ไทยแลนด์
Friday 26th of April 2024
0
نفر 0

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 16

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 16

อัดลฺอิลาฮี 16

(ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า)

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้าว่าด้วยบทลงโทษ ก่อนอื่นเราจะข้ามไปสู่อีกโลกหนึ่งเพื่อไปทำความเข้าใจบทลงโทษของพระองค์ในวันกิยามัต

คำถาม :  ทำไมวันกิยามัตบทลงโทษจึงรุนแรงและหนักหน่วงเป็นอย่างมาก

*สาระศึกษาและข้อสังเกต

จะเห็นได้ว่า ในความเป็นจริงมนุษย์อยู่ในโลกนี้บางคนอายุขัย 30 ปี, 40 ปี, 50 ปี, 60 ปี, 70 ปีหรือในบางคน 80 ปี และบางคน 90 ปี ซึ่งในปัจจุบันนี้อายุ 100 ปีหาไม่ค่อยได้แล้ว

สมมุติ ตลอดชีวิตของเขาเป็นคนบาป เมื่อเขาตายเขาต้องไปชำระล้างบาป ด้วยการติดคุกอยู่ในนรกเป็นหมื่นๆปี เป็นแสนๆปี และบางคนก็อยู่ในนรกตลอดกาล ซึ่งดูเหมือนว่าการลงโทษแบบนี้มันรุนแรงและไม่ยุติธรรมและบางครั้งบาปบางอย่างใช้เวลาทำเพียงน้อยนิดแต่ผลของมันนั้นรุนแรงเป็นอย่างมาก

ตัวอย่าง *การนินทา

มนุษย์ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีแต่ในวันกิยามัตเขาต้องไปกินซากศพ ไปกินเนื้อเน่าเป็นพันๆปี โดยเฉพาะในวันกิยามัต ซึ่งเมื่อดูความผิดที่กระทำแล้ว บทลงโทษรุนแรงและหนักหน่วงเป็นอย่างมาก

อัลกุรอานได้กล่าวว่า “อาซาบุลอาซีม” การลงโทษอย่างเจ็บปวดหนักหน่วง บางครั้งอัลกรุอาน กล่าวว่า “คอลิดีนาฟีฮา” ถูกลงโทษอยู่ในนรกตลอดกาล ถูกลงโทษเป็นแสนๆ ล้านๆปี หรือบางคนอยู่ในนรกตลอดกาล มันยุติธรรมหรือไม่? หรือบางครั้งความผิดบาปที่น้อยนิดแต่กลับถูกลงโทษหลายพันปี

คำถาม : การลงโทษในลักษณะนี้ขัดกับความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่?

คำตอบ : ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอามั้ลการกระทำกับมรรคผลของมันนั้นมีความเกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ อามั้ลเป็นสาเหตุ(อิลลัต) และมีผลของมันคือ (มะลูล)

*สาระศึกษาว่าด้วยการทำความดีและการทำความชั่ว

ในผลของการกระทำทั้งความดีและความชั่วนั้น บางครั้งบาปบางอย่างทำเพียงชั่วครู่เดียวแต่ผลของมันนั้นยาวนาน และในบางครั้งเมื่อมนุษย์ทำความดีเพียงเล็กน้อย ผลของความดีบางอย่างก็ยาวนานและมากมายมหาศาลด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง

ผลของการกระทำในโลกนี้ที่มรรคผลของมันนั้นส่งผลยาวนาน

– ผลทางด้านบวก สมมุติ บางสถานที่มนุษย์ใช้เวลาขุดบ่อน้ำเพียง 4-5 วัน ก็พบตาน้ำ เป็นผลทำให้มนุษย์ได้ดื่มได้ใช้น้ำจากบ่อนั้นตลอดไป นัยยะผลที่ได้ ทำให้มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำได้อย่างมากมาย

-ผลทางด้านลบ สมมุติ หากเรามองผลของการกระทำทางด้านลบ เช่น การเอาเข็มทิ่มไปที่ลูกตาดำเพียงชั่ววินาทีเดียว แน่นอนผลของมัน เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วแทบไม่ต้องเยียวยา เพราะแผลทะลุหรือแตกจะทำให้สิ่งที่อยู่ภายในลูกตาไหลซึมออกมานอกแผลทะลุหรือแผลแตก ลูกตาจะอ่อนนุ่มหรือถึงกับแฟบยุบไป สภาพเช่นนี้จะไปเหลืออะไร มีแต่บอดกับบอดเท่านั้น น้อยมากที่จะรักษาให้มีสภาพใกล้เคียงปกติ นี่คือ ผลทางด้านลบ

อีกกรณีหนึ่ง จะยกตัวอย่าง ผลของการผิดประเวณี

การผิดประเวณีนั้น ผลของมันส่งผลยังลูกหลานถึงเจ็ดชั่วโคตร กล่าวคือ บรรดาลูกๆที่ถูกกำเนิดจากการผิดประเวณี แม้เพียงครั้งเดียวนั้นเป็นภัยต่อสังคมเป็นอย่างมาก

*สาระศึกษาว่าด้วยผลของอามั้ลต่างๆ

หากเราศึกษาให้ถึงแก่นของทุกการกระทำ เราจะสัมผัสได้ รู้สึกได้ว่า อามั้ลการกระทำต่างๆที่เกิดขึ้นในวันกิยามัตเป็นผลของการกระทำของมนุษย์เองทั้งหมด และผลของทุกการกระทำอามั้ลดังกล่าวนั้น มันจึงส่งผลลงโทษมนุษย์เองทั้งสิ้น ซึ่งหากมนุษย์พิเคราะห์ผลจากการกระทำต่างๆแล้ว จะเห็นว่าพระองค์ไม่ได้ลงโทษเพิ่มแต่อย่างใด ตรงนี้ต่างหากที่มนุษย์ต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอามั้ลกับผลของมัน และแต่ละอามั้ลแต่ละการกระทำก็มีผลที่แตกต่างกันไป

ตัวอย่าง *ผลของอามั้ลการกระทำที่ดี

ผลของอามั้ลการกระทำที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่งจากเรื่องราวของท่าน อัลลามะอฺ ฏอบาฏอบาอี(รฎ) มีนางฟ้าจากสรวงสวรรค์ลงมายังโลกมนุษย์เพื่อพบท่าน แก้มสวยทั้งสองข้างของนางฟ้าแดงก่ำประดุจดังเม็ดผลของทับทิม ซึ่งนัยยะนี้บ่งบอกว่า เป็นผลจากการหลั่งน้ำตาของท่านในยามค่ำคืน

นี่คือตัวอย่าง รางวัลในวันกิยามัตที่มาจากน้ำมือของมนุษย์เอง เป็นรางวัลที่มาจากอามั้ลที่มนุษย์ได้กระทำไว้ บทลงโทษก็เช่นเดียวกัน การนินทาในโลกนี้ ผลที่แท้จริงของมัน คือ การกินซากศพของพี่น้องตัวเอง ไม่ได้หมายถึงพระองค์จัดการเอาซากศพมาให้เรากิน แต่คือผลของการนินทา เป็นการบ่งชี้ถึงฮากีกัตของมัน ที่แสดงถึงแก่นแท้ของเรื่องที่ว่าด้วยการนินทา คือ การกินซากศพของพี่น้องตัวเอง รวมไปถึงการกินทรัพย์สินของเด็กกำพร้าโดยอธรรม

จะเห็นได้ว่า ในฮากีกัตของมันนั้น ผลจริงๆคือ การกินไฟลงไปในท้อง และผลของการกินทรัพย์สินเด็กกำพร้าที่จะเกิดขึ้นในโลกหน้านั้น คือ ‘การกินไฟ’นั่นเอง

เรื่องราวต่างๆเหล่านี้ได้บอกไว้ล่วงหน้าแล้ว มีคำสั่งห้ามต่างๆอย่างมากมาย ห้ามทำสิ่งนั้นห้ามทำสิ่งนี้ เพราะผลของมันจะเป็นแบบนั้นจะเป็นแบบนี้ มีอยู่ทั้งในอัลกุรอานและฮาดิษ

ในอัลกุรอานมีพจนารถว่า ผลของการกินทรัพย์สินเด็กกำพร้า ในซูเราะฮ์ อัลนิซาอฺ โองการที่ 10

إِنَّ الَّذِينَ يَأْكُلُونَ أَمْوَالَ الْيَتَامَى ظُلْمًا إِنَّمَا يَأْكُلُونَ فِي بُطُونِهِمْ نَارًا وَسَيَصْلَوْنَ سَعِيرًا

“แท้จริงบรรดาผู้ที่กินทรัพย์สินของบรรดาเด็กกำพร้าด้วยความอธรรมนั้น แท้จริงพวกเขาได้กินไฟลงไปในท้องของเขา และพวกเขาก็จะเข้าสู่เปลวเพลิง”

และผลของการนินทาในซูเราะฮ์ ฮุจญรอต โองการที่ 12

وَلَا تَجَسَّسُوا وَلَا یَغْتَب بَّعْضُكُم بَعْضًا أَیُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَن یَأْكُلَ لَحْمَ أَخِیهِ مَیْتًا فَكَرِهْتُمُوهُ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ تَوَّابٌ رَّحِیمٌ

“และพวกเจ้าอย่าสอดแนม และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนใดหนึ่งในหมู่พวกเจ้าชอบที่จะกินซากเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ ในขณะที่พวกเจ้าเกลียดมันและจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ”

จะเห็นว่า การกินซากศพของพี่น้องตัวเองนั้น มันเป็นผลของการกระทำของมนุษย์เอง พระองค์ไม่ได้เสริมเพิ่มเติมใดๆเลย ทุกอย่างล้วนเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติของการสร้าง ซึ่งหากมนุษย์กระทำความชั่วต่างๆเหล่านี้ ผลต่างๆที่จะได้รับ ทั้งอัลกุรอานและฮาดิษ ได้บอกไว้ล่วงหน้า และมีคำสั่งห้ามต่างๆอย่างมากมายแล้ว ทว่ามนุษย์ต่างหากที่ไม่มีความยำเกรง เพราะแท้จริงแล้วพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ

ตัวอย่าง ผลของการกระทำในโลกนี้ที่ส่งผลถึงโลกหน้า

เมื่อมีบุคคลหนึ่งที่เป็นตัวหลักในครอบครัวถูกฆ่า แน่นอนว่า ความเจ็บปวดความสูญเสียย่อมเกิดขึ้นและมีผลกระทบกับบุคคลในครอบครัวทั้งหมด และบางครั้งความเจ็บปวดเกิดขึ้นอย่างยาวนาน ทำให้คนในครอบครัวได้รับความยากลำบาก ทำให้ลูกของเขาไม่ได้รับศึกษา ไม่ได้รับการอบรมดูแล ขาดที่พึ่งทางใจ อาจจะกลายเป็นเด็กที่เกเร ติดยา ติดคุก ทั้งหมดเกิดมาจากอาชญากรรมเพียงแค่ครั้งเดียว ทว่ามันก่อให้เกิดความทุกข์ยากลำบากอย่างยาวนาน ในเมื่อผลของการกระทำโลกนี้มันเป็นเช่นนี้ เช่นเดียวกันผลที่จะเกิดขึ้นในโลกหน้าในวันกิยามัตก็เป็นไปในลักษณะเช่นนี้

ฉะนั้น การลงโทษไม่ได้ขัดกับความยุติธรรมของพระองค์และการลงโทษของพระผู้เป็นเจ้านั้นไม่ได้เกินความเป็นจริง บางผลของอามั้ลอาจจะยาวนาน บางผลของอามั้ลอาจจะรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ทว่าผลที่เกิดนั้นเป็นการลงโทษที่มาจากน้ำมือของมนุษย์เองทั้งสิ้น และยิ่งใหญ่ไปกว่านั้น ด้วยความรักความเมตตา ความสงสาร ที่พระองค์มียังมวลมนุษย์ ในอัลกุรอานพระองค์ได้เตือนสำทับถึงการทำบาปใหญ่ต่างๆไว้ความว่า

ซูเราะฮ์ ฟรุกอน โองการที่ 68
——————

وَالَّذِينَ لَا يَدْعُونَ مَعَ اللَّهِ إِلَٰهًا آخَرَ وَلَا يَقْتُلُونَ النَّفْسَ الَّتِي حَرَّمَ اللَّهُ إِلَّا بِالْحَقِّ وَلَا يَزْنُونَ ۚ وَمَن يَفْعَلْ ذَٰلِكَ يَلْقَ أَثَامًا

ซูเราะฮ์ ฟรุกอน โองการที่ 69

——————

يُضَاعَفْ لَهُ الْعَذَابُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ وَيَخْلُدْ فِيهِ مُهَانًا

“และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮฺ และพวกเขาไม่ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เว้นแต่…
การลงโทษในวันกิยามะฮฺจะถูกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้นอย่างอัปยศ” (25:68-69)

ในกรณีของการทำผิดประเวณี การลงโทษของมันในวันกิยามัตนั้นรุนแรงเป็นอย่างมาก ท่านศาสดาแห่งอิสลาม กล่าวว่า ถ้าคนที่ทำซินาถูกลงโทษในโลกนี้ ถูกเฆี่ยน 100 ครั้ง เขาจะถูกยกโทษให้ในวันกิยามัต แต่ถ้าไม่ยอมรักษาในโลกนี้ก็ต้องไปรักษาในโลกหน้า รักษาไปตามกรณีของโรคนั้นๆ ในโลกนี้คนที่เป็นโรคหัวใจก็ต้องรักษา ต้องฝ่าตัด ต้องยิงบอลลูน จะไปกินยาพาราเซตามอลไม่ได้ ในโลกหน้าก็เช่นเดียวกันถ้าเป็นโรคร้ายแรง การรักษาก็จะยิ่งเจ็บปวดและรุนแรงตามไปด้วย

แต่กระนั้น ความเมตตาของอัลลอฮฺก็แผ่กว้างครอบคลุม พระองค์ได้ตรัสหลังจากได้เตือนผู้ทำซินาในอายะฮฺถัดมาความว่า

ซูเราะฮ์ ฟุรกอน โองการที่ 70
——————
إِلَّا مَن تَابَ وَآمَنَ وَعَمِلَ عَمَلًا صَالِحًا فَأُولَٰئِكَ يُبَدِّلُ اللَّهُ سَيِّئَاتِهِمْ حَسَنَاتٍ ۗ وَكَانَ اللَّهُ غَفُورًا رَّحِيمًا

  ซูเราะฮ์ ฟุรกอน โองการที่ 71
——————
وَمَن تَابَ وَعَمِلَ صَالِحًا فَإِنَّهُ يَتُوبُ إِلَى اللَّهِ مَتَابًا

“เว้นแต่ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว และศรัทธาและประกอบการงานที่ดี เขาเหล่านั้นแหละอัลลอฮฺจะทรงเปลี่ยนความชั่วของพวกเขาเป็นความดี และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ และผู้ใดกลับเนื้อกลับตัวและกระทำความดี แท้จริงเขากลับเนื้อกลับตัวเข้าหาอัลลอฮ์อย่างจริงจัง” (25:70-71)

จะเห็นได้ว่า ในความเมตตาของพระองค์นั้น ยังมี ‘ประตูแห่งการเตาบัต’ อีกช่องทางหนึ่งที่เป็นทางออกเพื่อให้มนุษย์รอดพ้นจากการถูกลงโทษอื่นๆอีกด้วย

ประตูเตาบัต คือ ประตูแห่งการอภัยโทษ การกลับตัวกลับใจอย่างแท้จริง

ถ้าหากมนุษย์เตาบัตก่อนจะจากโลกนี้ไปและเป็นการเตาบัตที่ถูกยอมรับ การลงโทษก็จะถูกยกเลิก บางความผิดต้องขออภัยโทษโดยตรง บางความผิดนอกจากขอภัยโทษแล้ว มนุษย์จำต้องชดใช้ในสิ่งที่ได้ละเลย เช่น การขาดนมาซ การขาดถือศีลอด เป็นต้น

CR.สถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี(อ)

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อิมามอะลี ...
เตาฮีด ...
...
อิสลามกับการบริจาค
“มุบาฮะละฮ์” ...
อัลมะอาด วันแห่งการฟื้นคืนชีพ
...
ชีวประวัติของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
ความหมายของตักวาในอัลกุรอาน
อายะฮ์กุรซี กุญแจไขปัญหาต่างๆ

 
user comment