ไทยแลนด์
Thursday 18th of April 2024
0
نفر 0

ตรรกะในการตัฟซีรกุรอาน

ตรรกะในการตัฟซีรกุรอาน

การทำความเข้าใจอัลกุรอาน การจะเข้าใจในตัวบทของตำราใดๆ ย่อมมีบรรทัดฐาน, วิธีการและเงื่อนไขเฉพาะของมันทั้งสิ้น ซึ่งหากคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้แล้วก็จะสามารถเข้าใจในตัวบทนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง แต่หากไม่คำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ก็จะพาให้ผู้อ่านเข้าใจผิด พร้อมกับทำให้เข้าใจตัวบทได้อย่างคลาดเคลื่อนหรือวัตถุประสงค์ของตัวบทอย่าง ผิดๆได้ การจะเข้าใจอัลกุรอาน หรือจะกล่าวอีกนัยว่า การเข้าใจหรือตรรกในการอรรถาธิบายคัมภีร์แห่งฟากฟ้านี้ก็อยู่ในกฏเกณฑ์นี้ เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองจำเป็นที่เราต้องมีกฏเกณฑ์และวิธีในการทำความเข้าใจหรือตรรก ในการอรรถาธิบายกุรอาน

แน่นอนการไม่เข้าใจอัลกุรอานหรือไม่คำนึง ถึงกฏเกณฑ์เหล่านี้ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ซึ่งเราก็พบปัญหาเหล่านั้นในตำราตัฟซีรบางเล่ม ฉะนั้นเราจำเป็นจะต้องมีแนวทางในการทำความเข้าใจที่ชัดเจนและสามารถ อรรถาธิบายกุรอานได้ อีกทั้งจำเป็นจะต้องจำแนกปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการทำความเข้าใจกุรอานอย่างชัดเจนด้วย ซึ่งจะทำให้บรรดานักอรรถาธิบายไม่ต้องประสบกับปัญหาต่างๆ เหล่านั้น

ตรรกในการอรรถาธิบายกุรอาน เป็นเนื้อหาใหม่ที่ถูกนำมากล่าวถึงในวงการตัฟซีร โดยมีเป้าหมายที่จะให้พวกเราจะได้เข้าใจอัลกุรอานอย่างถูกต้อง แต่ก่อนหน้านั้นพวกเราจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจในขั้นตอนต่างๆ ต่อไปนี้

การเตรียมพร้อมภายใต้กฏเกณฑ์ของการตัฟซีร
นักอรรถาธิบายกุรอานต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านไวยากรณ์ภาษาอาหรับ (สาขาวิชา ศอรฟ์, นะฮว์, โลเฆาะฮ์ และอื่นๆ), มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุในการประทานแต่ละโองการ, มีความรู้ด้านอุลุมมุลกุรอาน, นิติศาสตร์อิสลาม, อุศูลุลฟิกฮ์, มีความรู้ด้านฮะดีษและการอ้างอิง, ความรู้ด้านวิธีการอ่านในรูปแบบต่างๆ ของกุรอาน, มีความรู้ด้านตรรกศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคม, จริยศาสตร์และต้องรู้จักตำราตัฟซีรกุรอานพอสมควร

แน่นอนย่อมเป็นที่กระจ่างว่า การอรรถาธิบายกุรอานก็เหมือนกับวิชาแขนงอื่นๆ ที่ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หากผู้ที่มีคุณสมบัติไม่พอได้เข้าสู่การตัฟซีรกุรอาน ก็เหมือนดังผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญได้ทำการผ่าตัดหัวใจแทนแพทย์ที่เชี่ยว ชาญ ซึ่งสำหรับคนทั่วไปย่อมไม่อาจที่จะยอมรับมันได้ เพราะผลที่ติดตามมาของการทำเช่นนี้ก็คือ การอรรถาธิบายตามทัศนะส่วนตน ซึ่งถือป็นเรื่องที่ไม่อนุญาตสำหรับการอรรถาธิบายกุรอาน(ตัฟซีร)

การคิด, การใคร่ครวญและการไตร่ตรองโองการในอัลกุรอาน
การคิด, การใคร่ครวญและการไตร่ตรองโองการในกุรอาน ก็เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่จำเป็นสำหรับนักอรรถาธิบายกุรอาน อัลกุรอานได้เชิญชวนผู้คนให้ใคร่ครวญและไตร่ตรองในโองการต่างๆ ของอัลกุรอาน ซึ่งบางโองการได้เชิญชวนผู้คนให้ใคร่ครวญ กล่าวคือ คิดใคร่ครวญในเรื่องทั่วๆ ไป และบางโองการก็ได้เชิญชวนให้ผู้คนคิดไตร่ตรอง กล่าวคือ คิดไตร่ตรองในผลต่างๆที่เกิดขึ้น

แน่นอนทั้งสามประการที่กล่าวมาข้างต้นถือ ว่าเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับการเข้าใจโองการต่างๆ ตัวอย่างเช่น หากกุรอานกล่าวถึงการลงโทษชนชาว “อ๊าด” ในอดีต เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดถึงที่มาและสาเหตุปลีกย่อยต่างๆ ที่ทำให้เหตุการณ์ในอดีตนั้นเกิดขึ้น และเราก็ต้องใคร่ครวญถึงกฏทั่วไปของพระผู้เป็นเจ้าที่จะลงโทษชนชาติที่ดื้อ รั้นในหน้าประวัติศาสตร์ อีกทั้งต้องไตร่ตรองถึงผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในอดีต กล่าวโดยสรุปก็คือเราต้องจะต้องได้รับอุทาหรณ์จากเหตุการณ์เหล่านั้นในอดีต แล้วค่อยนำมาอธิบาย การมองเช่นนี้กับโองการต่างๆ จะทำให้เราได้รับความเข้าใจที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งหากคำนึงถึงบรรทัดฐานต่างๆที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ก็สามารถที่นำมาปรับใช้ได้กับทุกช่วงเวลาและสถานที่ๆ มีสภาพที่ใกล้เคียงกัน

การเลือกบรรทัดฐานสำหรับการอรรถาธิบาย
ก่อนที่จะเข้าสู่ประเด็นนี้ จำเป็นที่ต้องตอบคำถาม ดังต่อไปนี้เสียก่อน
1. การอรรถาธิบายกุรอานเป็นสิ่งที่อนุญาตหรือไม่? (อนุญาติในที่นี้หมายถึงความเป็นไปได้ หรือหมายถึงการอนุญาติตามหลักการศาสนา)
2. ด้านเผย(ตัวบทที่เห็นอยู่)ของกุรอานนั้นถือเป็นหลักฐานยืนยัน (ฮุจญะฮ์) ได้หรือไม่?
3. นอกจากด้านเผยที่เห็นจากกุรอานแล้ว อัลกุรอานยังมีด้านลึกอีกหรือไม่ (กล่าวคือกุรอานมีเพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น)?
4. อัลกุรอานถูกบิดเบือนแล้วหรือไม่ ? หรือกุรอานปลอดจากการบิดเบือน?
5. การใช้คำๆหนึ่งที่มีความหมายมากกว่าหนึ่งความหมายเป็นที่อนุญาตหรือไม่?
6. แหล่งอ้างอิงใดที่ให้ความน่าเชื่อถือต่อการอรรถาธิบายกุรอาน ? (เช่น ตัวกุรอานเอง, แบบฉบับของท่านศาสดา, อะฮ์ลุลบัยต์, สติปัญญา, มติเอกฉันท์หรือคำกล่าวของบรรดาศอฮาบะฮ์และตาบิอีน)
7. ฮะดิษที่มีสายรายงานเดียว (คอบัรวาฮิด) ในกฏเกณฑ์ของการตัฟซีรกุรอานนั้นถือว่าเป็นหลักฐานยืนยันได้ (ฮุจญะฮ์) เหมือนกับกฏเกณฑ์ที่ใช้ในวิชาการด้านฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) หรือไม่?
8. กุรอานเป็นวัจนะที่มีวิทยญาณ และมีเป้าหมายเฉพาะสำหรับแต่ละซูเราะฮ์หรือไม่?
การเลือกบรรทัดฐานที่แน่นอนเกี่ยวกับกรณี ต่างๆ ข้างต้นนี้ ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักอรรถาธิบายกุรอาน เพราะแนวทางหลักในการตัฟซีรกุรอานของเขาจะถูกกำหนดได้อย่างชัดเจน และบรรทัดฐานนี้จะช่วยนักอรรถาธิบายในการตั้งสมมุติฐานก่อนขั้นตอนต่างๆ ในการอรรถาธิบาย

ตัวอย่างเช่น หากใครก็ตามที่ยึดคำกล่าวของบรรดาศอฮาบะฮ์และตาบิอีนเป็นหลักฐานยืนยัน (ฮุจญะฮ์)ในการอรรถาธิบายกุรอาน การตัฟซีรของเขาก็จะมีกลิ่นอายเฉพาะ แต่หากเขาไม่ยึดมันเป็นหลักฐานยืนยัน และยึดสิ่งอื่นเป็นหลักฐานยืนยัน เช่น ใช้เหตุผลทางปัญญาหรือใช้แบบฉบับของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) หรือใช้บรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) ในการอรรถาธิบาย แน่นอนที่สุดการตัฟซีรของเขาก็จะมีกลิ่นอายเฉพาะอีกอย่างหนึ่ง





ขอขอบคุณเว็บไซต์กุรอานรอซูล

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อะไรคือความหมายของ “วันต่าง ๆ ...
...
...
ตรรกะในการตัฟซีรกุรอาน
...
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลนัศร์ ตอนที่ ๑
ตัฟซีรซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ ...
ดุอาประจำวันที่ 28 ...
การตักลีดในทัศนะอิสลาม

 
user comment