว็บไซต์มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาอิสลามและการพัฒนา

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
อายะฮ์กุรซี กุญแจไขปัญหาต่างๆ
ซัยนับ(อ.) ...
มหัศจรรย์ 7 ประการของศาสดาอีซา ...
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
...
...
...
ฟาฏิมะฮฺ(อ.) กับสถานภาพอันสูงส่ง

 
user comment