ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

อัลเฆาะดีรและปัญหาเอกภาพในอิสลาม

อัลเฆาะดีรและปัญหาเอกภาพในอิสลาม

โดย อายะตุลลอฮฺ ชะฮีดมุรตะฏอ มุเฏาะฮะรียฺ

อัลเฆาะดีร คือคลื่นมหาชนอันยิ่งใหญ่ที่ปรากฏในโลกอิสลาม จากมุมมองต่างๆ ไม่ว่าจะพิจารณาด้านวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ เทววิทยา

ฮะดีษ ตัฟซีร และสังคม ซึ่งถ้าพิจารณามุมมองด้านสังคมก็จะพบปัญหาเรื่อง ความเป็นเอกภาพในอิสลาม ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง บรรดานักวิชาการ และนักคิดอิสลามต่างเห็นพร้องต้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะปัจจุบัน บรรดาศัตรูทั่วทุกมุมโลกต่างมุ่งโจมตี

อิสลามในทุกด้าน ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งหนังสือและสิ่งพิมพ์ ตลอดจนการรื้อฟื้นปัญหาความขัดแย้งเก่าแก่ตั้งแต่สมัยเคาะลิฟะฮฺ ทั้งหมดทราบดีว่าความเป็นเอกภาพในสังคม และความเป็นพี่น้องร่วมสายธาร เป็นประเด็นที่พระเจ้าทรงเน้นย้ำไว้เป็นพิเศษ และเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของอิสลาม ทั้งอัล-กุรอาน ซุนนะฮฺศาสดา และประวัติศาสตร์ต่างยืนยันถึงสิ่งนั้น

 

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีคำถามเกิดขึ้นว่า การเขียนและจัดพิมพ์หนังสือ อัลเฆาะดีร ซึ่งหนังสือกล่าวถึงปัญหาเก่าแก่ที่

ขัดแย้งกันมาอย่างช้านาน หนังสือเล่มนี้ไม่เป็นปัญหาต่อหลักเอกภาพ ซึ่งจัดว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดของอิสลามดอกหรือ ฉะนั้น เป็นความ

จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกล่าวถึงปฐมบทของปัญหาหลักก่อน กล่าวคือความเข้าใจเกี่ยวกับเอกภาพ และเอกภาพในอิสลาม หลังจากนั้นจะกล่าวอธิบายถึงหนังสือ อัลเฆาะดีร และอัลลามะฮฺ อามีนียฺ นักปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เขียนหนังสือดังกล่าว

 

เอกภาพอิสลาม

 

จุดประสงค์ของเอกภาพอิสลามคืออะไร

 

จุดประสงค์ของเอกภาพคือ ให้มุสลิมทั้งหมดเลือกนิกายเดียวกันเพื่อปฏิบัติตาม โดยละทิ้งนิกายที่เหลือ

 

หรือจุดประสงค์คือให้แสวงหาจุดร่วมระหว่างนิกายต่างๆ และสงวนจุดต่างเหล่านั้น หลังจากนั้นให้จัดตั้งนิกายใหม่ขึ้นมา ซึ่งมีความต่างไปจากนิกายเก่าโดยสิ้นเชิง

 

หรือว่าจุดประสงค์ของเอกภาพคือ สิ่งอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นเอกภาพทางนิกายแต่อย่างใด ซึ่งจุดประสงค์ของความเป็นเอกภาพในหมู่ผู้ปฏิบัติตามนิกายต่างๆ คือ การเผชิญหน้ากับศัตรู แม้ว่าจะมีความแตกต่างด้านนิกายก็ตาม ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับความเป็นเอกภาพของมุสลิม เนื่องจากไม่ได้วางความเข้าใจไว้บนเหตุและผล และกล่าวอ้างว่านั่นคือความเป็นเอกภาพทางนิกายอิสลาม เพื่อจะได้ขจัดข้อกล่าวอ้างให้พ้นตัว แน่นอน เป็นที่ทราบกันดีว่าจุดประสงค์ของนักปราชญ์อิสลามที่มีหัวสมัยใหม่ จะถือว่าความเป็นเอกภาพคือ ความพิเศษของนิกายหนึ่งที่มีต่ออีกนิกายหนึ่ง หรือหมายถึงการแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่างของนิกาย แน่นอน สิ่งที่ที่พวกเขากล่าวไม่มีเหตุผลที่กินต่อสติปัญญา และไม่มีผลในเชิงของการปฏิบัติ จุดประสงค์ของนักวิชาการเหล่านี้คือ การจัดตั้งกลุ่มมุสลิมเพื่อเผชิญหน้ากับศัตรูร่วมกัน

 

นักวิชาการเหล่านี้กล่าวว่ามุสลิมมีจุดร่วมที่คล้ายคลึงกันมากมาย สามารถนำจุดร่วมเหล่านั้นมาเป็นบรรทัดฐานในการสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิม เช่น มุสลิมเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียวกัน มีศรัทธาต่อเราะซูลคนเดียวกัน มุสลิมทุกคนมีคัมภีร์ฉบับเดียวกัน ทิศทาง (กิบละฮฺ) สำหรับทุกคนคือกะอฺบะฮฺ มุสลิมประกอบพิธีฮัจญฺเหมือนกัน นมาซเหมือนกัน ถือศีลอดเหมือนกัน มีครอบครัวเหมือนกัน มีการอบรมบุตรธิดาเหมือนกัน มีการฝังคนตายเหมือนกัน มีการปฏิบัติรายละเอียดอื่นๆ ของศาสนาเหมือนกัน ในสิ่งเหล่านี้ไม่มีความแตกต่างกัน มุสลิมมีโลกทัศน์แห่งพระเจ้าเหมือนกัน มีวัฒนธรรมเหมือนกัน และมีจารีตประเพณีเก่าแก่และยิ่งใหญ่เหมือนกัน

 

ความเป็นเอกภาพในโลกทัศน์แห่งพระเจ้า วัฒนธรรม จารีตประเพณี วิสัยทัศน์ ความเชื่อทางนิกาย การเคารพภักดี การสรรเสริญ และมารยาทและแบบฉบับทางสังคม สิ่งเหล่านี้สามารถโน้มนำพวกเขาให้เป็นประชาชาติเดียวกัน รวมพลังให้ยิ่งใหญ่เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งอำนาจทั้งหลายต้องสิโรราบต่ออำนาจอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการอิสลามได้เน้นย้ำเสมอว่า มุสลิมทุกคนบนโลกนี้มีความเสมอภาคและเป็นพี่น้องกัน ทุกคนต่างมีหน้าที่และมีสิทธิเกี่ยวข้องกันและกัน และด้วยบะเราะกัตจำนวนมากมายซึ่งได้ถูกประทานแก่บรรดามุสลิม แล้วเป็นเพราะเหตุใดที่มุสลิมไม่ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ ตามทัศนะของนักปราชญ์อิสลามส่วนใหญ่ ถือว่าไม่มีความจำเป็นใดๆ ทั้งสิ้นที่มุสลิมต้องละทิ้งหลักความเชื่อศรัทธา หรือแนวทางปฏิบัติตามนิกายของตน เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ ตามทัศนะนักปราชญ์อิสลามกลุ่มนี้ถือว่าไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด ที่มุสลิมต้องละทิ้งหลักความเชื่อและหลักปฏิบัติของตนเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ เช่นกันถือว่าไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด ที่มุสลิมต้องมาวิพากษ์วิจารณ์หาข้อพิสูจน์ถึงปัญหา ที่ตนมีความขัดแย้งกันอยู่หรือเขียนหนังสือขึ้นมาก ตามทัศนะดังกล่าวสิ่งเดียวที่สามารถสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิมได้คือ มุสลิมต้องไม่มีอคติในใจ หรือจุดประกายไฟแห่งความขัดแย้งให้เกิดขึ้น เขาต้องรักษาบทบาทของตนเอาไว้ โดยต้องไม่จ้องว่าฝ่ายหนึ่งคือต้นเหตุของปัญหาดังนั้นต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ หรือใส่ร้ายป้ายสีหรือโกหกใส่อีกฝ่ายหนึ่ง หรือเยาะเย้ยเหตุผลของฝ่ายหนึ่งเป็นต้น ในความหมายก็คือเขาต้องไม่สร้างบาดแผลบนความรักของอีกฝ่ายหนึ่ง จนกระทั่งออกนอกเหตุและผล ตามความเป็นจริงแล้วอย่างน้อยที่สุดข่อยข่าย หรือความจำกัดที่จำเป็นที่สุด ที่อิสลามได้ตั้งไว้เพื่อเชิญชวนผู้ปฏิเสธเข้ารับอิสลาม เขาควรใส่ใจและตั้งเป็นข้อจำกัดสำหรับตน ดังที่กุรอานกล่าวว่า

 

ادْعُ إِلِى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَجَادِلْهُم بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ

 

จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้าโดยวิทยปัญญาและการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า (อัล-กุรอาน บทอันนะฮฺลิ / 125)

 

บางคนอาจคิดว่านิกายต่างๆ ในอิสลามนั้นมีความแตกต่างกันเฉพาะเรื่อง หลักปฏิบัติเท่านั้น เช่น นิกายชาฟิอียฺกับฮะนะฟียฺ สามารถเป็นพี่น้องกันได้อย่างง่ายดาย และสามารถยืนอยู่ในแถวเดียวกันได้ แต่สำหรับนิกายที่มีความแตกต่างกันในเรื่องหลักความเชื่อ (อุซูล) ไม่สามารถร่วมกันหรือเป็นพี่น้องกันได้อย่างแน่นอน ตามทัศนะของนักวิชาการกลุ่มนี้จะเห็นว่า หลักความเชื่อทางนิกายคือ หลักการที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน โดยนิยามของอุซูลเรียกว่า มีความสัมพันธ์กันตามหลักอะกัลและอักซัร การเห็นความเสื่อมเสียของฝ่ายหนึ่งเท่ากับเห็นความเสื่อมเสียของอีกฝ่ายไปด้วย ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงเห็นว่าปัญหา อิมามะฮฺ คือหนึ่งในความเสียหาย ตามความเชื่อของนักวิชาการที่เชื่อตามหลักการดังกล่าว จะปฏิเสธความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิมว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ชีอะฮฺและซุนนีย์จึงไม่มีวันเข้ากันได้อย่างเด็ดขาด หรือจะให้ยอมรับกันและกันว่าทั้งคนเป็นพี่น้องกัน ที่ต้องต่อสู้ร่วมกันก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก

 

กลุ่มแรกได้ตอบข้อคลางแคลงใจความเชื่อของกลุ่มนี้ว่า ไม่มีเหตุผลแต่อย่างใดที่เราจะต้องนำเอาหลักความเชื่อของเราไปรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และเลือกที่จะปฏิบัติตามหลักการทั้งหมดหรือละทิ้งทั้งหมด ในที่นี้ให้ถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ว่า ความง่ายดายจะไม่หยุดยั้งด้วยความยากลำบาก ถ้าไม่รับรู้ทั้งหมดก็ไม่อาจละทิ้งทั้งหมดได้ บุคลิกของท่านอิมามอะลี (อ.) คือบทเรียนที่ดีที่สุดสำหรับพวกเรา ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เลือวิธีการที่ชัดเจน มีเหตุผล และเข้ากันได้กับสติปัญญาและมีความเหมาะสมสำหรับท่าน

 

ท่านอิมาม (อ.) ไม่ได้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งใด ท่านได้ถือปฏิบัติไปตามความเป็นไปได้ทั้งหมดที่จะฟื้นฟูเรื่อง อิมามะฮฺ โดยที่ท่านไม่ได้เคยปฏิบัติตามเปลือกนอก หรือปฏิบัติตามทั้งหมดหรือละทิ้งทั้งหมด ในทางกลับกันท่านอิมามได้ยึดเอากฎ ที่ว่าถ้าไม่รับรู้ทั้งหมดก็ไม่อาจละทิ้งทั้งหมดได้ เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติตัวของท่าน

 

จดหมายฉบับหนึ่งที่ท่านได้เขียนถึง มาลิกอัชตัร (จดหมายฉบับที่ 62 ในนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ)

 ท่านเขียนว่า ....

 

ตอนแรกข้าได้ดึงมือถอยออกมา จนกระทั่งข้าเห็นประชาชนกลุ่มหนึ่งกลับคืนสู่อิสลาม และพวกเขาเชิญชวนประชาชนให้ทำลายศาสนาของมุฮัมมัด ดังนั้น ข้าเกรงว่าถ้าข้าไม่ลุกขึ้นช่วยเหลืออิสลามและมุสลิมแล้วละก็ ข้าก็จะได้พบกับความแตกแยกและความล่มสลายในอิสลามแน่นอน ซึ่งความเสียใจต่อสิ่งนั้นรุนแรงยิ่งกว่าปัญหาคิลาฟะฮฺเสียอีก

 

สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นว่าท่านอะลี (อ.) ประณามกฎเกณฑ์ที่ว่า ทั้งหมดหรือไม่มีทั้งหมด ซี่งไม่จำเป็นต้องอธิบายให้เปล่าประโยชน์แต่อย่างใด เนื่องจากประวัติศาสตร์และเหตุผลจำนวนมากมายได้ยืนยันสิ่งนี้เอาไว้

 

ท่านอัลลามะฮฺอะมีนียฺ

บัดนี้ เรามาพิจารณาร่วมกันว่า นักปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิอายะตุลลอฮฺ อัลลามะฮฺ อะมีนียฺ ผู้เขียนหนังสือ อัลเฆาะดีร นั้นอยู่ในกลุ่มใด และท่านมีวิธีคิดอย่างไร ท่านนั้นยอมรับหลักการเรื่องเอกภาพมุสลิม เฉพาะในวงจำกัดสำหรับชีอะฮฺเท่านั้นหรือ หรือท่านมีทัศนะที่กว้างไกลไปกว่านั้น ท่านเชื่อว่าอิสลามเกิดขึ้นจากการที่บุคคลหนึ่งยอมรับและกล่าวชะฮาดะตัยนฺออกมา ดังนั้น ไม่ว่าเขาจะต้องการหรือไม่ก็ตามสิทธิ์ต่างๆ ในฐานะที่เป็นมุสลิมคนหนึ่งจะถูกปฏิบัติกับมุสลิมทันที ฐานะภาพที่อัล-กุรอานกล่าวว่า มุสลิมทั้งหมดคือพี่น้องกันจะถูกรักษาไว้สำหรับเขาทันที อัลลามะฮอะมีนียฺ ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้อย่างชัดเจนนั่นคือ บทบาทของเฆาะดีรในการสร้างเอกภาพในหมู่มุสลิม สิ่งนี้เป็นผลดีหรือไม่ดี ซึ่งการที่ท่านอัลลามะฮฺกล่าวถึงประเด็นซ้ำ ก็เนื่องจากท่านไม่ต้องการให้บุคคลที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับท่านตั้งแต่แรกและทำตนเป็นปรปักษ์คอยท้วงติง กับบุคคลที่เห็นด้วยกับแนวคิดของท่านในบางโอกาส ได้หยิบฉวยโอกาสนี้ไปในทางที่ไม่ดี ฉะนั้น ท่านอัลลามะฮฺจึงได้อธิบายทัศนะของท่านโดยละเอียด

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 17 ...
ปรัชญาของวันอีดฟิตร์
...
...
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ ตอนที่ ...
การผ่าดวงจันทร์ (ชักกุ้ลกอมัร) ...
บันทึกประวัติ “ปาเลสไตน์” ...
...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย
อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร ...

 
user comment