ไทยแลนด์
Saturday 27th of April 2024
0
نفر 0

นมาซกับความสงบมั่น

นมาซกับความสงบมั่น

นมาซกับความสงบมั่น

 

โลกปัจจุบันแม้ว่าจะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างสูง มีการพัฒนาไปสู่ความสุดโต่งทางวัตถุ และเป็นยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดนการติดต่อ สื่อสารทั่วทุกมุมโลกแลดูว่าง่ายและสะดวกไปทั้งหมด แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่อาจสร้างความสงบให้กับจิตของมนุษย์ได้ เพราะสถิติของผู้ป่วยโรคจิต หรือสถิติของผู้ใช้ยาควบคุมประสาทเพิ่มขึ้นมากอย่างน่ากลัว และยิ่งไปกว่านั้นสถิติของการฆ่าตัวตายเพียงคนเดียวหรือฆ่าตัวตายหมู่เมื่อเจอมรสุมทางเศรษฐกิจตกต่ำจนกลายเป็นผู้มีพันธะหนี้สินมากมายหรือกลายเป็นผู้ล้มละลาย ซึ่งเมื่อหาทางออกที่ดีให้กับชีวิตไม่ได้ ความฟุ้งซ่านของจิตได้ทำให้พวกเขาคิดสั้นและฆ่าตัวตายในที่สุด และเมื่อ พิจารณาให้ลึกลงไปจะพบว่าส่วนมากของผู้ฆ่าตัวตายล้วนเป็นผู้มีการศึกษาและอยู่ในสังคมที่เป็นอารยชนทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้เป็นคำตอบที่ดีให้กับเราว่า แท้จริงแล้วความสงบของจิตใจมิได้ขึ้นอยู่กับมัน ทรัพย์สินนอกกายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของชีวิตเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ยังมีความปรารถนาในสิ่งที่เป็นสัจธรรมและเป็นธรรมชาติของมนุษย์อย่างแท้จริง ซึ่ง สิ่งนั้นก็คือ การรำลึกพระผู้เป็นเจ้า การมีศรัทธามั่น การมีความรัก และการมอบหมายความไว้วางใจต่อพระองค์


ได้มีการกล่าวว่า แก่นแท้ของนมาซเป็นการระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า และเป็นสิ่งเดียวที่สามารถสร้างสัมมาสมาธิในกับมนุษย์ อัล-กุรอานกล่าวว่า “แท้จริงแล้ว การระลึกถึงอัลลอฮฺ มิได้ทำให้จิตใจสงบดอกหรือ?” ในบางครั้ง เราอาจเคยพบคนที่มีบารมี มีอำนาจ มีเงินและมีความรู้ แต่เขากลับไม่มี ความสุขในชีวิต จิตใจต้องร้อนรุ่มและกระวนกระวายตลอดเวลา เป็นเพราะ ว่าเขาไม่มีสัมมาสมาธิ ผิดกับปุถุชนธรรมดาคนหนึ่งที่ชีวิตปราศจากทุกสิ่ง ยกเว้นความศรัทธาที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า แม้ว่ามันจะน้อยนิด แต่มันก็สามารถ ทำให้เขาสงบและมีสัมมาสมาธิได้


แน่นอนการระลึกถึงพระองค์ ได้สร้างสัมมาสมาธิให้กับเรา ซึ่งได้กล่า แล้วว่าดีที่สุดของการรำลึก คือการดำรงนมาซ เพราะนมาซเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้มนุษย์ใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้าได้มากที่สุด อย่างน้อยวันหนึ่ง ๆ มนุษย์ มีโอกาสใกล้ชิดกับพระองค์ถึง ๕ ครั้งด้วยกัน ปรัชญาได้กล่าวว่า มนุษย์ ทุกคนมีสององค์ประกอบที่สำคัญยิ่งกล่าวคือ สังขารและจิตวิญญาณใน วันหนึ่ง ๆ มนุษย์ต้องทำวุฎูอ ๕ ครั้งและต้องปฏิบัตินมาซวันละ ๕ เวลา ในความหมายก็คือ มุสลิมได้ทำการชำระร่างกาย ด้วยการทำวุฏูอและชำระ จิตวิญญาณด้วยกับการดำรงนมาซ ๕ เวลา ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมและมโนธรรม จึงเป็นผู้มีสัมมาสมาธิตลอดเวลา

 

ถ้าหากทำการวิเคราะห์ถึงมนุษย์ในปัจจุบัน จะพบว่าสิ่งที่ขาดหายไปจากมนุษย์ มิใช่ ความรู้หรือมิใช่ความชำนาญเฉพาะด้าน หากแต่เป็นสัมมาสมาธิ กล่าวคือ แม้ว่ามนุษย์จะมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและวัตถุอย่างสูง แต่ มนุษย์ก็ยังเป็นผู้มีความปรารถนาไม่มีที่สิ้นสุดในทุก ๆ ด้าน ซึ่งสามารถ พิจารณาได้จากปัญหา และความวุ่นวายที่เกิดขึ้นอยู่ทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบัน


ในอดีตกาลกล่าวกันว่า ฟิรอาวน์เป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจ และบารมีที่สุด แต่เป็นเพราะว่าเป็นผู้มีความสุดโต่งในอำนาจและบารมีของตน จึงตั้ง ตนเป็นพระเจ้าและบังคับให้ผู้คนทำการเคารพสักการะตน ขณะเดียวกัน ฟิรอาวน์มีความหวั่นวิตกกับคำทำนายของโหรที่ว่าชีวิต และอำนาจของเขา จะถูกทำลาย โดยเด็กผู้ชายที่มีความใกล้ชิดกับเขา ฟิรอาวน์จึงได้มีคำสั่งให้สังหารเด็กผู้ชายทุกคน ฉะนั้น จากประวัติศาสตร์ตรงจุดนี้ สิ่งที่ไม่อาจ พบได้ในตัวของฟิรอาวน์ คือสัมมาสมาธิแม้แต่ในยุคต่อมา จะพบว่ามีกลุ่มชนที่ดื้อรั้น และดันทุรังกับความจริงแสมอมา เฉกเช่น อะบูละฮับ อบูญะฮิล สองผู้ต่อต้านท่านศาสดา(ศ็อลฯ) หลักคำสอนและศาสนธรรม กลุ่มชนที่เป็น มุนาฟิกีนผู้มีความกลับกลอก หรือแม้แต่อุละมาอฺนักปราชญ์ที่มีความรู้ แต่ กลับเป็นผู้ที่ไม่มีสัมมาสมาธิ คนพวกนี้ถูกจัดอยู่ในจำพวกของโคลนตม ที่ยังมิได้หลุดพ้นจากธาตุของความเป็นดิน


ในปัจจุบันนี้ หากจะยกตัวอย่างของผู้ที่มีสัมมาสมาธิอย่างมั่นคง คงไม่มีใครยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ผู้ที่บุคคลทั่วโลกรู้จักกันดีในฐานะของนักปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะของผู้ฟื้นฟูอิสลามหลักคำสอนและศาสนธรรม หรือในฐานะของนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ ท่านอิมามโคมัยนี(รฎ) ได้แสดงให้เห็นว่า การเป็นผู้มีสัมมาสมาธินั้นเป็นอย่างไร ในตอนนั้นเมื่อท่านเริ่มปราศรัยได้ไม่นานนัก ท่านก็ถูกจับกุมโดย ทหารรับใช้ของกษัตริย์ชาห์ที่บ้านพักของท่าน เพื่อนำตัวไปยังกรุงเตหราน ระหว่างที่ถูกจับกุม ท่านมิได้แสดงความหวาดกลัวอันใดแม้แต่นิดเดียว ตรง กันข้ามทหารของกษัตริย์ชาห์กลับแสดงความหวาดกลัวออกมาเมื่ออยู่ต่อ หน้าท่านอิมาม (รฎ.) จนท่านต้องปลอบพวกเขาว่า “จงอย่ากลัวฉัน แต่จงกลัวอัลลอฮฺเถิด และจงปฏิบัติหน้าที่ของพวกท่านต่อไป”


ครั้นเมื่อท่านถูกเนรเทศออกนอกประเทศ และเดินทางกลับมายังมาตุภูมิอีกครั้งหลังจาก ๑๕ ปีผ่านไป ขณะที่นั่งอยู่บนเครื่องบินนักข่าวได้สัมภาษณ์ท่านว่า “ท่านมีความรู้สึกอย่างไร” ท่านอิมามได้ตอบว่า “ฉันไม่รู้สึกอะไรเลย” คำ ๆ นี้ในวิชาอิรฟาน (วิชาที่ว่าด้วยการรู้จักซาตและซิฟาต ของพระผู้เป็นเจ้า) นั้นมีความหมายลุ่มลึกมาก เพราะสิ่งที่เป็นจริงในขณะนั้น คือรัฐบาลของกษัตริย์ชาห์ยังมีอำนาจอยู่ เป็นไปได้สูงที่เขาจะออกคำสั่งให้ยิงเครื่องบินลำที่ท่านอิมามโดยสารมาทิ้งเสียอย่างเฉียบพลัน หรือเมื่อถึงยังแผ่นดินอิหร่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาจมีคำสั่งให้จัดการขั้นเด็ดขาดกับท่านอิมาม ซึ่งตัวของท่านทราบดีถึงเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจริง แต่ท่านหาได้มีความหวาดกลัวหรือมีความกระวนกระวายใจแต่อย่างไร และเมื่ออ่านพินัยกรรมประวัติศาสตร์ที่บันทึกว่า “ฉันได้จากโลกนี้ไปด้วยดวง จิตที่สงบมั่นสู่โลกแห่งพระผู้เป็นเจ้า” ยิ่งทำให้พบว่าจิตของท่านมิได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลยไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน ตำแหน่งหรือความศิวิไลซ์ของโลก นอกจากพระผู้เป็นแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งจุดละเอียดอ่อนของความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ที่ “นมาซ”


ขอขอบคุณเว็บไซต์เลิฟฮูเซน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อิมามอะลี ...
เตาฮีด ...
...
อิสลามกับการบริจาค
“มุบาฮะละฮ์” ...
อัลมะอาด วันแห่งการฟื้นคืนชีพ
...
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
อายะฮ์กุรซี กุญแจไขปัญหาต่างๆ

 
user comment