ไทยแลนด์
Friday 26th of April 2024
0
نفر 0

อิสลามกับลัทธิก่อการร้าย

อิสลามกับลัทธิก่อการร้าย

อิสลามกับลัทธิก่อการร้าย

 

 
“และเมื่อพวกเขากระทำสิ่งชั่วช้าน่ารังเกียจพวกเขาก็กล่าวว่า พวกเราได้พบเห็นบรรดาบรรพบุรุษของพวกเราเคยกระทำมา และอัลลอฮฺก็ทรงใช้พวกเราให้กระทำมันด้วยจงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด ) ว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงใช้ให้กระทำสิ่งชั่วช้าน่ารังเกียจดอก พวกท่านจะกล่าวให้ร้ายแก่อัลลอฮฺในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้กระนั้นหรือ?”
(อัล-กุรอาน 7/28)

 
เช่นเดียวกันกับศาสนาอื่นๆ ของพระเจ้า อิสลามส่งเสริมสันติภาพ ความรัก และความกลมเกลียวกันในหมู่มวลมนุษย์ แท้จริงแล้วคำว่า “อิสลาม” นอกจากจะแปลว่าสันติภาพแล้ว ยังหมายถึงการยอมจำนนอย่างสงบต่อพระผู้เป็นเจ้าอีกด้วย ชาวมุสลิมผู้ยอมจำนนนั้น กล่าวทักทายกันและกันด้วยการกล่าวสลาม (ขอความสันติมีแด่ท่าน)
“โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชายและเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่า และตระกูลเพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮ.นั้น คือผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮ.นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน” (อัล-กุรอาน 49/13)

 
ศาสนาอิสลามสนับสนุนการมีเสรีภาพ สันติภาพและความปรองดอง และห้ามการรุกราน
“….และพวกเจ้าจงอย่ารุกราน แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบบรรดาผู้รุกราน”
(อัล-กุรอาน 5/87)

 
“จงยึดถือไว้ซึ่งการอภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลังให้แก่ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด”
(อัล-กุรอาน 7/199)

 
ความสัมพันธ์ของมุสลิมกับผู้อื่นนั้นมีพื้นฐานเบื้องต้นอยู่บนความสันติ การให้ความนับถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน เนื้อหาของอัล-กุรอานคือความสันติ ตราบใดที่ไม่มีการกดขี่ข่มเหงหรือความยุติธรรม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขด้วยวิถีทางแห่งสันติภาพได้

 
ศาสนาอิสลามห้ามการสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์โดยไม่คำนึงถึงมูลเหตุ ความเชื่อทางศาสนา การเมือง หรือสังคม อัล-กุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมได้ประกาศว่า
 “และพวกเจ้าจงอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮทรงห้ามไว้ เว้นแต่ด้วยความเที่ยงธรรม……”
(อัล-กุรอาน 17/33)

 
กฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นซึ่งได้ถูกบัญญัติไว้แก่ชนรุ่นก่อนและรุ่นปัจจุบัน ยังได้ถูกเน้นย้ำแก่ชาวมุสลิมผู้ยอมจำนนในอัล-กุรอาน มุสลิมถูกสั่งให้ปฏิบัติตามกฎนั้น อัล-กุรอานได้ย้ำอีกว่า
“…เราจึงได้บัญญัติแก่วงศ์วานอิสรออีลว่า แท้จริงผู้ใดฆ่าชีวิตหนึ่งโดยมิใช่เป็นการชดเชยอีกชีวิตหนึ่ง หรือมิใช่เนื่องจากกการบ่อนทำลายในแผ่นดินแล้ว ก็ประหนึ่งว่าเขาได้ฆ่ามนุษย์ทั้งมวล และผู้ใดได้ละเว้นชีวิตหนึ่ง ก็ประหนึ่งว่าเขาได้ละเว้นชีวิตของมนุษย์ทั้งมวล…”
(อัล-กุรอาน 5/32)

 
ศาสนาอิสลามประณามการฆ่าหรือการประหารชีวิตมนุษย์เพียงเพราะพวกเขานับถือศาสนาต่างกัน อิสลามบัญญัติให้มีเสรีภาพอย่างแท้จริงในการนับถือศาสนาในสังคม มุสลิมไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการสู้รบ นอกจากเพื่อป้องกันตัวและเพื่อให้เกิดสันติภาพ ไม่อนุญาตให้กีดกันผู้ที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องศาสนา อิสลามยังส่งเสริมให้มุสลิมปฏิบัติต่อคนต่างศาสนิกด้วยความเมตตาและเท่าเทียมกัน
“ไม่มีการบังคับใด ในศาสนา…”
(อัล-กุรอาน 2/256)

 
“อัลลอฮฺมิได้ทรงห้ามพวกเจ้าจากการเป็นมิตรกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า พวกเจ้าจงทำเป็นมิตรกับพวกเขาและให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้มีความยุติธรรม”
(อัล-กุรอาน 60/8)

 
“และหากพวกเขาโอนอ่อน มาเพื่อการประนีประนอมแล้ว เจ้าก็จงโอนอ่อนตามด้วย และจงมอบหมายต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงนั้นพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้”
(อัล-กุรอาน 8/61)

 
“….แต่ถ้าพวกเขาออกห่างจากพวกเจ้า โดยที่มิได้ทำการสู้รบกับพวกเจ้า และได้เจรจาแก่พวกเจ้าซึ่งการประนีประนอมแล้วไซร้ อัลลอฮฺก็มิทรงให้มีข้ออ้างแก่พวกเจ้าในการสู้รบกับพวกเขา”
(อัล-กุรอาน 4/90)

 
น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายจำนวนมากได้ใช้ชื่อของอิสลามในการสนับสนุนข้ออ้างของพวกเขา และสิ่งนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่มิใช่มุสลิมจำนวนมากกล่าวให้ร้ายต่ออิสลาม และตราหน้าชาวมุสลิมว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ในทางตรงกันข้าม กลับเจตนาที่จะเพิกเฉยต่อผู้ก่อการร้ายที่บังเอิญเป็นชาวคริสต์หรือชาวยิว

 
กฎเกณฑ์อันยิ่งใหญ่ทั้งปวงไม่ว่าจะถูกถูกบัญญัติขึ้นโดยพระเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม จะถูกความชั่วร้ายในตัวของมนุษย์หาหนทางในการละเมิด บิดเบือน หรือตีความให้ผิดไปเสียจนได้  แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้กฎเกณฑ์เหล่านั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายไปด้วย หากแต่มันจะเป็นการพิสูจน์ธรรมชาติของความชั่วร้ายและอาชญากรรมของความชั่วร้ายในตัวมนุษย์เองต่างหาก

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อิมามอะลี ...
เตาฮีด ...
...
อิสลามกับการบริจาค
“มุบาฮะละฮ์” ...
อัลมะอาด วันแห่งการฟื้นคืนชีพ
...
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
อายะฮ์กุรซี กุญแจไขปัญหาต่างๆ

 
user comment