ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?

เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?

คำตอบโดยสังเขป

มีคำกล่าวว่ามีความทุกข์และความเศร้าโศกอย่างหนัก ได้ถาถมเข้ามาก่อนที่ท่านอิมามจะถูกทำชะฮาดัต, และโศกนาฏกรรมที่ประดังเข้ามาหลังจากชะฮาดัต, โดยตัวของมันแล้วได้ก่อให้เกิดภาพการถูกกดขี่อย่างรุนแรงของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)

ฉะนั้น เมื่อวิเคราะห์และนำคำว่า “มัซลูม” ไปใช้กับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ก็จะได้รับบทสรุปว่า การถูกกดขี่ที่ได้ถูกวาดขึ้นสำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มิใช่เป็นการถูกกดขี่อันเกิดจากความอ่อนแอ หรือท่านอิมามเป็นผู้ยอมรับการกดขี่นั้น, ทว่าเป็นการกดขี่ที่เปี่ยมไปด้วยเกียรติยศ ซึ่งมิได้มีความขัดแย้งกับบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของท่านแต่อย่างใด ตามความเป็นจริงแล้วสำหรับการเล่าเรื่องหรือสาธยายถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมาม (อ.) ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงการถูกกดขี่และความอธรรมต่างๆ ที่ศัตรูได้กระทำกับท่านอิมาม และลูกหลานของท่าน. เป็นที่ชัดเจนว่าถ้าหากการจินตนาภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามเพื่อบรรยายถึงการอธรรมของศัตรูที่ได้กดขี่ท่าน ถือว่าเป็นที่ยอมรับ ณ อัลลอฮฺ ทว่าสิ่งนี้เป็นความจำเป็นเสียด้วยซ้ำไปที่ต้องกระทำ แต่ถ้าจุดประสงค์ของการจินตนาภาพการถูกกดขี่ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอและการยอมรับการถูกกดขี่ของท่านอิมามแล้วละก็ ถือว่าการจินตนาภาพนั้นไม่ถูกต้องและเป็นฮะรอมแน่นอน

ด้วยเหตุนี้เอง, การได้รับการกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แสดงให้เห็นถึงการสาธยายภาพการกดขี่ต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านอิมาม (อ.) ครอบครัว และสหายของท่านแล้ว ถือว่าสิ่งนี้ไม่มีความขัดแย้งกับเกียรติยศ และบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของท่านอิมามแต่อย่างใด, ทว่ายิ่งจะทำให้เกียรติยศและศักดิ์ศรีของซัยยิดุชชุฮะดา และผู้ร่วมทางไปกับท่านนั้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากจุดนี้เองเราจึงมีความเชื่อว่าจำเป็นต้องวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ด้วยซ้ำไป

อย่างไรก็ตามการจินตนาการภาพใบหน้าของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในฐานะมนุษย์ผู้ได้รับการกดขี่, ยังมีเหตุผลอื่นอีก, ซึ่งเป้าหมายก็เพื่อการฟื้นฟูและการตื่นตัวทางความคิดทั่วไปของประชาคมโลก และเป็นการเป่าประกาศความชั่วร้ายของศัตรู เพื่อให้สิ่งนี้เป็นประทีปชี้นำทางแก่เยาวชนรุ่นต่อไปในอนาคต

คำตอบเชิงรายละเอียด

ก่อนหน้าที่จะตอบคำถาม, จำเป็นต้องกล่าวเกริ่นก่อนว่า, หนึ่ง : มีรายงานจำนวนมากที่นำคำว่า “มัซลูม” ไปใช้กับอิมามท่านอื่น, เช่น รายงานฮะดีซบทหนึ่งจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า: “... แน่นอน ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่าในเวลานั้น,ฉัน และอะลี, ฟาฏิมะฮฺ, ฮะซัน, ฮุซัยนฺ และบรรดาอิมามอีก 9 ท่านจากบุตรหลานของฮุซัยนฺ ซึ่งทั้งหมดคือ มัซลูม แห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน, และทั้งหมดจะได้รวมอยู่ในที่เดียวกัน”[1]

สอง : ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ใส่ใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการได้รับการกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยน (อ.) , กล่าวคือทั้งหมดจะกล่าวถึงการได้รับการกดถูกกดขี่ของท่านอิมาม ได้มีการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมนั้น จนกระทั่งว่าพี่ชายของท่านคือ ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้กล่าวถึงความสัตย์จริงที่จะเกิดกับท่านอิมามฮุซัยนฺว่า :

«لا یوم کیومک یا ابا عبد اللّه».

“ไม่มีวันใดจะเหมือนวันของเจ้าอีกแล้ว โอ้ อะบาอับดิลลาฮฺเอ๋ย”[2]

พวกเขาได้เติมคำว่า “มัซลูม” ต่อท้ายนามของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)[3] ดังนั้น จำเป็นต้องรับรู้ว่ามีรายงานฮะดีซบทหนึ่งจากท่านอิมามซอดิก (อ.) อัลกุรอานโองการ 33 บทอัลอิสรออฺ, ได้กล่าวถึงการได้รับการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)[4] สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า การจินตนาภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ย่อมเป็นที่ยอมรับของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามทั้งหลาย

เมื่อเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าคำว่า “มัซลูม” ได้ถูกกล่าวโดยบรรดาอิมาม โดยใช้คำนี้กับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซึ่งท่านเหล่านั้นประสงค์ให้ใบหน้าแห่งการถูกกดขี่ของท่านอิมาม (อ.) ถูกจินตนาการเป็นภาพจริงขึ้นมา, แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาตรงนี้ก็คือความหมายตามประสงค์ จากการถูกกดขี่ของท่านอมามฮุซัยนฺ (อ.) ในคำพูดของบรรดาอิมามผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้นคืออะไร? จากจุดนี้เอง เราจึงขอกล่าวว่า การถูกมัซลูมนั้นมี 2 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ :

1.การกดขี่ ที่เกิดกับท่านอิมามนั้น เราได้จินตนาให้เห็นถึงความอ่อนแอหรือการยอมจำนนต่อการกดขี่ ซึ่งทำให้ท่านต้องถูกตัดขาดจากอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

  1. การกดขี่ที่เกิดกับอิมามนั้นเรามิได้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ, ทว่าเป็นการบรรยายถึงโศกนาฏกรรมต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านอิมาม ซึ่งเป็นความจำเป็นที่เราต้องกล่าวถึงการอธรรมของศัตรูที่มีต่ออิมาม ครอบครัว และสหายของท่าน

ดังเช่นที่ท่านชะฮีดมุรตะฎอ มุเฎาะฮะรียฺ ได้กล่าวถึงความหมายของการได้รับการกดขี่ว่า, คำๆ นี้มี 2 ความหมายด้วยกันกล่าวคือ : หนึ่งอธรรมแล้วสังหาร, สอง : การได้รับความอธรรม, มีมนุษย์ตั้งมากมายซึ่งมีความอ่อนแอด้านจิตใจภายใน, พวกเขาได้ยอมรับการกดขี่และเป็นผู้โน้มน้าวการอธรรมมาสู่ตน และยังมีชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งชีวิตทรัพย์สินและสิทธิของเขาได้รับการกดขี่ข่มเหง, แต่มิได้เกิดจากความอ่อนแอภายใน, ทว่าเป็นเพราะพวกเขาได้รักษาสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าบุคลิกภาพและชีวิตของตน หรือสิทธิของพวกเขาได้รับการละเมิด,พวกเขามองเห็นความอธรรมที่เกิดขึ้น แต่อดทนอดกลั้น ดังเช่นที่อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : “ฉันจึงยอมอดทนทั้งที่ในดวงตาเต็มไปด้วยเศษขยะ และในลำคอมีกระดูกทิ่มติดอยู่”[5] ซึ่งการถูกดขี่ของบรรดาอิมาม (อ.) นั้นอยู่ในประเภทที่สอง และโศกนาฏกรรมทั้งหลายที่ได้ประดังถาถมเข้ามานั้น ฉันได้อดทนอดกลั้น เนื่องจากเป็นเกียรติยศของมวลประชาชาติมุสลิม และศาสนาอิสลาม

บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ การได้รับการกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในความหมายที่ว่าเป็นการสาธยายถึงการกดขี่ต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านและเหล่าสหาย โดยท่านได้อดทนต่อสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น ไม่ถือว่าการกระทำของท่านขัดแย้งกับศักดิ์ศรีและเกียรติยศอันสูงส่งของท่านแต่อย่างใด, ทว่ายิ่งเป็นการทำให้เกียรติยศและศักดิ์ศรีของซัยยิดุชชุฮะดาและเหล่าสหายของท่านปรากฏชัดเจนมากยิ่งขึ้น, เนื่องจากการสาธยายถึงการกดขี่ของศัตรู และการเผชิญหน้ากับศัตรูที่ท่านอิมามได้แสดงออก และการอธิบายถึงมุมมองของการกดขี่ที่ได้เกิดกับท่าน ยิ่งจะทำให้มองเห็นจิตวิญญาณอันแข็งแกร่งของเหล่าบรรดาลูกหลาน และเหล่าสหายของท่านอิมามว่าเป็นอย่างไร อยู่ในสภาพเฉกเช่นไร และพวกเขาได้ยืนหยัดต่อความอธรรมอย่างไร

อย่างไรก็ตามการจินตนาการภาพของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในฐานะของมนุษย์ผู้ได้รับการกดขี่ข่มเหงนั้น ยังมีเหตุผลอื่นอีก ซึ่งสามารถกล่าวอธิบายได้ดังต่อไปนี้ :

1.โศกนาฏกรรมที่ได้เกิดก่อนชะฮาดัต[6] และโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลังชะฮาดัต[7]อันเป็นโศกนาฏกรรมที่รุนแรงอย่างยิ่ง อีกทั้งยังมีความโหดร้ายและหน้ากลัวอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมาก่อนในสมัยญาฮีลลียะฮฺ (ยุคทมิฬโง่เขลา)[8] อีกด้านหนึ่งความโหดร้ายและความทารุณกรรมเหล่านี้ได้เกิดขึ้นกับท่านอิมาม ที่เพียบพร้อมไปด้วยเกียรติยศและความประเสริฐ ซึ่งทุกสิ่งได้เกิดขึ้นภายในวันเดียว ดังนั้น ความอธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นยังมิเป็นพยานยืนยันอีกหรือ? และโดยตัวของมันแล้วมิได้แสดงให้เห็นถึงการได้รับการกดขี่ข่มเหงดอกหรือ?

  1. เพื่อเป็นการปลุกความคิดของประชาคมโลกให้ตื่นขึ้นมาจำเป็นต้องกล่าวถึงความประเสริฐและสาธยายให้เห็นถึงการถูกกดขี่และความอธรรมที่ศัตรูได้กระทำบนสิทธิของท่าน เพื่อว่าประชาชนจะได้มีปฏิกิริยาตอบโต้ เฉกเช่น การแสดงออกของมุคตาร ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจินตนาการภาพการได้รับการกดขี่ข่มเหงของท่านอิมาม ให้ประจักษ์แก่สายตา
  2. การร้องไห้เพื่ออิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือการไว้อาลัยในช่วงการเป็นชะฮาดัตของท่านสิ่งเหล่านี้ล้วนได้รับการสนับสนุส่งเสริมจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย, มุฮัมมัดบิน มุสลิมกล่าวว่า : ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : ท่านอิมาม อะลี บิน ฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวว่า : มุอฺมินทุกคนที่ได้ร่ำไห้หลั่งน้ำตาให้แก่การถูกสังหารของฮุซัยนฺ (อ.) อัลลอฮฺ จะประทานที่พำนักแก่เขาในสรวงสวรรค์ และเขาจะได้พำนักอยู่ในนั้นอย่างยาวนาน”[9] และเนื่องจากว่าเขาได้หลั่งน้ำตาเพื่อโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่มีหนทางอื่นใดอีก นอกจากการสาธยายถึงความประเสริฐและความอธรรมกดขี่ข่มเหงทั้งหลายที่ได้เกิดกับท่านอิมาม, ในกรณีนี้สิ่งจำเป็นก็คือ การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามเพื่อสาธยายถึงการได้รับการกดขี่ของท่าน, ขณะที่การกดขี่เหล่านี้มิได้บ่งบอกให้เห็นถึงความอ่อนแอหรือความไร้สามารถของท่านอิมามแต่อย่างใด ทว่าเป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงความกล้าหาญ และเกียรติยศของท่านอิมามเสียด้วยซ้ำ
  3. การสาธยายถึงการได้รับการกดขี่ข่มเหงของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซึ่งการกล่าวถึงความชั่วร้ายของศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เท่ากับเป็นการจุดดวงประทีปแห่งทางนำไว้สำหรับเยาวชนรุ่นต่อไป, เพื่อว่าพวกเขาจะได้สามารถจำแนกแยกแยะได้ระหว่างผู้เป็นมิตรกับศัตรู, ด้วยเหตุนี้เองการกล่าวรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และการจินตนาภาพของการถูกกดขี่ข่มเหงของท่านจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกระทำ

จากเหตุผลที่กล่าวอ้างมานั้นเข้าใจได้ว่า เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงประเด็นที่ว่า การสาธยายหรือการจินตนาการถึงภาพการได้รับการกดขี่ข่มเหงของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในความหมายที่สอง[10]จึงเป็นที่ยอมรับ ณ อัลลอฮฺ, ทว่าจำเป็นเสียด้วยซ้ำ, แต่การจินตนาการภาพของการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในความหมายแรก[11] ซึ่งในบางที่ได้ตั้งใจกระทำ หรืออาจพลั้งเผลอกระทำสิ่งนี้ขึ้นมา, แน่นอน การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นบิดอะฮฺและฮะรอมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

 

[1] มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 25, หน้า 7, สถาบันอัลวะฟาอฺ, เบรูต, เลบานอน, 1404 ฮ.ศ. ดะวอนียฺ,อะลี,มะฮฺดียฺ เมาอูด,ฉบับแปล, เล่ม 13, บิฮารุลอันวาร, หน้า 1237, พิมพ์ครั้งที่ 28, สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, ปี 1378.

[2] อัซซะดูก, อัลอะมาลียฺ, หน้า 115

[3] มีกล่าวไว้เป็นจำนวนมากใน หนังสือซิยาเราะฮฺ, ดุอาอฺและฮะดีซ ซึ่งได้ใช้คำนี้ต่อท้ายนามของท่านอิมาม

[4] "مَن قُتِل‌َ مَظْلُومًا فَقَدْ جَعَلْنَا لِوَلِیِّه‌ِ سُلْطاناً".และผู้ใดถูกฆ่าอย่างอยุติธรรม ดังนั้น เราได้ให้อำนาจแก่ผู้ปกครองของเขา (ดำเนินคดีและลงโทษ)

[5] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 3,มันชูรอต ดารุลฮิจญฺเราะฮฺ, กุม

[6] เช่น การเป็นชะฮีดของบรรดาบุตรหลาน, พี่น้อง, สหาย, และการทนต่อสภาพความหิวกระหายที่ได้เกิดกับท่าน เหล่าบรรดาเด็ก และสตรีทั้งหลาย

[7] เช่น การทำลายและการไม่ให้เกียรติต่อบรรดาลูกหลานที่อยู่ภายในค่ายที่พัก การไม่ให้เกียรติต่อศีรษะของท่านอิมาม ต่อครอบครัวของท่านทั้งในกูฟะฮฺ และชาม และ ...

[8] ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวถึง โศกนาฏกรรมดังกล่าวไว้ว่า : “มุฮัรรอม คือ เดือนซึ่งบรรดาญาฮิลลียะฮฺถือว่าการทะเลาะวิวาท และการนองเลือดในเดือนนี้เป็นสิ่งต้องห้ามและฮะรอม แต่บรรดาศัตรูได้หลั่งเลือดลูกหลานนบีภายในเดือนนี้ ได้ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเรา ได้จับเหล่าสตรีและลูกหลานของเราร้อยโซ่ตรวนเป็นเชลย” (บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44. หน้า 283, บาบ 34, ผลบุญแห่งการร้องไห้บนโศกนาฏกรรม ฮะดีซที่ 17.

[9] อันซอรียฺ มะฮัลลาตตียฺ, มุฮัมมัด ริฏอ, ษะวาบุลอะอฺมาล, ฉบับแปล, อันซอรียฺ, หน้า 163, พิมพ์ครั้งแรก, สำนักพิมพ์นะซีมเกาซัร, กุม ปี 1382.

[10] ความอธรรมกดขี่ที่ไม่ได้บ่งบอกให้เห็นถึงความอ่อนแอของท่านอิมาม, ทว่าเป็นการสาธยายถึงโศกนาฏกรรมต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านอิมาม ครอบครัว และเหล่าสหาย จึงจำเป็นต้องเอ่ยถึงการอธรรมของศัตรูที่มีต่ออิมามและครอบครัว

[11] การกดขี่ข่มเหงที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ และการยอมจำนนต่อการอธรรม อันเป็นสาเหตุทำให้ท่านถูกตัดขาดความสัมพันธ์ ที่มีต่ออำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระผู้อภิบาล

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อาณาจักรดุอาสะฮัร
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 ...
ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ ...
...
...
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 ...
ดุอาประจำวันที่ 18 ...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย

 
user comment