ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 17 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 17 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 17  เดือนรอมฎอน
 

بسم الله الرحمن الرحيم

اللَّهُمَّ اهدِني فیهِ لِصالِحِ الأعْمالِ وَ اقضِ لي فیهِ الحوائِجَ وَ الآمالِ

 یا مَنْ لا یَحتاجُ إلى التَّفسیرِ وَ السُّؤالِ یا عالِماً بِما في صُدُورِ العالَمینَ

صَلِّ عَلى مُحَمَّدٍ وَ آلهِ الطّاهِرین

 
ความหมาย

 

โอ้อัลลอฮ์ โปรดชี้นำข้าฯ ไปสู่การกระทำความดีงามทั้งหลาย โปรดทำให้ความปรารถนาและความหวังของข้าฯบรรลุผล  โอ้พระผู้ทรงไม่ปรารถนาในคำวิงวอนและคำเยินยอ โอ้พระผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจของมนุษย์ โปรดอำนวยพรแด่มุฮัมมัดและลูกหลานผู้บริสุทธิ์ของท่าน

 
คำอธิบาย

 

اللَّهُمَّ اهدِني فیهِ لِصالِحِ الأعْمالِ
 

โอ้อัลลอฮ์ โปรดชี้นำข้าฯ ไปสู่การกระทำอะมั้ลที่ศอและห์(ความดีงามทั้งหลาย) ไม่ใช่เอาแต่กินและนอน บางคนในเดือนนี้จะไม่ตื่นซะฮัร และบางครั้งนมาซซุบฮ์ก็ยังต้องกอฎอ  ในขณะที่อิสลามเน้นย้ำให้ตื่นช่วงซะฮัรและนมาซต้นเวลา

 

จงอ่านดุอาอ์ด้วยตนเอง อย่าเอาแต่ฟังดุอาอ์จากวิทยุและแผ่นซีดีอย่างเดียว  จงอ่านดุอาอ์อิฟติตาห์ ดุอาอ์ อบูฮัมซะห์ ษุมาลี และวิงวอนขอจากพระองค์ให้ห่างไกลจากภัยบะลาอ์ต่างๆ

 
เรื่องเล่า

 

มีนักเทศนาธรรมคนหนึ่งในเมืองกุม ชื่อว่า  มีรซา มุฮัมมัด ตะกี อัชรอฟี  โดยอ้างจากบิดาของเขาว่า  ในยามซะฮัร ในเมืองนะญัฟ อิรัก ได้เห็นผู้ศรัทธาเจ็ดสิบคนอ่านดุอาอ์อบูฮัมษะห์ ษุมาลี ในกุนูต นมาซวิตร์ ด้วยสภาพที่ร่ำไห้

 

ดังนั้น จงพยายามอ่านดุอาอ์ด้วยตัวของเราเอง  จงพยายามให้เป็นผู้ปฏิบัติมากที่สุด  ในสมัยก่อนคำพูดจะควบคู่กับการปฏิบัติแต่ในวันนี้จะมีแต่พูดและฟังอย่างเดียว


 
มนุษย์มีสิทธิเลือกที่จะกระทำความดีและมีพฤติกรรมที่ดีและเป็นคนที่ศอและห์ได้  หรืออาจจะตรงกับข้ามกับศอและห์ คือ ฏอและห์  หมายถึงมนุษย์ก็มีสิทธิเลือกที่จะกระทำในสิ่งที่ชั่ว


ในวันนี้เราวิงวอนขอจากพระองค์ให้โปรดชี้นำให้เราไปสู่การกระทำอะมั้ลที่ศอและห์  และการได้กระทำอะมั้ลศอและห์เป็นเตาฟิกและความโปรดที่ยิ่งใหญ่  อะมั้ลที่ศอและห์หมายถึงการงานที่ดีและเป็นอะมั้ลที่จะทำให้บุคคลหรือสังคมก้าวไปสู่ความใกล้ชิดยังพระองค์และความผาสุกอย่างแท้จริง

 

อะมั้ลที่ศอและห์ มีสัญลักษณ์และคุณลักษณะพิเศษของมัน  ซึ่งได้แก่ มีความศรัทธามั่นต่อพระองค์  ทำคุณความดีบนพื้นฐานแห่งความเข้าใจ มีเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์เพื่อพระองค์เท่านั้น  ไม่กระทำในสิ่งที่ไร้ประโยชน์และไร้สาระ  ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์   รู้จักกาลเทศะและรู้จักเวลาที่เหมาะสม  รับใช้สังคมและห่างไกลจากความทะนงตนและโอ้อวดหยิ่งยโส


ในมุมมองอิสลาม กระทำที่มีค่าคือการกระทำที่ก่อให้เกิดคุณค่า หมายถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดอะมั้ล แรงจูงใจหรือเนียต  หาใช่ผลประโยชน์ที่จะได้มา  ซึ่งในวันนี้พฤติกรรมของมนุษย์บางคนมันช่างห่างไกลจากอะมั้ลที่ศอและห์ เนื่องจากไม่ได้ใสใจ

 

ต่อประเด็นที่สำคัญเหล่านี้  ซึ่งเราต้องวิงวอนจากพระองค์ให้เราได้ตระหนักและรับรู้ถึงคุณค่าของอะมั้ลศอและห์  มีจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์ และการรับใช้สังคมและเพื่อมนุษย์สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องวางอยู่บนพื้นฐานเพื่อความพึงพอพระทัยของพระองค์

 

โอ้อัลลอฮ์ โปรดช่วยเหลือเราในการทำความดี  โปรดประทานเตาฟิกให้เราได้อ่านอัลกุรอาน  เพราะหนึ่งอะมั้ลศอและห์คือ การอ่านอัลกุรอาน  สิ่งที่ดีที่สุดคือการอ่านอัลกุรอาน  เพราะจะสามารถขจัดสนิมที่เกาะติดอยู่บนหัวใจ โดยเฉพาะอ่านในยามซะฮัร  แม้ว่าจะอ่านแค่สองสามหน้าก็ตาม

 

ประโยคถัดมา

 

وَ اقضِ لي فیهِ الحوائِجَ وَ الآمالِ

 

โอ้อัลลอฮ์ โปรดทำให้ความปรารถนาและความหวังของข้าฯบรรลุผล   ทุกความปรารถนาและความหวังที่ถูกต้องตามหลักชัรอีย์นั้น โปรดให้เราบรรลุผลด้วยเถิด


 
หากปรารถนาให้ดุอาอ์ถูกตอบรับ จงหันไปดูหัวใจของเราเองว่าเราฝากความหวังให้กับผู้ใด  หากเราฝากความหวังยังพระองค์ และเรียกหาพระองค์เพียงผู้เดียว แน่นอนดุอาอ์ของเราจะถูกตอบรับ


 
เพื่อให้ความหวังและความปรารถนาบรรลุผล ต้องทำการตะวัซซุลยังบรรดาอะห์ลุลบัยต์(อ)  โดยเฉพาะการตะวัซซุลไปยัง ท่านหญิง นัรญิส คอตูน มารดาของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ)  เมื่อสามสิบหรือสี่สิบปีที่แล้ว ได้มีเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านหนึ่งสอนไว้  ทุกคนที่ได้ขอตะวัซซุลยังท่านหญิงนัรญิส คอตูน ดุอาอ์ของเขาจะถูกตอบรับ

 
“เรื่องเล่า”

 

 อยาตุลลอฮ์ มุจญ์ตะฮีดี เตหะรานี เล่าว่า มีครอบครัวหนึ่งไม่มีบุตร  และฉันได้แนะนำให้เขาทำการอ่านอัลกุรอานคอตันหนึ่งจบ แล้วอุทิศฮะดียะห์ให้กับท่านหญิงนัรญิสคอตูน  เมื่อเขาปฏิบัติอะมั้ลดังกล่าวแล้ว ในที่สุดด้วยพระประสงค์ของพระองค์เขาก็ได้บุตรสมดั่งปรารถนา

 

ประโยคถัดมา

 

یا من لا یحتاج الی التّفسیر و السّؤال

 

โอ้พระผู้ทรงไม่ปรารถนาในคำวิงวอนและคำเยินยอ

 

พระองค์ทรงรอบรู้ทุกสิ่ง ไม่จำเป็นที่เราต้องอธิบายทุกอย่างให้กับพระองค์    บุคคลที่ไม่เคยขอจากพระองค์ พระองค์ก็ยังประทานให้กับเขา ดั่งบทดุอาอ์ในเดือนรอญับที่ได้กล่าวว่า

 

یا مَنْ یعْطِي من سَأَلَهُ یا مَنْ یعْطِي مَنْ لَمْ یسْأَلْهُ وَ مَنْ لَمْ یعْرِفْهُ تُحَنُّناً مِنْهُ وَ رَحْمَة

 

ความว่า โอ้พระผู้ทรงประทานให้ (แก่) ผู้ที่วอนขอต่อพระองค์ โอ้พระผู้ทรงประทานให้ (แก่) ผู้ที่ไม่เคยวิงวอนขอต่อพระองค์เลย "(โอ้พระผู้ทรงประทานให้แก่ผู้ที่) ไม่เคยรู้จักพระองค์เลย (ซึ่งเป็นการประทานให้) ด้วยความรักและเมตตาจากพระองค์"

 

ประโยคถัดมา


 
یا عالماً بما في صدور العالمین

 

โอ้พระผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจของมนุษย์ ทำไมพระองค์ไม่ต้องการการอธิบายและคำถามใดๆจากเรา ?  เพราะพระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจของมนุษย์ทุกคน พระองค์ทรงรอบรู้  ซึ่งเราจะต้องรำลึกถึงพระองค์อยู่ตลอดเวลาเพื่อการงานของเราจะได้บรรลุผล

 

ประโยคสุดท้าย


 
صَلِّ عَلى مُحَمَّدٍ وَ آلهِ الطّاهِرینَ

 

โปรดอำนวยพรแด่มุฮัมมัดและลูกหลานผู้บริสุทธิ์ของท่าน

 

บทความโดย เชคอิบรอฮิม อาแว

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อาณาจักรดุอาสะฮัร
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 ...
ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ ...
...
...
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 ...
ดุอาประจำวันที่ 18 ...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย

 
user comment