ไทยแลนด์
Friday 19th of April 2024
0
نفر 0

บทเรียนจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ : โองการที่ 97 ,98 และ 99 บทอัตเตาบะฮ์

บทเรียนจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ : โองการที่ 97 ,98 และ 99 บทอัตเตาบะฮ์

 

โองการอัลกุรอานกลุ่มนี้ กล่าวประณามบรรดาพวกสับปลับ (มุนาฟิกีน) ที่เป็นชาวชนบท

 

الأَعْرابُ أَشَدُّ كُفْراً وَ نِفاقاً وَ أَجْدَرُ أَلاّ يَعْلَمُوا حُدُودَ ما أَنْزَلَ اللّهُ عَلى رَسُولِهِ وَ اللّهُ عَليمٌ حَكيمٌ

وَ مِنَ الأَعْرابِ مَنْ يَتَّخِذُ ما يُنْفِقُ مَغْرَماً وَ يَتَرَبَّصُ بِكُمُ الدَّوائِرَ عَلَيْهِمْ دائِرَةُ السَّوْءِ وَ اللّهُ سَميعٌ عَليمٌ

وَ مِنَ الأَعْرابِ مَنْ يُؤْمِنُ بِاللّهِ وَ الْيَوْمِ الآْخِرِ وَ يَتَّخِذُ ما يُنْفِقُ قُرُبات عِنْدَ اللّهِ وَ صَلَواتِ الرَّسُولِ أَلا إِنَّها قُرْبَةٌ لَهُمْ سَيُدْخِلُهُمُ اللّهُ في رَحْمَتِهِ إِنَّ اللّهَ غَفُورٌ رَحيمٌ

 

คำแปล :

 

97.บรรดาอาหรับชนบทนั้น เป็นพวกปฏิเสธและกลับกลอกที่ร้ายกาจที่สุด และเป็นการสมควรยิ่งแล้ว ที่พวกเขาจะไมรู้ขอบเขตในสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทรงประทานให้แก่ศาสนทูตของพระองค์ และอัลลอฮ์ (ซ.บ) เป็นพระผู้ทรงรอบรู้ พระผู้ทรงปรีชาญาณยิ่ง

 

98.และในหมู่อาหรับชนบทนั้น มีผู้ถือเอาสิ่งที่ตนได้บริจาคไปเป็นค่าปรับ และถือว่าเป็นการขาดทุน และพวกเขารอคอยเหตุร้ายที่จะเกิดแก่สูเจ้า เหตุร้ายเหล่านั้นจงประสบแก่พวกเขาเถิด และอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงได้ยินทรงรอบรู้ยิ่ง

 

99. และในหมู่อาหรับชนบทนั้น มีผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ)และวันสุดท้าย  และถือเอาสิ่งที่ตนได้บริจาคไป เป็นสื่อในการแสวงความใกล้ชิดกับอัลลอฮ์ (ซ.บ) และเป็นพรของศาสนทูต พึงรู้เถิดว่า แท้จริงแล้วนี่เป็นสื่อทำให้พวกเขาใกล้ชิด อัลลอฮ์ (ซ.บ)จะทรงให้พวกเขาอยู่ในความเมตตาของพระองค์ในไม่ช้านี้ แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ) เป็นพระผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ

 

คำอธิบาย :

 

อาหรับชนบทจิตใจกระด้างและมีศรัทธา

 

กลุ่มโองการดังกล่าวนี้ กล่าวถึงพวกกลับกลอก (มุนาฟิกีน) ชาวมะดีนะฮ์ และพวกกลับกลอกที่เป็นอาหรับเร่ร่อน พร้อมกับเครื่องหมายและแนวคิดของพวกเขา ขณะเดียวกันก็ได้กล่าวถึงบรรดาผู้ศรัทธาที่มีความบริสุทธิ์ใจ และมีความซื่อสัตย์สุจริตใจเอาไว้ด้วย ด้วยเหตุนี้เอง อัลกุรอานจึงไม่ได้เตือนสำทับมุสลิมไว้ว่าคนกลับกลอกนั้นมีเฉพาะกลุ่มเดียว ทว่าพวกนี้เองที่ได้โจมตีมุสลิมหลายต่อหลายครั้ง

 

อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาบนแคว้นอาหรับ ที่มีแต่ความโง่เขลาเบาปัญญา ไม่ให้ความสำคัญเรื่องวัฒนธรรมและอายธรรม หรือการวิวัฒนาการแต่อย่างใด ขณะที่อิสลามนั้นได้ให้ความสำคัญเรื่องวัฒนธรรมและอารยธรรมเป็นอย่างยิ่ง เช่น อิสลามมีความเชื่อในเรื่องการอยู่รวมกันเป็นสังคม ด้วยเหตุนี้ โองการข้างต้นจึงต้องการกล่าวถึงกลุ่มชนที่ดำรงชีวิตอยู่ในสถานที่ไกลโพ้นออกไปว่า ในแง่ของวิชาการและความรู้ ความศรัทธา และศาสนาเขาจะล้าหลังกว่าคนอื่น ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายพยายามเดินทางไปสู่ศูนย์กลาง (ชนกลุ่มใหญ่) เนื่องจากอำนาจของพระองค์จะอยู่กับสังคมส่วนใหญ่”

 

คำว่า "อาอ์รอบี" หมายถึง คนพเนจรหรืออาหรับชนบท ซึ่งตรงกันข้ามกับคนเมือง ในวัฒนธรรมอิสลามนั้นมีแนวคิดที่มีค่ายิ่งกว่า ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสถานที่ตามหลักภูมิศาสตร์แต่อย่างใด ทว่าเป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงแนวความคิด และวิสัยทัศน์ของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ มีฮะดีษบทหนึ่งจากท่านอิมามญะอ์ฟัร ศอดิก (อ.) กล่าวว่า :

 

“ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าถ้าหากเขาไม่มีความรู้ท่องแท้ในศาสนา เขาคืออะอ์รอบ”

 

หรือฮะดีษบทหนึ่ง ซึ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวกับบรรดาสหายบางคนที่ชอบเพิกเฉยและกระทำความผิดว่า 

 

“พวกเจ้าพึงสังวรไว้เถิดว่าหลังจากอพยพไปแล้ว พวกท่าน คือ อะอ์รอบี”

 

 ดังนั้น อาจเป็นไปได้ที่บางคนอาจจะอาศัยอยู่ในเมือง แต่สำหรับชาวอาหรับเร่ร่อนนั้นอาจจะล้าหลังและเป็นผู้ไม่รู้ และอาจเป็นไปได้เช่นกันที่ผู้อาศัยอยู่ในทะเลทรายและชนบท อาจมีวัฒนธรรม อารยธรรม ความรู้ และความศรัทธาเหมือนคนเมืองก็เป็นไปได้

 

อัลกุรอานโองการที่ 98 บทอัตเตาบะฮ์ ไม่ต้องการให้การดูถูกเหยียดหยามเกิดขึ้นสำหรับอาหรับพเนจร จึงได้กล่าวถึงคุณลักษณะบางประการของพวกเขาเอาไว้ โดยจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

 

อันดับแรกกล่าวว่า “และในหมู่อาหรับชนบทนั้น (เนื่องจากการฝ่าฝืนและความศรัทธาที่อ่อนแอ) ได้ถือเอาสิ่งที่ตนบริจาคไปเป็นค่าปรับ และถือว่าเป็นการขาดทุน” โดยที่ไม่ถือว่านั่นเป็นความสำเร็จ เป็นชัยชนะ หรือว่าเป็นการค้าที่มากไปด้วยผลกำไรแต่อย่างใด

 

คุณลักษณะอีกประการหนึ่งของพวกเขาคือ  พวกเขารอคอยเหตุร้าย รอความหายะ ความยากจน การทดสอบ และความพ่ายแพ้ที่จะเกิดแก่สูเจ้า ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า “และพวกเขารอคอยเหตุร้ายที่จะเกิดแก่สูเจ้า”

 

ตามความเป็นจริงแล้ว พวกเขามีความสุดโต่งในเรื่องความคิด เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวและมีความอิจฉาริษยาอย่างรุนแรง ความตระหนี่ถี่เหนียวของพวกเขาได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ว่า ทุกการบริการและการรับใช้ทางทรัพย์สินในหนทางของพระเจ้าคือค่าปรับและเป็นสินไหม ความอิจฉาริษยาของพวกเขาได้กลายเป็นสาเหตุทำให้พวกเขา รอคอยเหตุการณ์ร้ายและความหายนะเกิดขึ้นแก่คนอื่น ดังนั้น อัลกุรอานจึงได้กล่าวเสริมว่า “เหตุร้ายเหล่านั้นจงประสบแก่พวกเขาเถิด”

 

อัลกุรอานโองการที่ 99 บทอัตเตาบะฮ์ กล่าวถึงอาหรับพเนจรที่เป็นผู้ศรัทธา

 

1. อัลกุรอานโองการก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงสภาพของชาวอาหรับพเนจรว่าเป็นพวกกลับกลอก (มุนาฟิก) แต่เพื่อป้องกันไม่ให้ทุกคนคิดว่าอาหรับพเนจรเป็นเช่นนั้นทั้งหมด โองการนี้จึงได้กล่าวถึงคุณลักษณะอีกประการหนึ่งของอาหรับพเนจรว่า พวกเขาเป็นผู้ศรัทธามั่นและปฏิบัติคุณงามความดี  และนี่เป็นวิธีการของอัลกุรอานที่ว่า หากอัลกุรอานกล่าวประจารชนกลุ่มใด ก็จะไม่ลืมที่จะกล่าวยกย่องพวกเขาด้วยเช่นกัน

 

2. โองการนี้ได้แจ้งข่าวดีและย้ำเตือนแก่บรรดาอาหรับพเนจรอย่างสม่ำเสมอถึงสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ การบริจาคของพวกเขาในหนทางของพระเจ้าคือ สื่อที่จะทำให้พวกเขาใกล้ชิดกับพระเจ้า และพวกเขาจะอยู่ในความโปรดปรานของพระองค์ตลอดไป

 

3. คำว่า “กุรุบาต” เป็นพหูพจน์ของคำว่า “กุรบุน” หมายถึงความใกล้ชิด ซึ่งในโองการได้มาในรูปของพหูพจน์ เพื่อบ่งขี้ให้เห็นว่าบรรดาผู้ศรัทธาพเนจรได้ใกล้ชิดพระเจ้า เนื่องจากการบริจาคที่พวกเขาได้บริจาคออกไป ส่วนจุดประสงค์ของความใกล้ชิดในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความใกล้ชิดด้านสถานที่ เนื่องจากพระเจ้าไม่ทรงมีรูปร่างเพื่อจะได้ประทับในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งอันเฉพาะ ทว่าจุดประสงค์คือความใกล้ชิดด้านสถานภาพ หรือฐานันดรนั่นเอง กล่าวคือ การเดินไปสู่พระองค์ คือ ความสมบูรณ์แบบ ซึ่งจุดประสงค์ของความสมบูรณ์แบบก็คือ คุณลักษณะอันสวยงามและสูงส่งของพระเจ้าได้ควบคลุมเหนือความคิดสติปัญญาและชีวิตของมนุษย์

 

4. จากโองการเข้าใจได้ว่าความเชื่อที่ถูกต้อง การมีเจตคติเพื่อแสวงความใกล้ชิดของบุคคลในการหยิบจ่ายทรัพย์สินของพวกเขา คือ สื่อที่ดีที่สุดที่จำนำพวกเขาเข้าใกล้ชิดกับพระเจ้า

 

ในที่สุดแล้ว ประโยคสุดท้ายของโองการเริ่มต้นด้วยคำว่า “อินนะ” พร้อมกับกล่าวถึงคุณลักษณะ 2 ประการที่สำคัญยิ่งของพระเจ้าเอาไว้กล่าวคือ “การอภัยและความเมตตา” ทั้งหมดเป็นการอธิบายให้เห็นความการุณย์และความเมตตาขั้นสูงสุดของพระเจ้าที่มีต่อพวกเขา

 

และด้วยเหตุนี้เองถึงแม้ว่าคนกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้รับการศึกษา หรือการอบรมสั่งสอนที่ถูกต้อง ประกอบกับไม่มีโอกาสได้ศึกษาอัลกุรอาน และคำสอนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่กระนั้นพวกเขาก็ยังเข้ารับอิสลามด้วยหัวใจและพลังศรัทธาที่แข็งแรง และถึงแม้ว่าพวกเขาจะทรัพย์สินเพียงน้อยนิด (เนื่องจากเป็นอาหรับพเนจร) พวกเขาก็ยังไม่เคยลืมและไม่เคยหลีกเลี่ยงที่จะบริจาคทรัพย์สินในหนทางของพระเจ้า

 

ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงคู่ควรที่จะได้รับการสรรเสริญและได้รับการสนับสนุน มากกว่าคนเมืองที่มีความสะดวกสบายมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเกี่ยวกับชนอาหรับที่เป็นพวกกลับกลอก อัลกุรอานจะใช้คำว่า “เหตุร้ายเหล่านั้นจงประสบแก่พวกเขาเถิด” เป็นการบ่งชี้ให้เห็นความชั่วร้ายที่รายล้อมพวกเขาอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อกล่าวถึงชนอาหรับที่เป็นผู้ศรัทธามีความซื่อสัตย์ และรู้จักการเสียสละ อัลกุรอานจะใช้คำว่า “พวกเขาอยู่ในความเมตตาของพระองค์” บ่งชี้ให้เห็นถึงความเมตตาของพระองค์ที่รายล้อมพวกเขาอยู่ตลอดเวลา

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1.ถ้าหากการปฏิเสธ การละเมิดฝ่าฝืน และความโง่เขลารวมกันและทำให้เขาห่างไกลจากวัฒนธรรมอิสลาม สิ่งนี้จะยิ่งทำให้เขาหลงทางไปอย่างไกลโพ้น

 

2.การพเนจรเร่ร่อนเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่รู้ เกี่ยวกับวัฒนธรรมและศาสนา ดังนั้น หนทางที่รอดปลอดภัยคือการติดต่อกับองค์ศาสนาเพื่อแสวงหาวิชาการความรู้

 

3.การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินในหนทางของพระเจ้า มิก่อให้เกิดความเสียหายอันใดทั้งสิ้น

 

4.เหล่าบรรดาผู้กลับกลอกทั้งหลาย จงรอคอยเหตุการณ์อันเลวร้ายที่จะเกิดกับพวกเขาเถิด

 

5. จงให้การสนับสนุนส่งเสริมบรรดาผู้ศรัทธาเร่ร่อนพเนจรทั้งหลาย

 

6. อัลลอฮ์ (ซ.บ) จะทรงให้บรรดาผู้ศรัทธาที่บริจาคทรัพย์สินของตนในหนทางของพระเจ้า อยู่ในความโปรดปรานและความการุณย์ของพระองค์ตลอดไป

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ชีอะฮฺในตำราซอเฮียะห์
...
สุนทรพจน์ของท่านอิมามฮูเซน (อ.) ...
...
...
ปีศาจ (ซาตาน) ...
เตาฮีด เอกภาพแห่งอัลลอฮฺ ...
จอมราชันย์แห่งโคราซาน ...
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 11 ...
วิทยปัญญา 10 ประการ ...

 
user comment