ไทยแลนด์
Saturday 20th of April 2024
0
نفر 0

เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน?

เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน?

เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน? อ้างอิงซูเราะฮ์หรือโองการใดได้บ้างในกุรอาน?

คำตอบโดยสังเขป

กุรอานและฮะดีษสอนว่า มีปัจจัยบางประการที่ช่วยชลอหรือขจัดปัดเป่าอะซาบให้พ้นจากสังคม ในที่นี้ขอหยิบยกมานำเสนอบางประการดังต่อไปนี้:

หนึ่ง. การที่สังคมยังมีท่านนบี หรือผู้ขออภัยโทษอาศัยอยู่:  وَ ما کانَ اللَّهُ لِیُعَذِّبَهُمْ وَ أَنْتَ فیهِمْ وَ ما کانَ اللَّهُ مُعَذِّبَهُمْ وَ هُمْ یَسْتَغْفِرُون “(โอ้ศาสนทูต) พระองค์จะไม่ทรงลงทัณฑ์ (อะซาบ) พวกเขา ตราบที่เจ้าอาศัยอยู่ในหมู่พวกเขา และพระองค์จะไม่ทรงเป็นผู้ลงอาญาพวกเขา ตราบที่พวกเขายังขออภัยโทษ”[1]

โองการนี้ประทานมาในกรณีของ นัฎร์ บิน ฮัรษ์ ซึ่งแทนที่จะขอให้พระองค์ประทานความเมตตา แต่กลับขอให้ทรงกระหน่ำก้อนหินลงมา[2] โองการนี้ระบุชัดเจนว่ามีสองปัจจัยที่ทำให้พระองค์ระงับการลงอะซาบ นั่นคือ การมีท่านนบีหรือผู้ขออภัยโทษในหมู่ประชาชน

สอง. เพื่อรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา  لَوْ تَزَیَّلُوا لَعَذَّبْنَا الَّذینَ کَفَرُوا مِنْهُمْ عَذاباً أَلیما   “หากผู้ศรัทธาและเหล่ามุชริกีน (ในมักกะฮ์) จำแนกออกจากกัน แน่แท้ เราจะลงอะซาบเหล่าผู้ปฏิเสธอย่างเจ็บปวด” [3]

สาม. มีผู้อ่อนแอท่ามกลางประชาชน ท่านอิมามริฎอ(อ.)กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮ์มีมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งที่คอยป่าวประกาศว่า โอ้ปวงบ่าวของพระองค์ จงอยู่อย่างสงบ และงดกระทำบาปเถิด เพราะมาตรว่าไม่มีปศุสัตว์ ทารก และคนชราที่สาละวนกับการโค้งรุกู้อ์ไซร้ แน่แท้ อะซาบอันหนักหน่วงจะถาโถมมากระทั่งพวกเจ้าไม่เหลือชิ้นดี”[4]

สี่. การเชื่อมสัมพันธ์เพื่อพระองค์ การทำนุบำรุงมัสญิด และการขออภัยโทษยามรุ่งอรุณ: ท่านอิมามศอดิก(อ.)รายงานจากท่านอิมามบากิร(อ.)ผู้เป็นบิดาว่า “แท้จริง ยามที่พระองค์ประสงค์จะลงอะซาบแก่ชาวโลก พระองค์จะทรงปรารภว่า “มาตรว่าไม่มีผู้ที่กระชับสัมพันธไมตรีเพื่อข้า และไม่มีผู้ทำนุบำรุงมัสญิดของข้า และไม่มีผู้ที่ขออภัยโทษข้ายามรุ่งอรุณ แน่นอนว่าข้าจะอะซาบพวกเขา”[5]

 

[1] อัลอันฟาล,33

[2] เฏาะบัรซี,ฟัฎล์ บิน ฮะซัน,มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 8,หน้า 453, สำนักพิมพ์นาศิร โคสโร,เตหราน,ปี 1372

[3] อัลฟัตฮ์, 25

[4] กุลัยนี,มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ,อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 276,ดารุ้ลกุตุบิลอิสลามมียะฮ์,เตหราน,ปี 1365

[5] อิบนิ บาบะวัยฮ์,มุฮัมมัด บิน อลี,ษะวาบุ้ลอะอ์มาล วะอิกอบุ้ลอะอ์มาล,หน้า 177,สำนักพิมพ์ดารุชชะรีฟ อัรเราะฎี, กุม,ฮ.ศ.1406

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำถามนี้ไม่มีคำตอแบบรายละเอียด

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ปรัชญาของวันอีดฟิตร์
...
...
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ ตอนที่ ...
การผ่าดวงจันทร์ (ชักกุ้ลกอมัร) ...
บันทึกประวัติ “ปาเลสไตน์” ...
...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย
อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร ...
ความอธรรมในอัลกุรอาน

 
user comment