ไทยแลนด์
Saturday 27th of April 2024
0
نفر 0

สิ่งใดที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์สิ่งนั้นย่อมเกิดขึ้น

สิ่งใดที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์สิ่งนั้นย่อมเกิดขึ้น เป็นความจริงที่ว่า บางคนปรารถนาที่จะให้ลูกของตนที่จะถือกำเนิดมานั้นเป็นผู้หญิง และบางคนก็ปรารถนาที่จะให้เป็นผู้ชาย แต่ทว่าเราจะต้องตระหนักว่า
สิ่งใดที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์สิ่งนั้นย่อมเกิดขึ้น


สิ่งใดที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์สิ่งนั้นย่อมเกิดขึ้น

    Email

0 ทัศนะต่างๆ 0.0 / 5

บทความต่างๆ ›
จริยธรรมและดุอา ›
บทความจริยธรรม    

จัดพิมพ์ใน
    2016-03-26 12:46:01
ผู้เขียน:
    เว็บไซต์ซอฮิบซะมาน

สิ่งใดที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์สิ่งนั้นย่อมเกิดขึ้น

      

 เป็นความจริงที่ว่า บางคนปรารถนาที่จะให้ลูกของตนที่จะถือกำเนิดมานั้นเป็นผู้หญิง และบางคนก็ปรารถนาที่จะให้เป็นผู้ชาย แต่ทว่าเราจะต้องตระหนักว่า ความเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายของเด็กทารกที่จะถือกำเนิดขึ้นมานั้นคือการกำหนดและเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ตลอดเวลาเราจะต้องยอมจำนนและเชื่อฟังคำสั่งและพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้เนื่องจากว่าทุกสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดสำหรับมนุษย์นั้น คือสิ่งที่จะเป็นคุณประโยชน์ต่อชีวิตทางโลกนี้และปรโลกของเขา แม้ว่าคุณประโยชน์ดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นที่ประจักษ์ชัดสำหรับผู้คนในอนาคตอันยาวไกลก็ตาม

 

ดั่งเช่นที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสว่า

 

لِّلَّهِ مُلْكُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ يَخْلُقُ مَا يَشَاءُ يَهَبُ لِمَن يَشَاءُ إِنَاثًا وَيَهَبُ لِمَن يَشَاءُ الذُّكُورَ أَوْ يُزَوِّجُهُمْ ذُكْرَانًا وَإِنَاثًا وَيَجْعَلُ مَن يَشَاءُ عَقِيمًا إِنَّهُ عَلِيمٌ قَدِيرٌ

 

“อำนาจปกครองแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ พระองค์ทรงสร้างสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ทรงประทานบุตรหญิงแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงประทานบุตรชายแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ หรือพระองค์ทรงประทานให้เป็นคู่ (ในครรภ์เดียวกัน) ให้แก่พวกเขาทั้งบุตรชายและบุตรหญิง และพระองค์ทำให้ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์เป็นหมัน แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง ผู้ทรงเดชานุภาพยิ่ง”

 

(อัลกุรอานบท อัชชูรอโองการที่ 49-50)

 

       

การอรรถาธิบายโองการนี้ นักอรรถาธิบายบางท่านมุ่งเน้นในประเด็นที่ว่า สำนวนคำว่า «يَهَبُ» (พระองค์ทรงประทานให้) นั้น เป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่ชี้ให้เห็นว่าทั้งบุตรหญิงและบุตรชายคือของขวัญที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้แก่มนุษย์ การให้ความแตกต่างระหว่างทั้งสอง (หมายถึงระหว่างบุตรหญิงและบุตรชาย) ในทัศนะของผู้เป็นมุสลิมที่แท้จริงนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะทั้งสองคือ “ฮิบะฮ์” (ของขวัญและสิ่งประทานให้จากพระผู้เป็นเจ้า) สำหรับเขา

 

       

และพวกเขา (บรรดานักอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอาน) ยังกล่าวเสริมอีกว่า ไม่ใช่เฉพาะประเด็นการให้กำเนิดบุตรเพียงเท่านั้น ทว่าทุกสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น พระองค์คือผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงรอบรู้และทรงปรีชาญาณยิ่ง โดยที่ความรอบรู้และเดชานุภาพของพระองค์นั้นอยู่เคียงคู่กัน

 

      

ด้วยเหตุนี้เองในช่วงท้ายของโองการ พระองค์จึงทรงกล่าวเสริมว่า «إِنَّهُ عَلِيمٌ قَدِيرٌ» (แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง ผู้ทรงเดชานุภาพยิ่ง) (1)

 

      

สิ่งที่สนับสนุนประเด็นนี้คือโองการหนึ่งจากคัมภีร์อัลกุรอานที่พระองค์ทรงตรัสว่า

 

فَعَسَىٰ أَن تَكْرَهُوا شَيْئًا وَيَجْعَلَ اللَّهُ فِيهِ خَيْرًا كَثِيرًا

 

“บางทีการที่พวกเจ้ารังเกียจสิ่งหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันในสิ่งนั้นอัลลอฮ์จะทรงบันดาลความดีไว้อย่างมากมายก็ได้”

 

(อัลกุรอาน บทอันนิซาอ์ โองการที่ 19)

 

       

และในอีกโองการหนึ่งได้เน้นย้ำในประเด็นเดียวกันนี้ไว้อย่างครอบคลุมกว่า โดยที่พระองค์ทรงตรัสว่า

 

عَسَىٰ أَن تَكْرَهُوا شَيْئًا وَهُوَ خَيْرٌ لَّكُمْ وَعَسَىٰ أَن تُحِبُّوا شَيْئًا وَهُوَ شَرٌّ لَّكُمْ وَاللَّهُ يَعْلَمُ وَأَنتُمْ لَا تَعْلَمُونَ

 

“บางทีการที่พวกเจ้ารังเกียจสิ่งหนึ่ง ในขณะที่สิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งดีงามสำหรับพวกเจ้า และบางทีการที่พวกเจ้าชอบสิ่งหนึ่ง ขณะที่สิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งเลวร้ายสำหรับพวกเจ้าก็ได้ และอัลลอฮ์นั้นทรงรู้ในขณะที่พวกเจ้าไม่รู้”

 

(อัลกุรอาน บทอัลบากอเราะฮ์ โองการที่ 19)

 

      

ในส่วนท้ายของโองการนี้ สำนวนประโยคที่กล่าวว่า “และอัลลอฮ์นั้นทรงรู้ในขณะที่พวกเจ้าไม่รู้” นั้น มีลักษณะของการให้เหตุผลและทำให้ข้อเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ จำนวนมากเกี่ยวกับประเด็นนี้จบสิ้นลง กล่าวคือ พระผู้เป็นเจ้าทรงรอบรู้ถึงความดีงาม ความเลวร้ายและความมีคุณประโยชน์ของทุกสิ่งที่มีต่อพวกท่านมาตั้งแต่ต้นแล้ว และพวกท่านต่างหากที่ไม่รู้ถึงผลบั้นปลายของสิ่งต่างๆ

 

      

ดังนั้นสมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่รู้จะไว้วางใจและมอบหมาย (ตะวักกุล) ต่อพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงรอบรู้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นผู้ทรงปรารถนาดีต่อปวงบ่าวของพระองค์ และมนุษย์จะต้องไม่แสดงการคัดค้านอย่างไม่พอใจต่อสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกำหนดแก่เขา และในทางตรงกันข้าม เขาจะต้องขอบคุณต่อพระองค์ในสิ่งนั้น

 

      

ประเด็นที่ควรกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ กรณีการแท้งของทารกในครรภ์หรือเด็กทารกที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วนั้น มีคำรายงาน (ริวายะฮ์) จากท่านอิมามซอดิก (อ.) ซึ่งท่านกล่าวว่า “หากเด็กทารกได้เสียชีวิต ในอาลัมบัรซัค จะถูกมอบหมายให้แก่ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และพระนางซาเราะฮ์ เพื่อทำหน้าที่อบรมขัดเกลาพวกเขา และเขาจะกลายเป็นเสบียงสะสมในปรโลกสำหรับบิดาและมารดาของตน”

 

      

บนพื้นฐานของคำรายงาน (ริวายะฮ์) บทนี้ แม้แต่การตายของเด็กทารกก็ยังมีฮิกมะฮ์ (วิทยปัญญา) และเป็นความเมตตาหนึ่งสำหรับบิดาและมารดาของเขา

 

      

ในคำรายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ ได้กล่าวว่า ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้นำทารกน้อยวัยหกเดือนที่เป็นชะฮีดของท่านกลับไปยังกระโจมค่ายพัก และท่านได้นั่งลงกับพื้นดินพร้อมกับวิงวอนขอดุอาอ์ว่า

 

“โอ้อัลลอฮ์! โปรดบันดาลให้เด็กทารกวัยหกเดือนผู้นี้เป็นเสบียงสะสมแก่ข้าพระองค์ในปรโลกด้วยเถิด”

 

     

เมื่อทารกคนหนึ่งเสียชีวิตลงยังมีคุณค่าและความสำคัญต่อเราถึงเพียงนี้ ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนยิ่งว่า บุตรที่มีชีวิตของเราถ้าหากเจริญเติบโตขึ้นด้วยการอบรมขัดเกลาที่ดีงามตามหลักการของอิสลามและเป็นผู้ที่มีศรัทธาอย่างแท้จริงแล้ว ย่อมที่จะมีผลที่ดีงามอย่างมากสำหรับบิดาและมารดาของเขาทั้งชีวิตในโลกนี้และในปรโลก ดังนั้นจึงไม่มีความแตกต่างแต่ประการใดที่ว่าบุตรของเรานั้นจะเป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชาย

 

เชิงอรรถ

 

       (1) ตัฟซีรนะมูเนะฮ์, มะการิม ชีราซี, อธิบายโองการที่ 49–50 ของอัลกุรอานบท อัชชูรอ

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ความสำคัญของบิสมิลลาฮ์ ...
อักษรย่อในอัลกุรอาน
บ้านที่ส่องสกาว-บ้านสุสาน
คนชั่วมั่งมี คนดีทุกข์เข็ญ!?
ทำไมต้องกล่าวบิสมิลลาฮ์?
ท่านหญิงซัยนับ (อ.) ...
วันสำคัญในเดือนรอบีอุลเอาวัล
อะไรคือมุบาฮะละฮ์?
...
อรรถาธิบายซูเราะฮ์ อัลฆอชิยะฮ์

 
user comment