ไทยแลนด์
Friday 19th of April 2024
0
نفر 0

ทําไมมนุษย์ถึงกลัวความตาย ตอนที่ 1

 

ทําไมมนุษย์ถึงกลัวความตาย ตอนที่ 1

โดย ฮุจญะตุลอิสลาม ซัยยิด สุไลมาน ฮุซัยนี

การร่วมงานรำลึกถึงการจากไปของบรรดาผู้ศรัทธาคนหนึ่ง ถือว่าเป็นเตาฟีกสำหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมีผลบุญสำหรับผู้ร่วมงาน เขาไม่ได้มาอุทิศส่วนกุศลผลบุญให้กับผู้ที่จากไปเท่านั้น ตัวเราเองก็จะได้รับสิ่งนี้กลับไปด้วย โดยเฉพาะการรำลึกถึงการครบรอบการจากไป 40 วันนั้นในแนวทางอะฮ์ลุลเบต (อ) ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งผู้ที่จากไปและทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ถึงแม้นว่าเนื้อหาของงานอาจจะเป็นเนื้อหาแห่งความโศกเศร้า เนื้อหาแห่งการสูญเสีย เนื้อหาแห่งความเสียใจ เนื้อหาแห่งความอาลัย แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นความตายอาจถือได้ว่าเป็นเนี๊ยะมัต (ความโปรดปราน) อันหนึ่งที่เอกองค์อัลลอฮฺ (ซบ) นั้นประทานให้กับมวลมนุษยชาติ

ความตายคือ เนี๊ยะมัตอันหนึ่ง หมายความว่าอย่างไร

ความตาย เป็นเนี๊ยะมัตที่สำคัญ และยิ่งใหญ่ อีกทั้งเป็นเนี๊ยะมัตที่ถ้าหากมนุษย์รู้ หรือเข้าใจ มนุษย์ก็จะทำการขอบคุณต่ออัลลอฮ (ซบ) เป็นอย่างมากที่ได้พระองค์ทรงสร้างความตายขึ้นมา

ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจกับเป้าหมายปรัชญาของความตายว่า หมายความว่าอะไร และอะไรคือปรัชญาแห่งความตาย?

ทำไมสิ่งนี้นั้นจึงเหมือนกับจะขัดแย้งกับชีวิต และขัดแย้งกับความต้องการของมนุษย์ส่วนมาก

ทำไมมนุษย์เกิดมาแล้วจึงกลัวความตาย?

ทำไม มนุษย์เกิดมาแล้วเมื่อพูดถึงความตายแล้ว บางคนจะรู้สึกโกรธ บางคนจะไม่พอใจ บางคนจะรู้สึกท้อใจ และอะไรต่อมิอะไรอย่างมากมาย

สรุปอย่างง่ายๆ ก็คือว่า คนส่วนมากมองความตายไปในทางด้านลบ ทั้งๆที่คำสั่งสอนในศาสนา ทั้งจากพระมหาคัมภีร์กุรอาน ทั้งจากอัลฮะดีษและ ริวายัตต่างๆนั้น ความตายนั้นเป็นสิ่งที่เป็นบวกเป็นอย่างมาก และถือว่าเป็นเนี๊ยะมัตที่ยิ่งใหญ่ที่สำคัญอันหนึ่ง

ถ้าไม่มีความตายแล้วไซร้มนุษย์นั้น น่าสงสารเป็นอย่างมาก

ฉะนั้นผู้ศรัทธาทั้งหลายทุกท่าน จะต้องปรับแนวคิด และความเข้าใจ จะต้องมามองความตายในรูปแบบใหม่ ทั้งนี้ ทั้งนั้นไม่ได้หมายถึงทั้งหมดทุกคน คิดแบบเดียวกัน แต่คนส่วนมากจะเป็นแบบนี้ โดยที่ความรู้สึกของเราเองเกือบทั้งหมดทุกๆคน เมื่อนึกถึงความตายเราจะรู้สึกหดหู่ และจะท้อใจ เราจะหมดกำลังใจ และมีอะไรต่ออะไรอีกมากตามมา

บางคนถึงขั้นอาจจะแอบโกรธพระองค์อัลลอฮฺ(ซบ) อยู่ในใจของเขาก็ว่าได้ ว่าเมื่อพระองค์ทรงสร้างเราแล้ว ให้เกิดมาในโลกนี้ แล้วทำให้มีความตายมาทำไม

ก็อัลฮัมดุลิลลาฮ์ อัลลอฮฺ(ซบ)สร้างโลกนี้ขึ้นมา ก็พอหาความสุขในโลกนี้ได้ ไม่ว่ามนุษย์คนนั้นจะอยู่ในสภาพใดก็ตาม

หรืออยู่ในสถานภาพใด?

เขาก็สามารถหาความสุขในโลกนี้ได้ จึงทำให้มนุษย์จำนวนมากปฏิเสธความตายกันทุกคน ตหมายถึง มีจำนวนมาก หรือส่วนมาก ไม่ใช่เฉพาะกับคนรวยที่ไม่อยากตาย คนจนก็ไม่อยากตายเช่นกัน

นี่คือเรื่องจริงอันหนึ่งที่เราจะต้องยอมรับ จนขนาดไหนก็ไม่อยากตาย หรือไม่เพียงแต่จนหรือรวย คนแข็งแรงมีพลานามัยสุขภาพที่สมบูรณ์ก็ยังไม่อยากตาย คนที่เจ็บจะตายแล้วก็ยังไม่อยากตาย หมายความว่าอะไร

บางคนอยู่ถึงขั้นที่ว่า ป้อนข้าวให้กับตัวเองไม่ได้แล้วก็ไม่อยากตาย

บางคนถึงขั้นที่ว่าเคี้ยวอาหารเองไม่ได้แล้วก็ไม่อยากตาย ให้อาหารทางสายยางได้ก็ต้องให้ได้ตลอดไป

ทำไมบางคนถ้าเราจะพูดให้ละเอียดบางคนไม่สามารถที่จะชำระล้างตัวเองแล้วก็ไม่อยากตาย มีชีวิตอยู่มีคนป้อนอาหาร และมีคนที่คอยเช็ดล้างและพาไปอาบน้ำ อีกทั้งทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ โดยที่ตัวเองไม่สามารถขยับได้สักส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย แล้วเขาก็ยังไม่อยากที่จะตาย

เราจึงต้องหาคำตอบว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ แน่นอนกลไกในการสร้างมนุษย์มีความสุข ไม่ว่าจะเป็นคนที่อยู่ในสถานภาพใดก็มีความสุข คือ อัลลอฮฺ(ซบ)สร้างโลกนี้นั้นให้น่าหลงใหลสำหรับทุกคน คนที่ยากจนที่สุดก็หลงใหลในโลกนี้แบบคนยากจน คนที่ร่ำรวยก็หลงใหลในโลกนี้แบบคนที่ร่ำรวย

ซึ่งในกรณียกเว้นที่นำมาเป็นหลักฐานก็มีบ้าง เช่น การฆ่าตัวตาย คนฆ่าตัวตายนั้นคือ ความผิด เป็นสิ่งที่ผิดปกติก็มีบ้าง

เมื่อสติ เสียสติ คือ เป็นกรณีที่ผิดปกติที่ฆ่าตัวตาย เหตุผลที่ฆ่าตัวตายจริงๆแล้วเป็นเพราะ ผิดหวังในโลกนี้ เขาจึงฆ่าตัวตาย คือ เกี่ยวพันธ์กับเรื่องต่างๆในโลกนี้ เกี่ยวกับความรู้สึกอันนี้ ความจริงแล้วในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานนั้นมีมากมายหลายคำตอบ มีมากมายหลายรูปแบบ

ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจเล็กน้อย เพื่อเราจะได้ปรับทัศนะคติเกี่ยวกับเรื่องความตายกันใหม่ ถ้าเราเข้าใจความตายอย่างถูกต้องแล้ว วิถีชีวิตของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี เปลี่ยนแปลงในทางที่เป็นประโยชน์กับตัวของมนุษย์เอง

เบื้องต้น ทำไมมนุษย์จึงมีทัศนะคติแบบนี้เกี่ยวกับความตาย

คำตอบ อาจจะเป็นคำตอบที่มาทิ่มแทงหัวใจของพวกเราทุกๆคน เป็นคำตอบในภาพรวมๆ ว่าทำไม

มนุษย์ส่วมมากจึงมีทัศนะคติแบบนี้ ทั้งๆที่ความตายในมุมมองของอิสลามทั้งในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ทั้งในฮะดีษและริวายัตต่างๆ นั้นเลิศหรูเป็นอย่างมาก เป็นสิ่งที่มนุษย์ควรถวิลหา เป็นสิ่งที่มนุษย์ควรจะเรียกหา

คำตอบนี้อาจจะยังไม่ตรงประเด็นในการที่จะอธิบายความตาย คำตอบอันที่หนึ่งมาเป็นปัญหาความรู้สึกนึกคิด การมีทัศนะคติที่ไม่ถูกต้อง การมีทัศนะคติที่เป็นแง่ลบต่อความตายนั้น

คำตอบแรก เป็นคำตอบที่สำคัญคือ เพราะมนุษย์ส่วนมากนั้นไม่รู้


أَكثَرَهُم لاَ يَعلَمُونَ

ส่วนมากของมนุษย์นั้น คือ ผู้ที่ไม่รู้

أكْثَرَهُمْ لا يَعْقِلونَ

ส่วนมากของมนุษย์นั้น คือ ผู้ที่ไม่ใช้สติปัญญา

 أكْثَرَهُمْ يَسْمَعونَ

ส่วนมากของมนุษย์นั้น คือ ผู้ที่ไม่ได้ยิน

 أَكْثَرَهُمْ لَا يَشْكُرُونَ

ส่วนมากของมนุษย์นั้น คือ ผู้ที่ไม่รู้จักขอบคุณ

สิ่งที่ผิด คือ สิ่งที่ไม่ถูกต้องที่เกิดมาจากมนุษย์มาจากเหตุผลนี้ นี่คือเหตุผลเบื้องต้น

أَكثَرَهُم لاَ يَعلَمُونَ

มนุษย์คือผู้ไม่รู้ หมายถึง ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วความตายนั้นคืออะไร ?

เมื่อไม่รู้ความจริง เมื่อไม่รู้สัจธรรมความตาย จึงทำให้เกิดอาการกลัว มีการรังเกียจ และเกิดการมีทัศนะคติที่ผิด อีกทั้งไม่ถูกต้อง

لا يَعْقِلونَ

ผู้ที่ไม่มีสติคือ ผู้ที่ไม่มีสมองและปัญญา

เพราะฉะนั้น คนที่กลัวความตาย คือ คนโง่เขลาในทัศนะของอิสลาม

يَشْكُرُونَ

ผู้ที่ไม่รู้จักการขอบคุณ

เราจะต้องทำการขอบคุณที่มีความตาย และเราจะต้องขอบคุณที่พระองค์อัลลอฮฺ(ซบ)ได้สร้างความตายขึ้นมา

เราจะขอบคุณได้ก็ต่อเมื่อเรารู้ถึงความจริงของความตายนั้น

แท้จริงความตายคืออะไร ซึ่งปัญหาแรกคือตัวของเราเอง

ปัญหาก็คือ เพราะว่าเราไม่มีการพัฒนาความเข้าใจ ,ไม่พัฒนาจิตวิญญาณ, ไม่พัฒนาสมองของตัวเองและ ไม่พัฒนาให้ตัวเองนั้นได้เข้าใจเรื่องราวต่างในศาสนาให้ลึกซึ้ง ทัศนะคติที่ผิดจึงเกิดขึ้น และทุกคนก็ยอมรับ

ยกตัวอย่าง มีญาติบางคนที่แก่ๆ อายุ 80-90 พอพูดเรื่องความตายแล้วโกรธก็มี มนุษย์มีความรู้สึกว่าอยากจะอยู่ในโลกนี้ตลอดไป ไม่อยากที่จะจากไป

ทั้งๆที่ ถ้าเขารู้สัจธรรมของความตายเขาจะต้องขอบคุณอัลลอฮฺ(ซบ) ที่ได้สร้างความตายให้มี และความตายคือสิ่งที่อัลลอฮฺสร้าง

ความตายคือสิ่งหนึ่ง ความตายไม่ใช่การดับสูญ ไม่ใช่สูญเปล่า และไม่ใช่การไม่มี เพราะในคัมภีร์อัลกุรอานในซูเราะฮ์อัลมุลกฺ โองการที่ 2

พระองค์อัลลอฮฺ(ซบ) ได้กล่าวสรรเสริญพระองค์เอง และได้ประกาศตัวเองว่า

.

الَّذِي خَلَقَ الْمَوْتَ وَالْحَيَاةَ لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلًا وَهُوَ الْعَزِيزُ الْغَفُورُ

พระองค์คือ ผู้ทรงสร้างความตาย และผู้ทรงสร้างชีวิต

นักอรรถาธิบายอัลกุรอาน ได้ทำการอธิบายในเชิงปรัชญาว่า

โองการนี้พิสูจน์ให้เห็นถึง ความตายคือสิ่งหนึ่ง ความตายไม่ใช่ความว่างเปล่า เพราะเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ)นั้นทรงตรัสว่า ฉันสร้างทั้งชีวิต และสร้างทั้งความตาย

الَّذِي خَلَقَ الْمَوْتَ وَالْحَيَاةَ

ผู้ทรงสร้างความตายและชีวิต

 

ดังนั้นถ้าเราถามว่าทำไมต้องสร้างชีวิตแล้วต้องสร้างความตายด้วย

อัลลอฮ(ซ.บ) จะเป็นผู้ตอบคำถามนี้เองในโองการนี้ และคำตอบยังมีอีกมาก

หนึ่งในคำตอบที่มีอยู่ในพระมหาคัมภีร์อักุรอานก็คือ

لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلًا

เพื่อที่จะทำการทดสอบ เพื่อที่จะได้รู้ เพื่อมีชีวิตและมีความตาย นี้แหละเป็นเครื่องมือในการทดสอบมนุษย์ว่า...

ใคร ,ผู้ใดและที่ไหน?

 أَحْسَنُ عَمَلًا

 ใครคือผู้ที่มีอามัลที่ดีที่สุด

ฉะนั้น หนึ่งในปรัชญาที่กำหนด หรือสร้างความตายขึ้นมานั้น เพื่อที่จะได้รู้ว่า ใครคือคนดี, ใครดีกว่า?? และใครดีที่สุด??

ดังนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ปิดโองการนี้ ด้วยถ้อยยคำที่น่าสนใจต่อการอรรถาธิบายเป็นอย่างยิ่งว่า....

وَهُوَ الْعَزِيزُ الْغَفُورُ

พระองค์ คือ ผู้ทรงอำนาจ  อีกทั้งทรงอภัยยิ่ง

الْعَزِيزُ

พระองค์คือผู้มีทรงอำนาจ และทรงพลานุภาพที่จะทำสิ่งนี้ได้

แต่ว่า

 الْغَفُور

“พระองค์ทรงเป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง”

ไม่ต้องกลัว พระองค์นั้นทรงอภัยในสิ่งที่มนุษย์กระทำ

ถ้าเราจะถามว่าเพื่ออะไร? ให้ตายเพื่อที่จะรู้ว่า ใครดีที่สุด?

ใครมีอามัลที่ดีที่สุด


أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلًا

เรามาลองตอบกันดูว่าทำไมหรือเพราะสาเหตุใด?

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงประสงค์ที่จะให้รู้ว่าใครในหมู่มนุษย์ที่จะถูกสร้างขึ้นมานั้น

ใครคือบุคคลที่มีอามัลที่ดีที่สุด

ถามว่า พระองค์ทรงต้องการจะรู้ไปเพื่ออะไร?

คำตอบ ก็คือ พระองค์จะทรงตอบแทนด้วยความดีที่พวกเขาได้กระทำไปหรือ เพื่อตอบแทนความดี

 

จบตอนที่ 1

โปรดติดตามตอนต่อไป

ขอขอบคุณเฟสบุค Hajjah Wanya

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ชีอะฮฺในตำราซอเฮียะห์
...
สุนทรพจน์ของท่านอิมามฮูเซน (อ.) ...
...
...
ปีศาจ (ซาตาน) ...
เตาฮีด เอกภาพแห่งอัลลอฮฺ ...
จอมราชันย์แห่งโคราซาน ...
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 11 ...
วิทยปัญญา 10 ประการ ...

 
user comment