ไทยแลนด์
Thursday 2nd of May 2024
0
نفر 0

เทววิทยาอิสลาม บทที่ 4

เทววิทยาอิสลาม บทที่ 4

เทววิทยาอิสลาม บทที่ 4


อัตลักษณ์ของเทววิทยาอิสลาม


การพิสูจน์เชิงเหตุผลทางปรัชญากับการอ้างอิงหลักฐานด้วยตัวบทจากอัลกุรอานและอัลฮะดีษ

 

เทววิทยาอิสลามเป็นวิชาที่ใช้หลักการพิสูจน์และเปรียบเทียบทางด้านเหตุผล ในแง่ของมาตรฐานพื้นฐานซึ่งนำมาใช้เป็นมาตรการในการพิสูจน์นั้น สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภท


หนึ่ง – การพิสูจน์ด้วยเหตุผลทางปัญญา


สอง- การแสดงหลักฐานจากอัลกุรอานและอัลฮะดีษ

 

วิธีการพิสูจน์เชิงเหตุผลโดยใช้หลักตรรกะของวิชาเทววิทยาอิสลาม จะใช้เฉพาะกับประเด็นปัญหาที่มีพื้นฐานปัญหาที่เกี่ยวกับการพิสูจน์เพียงอย่างเดียว

 

ส่วนกรณีการนำอัลกุรอานและอัลฮะดีษมาเป็นหลักฐาน เพื่อเป็นการสนับสนุนความเชื่อหลักนั้นหรือเพื่อสนับสนุนสติปัญญาเท่านั้นเอง เช่น ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ

 

หลักเตาฮีดของพระผู้เป็นเจ้า


ภาวะการความเป็นศาสดา


และบางปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ วันฟื้นคืนชีพ

 

ประเด็นปัญหาเหล่านี้ถือว่า การอ้างอิงหลักฐานจากอัลกุรอานและอัลฮะดีษไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องพึ่งวิธีการพิสูจน์ด้วยเหตุผลทางตรรกะและปรัชญาด้วย

 

ส่วนการพิสูจน์ด้วยวิธีการ อ้างอิงจากอัลกุรอานและอัลฮะดีษในเนื้อหาเทววิทยาอิสลาม ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาต่างๆ


ถึงแม้ว่า ปัญหาเหล่านั้นจะนับเป็นพื้นฐานด้านหลักศรัทธาของศาสนา และจำเป็นต้องยึดมั่นศรัทธาก็ตาม


แต่เมื่อพิจารณาถึงแง่มุมที่ว่า ปัญหานั้นๆเป็นหัวข้อที่จัดอยู่ภายใต้ปัญหาภาวะการเป็นศาสดา(อันนุบูวะฮ์) เราถือว่าเพียงพอแล้วที่จะใช้วิธีการพิสูจน์ปัญหานั้นๆด้วยอัลกุรอานและอัลฮะดีษ ที่มีสายรายงานเชื่อถือได้ชัดเจน เช่น ปัญหาผู้นำ(อิมามะฮ์)ภายหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ตามหลักความเชื่อของมัซฮับชีอะฮ์สิบสองอิมาม เป็นต้น

 

เหตุผลทางสติปัญญาเรื่องผู้นำสืบต่อจากท่านศาสดา(ศ)


หนึ่ง- อัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ ย่อมไม่ปล่อยให้ประชาชาติมุสลิมอยู่โดยปราศจากผู้ชี้นำ จึงไม่กินกับสติปัญญาที่การปล่อยปละละเลยเรื่องผู้นำนี้จะออกมาจากอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ เป้าหมายของอัลลอฮ์ในการส่งศาสดามายังโลกทุกยุคทุกสมัยคือ ทำหน้าที่ชี้นำประชาชน ดังนั้นจะกินกับปัญญาได้อย่างไรที่ท่านศาสดาจากโลกนี้ไปโดยไม่แต่งตั้งผู้นำเอาไว้ เพื่อพิทักษ์รักษาศาสนาอิสลามที่ท่านทุ่มเทความพยายามทั้งหมดไปเพื่อภารกิจนี้


จะกินกับปัญญาอย่างไร ที่ปัญญาชนคนหนึ่งจากโลกนี้ไป เขาทิ้งครอบครัวของเขาไว้โดยไม่มีแต่งตั้งผู้คอยดูแลปกป้องครอบครัวของเขาสืบต่อไป

 

สอง – ความเหมาะสมของ”ผู้นำที่จะสืบทอด”หน้าที่ต่อจากคนก่อนคือ เขาต้องดีที่สุด เขาต้องประเสริฐสุด เพราะการเอาคนที่ประเสริฐน้อยกว่าขึ้นไปเป็นผู้นำนั้นถือว่าไม่เหมาะสม และความไม่เหมาะสมนี้จะออกมาจากอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ไม่ได้

 

หลักฐานจากตัวบทเรื่องผู้นำสืบต่อจากท่านศาสดา(ศ)


อับดุลลอฮ์ บิน อะหมัด บิน ฮัมบัล จากยะห์ยา บิน ฮัมมาด จากอบูอิวานะฮ์ จากอบูบัลญิน จาก อัมรู บิน มัยมูน ได้เล่าว่า


ฉันนั่งอยู่กับท่านอิบนิอับบาส ทันใดนั้นมีคนเจ็ดกลุ่มได้เข้ามาหาเขา พวกเขากล่าวว่า โอ้อบุลอับบาส ท่านจะต้องลุกไปกับพวกเรา หรือไม่ก็อยู่กับเราตามลำพัง แยกจากพวกเขาเหล่านี้


ท่านอิบนิอับบาส กล่าวว่า แต่ฉันจะลุกไปกับพวกท่าน ซึ่งตอนนั้นท่านอิบนิอับบาสปกติ ก่อนที่จะตาบอด แล้วพวกเขาได้นั่งร่วมวงสนทนากัน โดยฉันไม่รู้ว่า พวกเขาพูดอะไร


ท่านอิบนิอับบาสได้เข้ามา โดยสบัดผ้าของเขา และเขากล่าวว่า จงหยุดเดี๊ยวนี้ ช่างโสมมจริงๆ พวกเขาได้พูดจาตำหนิบุรุษคนหนึ่ง ซึ่งสำหรับบุรุษผู้นี้ มีสิบ ฟะฎีลัต ที่คนอื่นไม่มีเหมือนกับเขา


พวกเขาได้พูดจาตำหนิบุรุษคนหนึ่ง ซึ่งท่านนบี(ศ)ได้กล่าวกับเขาว่า ฉันจะส่งบุรุษคนหนึ่งออกไปรบ อัลลอฮ์จะไม่ทรงให้เขาอัปยศตลอดกาล เขารักอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ และอัลลอฮ์กับรอซูลของพระองค์ก็รักเขา มีคนอยากได้รับเกียรตินั้น แต่ท่านกล่าวว่า อาลีอยู่ที่ไหน พวกเขาตอบว่า เขากำลังโม่แป้งอยู่ที่โม่ครับ ท่านกล่าวว่า ไม่มีผู้ใดในหมู่พวกท่านที่จะโม่แป้งหรือ แล้วอาลีได้มาหาในสภาพตาเจ็บเกือบมองอะไรไม่เห็น แล้วท่านได้เอาน้ำลายป้ายดวงตาทั้งสองของเขา จากนั้นท่านสบัดธงสามครั้ง แล้วมอบธงนั้นให้กับอาลี.....


อิบนุอับบาส กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) ได้กล่าวกับท่านอาลี ว่า


أَنْتَ وَلِيُّ كُلِّ مُؤْمِنٍ بَعْدِي
 

ท่านคือ วะลี ของมุอ์มินทุกคน ภายหลังจากฉัน

 

ความน่าเชื่อถือของฮะดีษบทนี้ในทัศนะอุละมาอ์


1.ฟะฎออิลุซ-ซอฮาบะฮ์ ของอิหม่ามอะหมัด เล่ม 2 : 685 ฮะดีษที่ 1168


2.อัลมุสตัดรอก เล่ม 3: 143 ฮะดีษที่ 4652 ฉบับตรวจทานโดยอัซซะฮะบี และอัซซะฮะบี กล่าวว่า ซอฮิฮ์


3.มุสนัดอะหมัด เล่ม 5 : 25 ฮะดีษที่ 3062 ฉบับตรวจทานโดย เชคอะหมัด ชากิร


และเชคอะหมัด ชากิร กล่าวว่า อิสนาดุฮุ ซอฮีฮุน (สายรายงานของมันถูกต้อง)


เชค อะหมัด ชากิร วิจารณ์รอวีย์ที่ชื่อ “อบู บัลญิน” ว่า

อบูบัลญิน ชื่อจริงคือ ยะห์ยา บิน สุลัยม์ บ้างว่า ยะห์ยา บิน อัลอัสวัด เขาเชื่อถือได้ ท่านยะห์ยา บิน มะอีน, อิบนุสะอัด , อันนะซาอีย์ ,อัด-ดาร่อกุฏนีย์และคนอื่นๆได้ให้ความเชื่อถือเขา


ในหนังสือตะฮ์ซีบ อัตตะฮ์ซีบ บันทึกว่า ท่านอัลบุคอรีย์ วิจารณ์ว่า ในตัวเขา(อบูบัลญิน)นั้นต้องมีการพิจารณา และฉันไม่รู้ว่า บุคอรีย์กล่าวสิ่งนี้เอาไว้ที่ไหน เพราะบุคอรีย์ได้กล่าวถึงประวัติของอบูบัลญินไว้ในหนังสือตารีคกะบีร และบุคอรีย์ไม่ได้กล่าวตำหนิสิ่งใดในตัวอบูบัลญินเลย


และสำหรับท่าน อัลบุคอรีย์ได้กล่าวถึงอบูบัลญินไว้ในตารีคซอฆีรอีก ซึ่งก็ไม่ได้กล่าวตำหนิเขาไว้ และอันนะซาอีย์ก็ไม่ได้กล่าวถึงอบูบัลญินไว้ในหนังสือ อัฎ-ฎุอะฟาอ์ และชุอ์บะฮ์ได้รายงานฮะดีษจากอบูบัลญิน ซึ่งท่านชุอ์บะฮ์จะไม่รายงานฮะดีษจากใคร ยกเว้นจากคนที่เชื่อถือได้เท่านั้น


4.อิตฮาฟุล คิยาเราะติล มะฮ์เราะฮ์ บิ ซะวาอิดิล มะซานีด อัลอัชเราะฮ์ ฮะดีษที่ 6630


عن ابن عباس أن رسول الله (ص) قال لعلي : أنت ولي كل مؤمن بعدي
 

จากท่านอิบนิอับบาส ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวกับท่านอะลีว่า ท่านคือ วะลี ของมุอ์มินทุกคน ภายหลังจากฉัน

 

อัลบูซิรีย์กล่าวว่า อบูดาวูด อัตต่อยาลิซีย์ ได้รายงานฮะดีษนี้ไว้ ในมุสนัดของเขาเล่ม 1 : 360 ฮะดีษที่ 2752 ด้วยสะนัด ที่ ซอเฮี๊ยะฮ์

 

วิเคราะห์ฮะดีษ


ประการแรก ท่านนบี(ศ) ไม่ได้พูดว่า มันกุนตุ วะลียุฮู ฟะอาลียุน วะลียุฮู(ผู้ใดที่ฉันคือวะลีของเขา อะลีก็เป็นวะลีของเขา) เหมือนที่กล่าว ณ. เฆาะดีรคุม จนเอาคำว่า วะลี หรือ เมาลา ไปตีความกันสิบกว่าความหมาย


อินนุลอะษีรกล่าวว่า เมาลานั้นมีถึง 16 ความหมาย


الأقرب ، والمالك ، والسيد ، والمعتق والمنعم والناصر والمحب ، والتابع ، والخال ، وابن العم ، والحليف ، والعقيل ، والصهر والعبد ، والمنعم عليه والمعتق وكل من ولي أمرا أو قام به فهو مولاه ووليه
 

ผู้ที่ใกล้ชิดที่สุด / ผู้มีกรรมสิทธิ์ครอบครอง / ผู้ปล่อยทาส / ผู้ให้ความเกื้อกูล / ผู้ช่วยเหลือ / ผู้ให้ความรัก / ผู้ตาม / ลุงทางแม่ / ลูกของลุง / ผู้เป็นพันธมิตร / ผู้มีเกียรติ / ลูกเขย / ทาส / ผู้ได้รับการเกื้อกูล / ผู้ถูกปล่อยให้เป็นไท

 

เชคศอดูก เกิด 305 มรณะ 381 ฮ.ศ ได้รายงานว่า อะหมัด บิน ซิยาด บิน ญะอ์ฟัร อัลฮะมะดานีย์ เล่าให้เราฟัง จาก อาลี บิน อิบรอฮีม บิน ฮาชิมจากบิดาเขา(อิบรอฮีม บิน ฮาชิม) จาก มุฮัมมัด บิน อะบีอุมัยริน จาก ฆิยาษ บิน อิบรอฮีม เล่าว่าจากญะอ์ฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาเขามุฮัมมัด บินอาลี จากบิดาเขาอาลี บิน ฮูเซน จากบิดาเขาฮูเซน บิน อาลีเล่าว่า ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนถูกถามถึงความหมายที่ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) กล่าวว่า

 

“ แท้จริงฉันได้มอบสองสิ่งหนักไว้ในหมู่พวกท่าน สิ่งแรกคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์และอิตเราะฮ์ของฉัน “ ว่า ใครคืออิตเราะฮ์(ของท่านรอซูล) ?

 

อิมามอะลีตอบว่า คือฉัน,ฮาซัน,ฮูเซนและอิม่ามผู้นำอีก 9 คนที่สืบเชื้อสายจากลูกหลานของฮูเซน คนที่ 9 คือมะฮ์ดีของพวกเขาและคือกออิมของพวกเขา

พวกเขาจะไม่แยกจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ และคัมภีร์ของอัลลอฮ์จะไม่แยกจากพวกเขา จนทั้งสองจะกลับคืนมายังท่านรอซูลุลลอฮ์ที่สระน้ำของท่าน

 

หนังสือ อุยูน อัคบาร อัรริฎอ โดยเชคศอดูก เล่ม 1 : 57 หะดีษ 25

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างแบบสังเขป ซึ่งฝ่ายไม่เห็นด้วยก็ย่อมมีข้อแย้งและข้อหักล้าง จึงเกิดเป็นประเด็นวิพากษ์ และวิพาทกัน ต่อๆมาจนปัจจุบัน

 

บทความโดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
บทกลอนแด่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
คุตบะฮ์ชะอ์บานียะฮ์ ...
สามีภรรยาดุจอาภรณ์
เตาฮีด ...
...
...
ความสำคัญของพ่อแม่ในอิสลาม
สี่สิบฮะดีษจากอิมามริฎอ ...
เทววิทยาอิสลาม บทที่ 1

 
user comment