ไทยแลนด์
Wednesday 24th of April 2024
0
نفر 0

สิทธิมนุษยชน ในทัศนะอิสลาม และสำนักคิดอื่นๆ (ตอนที่ 1)

สิทธิมนุษยชน ในทัศนะอิสลาม และสำนักคิดอื่นๆ (ตอนที่ 1)

 

แหล่งที่มาของสิทธิ(ฮักกฺ)

 

หนึ่งในบทที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชนในทัศนะของอิสลาม และทัศนะของสำนักคิดอื่นๆ คือ  สิทธิคืออะไร ?  และสิทธิต่างๆเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แหล่งที่มา และจุดเริ่มต้น ของสิทธิต่างๆมาจากไหน ?

 

แน่นอนว่า ระบบของ “สิทธิ” ทุกระบบ ยอมรับ ว่า มนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสิทธิต่างๆ  มนุษย์ทุกคน ทุกแนวคิด และทุกความเชื่อ ทุกศาสนา และทุกปรัชญา ทุกๆสังคม  มนุษย์ อาศัยใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ มี  สิทธิต่างๆ เช่น สิทธิที่จะใช้ชีวิต สิทธิที่จะมีที่อยู่อาศัย   สิทธิในการครอบครอง สิทธิในการประกอบอาชีพ และอื่นๆ เหล่านี้ เราเรียกว่า สิทธิที่มนุษย์พึงมี  สิทธิต่างๆเมื่อเป็นมนุษย์

 

ดังนั้น ในเชิงหลักการแล้ว การยอมรับในเรื่องการมีอยู่ของสิทธิมนุษยชน จึงเป็นสิ่งทั่วไป ที่ทุกฝ่าย มีทัศนะและความเห็นตรงกัน แต่สิ่งที่ต้องทำการสนทนา และตั้งประเด็นคือ  คำถามสำคัญเชิงปรัชญา เกี่ยวกับ สิทธิต่างๆ

สิทธิมนุษยชน เริ่มต้น จากที่ไหน? มาตรวัด ว่า ผู้หนึ่งมีสิทธิ เหนือ อีกผู้หนึ่ง คืออะไร และเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?

 

ในวิชาการที่ต้องอาศัย การทดลอง เป็นวิชาที่มีหน้าที่กับสิ่งต่างๆที่ “ตาเห็น”   ถ้าหากต้องการ แยกแยะ ความถูกต้อง ของเรื่องๆหนึ่ง หรือ ต้องการรู้ในเรื่องๆหนึ่ง จำเป็นต้องอาศัย วิธีการทดลอง เพื่อเข้าถึงความรู้นั้น เช่น ถ้าหาก ผู้หนึ่ง ต้องการรู้ว่า น้ำสามารถ เดือด ได้ถึง 100 องศา หรือไม่ การพิสูจน์ ว่า ถูกต้องหรือไม่นั้น ก็ยังคงมี ข้อความทางสติปัญญาและปรัชญา ที่คลุกเคล้าอยู่ในวิธีการเฉพาะนั้น (วิทยาศาสตร์ เกิดจาก คำถามเชิงปรัชญา) นั่นคือ กฎความจริงทางปรัชญาพื้นฐาน( บะดีฮียาต เอาวาลียะฮ = ข้อพิสูจน์ทางปรัชญา ที่เป็นพื้นฐานแรก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัย การพิสูจน์ เช่น 2+2  = 4 ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปรัชญา และ ญาณวิทยา

 

ทว่า ในประเด็นเรื่อง คุณค่าเชิงเปรียบเทียบ เช่น สิ่งที่ต้องทำและสิ่งที่ต้องไม่ทำ อันเป็นองค์ประกอบสาขาหนึ่งของ วิชาจริยศาสตร์ (วิชาจริยศาสตร์ หรือ อัคลาค โดยรวมแล้วคือ วิชาที่พูดถึงสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องทำ และสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง เช่น ความเอื้อเฟื้อ คือสิ่งที่ มนุษย์ต้องทำ ส่วนความอิจฉา คือ สิ่งที่มนุษย์จะต้องหลีกเลี่ยง)

สิทธิต่าง และศาสนา ก็เช่นกัน . คุณค่า,  ข้อความ, และรายงานต่างๆเหล่านี้ เป็นรูปร่าง ขึ้นมาได้อย่างไร ? ถ้าหากกล่าวว่า บุคคลหนึ่ง มีสิทธิที่จะครอบครอง , บิดามีสิทธิต่อบุตร ,บุตรมีสิทธิต่อบิดา บุคคลต่างมีสิทธิต่อบุคคลอื่นในสังคม , มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะใช้ชีวิต และ จะต้องไม่ละเมิดสิทธินี้

 

ถ้าเช่นนั้น สิทธิทั้งหมดนี้ วางอยู่บนพื้นฐานของอะไร? ความถูกต้อง และไม่ถูกต้องของมัน ขึ้นอยู่กับมาตรฐานใด? และ จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงความจำเป็นของมันหรือไม่ ? มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ต้องมีอยู่ เพื่อให้สามารถ ทำให้เกิดสิทธิต่างๆได้? และเงื่อนไขเหล่านั้น  เป็นอย่างไร และเอามาจากที่ไหน และได้รับการยืนยันจากใคร

 

มาตรการในการพิสูจน์ถึงสิทธิ หรือ แหล่งที่มาของสิทธิ จึงเป็นสิ่งที่มีการถกเถียง และพูดถึงกัน ในวงการของวิชาปรัชญา

 

 

ทัศนะต่างๆ เกี่ยวกับ แหล่งที่มาของ”สิทธิ”

 

เรารู้ว่าตลอดยุคสมัยที่ผ่านมา นักปรัชญา ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ยังคงไม่สามารถหาคำตอบ ที่เหมาะสมในประเด็นนี้ได้ กระนั้น มีสองทัศนะที่ว่าด้วยเรื่อง แหล่งที่มาของสิทธิ คือ สิทธิตามธรรมชาติ และปฏิฐานนิยม(ทุกอย่างจะเชื่อได้ โดยอาศัยการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์)  และลำดับต่อไปภายหลังจาก วิเคราะห์ ถึงสำนักคิดทั้งสองแล้ว จึงจะนำเสนอ ทัศนะของอิสลาม ในประเด็นเรื่อง รากฐานสิทธิมนุษยชน ในวาระต่อไป

 

 

1 สำนักคิดสิทธิตามธรรมชาติ

 

ผู้สนับสนุน ทัศนะ นี้ มีความเชื่อว่า แหล่งที่มาของสิทธิมนุษยชน   มาจากธรรมชาติ  หมายถึง ธรรมชาติ ได้ให้สิทธิต่างๆเหล่านี้ แก่มนุษย์  ตัวอย่างเช่น เมื่อเรา พูดว่า มนุษย์มีสิทธิที่จะใช้ชีวิต มีสิทธิที่จะบริโภคอาหาร เพื่อจะได้รักษา ชีวิต ของตัวเอง….

 

ในความจริง ธรรมชาติของมนุษย์ จึงเป็นผู้ให้สิทธิต่างๆเหล่านี้ แก่เขา ถ้าหาก มนุษย์ ไม่สามารถ ใช้สิทธิของตัวเอง ในการบริโภคได้ เขาก็จะไม่สามารถรักษาชีวิตของเขาได้ เผ่าพันธ์ุมนุษย์ก็จะสิ้นสุดลง ดังนั้น ธรรมชาตินี้แหละ คือ ผู้ให้สิทธิต่างๆกับมนุษย์ ทำให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปและสืบทอดลูกหลานต่อไปได้ เหล่านี้คือ สิ่งที่ ผู้คนทั่วไป เรียกกันในวันนี้ว่า ” สิทธิที่ได้จากธรรมชาติความเป็นมนุษย์” ซึ่งมีรากฐานจาก แนวคิด สิทธิตามธรรมชาติ .

 

แน่นอนว่าการตีความในลักษณะนี้ เป็นสิ่งที่ ไม่มีอยู่ ในระบบการศึกษา และวัฒนธรรมของอิสลาม  แนวคิดนี้ เป็นแนวคิด ที่ แยกของจาก ความรู้และวิชาการของอิสลาม และสังคมมุสลิม ทว่าในทางหนึ่ง การอ้างว่า มนุษย์ได้สิทธิต่างๆมาจากธรรมชาติ ทำให้เกิดคำถามต่อว่า มาตรวัดของมนุษย์ในการได้รับสิทธิเหล่านี้คืออะไร ? สิทธิต่างๆตามธรรมชาติเป็นสิทธิที่มีขอบเขต หรือ ไร้ขอบเขต?

 

ตัวอย่างเช่น การใช้ชีวิต เป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ คำถามก็คือ สิทธิอันนี้ ไม่ว่ากรณีใด จะต้องปกป้อง และรักษาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขใดก็ตามหรือ ไม่ ? และสิทธิดังกล่าว ไม่มีข้อยกเว้นใช่หรือไม่ ? ซึ่งถ้าหาก ปรัชญา และสิทธิตามธรรมชาติ ของมนุษย์ให้ความชัดเจนกับประเด็นดังกล่าว คำตอบของคำถาม ก็จะชัดเจนในตัวของมัน

 

ในประเด็นเรื่อง สิทธิในการใช้ชีวิต ก็เป็นอีกหนึ่งในกฎสิทธิมนุษยชนที่ ถูกประกาศไว้กับชาวโลก ในประเด็นนี้ทัศนะระหว่างอิสลาม และตะวันตกมีความแตกต่างกัน หนึ่งในประเด็นที่ตะวันตกได้โจมตีอิสลาม ในเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็คือ สิทธิในการใช้ชีวิต ตัวอย่างเช่น ถ้าหาก คนๆหนึ่ง ได้ขนยาเสพติดหลายสิบกิโลกรัม เขาเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย  อิสลามถือว่า โทษของเขาคือการประหารชีวิต  เพราะสิ่งที่เขาทำได้ทำลายชีวิตของผู้อื่น ทว่า พวกเขาถือว่า การประหารชีวิต ผู้ค้ายาเสพติด เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะ การประหาร คือการยับยั้ง สิทธิในการใช้ชีวิต ของมนุษย์คนหนึ่ง

 

ในประเด็นนี้ ยังไม่ใช่ ประเด็นที่เราจะทำการอธิบาย ว่า ความถูกต้อง อยู่ที่แนวคิดของกลุ่มใด ทว่า คำถามหลักก็คือ สิทธิมนุษยชนมาจากไหน การยืนยันหรือ การปฏิเสธ สิทธิดังกล่าว มีอะไรเป็นมาตรวัด ถ้าหาก คำตอบ เป็นไปในเชิงบวก แล้วมาตรวัดของมันคืออะไร คำตอบของคำถามนี้ เราได้ชี้แจงไปแล้วว่า บางกลุ่ม เชื่อว่า สิทธิมนุษยชน มาจากธรรมชาติของมนุษย์

 

 

วิจารณ์ทัศนะสิทธิตามธรรมชาติ

 

สำหรับเริ่มต้นนั้น จะต้องเข้าใจว่า ธรรมชาติ ที่ คนกลุ่มดังกล่าว ให้การสนับสนุน คือ อะไร ? ถ้าหาก ความหมายของพวกเขา คือ ความจริงแท้ ซึ่งแยกออกจาก สิ่งมีอยู่ต่างๆในโลก มีสิ่งหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “ธรรมชาติ” ซึ่งได้มอบสิทธิต่างๆให้กับมนุษย์  ความหมายอันนี้จะกลายเป็นการอ้างที่ไร้หลัก เพราะนอกจากมนุษย์และสิ่งอื่นๆ ไม่มีอะไรที่ ชื่อว่า “ธรรมชาติ” ที่สร้างสิ่งต่างๆ อย่างมนุษย์ขึ้นมา การปฏิเสธ “ธรรมชาติ” ตรงนี้ นั้น ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับความสัมพันธ์ระหว่าง ศาสนา กับการยอมรับการมีอยู่ของพระเจ้า และไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับคำถามที่ว่า พระเจ้ามีจริงหรือ ไม่   คำถามของเราคือ แท้จริงแล้ว สิ่งที่ชื่อ ว่า ธรรมชาติ มีจริงหรือไม่ ธรรมชาติที่สร้างมนุษย์ขึ้นมา และได้มอบสิทธิต่างๆให้กับมนุษย์ และเป็นผู้ยืนยันว่า มนุษย์ สามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิต่างๆที่เขามีได้ ? ไม่มีผู้มีปัญญาคนใดจะยอมรับการอ้างอิงเช่นนี้ได้ หรืออย่างน้อย ก็ไม่มีหลักฐานอะไรที่จะพิสูจน์ในข้ออ้างนี้ และในเชิงวิชาการแล้ว การอ้างอิงในลักษณะนี้ ก็ไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ โดยสรุปแล้ว

 

การอ้างอิงตามทัศนะนี้ เป็นสิ่งที่ไร้แกนสาร อย่างสมบูรณ์และชัดเจน ดังนั้น  จะต้องให้เหตุผล  สำหรับแนวคิด ธรรมชาตินิยม เสียก่อน จึงจะสามารถ แสดงให้เห็นถึงตรรกะ ที่สามารถยอมรับได้       สำหรับการอรรถาธิบาย ทัศนะนี้นั้น กล่าวได้ว่า สิทธิในการใช้ชีวิต เป็นการยืนยัน จากธรรมชาติของมนุษย์ หมายถึงว่า  ความจำเป็นของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “มนุษย์” ซึ่งอาศัยใช้ชีวิต อยู่บนหน้าแผ่นดินนี้ ก็คือ สิทธิการรักษาชีวิตของเขาเอง และสิทธิการใช้ประโยชน์จาก สวัสดิการ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อทำให้ดำรงชีวิตต่อไป และสามารถแสวงหาความสมบูรณ์ ที่เหมาะสมกับเขาได้ ซึ่งนี่คือ การใช้ประโยชน์ จาก สิทธิต่างๆตามธรรมชาติ ซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายแรก ซึ่งจะนำเสนอในประเด็นต่อไป

 

คำถามแรก ในที่นี้ คือ คำถามเกี่ยวกับ ขอบเขต ของสิทธิที่ได้จากธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น หาก ธรรมชาติ ได้ยืนยันกับมนุษย์ว่า มนุษย์มีสิทธิที่ บริโภคอาหาร คำถามคือ เขาสามารถบริโภคอาหารทุกชนิดได้หรือไม่ ?     ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม  มนุษย์สามารถใช้สิทธิอันนี้ อย่างไม่มีขอบเขตใช่หรือไม่? หรือธรรมชาติของมนุษย์ ได้มอบเพียงแต่ หลักการในสิทธิเรื่องการบริโภคให้กับมนุษย์  บอกกับมนุษย์ว่าพวกเขา มีสิทธิกินดื่มอาหาร แต่ไม่ได้ยืนยันว่าพวกเขาสามารถกินได้ทุกสิ่งทุกอย่าง และสิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้หรือไม่ เช่นเดียวกับ คำถาม เรื่องสิทธิในการใช้ชีวิต โดยการตั้งสมมติฐานว่า การรักษาชีวิต เป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ สิทธินี้ ตายตัว และมั่นคงหรือไม่ ? ถ้าหาก คนหนึ่ง ได้ฆ่าอีกคนหนึ่ง เขาจะยังมีสิทธิที่จะมีชีวิตต่อไปหรือไม่ ? หรือ ธรรมชาติของมนุษย์เพียงแต่ยืนยันถึง สิทธิหนึ่งซึ่งเรียกว่า สิทธิในการใช้ชีวิต และสิทธิดังกล่าว ไม่ใช่สิทธิตายตัว

 

ถ้าหาก เรายอมรับ สิทธิต่างๆตามธรรมชาติ เป็นไปได้ว่า เราจะพิสูจน์หลักของสิทธิเหล่านี้ได้ ทว่า สิทธิเหล่านี้ ไม่อาจพิสูจณ์ถึงความถูกต้องของมันได้ ในทุกๆวาระ และทุกเงื่อนไข และเป็นที่ชัดเจนว่า สิทธิในการกินการดื่ม  สามารถดำเนินต่อไปได้ ตราบใดที่ไม่ละเมิดต่อผู้อื่น และไม่ส่งผลอันตรายต่อมนุษย์ ตราบใดที่ยังเป็นเช่นนี้เขาก็มีสิทธิมีชีวิต  โดยมีเงื่อนไขเฉพาะ และวิธีการที่ถูกต้อง ดังนั้น จึงไม่ถูกต้อง หากจะกล่าวว่า มนุษย์คนหนึ่งเมื่อมีสิทธิในการบริโภคแล้ว เขาสามารถกินทุกอย่างที่ขวางหน้าได้  หรือ สิทธิในการใช้ชีวิต ตราบใดที่เขายังไม่ละเมิดต่อผู้ใด เขาก็สมควรมีชีวิต สิทธิในการใช้ชีวิตจะยังมั่นคงอยู่ตราบใดที่เขาไม่ละเมิดและทำลายชีวิตของผู้อื่น ในด้านตรงข้าม หากเขาได้ละเมิด เข่นฆ่าผู้อื่น นอกจาก สิทธิในการใช้ชีวิตจะถูกยับยั้งแล้ว  การใช้ชีวิตต่อไป ของเขาก็ยังไม่สมควรอีกด้วย และในแก่นแท้ของ”สิทธิ” อัลกรุอาน ก็ได้กล่าวเช่นกันว่า

 

وَلَا تَقْتُلُوا النَّفْسَ الَّتِي حَرَّمَ اللَّهُ إِلَّا بِالْحَقِّ

 

“และท่านทั้งหลายจงอย่าฆ่าชีวิตหนึ่ง ชีวิตใด ที่อัลลอฮฺ ทรงบัญญัติ ห้ามไว้ ยกเว้น โดยสิทธิอันชอบธรรม”

[บท อันอาม : 151]

 

แน่นอนว่า อัลกุรอ่าน ถือว่า สิทธิในการใช้ชีวิตของมนุษย์ เป็นสิ่งถูกต้อง และไม่ได้ยับยั้ง แต่ประการใด เว้นเพียงแต่กรณีที่การฆ่าชีวิตของผู้อื่น หรือ การละเมิดชีวิตของผู้อื่น นอกจากจะยับยั้งสิทธิอันนี้แล้ว ยังได้สั่งให้ลงโทษผู้ละเมิด และถ้าหากไม่ทำจะเป็นเหตุให้เกิดความหายนะและการสูญเสียซึ่งสิทธิของผู้อื่น และยังจะทำให้ชีวิตของสังคมและมนุษย์ตกอยู่ในอันตราย

 

وَلَكُمْ فِي الْقِصَاصِ حَيَوةٌ يَا أُوْلِي الاَلْبَاب

 

และในการประหารฆาตกรให้ตายตกตามกันนั้น คือ การ ดำรงไว้ ซึ่งชีวิต สำหรับพวกเจ้า โอ้ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย

[บท อัลบากอเราะหฺ : 179]

หากว่า มนุษย์คนนี้ ไม่ถูกประหารชีวิต จะเป็นเหตุให้ มนุษย์คนอื่นๆ ต้องเสียชีวิต และเพื่อรักษาชีวิตของมนุษย์คนอื่นจึงต้องประหารชีวิตของมนุษย์ผู้นี้ เพื่อจะได้ไม่ละเมิดสิทธิในการใช้ชีวิตของผู้อื่น

 

ทว่า คำประกาศ สิทธิมนุษยชนสากล ไม่ได้วางมาตรฐานจากการพิจารณาในด้านนี้ แต่กลับถือว่า การลงโทษ โดยการประหารชีวิต ไม่ว่ากรณีใดก็ตามจะต้องถูกยกเลิกอย่างเด็ดขาด และเป็นสิ่งต้องห้าม คำถามก็คือ ทัศนะนี้มีหลักฐานอะไรถึงได้นำเสนอเช่นนี้ ? หากบุคคลผู้หนึ่ง ได้เข่นฆ่าสังหารผู้คนนับร้อยพัน จึงไม่ต้องโทษประหารชีวิต จากคำประกาศสิทธิมนุษยชน ในคำประกาศนี้ ใช้หลักฐานและตรรกะใด จึงได้ ถือว่า การลงโทษด้วยการประหารเป็นสิ่งผิดและโมฆะ?

 

ทัศนะนี้ได้นำหลักฐานดังกล่าว มาจากการเห็นพ้องต้องกันของนักปรัชญาและนักคิดรุ่นก่อนหรือ ? ทั้งๆที่ยังมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย กับ ทัศนะของคำประกาศดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ถ้าหากพวกเขาไม่ยอมรับ ในทัศนะของเรา แล้วเราจะต้องเข้าร่วมกับพวกเขาหรือ ?

 

ทำไมพวกเขาถึงไม่เห็นพ้องกับเรา ? มีเพียงเหตุผลเดียวก็คือ เพราะพวกเขา มีเงินและอำนาจ พวกเขาสามารถ ทำทุกสิ่งที่ต้องการได้ พวกเขาอาศัยคำประกาศสิทธิมนุษยชน  เพื่อปักธงในทุกๆแห่งที่ใจปราถนา และได้ทำลายศรีษะของประชาชาติและรัฐบาลประเทศอื่น  โดยอ้างว่าประเทศเหล่านี้ ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่หากไม่ว่าที่ใด ที่พวกเขาไม่สามารถกอบโกยผลประโยชน์ได้ พวกเขาก็จะเหยียบสิทธิมนุษชนไว้ใต้เท้า

 

อย่างไรก็ตาม เราจะละเรื่อง เกมการเมืองไว้ ในฐานที่เข้าใจ , ประเด็นทางวิชาการ คือ คำถามในเชิงเหตุผลแล้ว มีตรรกะใด ที่ชี้ว่า สิทธิต่างๆเหล่านี้ เป็นสิทธิตายตัว และไม่มีข้อยกเว้น ? ถ้าหากกล่าวว่า เพราะธรรมชาติให้มา เราก็จะกล่าวว่าสิทธิในการบริโภค ที่ธรรมชาติให้มาแก่ท่าน ท่านจะกล่าวหรือไม่ว่า สิทธินี้เป็นสิทธิตายตัว ไม่ขึ้นกับเงื่อนไขใด และมนุษย์สามารถกิน ดื่มทุกสิ่งทุกอย่างได้ ไม่ว่าจะมาจากไหน หรือจากใคร ? ท่านสามารถอ้างได้ไหมว่า เพราะความหิว ทำให้ท่านมีสิทธิกินไก่และวัวของเพื่อนบ้านได้ โดยไม่ได้รับอนุญาต ? ถ้าหากสิทธิทุกอย่างเป็นสิทธิที่ตายตัว และไม่ขึ้นกับเงื่อนไข เช่นนี้ กฎหมายก็คงจะต้องยกเลิกไป และกฎหมายต่างๆ ที่ทุกๆประเทศ ได้วางไว้ เพื่อจำกัด พฤติกรรม การกระทำ ของมนุษย์ ก็จะกลายเป็น เรื่องเหลวไหล และไม่ให้ประโยชน์ใดๆเลย

 

บทสรุปของประเด็นนี้ คือคำกล่าวว่า สิทธิตามธรรมชาติ ให้ความหมายว่า สิ่งมีอยู่ นามว่า “ธรรมชาติ” ได้มอบสิทธิต่างๆให้กับมนุษย์  เป็นคำพูดที่ ไร้หลักเกณฑ์ และไร้เหตุผล การอ้างว่า สิทธิต่างๆของมนุษย์ไร้ขอบเขต และไม่มีเงื่อนไข เป็นสิ่งที่ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ และยังไม่สามารถนำมาใช้ได้กับความเป็นจริง

 

จากหนังสือ A Glance at Human right from the Viewpoint of Islam

ผู้เขียน Muhammad Taghi Mesbah Yazdi

บทความโดย Muhammad Behesti

ที่มา abnewstoday

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ดุอาประจำวันที่ 29 ...
คำว่า ฟิตนะฮ์ ในอัลกุรอาน
ทำไมอิสลามห้ามดื่มสุรา
ความเชื่อในมะฮ์ดี ...
กระซิบกระซาบพระองค์
...
...
มองเห็นอัลลอฮ์?!
ทำไมต้องอ่าน ...
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอัลอิคลาศ ...

 
user comment