ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?

จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?

จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?

คำตอบโดยสังเขป

อิอฺญาซ หมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดา อีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทาย และเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้น การกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึง การกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ

ภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง ภารกิจที่ไม่มีสาเหตุ หรือภารกิจที่ปฏิเสธกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ของสาเหตุ อิอฺญาซมาตรว่าเป็นภารกิจธรรมดาที่มีสาเหตุทางธรรมชาติ แต่สามารถเหล่านั้นก็ยากเกินความสามารถที่มนุษย์บุถุชนทั่วไปจะสัมผัสได้ หรือเกินความสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจได้ด้วย การท้าทายหมายถึงท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในฐานะที่เป็นเจ้าของปาฏิหาริย์ ได้กล่าวท้าทายบุคคลหรือกลุ่มชนที่ไม่เชื่อเรื่องปาฏิหาริย์ของท่าน หรือไม่ยอมคำเชิญชวนของท่าน ซึ่งท่านจะกล่าวท้าทายให้เขานำสิ่งที่คล้ายเหมือนมาแสดงเยี่ยงท่าน

ปาฏิหาริย์ อิอ์ญาซ ได้รับอิทธิพลมาจากท่านศาสดาโดยได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺ กล่าวคือปาฏิหาริย์ต่างๆ ของศาสดาขึ้นอยู่กับอำนาจที่ไม่มีความจำกัดของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จึงได้รับชัยชนะเสมอมา ปาฏิหาริย์ ไม่ต้องเรียนหรือจดจำแต่อย่างใด อีกทั้งไม่ต้องการเงื่อนไขอันจำกัดจำเพาะแต่อย่างใดด้วย ปาฏิหาริย์ของบรรดาศาสดานั้นส่วนใหญ่มิได้เป็นการแสดงเพื่อคร่าเวลาให้หมดไป ทว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อการชี้นำทางมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ปาฏิหาริย์ของบรรดาศาสดาจึงมีแตกต่างไปจากเรื่องกะรอมัต เช่น การตอบรับดุอาอฺ และ....มายากล หรือคาถาอาคมต่างๆ โดยสิ้นเชิง

เรื่อง กะรอมัต นั้นมิได้อยู่ในส่วนของคำท้าทาย หรือการชี้นำทางามนุษย์ หรือคำกล่าวอ้างการเป็นนบีแต่อย่างใด ทำนองเดียวกันเรื่องมายากลและคาถาคมต่างๆ ที่บรรดามุรตะฎออินเดียได้แสดงให้เห็นนั้น ล้วนเป็นภารกิจที่เกิดขึ้นเป็นไปภายใต้กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติทั้งสิ้น แม้ว่าบางครั้งอาจจะมีภารกิจบางอย่างที่มีเป้าหมายอันศักดิ์สิทธิ์ก็ตาม

นอกจากนี้,บุคคลที่ได้ศึกษาและฝึกฝนภารกิจดังกล่าวจนประสบความสำเร็จ และสามารถปฏิบัติภารกิจบางประการได้ ภารกิจของเขาก็ขึ้นอยู่กับแหล่งอำนาจของมนุษย์ ซึ่งมีความจำกัดดังนั้นภารกิจที่ดูเหมือนว่าเหนือธรรมชาติที่กระทำโดยบุคคลที่ฝีกฝนตน ก็ยังพ่ายแพ้ต่ออำนาจที่เหนือธรรมชาติที่เรียกว่า มุอฺญิซะฮฺ อยู่ดี

ส่วนการพิสูจน์เรื่อง มุอฺญิซะฮฺ, อิอฺญาซมี 2 ประเภท,บางครั้งเป็นการกระทำ และบางครั้งเป็นกาลเวลาเป็นการบรรยายหรือคำพูด, ปาฏิหาริย์ที่เป็นการกระทำด้านหนึ่งเกิดจากการเรียกร้องของประชาชน และจะเกิดในช่วงเวลาที่มีความเหมาะสม และหลังจากเกิดแล้ว ปาฏิหาริย์นั้นจะไม่คงเหลืออยู่อีกต่อไป, แม้ว่าจะมีปาฏิหาริย์อันเป็นการกระทำของบรรดาศาสดา (อ.) หลงเหลืออยู่บ้างก็ตาม

การพิสูจน์ปาฏิหาริย์ดังกล่าวข้างต้น, สำหรับบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ของการเกิดปาฏิหาริย์, สามารถพิจารณาได้จากรายงานต่างๆ ที่กล่าวถึงเรืองปาฏิหาริย์นั้นๆ และสามารถยอมรับความจริงได้.

ส่วนมุอฺญิซะฮฺ ที่เป็นถ้อยจำนรรจ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็คืออัลกุรอาน, ซึ่งอัลกุรอานเองได้เชิญชวนและท้าทายบรรดาผู้ปฏิเสธอัลกุรอานให้มาต่อสู้กัน ซึ่งการท้าทายอันเฉพาะของอัลกุรอาน มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่เรื่องวาทศิลป์ วาทศาสตร์ และโวหาร , ทว่าได้ท้าทายในทุกรูปแบบที่คิดว่าสามารถทำได้ดีกว่าอัลกุรอาน, ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจัดว่าเป็นการท้าทายของอัลกุรอานโดยแท้จริง เช่น การแจ้งข่าวความเร้นลับ การอธิบายในเชิงวิชาการ การไม่มีความขัดแย้งกันในอัลกุรอาน และ .... แน่นอนการพิสูจน์ปาฏิหาริย์เหล่านี้ต้องอาศัยการพิสูจน์ปาฏิหาริย์ของอัลกุรอานที่ว่า อัลกุรอาน ดีกว่าในทุกด้านที่มนุษย์คิดว่าสิ่งนั้นดี และมนุษย์ไร้ความสามารถในการนำเสนอเยี่ยงอัลกุรอาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

นักปราชญ์อิสลามกับการตีความคำว่า มุอฺญิซะฮฺ[1]

“มุอฺญิซะฮฺ” หมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดา อีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทาย และเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้น การกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึง การกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ แต่มิได้หมายความว่า มุอฺญิซะฮฺ, ได้รับการยกเว้นจากกฎเกณฑ์ของเหตุปัจจัย. มุอฺญิซะฮฺ มิใช่การปฏิเสธสาเหตุ เนื่องจากกฎของเหตุปัจจัยที่เป็นไป, นั้นยอมรับเรื่องของเหตุผล และอัลกุรอาน. กฎเกณฑ์ของเหตุปัจจัย[2] และปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ ทั้งสองประการยอมรับอัลกุรอาน แต่โดยหลักการได้นำเสนอแก่มนุษย์ เช่น การเกิดปาฏิหาริย์อยู่ในอำนาจของอัลลอฮฺ.เหตุที่เป็นวัตถุโดยเอกเทศไม่มีผลโดยตรงกับการเกิดปาฏิหาริย์ แน่นอน สาเหตุทีแท้จริงคืออัลลอฮฺเพียงผู้เดียว[3] ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่มีผลต่อปาฏิหาริย์, ก็คือการมีอยู่ของบรรดาศาสดา[4]ส่วนสาเหตุที่มีอิทธิพลเหนือบรรดาศาสดาและมวลผู้ศรัทธา,ก็คือสิ่งที่อยู่เหนือประมวลสาเหตุภายนอก และมีอิทธิต่อสิ่งเหล่านั้น[5]

บทสรุป, มุอฺญิซะฮฺและภารกิจเหนือธรรมชาติ ก็เหมือนกับภารกิจทั่วไปที่ต้องอาศัยสาเหตุอันเป็นธรรมชาติ และนอกจาก, ทั้งสอง (มุอฺญิซะฮฺและภารกิจธรรมชาติ) ยังได้รับประโยชน์จากด้านใน ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่า สาเหตุ และแน่นอน สิ่งนี้มีความแตกต่างกัน, เพียงแต่ว่าภารกิจทั่วไปจะอยู่ร่วมกับภารกิจภายนอกและสาเหตุภายในอันเป็นแก่นแท้ และสาเหตุภายในก็จะอยู่ร่วมกับความประสงค์และบัญชาของพระเจ้า แน่นอน บางครั้งสาเหตุที่แท้จริงกับสาเหตุภายนอกจะไม่ประสานกัน ซึ่งในบทสรุปก็คือว่า, สาเหตุภายนอกจะออกนอกระบบของ สาเหตุทั้งหลาย ซึ่งสิ่งนั้นจะไม่ถือว่าเป็นภารกิจธรรมดาทั่วไปอีกต่อไป เนื่องจากสิ่งนั้นมิได้ย้อนกลับไปยังพระประสงค์และบัญชาของพระเจ้าอีกต่อไป แตกต่างไปจากภารกิจเหนือธรรมชาติ แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุอันเป็นธรรมชาติ ทว่าได้พึ่งพิงไปยังสาเหตุธรรมชาติที่มิใช่ธรรมดาทั่วไป หมายถึง สาเหตุต่างๆ ที่ประชาชนไม่อาจสัมผัสได้. อย่างไรก็ตามสาเหตุธรรมชาติที่มิใช่ธรรมดานั้น มีความใกล้เคียงกับสาเหตุที่แท้จริงภายใน และในที่สุดแล้วสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับการอนุญาตของพระเจ้า

เงื่อนไขอีกประการหนึ่งมุอฺญิซะฮฺ, ขึ้นอยู่กับการท้าทายกล่าวคือบรรดาศาสดา (อ.) เท่านั้นที่ได้เป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์, และได้ท้าทายบรรดาผู้ไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามท่าน ไม่ยอมรับการเชิญชวนของท่าน และเชื่อว่าภารกิจเหล่านั้นเป็นเพียงภารกิจธรรมดา ท่านจึงได้ท้าทายพวกเขาให้นำสิ่งที่คล้ายเหมือนเยี่ยงท่านแสดง[6]

อีกนัยหนึ่ง, มุอฺญิซะฮฺ หมายถึง “คำอธิบายสัญญาณของพระเจ้า” ที่ได้ถูกอนุมัติเพื่อพิสูจน์ภารกิจหนึ่งของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้เอง มุอฺญิซะฮฺ จึงต้องมีเงื่อนไขจำกัดอันเฉพาะและต้องเป็นการท้าทายด้วย[7]

สิ่งที่เป็นเงื่อนไขสำหรับ มุอฺญิซะฮฺ หรือสิ่งที่ได้ถูกกล่าวถึงขณะตีความ มุอฺญิซะฮฺก็คือ ภารกิจนี้จะต้องตรงกับคำกล่าวอ้าง หมายถึงบุคคลที่กล่าวอ้างตนว่าเป็นศาสดา ต้องแสดงมุอฺญะซะฮฺ ออกมาด้วยตัวเอง เช่น การเยียวยารักษาคนตาบอด และคนตาบอดได้หายเป็นปกติ เพื่อให้สิ่งนี้เป็นเหตุผลที่ยืนยันความสัจจริงของตน[8] 

ดังนั้น มุอฺญิซะฮฺ จึงถือว่าเป็นภารกิจเหนือธรรมชาติ แม้ว่าภายนอกอาจจะครอบคลุมถึงเรื่องมายากล การตอบรับดุอาอฺ และการแสดงสิ่งมหัศจรรย์อื่นด้วยก็ตาม แต่ทั้งมายากลและอาคมต่างๆ ไม่อาจยืนหยัดต่อหน้ามุอฺญิซะฮฺได้ สาเหตุของสิ่งเหล่านี้ล้วนพ่ายต่อมุอฺญิซะฮฺ ด้วยเหตุนี้ มุอฺญิซะฮฺ ในแง่มุมนี้จึงถือว่าเป็นปาฏิหาริย์อย่างแท้จริง เนื่องด้วยทั้งเหตุปัจจัยที่เป็นธรรมชาติหรือเหตุปัจจัยที่มิใช่สิ่งธรรมดา ต่างพ่ายต่อมุอฺญิซะฮฺทั้งสิ้น[9]

ส่วน มายากล มิได้มีแหล่งที่มาจากพระเจ้า หรือธรรมชาติแต่อย่างใดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยขัดแย้งกับความเป็นจริง ตามคำสั่งที่เป็นไปของนักมายากร ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นเหมือนภาพลวงตา เช่น การยุติความเร็วที่วางอยู่บนการจินตนาการ ซึ่งแม้ว่าบางครั้งมาลายากลจะมีแหล่งที่มาจากธรรมชาติ แต่นั่นก็เป็นไปเพื่อการรับใช้เป้าหมายอันเลวร้าย ซึ่งจะเกิดควบคู่กับความโง่เขลา และการหลงผิด

ภารกิจเหนือธรรมชาติบางอย่างของมนุษย์ ในทางเป้าหมายแล้วมีความแตกต่างกับมุอฺญิซะฮฺของบรรดาศาสดา. บรรดาศาสดาได้แสดงปาฏิหาริย์เพื่อการชี้นำมวลมนุษย์ชาติ หรือเพื่อแนะนำแนวทางแก่พวกเขา มิใช่เพื่อคร่าเวลาของมนุษย์ให้สูญเสียไปโดยไร้ประโยชน์

อีกด้านหนึ่ง มุอฺญิซะฮฺ ไม่มีเงื่อนไขอันเฉพาะเจาะจง หมายถึงในการแสดงปาฏิหาริย์ของศาสดา ไม่จำเป็นต้องผ่านขบวนการเรียนรู้และฝึกฝนแต่อย่างใด ต่างไปจากสิ่งที่นักมายากร หรือบรรดามุรตะฎออินเดียได้แสดง พวกเขาต้องผ่านขบวนการเรียนรู้และการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และทางตรงกันข้ามพวกเขาก็ไม่สามารถทำทุกสิ่งตามใจปรารถนาได้ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่า มุอฺญิซะฮฺของบรรดาศาสดานั้น ได้พึ่งพิงอำนาจที่ไม่มีวันสูญสลาย และไม่มีความจำกัดของพระเจ้า ส่วนภารกิจที่เหนือธรรมชาติของมนุษย์นั้นได้รับมาจากบุคคลอื่น เป็นแหล่งอำนาจที่สูญสลายและมีความจำกัด ด้วยเหตุนี้ ภารกิจเหนือธรรมชาติของมนุษย์จึงสูญสลายและไม่มีบุคคลใดกล้าท้าทายให้อีกฝ่ายกระทำเยี่ยงตน[10]

มุอฺญิซะฮฺ กับการตอบรับดุอาอฺ และ ....มีความแตกต่างกัน เนื่องจากมุอฺญิซะฮฺ, นั้นเป็นการท้าทายและวางอยู่บนการชี้นำมวลมนุษย์, ซึ่งการแสดงมุอฺญิซะฮฺ แต่ละครั้งนั้นก็เพื่อพิสูจน์สภาวะการเป็นศาสดา สาส์น และคำเชิญชวนทีมีมายังมวลมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ บุคคลที่เป็นเจ้าของมุอฺญิซะฮฺ, ในการแสดงมุอฺญิซะฮฺแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับการเลือกสรร หมายถึงเมื่อมีการเรียกร้อง มุอฺญิซะฮฺ จากท่านแล้วท่านจะแสดงได้ก็ต้องเป็นความประสงค์ของพระเจ้าด้วยเช่นกัน ต่างไปจากการตอบรับดุอาอฺ หรือกะรอมัตของหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เนื่องจากมิได้วางอยู่บนพื้นฐานของการท้าทาย หรือมิได้มีจุดประสงค์เพื่อการชี้นำมวลมนุษย์ จึงเป็นไปได้ที่อาจจะไม่เกิดขึ้น หรืออาจจะผิดแปลกออกไป ซึ่งการผิดแปลกไปนั้นมิได้เป็นเหตุนำไปสู่การหลงทางของคนอื่นแต่อย่างใด[11]

อีกนัยหนึ่ง, กะรอมัต เป็นภารกิจหนึ่งที่เหนือธรรมชาติเช่นกัน เป็นผลที่เกิดจากจิตวิญญาณที่เข้มแข็งและบริสุทธิ์ เป็นพลังจิตของมนุษย์ผู้สมบูรณ์คนหนึ่ง หรือมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์เพียงครึ่งหนึ่ง ซึ่งมิได้เป็นไปเพื่อการชี้นำอันเฉพาะ ตามความเป็นจริงแล้ว, มุอฺญิซะฮฺคือภาษาของพระเจ้า ซึ่งมีผลกระต่อบุคคลส่วนกะรอมัตมิได้เป็นภาษาของพระเจ้าแต่อย่างใด[12]

อย่างไรก็ตาม มุอฺญิซะฮฺ ได้เกิดขึ้นพร้อมกับคำกล่าวอ้าง อันเฉพาะสำหรับบุคคลที่เป็นศาสดาเท่านั้น ดังนั้น ถ้าบุคคลหนึ่งได้แสดงมุอฺญิซะฮฺ ออกมาซึ่งอาจอ้างตนเป็นนบีหรือไม่ได้อ้างตน ถ้าเขาอ้างตนเป็นนบีก็จะสามารถพิสูจน์ความจริงได้ด้วยวิถีทางของมุอฺญิซะฮฺ หรือยืนยันคำกล่าวอ้างได้อย่างถูกต้องด้วยวิถีดังกล่าวนั่นเอง เนื่องจาก การแสดงปาฏิหาริย์ลักษณะนี้มิอาจเกิดจากบุคคลที่มุสาได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าเขามิได้อ้างตนเป็นนบี ก็มิอาจตัดสินว่าเขาเป็นนบีได้เนื่องจากในเบื้องต้น มุอฺญิซะฮฺ มิได้บ่งชี้การเป็นนบีแต่อย่างใด แต่สิ่งที่ได้พิสูจน์ให้เห็นคือ คำกล่าวอ้างที่เป็นจริงของเขา และถ้าคำกล่าวอ้างของเขาครอบคลุมการเป็นนบีของเขา เวลานั้น มุอฺญิซะฮฺ จะบ่งชี้ให้เห็นว่าคำกล่าวอ้างของเขาเป็นจริง และสิ่งจำเป็นสำหรับความจริงดังกล่าวนี้ก็คือ การพิสูจน์การเป็นนบีของเขา

อย่างไรก็ตามนบีก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนบีนั้น ก็สามารถแสดงมุอฺญิซะฮฺได้, แต่สิ่งนั้นเป็นเพียง “อัรฮาซ” หมายถึงการเตรียมพร้อมประชาชนเพื่อรับฟังคำเชิญชวน[13]

แน่นอน มุอฺญิซะฮฺ จะเกิดขึ้นหลังจากการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเกิดพร้อมกับการท้าทายผู้ปฏิเสธ เพราะถ้านอกเหนือจากนี้แล้ว ถ้าได้เห็นภารกิจเหนือธรรมชาติที่เกิดจากบรรดาศาสดาที่ยังมิได้เป็นศาสดา เรียกสิ่งนั้นว่า กะรอมัต แม้ว่าในทางสังคมจะเรียกปาฏิหาริย์ที่เกิดจากบรรดาศาสดา และอิมามว่าเป็น มุอฺญิซะฮฺ ก็ตาม[14]

ส่วนการพิสูจน์ มุอฺญิซะฮฺ, ขึ้นอยู่กับการอธิบายใน 2 ประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ : ประการที่หนึ่ง, ประเภทของมุอฺญิซะฮฺของบรรดาศาสดาทั้งหลาย, ประการที่สอง, การเป็นปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน

ประเภทของมุอฺญิซะฮฺต่างๆ : มุอฺญิซะฮฺแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน กล่าวคือ : การกระทำและคำพูด

มุอฺญิซะฮฺที่เป็นการกระทำได้แก่ : การแสดงภารกิจบางอย่างบนพื้นฐานของวิลายะฮฺตักวีนีย์[15] ตามการอนุญาตของอัลลอฮฺ, เช่น การแยกดวงจันทร์[16] ซึ่งได้แสดงโดยท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือการแยกแผ่นดิน[17] การแยกทะเล[18] เรื่องราวเกี่ยวกับกอนรูนและฟิรอาวน์ ซึ่งได้แสดงโดยท่านศาสดามูซา (อ.) หรือการแยกภูเขา[19] โดยท่านศาสดาซอลิฮฺ (อ.) การเยียวยารักษาคนเป็นโรคเรื้อน และการทำให้คนตายฟื้นคืนชีพ[20] โดยท่านศาสดาอีซา (อ.) หรือการถอดประตูป้อมปราการค้ยบัร โดยปาฏิหาริย์ของอัลละวีย[21]

มุอฺญิซะฮฺคำพูด, หมายถึง : พระวจนะหรือคำอธิบายของพระเจ้า ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์คือผู้แบกรับวิชาการอันสูงส่งและลุ่มลึกเหล่านี้ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การชี้นำมวลมนุษย์ และไขปัญหาข้อข้องใจของชาวโลก

ความแตกต่างระหว่างมุอฺญิซะฮฺที่เป็นการกระทำกับคำพูด จำเป็นต้องกล่าวว่ามุอฺญิซะฮฺที่เป็นการกระทำ, นั้นมีเวลาและสถานที่เป็นตัวกำกับและจำกัดการกระทำนั้น อีกทั้งได้แสดงเพื่อสามัญชนทั่วไป,เนื่องประชาชนเหล่านั้นใช้ความรู้สึกที่สัมผัสได้ภายนอกเป็นเกณฑ์ตัดสิน[22]ส่วนมุอฺญิซะฮฺที่เป็นคำพูด, ไม่มีเวลาและสถานที่เป็นตัวกำกับและจำกัดความอันเฉพาะแต่อย่างใด และมุอฺญิซะฮฺประเภทนี้จะดำรงอยู่ในทุกยุคทุกสมัย

แต่อย่างไรก็ตามมุอฺญิซะฮฺของท่านศาดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เช่น การเปลี่ยนและกำหนดกิบละฮฺในมะดีนะฮฺ จวบจนถึงปัจจุบันก็ยังคงเหลืออยู่ ซึ่งท่านศาสดามิได้ใช้หลักการของดาราศาสตร์ หรือหลักการคำนวณแต่อย่างใด ท่านได้หันหน้าไปทางกิบละฮฺและกล่าวว่า : "محرابى على المیزاب" เมะฮฺรอบของฉันอยู่ตรงกับรางน้ำของกะอฺบะฮฺ[23]

การพิสูจน์ มุอฺญิซะฮฺ ในปัจจุบัน,ต้องอาศัยการพิจารณาจากรายงานต่างๆ ที่กล่าวถึงเรื่องมุอฺญิซาตเอาไว้, ถ้าหากรายงานเหล่านั้นมีสายรายงานที่เชื่อถือได้ หรือมีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความถูกต้อง เราก็สามารถยอมรับมุอฺญิซะฮฺนั้นได้ ถ้ามิได้ใช่เช่นนั้นก็ไม่มีวิธ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
เหตุผลของท่านอิมามฮะซัน (อ.) ...
บทธรรมเทศนาของอิมามริฎอ
ทำไมต้องซัจดะฮฺบนดิน
...
ดุอาประจำวันที่ 17 ...
...
เป้าหมายของการถือศีลอด ...
ค่ำคืนที่ประเสริฐกว่า 1000 เดือน
...

 
user comment