ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

ทำไมต้องอ่าน “ซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์”ให้กับคนตาย?

ทำไมต้องอ่าน “ซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์”ให้กับคนตาย?

เหตุผลหนึ่งที่มุสลิมอ่านซูเราะฮ์ฮัมด์ให้แก่คนตายเพราะฮะดิษบทหนึ่งที่รายงานจากท่านอิมามฮาดี(อ) ว่า  กษัตริย์แห่งโรมได้เขียนจดหมายถึงคอลีฟะฮ์คนหนึ่งจากราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ความว่า เราพบในคัมภีร์อินญีลว่าผู้ใดก็ตามที่เขาอ่านซูเราะฮ์หนึ่งด้วยความเข้าใจถึงแก่นแท้ซึ่งเป็นซูเราะฮ์ที่ปราศจาก7 พยัญชนะพระผู้เป็นเจ้าจะทำให้ไฟนรกเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเรือนร่างของเขา ซึ่ง 7 พยัญชนะ ดังกล่าวคือ

 

ث ، ج ، خ ، ز ، ش ، ظ ، ف

 

เราได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งในคัมภีร์เตารอต ซะบูร และอินญีล แต่กลับไม่พบซูเราะฮ์ที่มีคุณลักษณะนี้อยู่เลย  ดังนั้นเราอยากจะถามท่านว่าท่านพบซูเราะฮ์ที่มีคุณลักษณะนี้ในคัมภีร์อัลกุรอานของพวกท่านหรือไม่?

 

คอลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ได้ทำการรวบรวมบรรดาผู้รู้เพื่อที่จะไขปริศนาของคำถามนี้ แต่สุดท้ายพวกเขาก็พบกับความล้มเหลวไม่สามารถหาคำตอบได้ สุดท้ายจึงนำคำถามนี้ไปถามท่านอิมามฮาดี(อ)

 

ท่านอิมาม(อ)ตอบว่า ซูเราะฮ์นั้นก็คือซูเราะฮ์ ฮัมด์ ซึ่งไม่มีพยัญชนะทั้งเจ็ดอยู่ พวกเขาได้ถามว่าอะไรคือปรัชญาของการไม่มีพยัญชนะทั้งเจ็ด

 

ท่านอิมาม(อ)ได้ตอบว่า

 

-อักษร ث   ชี้ถึง ษะบูร หมายถึง ความพินาศ

 

-อักษร ج   ชี้ถึง “ญาฮีม” หมายถึงชื่อของขุมนรก

 

-อักษร خ  ชี้ถึง “คอบิษ” หมายถึง ความสกปรกโสมม

 

-อักษร ز   ชี้ถึง “ซะกูม” หมายถึงอาหารนรกที่มีรสขมเป็นอย่างมาก

 

-อักษร ش   ชี้ถึง “ชะกอวัต” หมายถึง ความโชคร้าย

 

-อักษร ظ   ชี้ถึง “ซูลุมาต” หมายถึง ความมืดมิดและความมืดมน

 

-อักษร ف   ชี้ถึง “ออฟาต” หมายถึง ความเสียหาย และบาลาอ์ต่างๆ

 

เมื่อคอลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ได้รับคำตอบที่สร้างความแปลกใจอย่างมากและก็ได้เขียนจดหมายตอบกลับไปยังกษัตริย์โรม หลังจากที่กษัตริย์โรมได้รับจดหมายดังกล่าวแล้ว เขาดีใจเป็นอย่างมากและได้เข้ารับอิสลามและจากโลกนี้ไปในสภาพที่เป็นมุสลิม

 

ในความเป็นจริงแล้วฮาดิษบทนี้ชี้ให้เห็นว่านี้คือเหตุผลที่มุสลิมอ่านซูเราะฮ์ฮัมด์ให้แก่ผู้ที่จากโลกนี้ไปแล้ว เนื่องจากไม่มีพยัญชนะอักษรทั้งเจ็ดอยู่เลยในซูเราะฮฺฮัมด์

 

แหล่งอ้างอิง

 

شرح شافیه ابی فراس ، مطابق نقل منتخب التواریخ ، ص ۷۹۵

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์เลิฟฮูเซน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article


 
user comment