ไทยแลนด์
Tuesday 23rd of April 2024
0
نفر 0

อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน หมายถึงอะไรในตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสกะรี

ตัฟซีรอัลกุรอานของท่านอิมามฮะซัน อัสกะรี (อ.) ถือว่าเป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่า ตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (อัลฮัมด์) และบทบะเกาะเราะฮ์ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีษ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีรมะอ์ซูเราะฮฺ

อย่างไรก็ตาม ท่านอิมามฮะซันอัสกะรี (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า

«اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين»

ไว้ในหลายประเด็น เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮ์ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้  การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง  ความประเสริฐ และความสูงส่งของชีอะฮ์ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮ์ และอิมามะฮ์ของท่านอิมามอะลี (อ.)  และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮ์ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า

 

«اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين»



ตัฟซีรของท่านอิมามฮะซัน อัสกะรี (อ.) ได้ถูกกล่าวพาดพิงว่าเป็นของท่านอิมามฮะซัน อัสกะรี แต่เหตุผลบางประการที่กล่าวอ้างมานั้น ไม่มีความแน่นอน[1]

อย่างไรก็ตาม  ตัฟซีรอิมามฮะซันอัสกะรี อธิบายประโยค «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين»
โดยสรุปได้ดังนี้ :


«الْحَمْدُ لِلَّهِ » หมายถึง อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงประทานความโปรดปรานบางประการแก่ปวงบ่าวของพระองค์ โดยอธิบายถึงความโปรดปรานคร่าวๆ เอาไว้  แต่เนื่องจากความจำกัด จึงไม่อาจกล่าวแนะนำถึงรายละเอียดของความโปรดปราน ทั้งหมดเหล่านั้นได้, เนื่องจากความโปรดปรานต่างๆ ของพระองค์ มีจำนวนมากมายมหาศาลอันไม่อาจคำนวณนับได้ครบนั่นเอง, ด้วยเหตุนี้เอง ท่านได้กล่าวแก่พวกเขาว่า : พวกเธอจงกล่าวว่า :  «الْحَمْدُ لِلَّهِ »เถิด[2]


และท่านอิมาม (อ.) อธิบายเพิ่มเติมประโยคที่ว่า «رَبِّ الْعالَمِينَ» ไว้ว่า :


1. พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก  ทรงประทานความโปรดปรานแก่สรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย แล้วทรงปกป้องพร้อมกับให้การสนับสนุนพวกเขา ทรงห้อมล้อมเหนือพวกเขา, และทรงบริบาลทุกสรรพสิ่งตามความเหมาะสม  แล้วพระองค์ทรงประทานความเมตตาและความการุณย์โดยแท้จริงแก่ปวงบ่าว[3]


2.ความโปรดปรานของสิ่งถูกสร้างทั้งหมด  ได้ถูกจัดเตรียมและเป็นที่ล่วงรู้แล้ว  บุตรหลานของอาดัม ได้ดำเนินชีวิตตามทุกวิถีการ และทุกศาสนาตามใจปรารถนาของตน และไม่ว่าอย่างไรก็ตามในทุกสภาวการณ์ พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเขา  ระหว่างบุตรหลานของอาดัมและความโปรดปรานของพวกเขา  มีม่านและอุปสรรคขวางกั้น ในขณะที่ความโปรดปราน ได้เรียกร้องหาเขา จนถึงขั้นที่ว่าถ้าหากบุคคลใดได้เรียกร้องหาความโปรดปราน  ความโปรดปรานก็จะวิ่งทะยานเข้าหาเขา ดุจดังเช่นที่ความตาย และความสูญสิ้น ได้ติดตามเขา[4]


3.บรรดาชีอะฮ์ เนื่องจากอัลลอฮ์ ทรงประทานความประเสริฐ และความดีงามแก่พวกเขา ฉะนั้น จงขอบคุณพระองค์เถิด[5] บนวิถีทางดังกล่าว  อัลลอฮ์ทรงอธิบายแก่มูซา (อ.) ถึงความประเสริฐและความดีงามของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ซ็อล ฯ) ที่มีต่อบรรดาศาสดาท่านอื่น และประชาชาติของท่านศาสดาดีกว่าประชาชาติอื่น และจะมีเสียงร้องเรียกประชาชาติของศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ว่า
 
: โอ้ ประชาชาติของมุฮัมมัดเอ๋ย พึงรู้ไว้เถิดว่า การกำหนดกฎเกณฑ์ของข้ามีต่อพวกเจ้า เช่นนี้ กล่าวคือ ความเมตตาของข้ายิ่งใหญ่เหนือความโกรธกริ้ว และการอภัยและการยกโทษให้ของข้า มีเหนือการลงโทษ ดังนั้น ก่อนที่พวกเธอจะวิงวอนขอต่อข้านั้น ข้าตอบรับดุอาอฺของพวกเธอก่อนหน้านั้นแล้ว และก่อนที่พวกเธอจะวิงวอนขอต่อข้า ข้าได้มอบความโปรดปรานแก่พวกเธอไว้ก่อนแล้ว และหากมีบางคนในหมู่พวกเธอ ได้มาพวกกับข้าด้วยหลักฐานที่ยืนยันว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ ข้าฯ ขอปฏิญาณว่า แท้จริง มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นเราะซูลของพระองค์ ถ้าเขาพูดด้วยความจริงใจ, และมีการปฏิบัติอย่างจริงใจ กล่าวว่า ทุกสิ่งที่เขากล่าว ทุกสิ่งที่เขารู้ เขาได้ปฏิบัติตามนั้น และเขายังได้ปฏิญาณว่า อะลี บุตรของอบีฏอลิบ เป็นลูกพี่ลูกน้องของมุฮัมมัด เป็นตัวแทนภายหลังจากมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้ปกครองของเขา[6] ฉะนั้น การเชื่อฟังปฏิบัติตามเขาจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  ดุจดังเช่นการเชื่อฟังปฏิบัติตามท่านศาสดามุฮัมมัด  และปฏิญาณว่าท่านคือหมู่มิตร ผู้ได้รับการเลือกสรร ผู้บริสุทธิ์ ผู้อรรถาธิบายความลึกล้ำของโองการแห่งสัจธรรม เป็นข้อพิสูจน์ และเป็นเหตุผลของพระเจ้า โดยเชื่อฟังปฏิบัติตามเขาหลังจากอัลลอฮฺ และเราะซูล ดังนั้น บุคคลเหล่านี้คือ หมู่มิตรของอัลลอฮฺ พระองค์จะนำพวกเขาเข้าสู่สวรรค์[7]


4.ฉะนั้น จำเป็นต้องแซ่ซ้องสรรเสริญอัลลอฮ์ ในฐานะที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานต่างๆ ด้วยประโยคว่า


«الحمد لله رب العالمین»[8]

 

 

[1] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทวิภาษสายรายงานตัฟซีรชุดนี้
อะละวีเมฮ์ร์, ฮุเซน, ออชติยอนี, ประวัติตัฟซีรและผู้ตัฟซีร, หน้า 198-191

[2] อัตตัฟซีร อัลมันซูบ อะลา อัลอิมาม อัลฮะซัน อัลอัสกะรี (อ.) หน้า 30
[3]  อ้างแล้วเล่มเดิม

[4] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 31.

[5] อ้างแล้วเล่มเดิม

[6] คำสรรพนาม ฮู ที่กล่าวในคำว่า “วะลียุฮู” ในประโยคที่กล่าวว่า
«مَنْ لَقِيَنِي مِنْكُمْ بِشَهَادَةِ... أَنَّ عَلِيَّ بْنَ أَبِي طَالِبٍ أَخُوهُ- وَ وَصِيُّهُ مِنْ بَعْدِهِ وَ وَلِيُّه»
ได้กลับย้อนกลับไปยัง คำว่า “มัน” มิใช่ “มุฮัมมัด” ด้วยเหตุนี้เอง ความหมายของประโยคดังกล่าวคือ : อิมามอะลี คือผู้ปกครองของบุคคลซึ่ง ได้ปฏิญาณว่าท่านคือพี่น้องและเป็นแทนหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

[7] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 33

[8] อ้างแล้วเล่มเดิม


ขอขอบคุณเว็บไซต์อิสลามเควสท์
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ปรัชญาของวันอีดฟิตร์
...
...
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ ตอนที่ ...
การผ่าดวงจันทร์ (ชักกุ้ลกอมัร) ...
บันทึกประวัติ “ปาเลสไตน์” ...
...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย
อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร ...
ความอธรรมในอัลกุรอาน

 
user comment