ไทยแลนด์
Tuesday 23rd of April 2024
0
نفر 0

ลุกมานสอนลูก

สถานภาพอันสูงส่งของท่านลุกมาน
การหวลศึกษาวิถีชีวิตของบรรดานักปราชญ์นั้น จะพบสัจธรรมอันหนึ่งที่ว่า บรรดาบุคคลเหล่านี้ให้ความสนใจในเรื่องของการปฏิบัติและเรื่องของจิตวิญญาณมากเป็นพิเศษและได้หล่อหลอม 2 สิ่งนี้เข้าด้วยกันกับการดำเนินชีวิต

หนึ่งในบรรดาบุคลเหล่านั้น คือ ลุกมาน อัลฮะกีม ผู้ซึ่งได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮ์(ซบ.) ก่อนที่จะกล่าวถึงวิถีชีวิตโดยย่อของ ลุกมาน และจะพิจารณาถึงสาระสำคัญของคำสั่งสอนทางจิตวิญญาณที่มีแก่บุตรของท่าน

ลุกมาน คือ มนุษย์ผู้สมบูรณ์ (อินซาน กามิล) ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แล้วว่านามของท่านได้ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮ์ลุกมานถึง 2ครั้ง คือโองการ “และโดยแน่แท้เราได้ให้ฮิกมะฮ์”แก่ลุกมานและโองการ “จงรำลึกถึงเมื่อลุกมานได้กล่าวแก่บุตรของเขา”ซูเราะฮ์ลุกมาน โองการที่ 12-13)

เนื้อหาจาก 2 โองการข้างต้นสามารถเข้าใจได้ว่า อัลลอฮ์(ซบ.)ทรงมอบวิทยปัญญา “ฮิกมะฮ์”ให้แก่ลุกมาน แต่มีมติเป็นเอกฉันท์และแน่ชัดว่า ลุกมานมิใช่ศาสดา แต่การให้วิทยปัญญาและคำตักเตือนของท่านนั้น บ่งชี้ถึงฐานภาพอันสูงส่งของท่าน ตามทัศนะหนึ่งเชื่อว่า ท่านลุกมานเป็นหลานของศาสดาอัยยูบ

อิบนุอุมัร ได้รายงานว่า ลุกมาน มิใช่ศาสดา แต่เป็นบ่าวของอัลลอฮ์(ซบ.)ที่ใช้ความคิดใคร่ครวญอย่างมาก มีความเชื่อมั่น “ยะกีน”อย่างดี มีความรักต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าก็ทรงรักเขา และด้วยความโปรดปรานจากพระองค์ จึงได้ทรงประทานวิทยปัญญาแก่ลุกมาน ถึงแม้ลุกมานจะอบรมและตักเตือนบุตรของท่านแต่ในความเป็นจริงแล้วท่านได้สั่ง สอนมนุษย์ทั้งมวล

คำสั่งสอนทางด้านหลักความเชื่อในเอกานุภาพของพระเจ้า (เตาฮีด)
ในซูเราะฮ์ลุกมาน โองการที่ 13 ได้กล่าว “จงรำลึกถึง เมื่อลุกมานได้สั่งสอนแก่บุตรว่า โอ้ ลูกรักเอ๋ย จงอย่าได้ตั้งภาคีใดๆ ต่ออัลลอฮ์ เพราะแท้จริง การตั้งภาคีต่อพระองค์นั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์”

ความยิ่งใหญ่ของทุกการงาน ขึ้นอยู่กับความยิ่งใหญ่ของผลงานนั้น การละเมิดและฝ่าฝืนอย่างยิ่งใหญ่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการฝ่าฝืนต่อผู้ใด ดังนั้นบาปใดอีกที่จะยิ่งใหญ่เท่ากับการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮ์ และการฝ่าฝืนใดอีกเล่าที่จะยิ่งใหญ่ เท่ากับการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์

ในช่วงแรกของการตักเตือนที่ให้แก่บุตรนั้น ลุกมานได้สั่งสอน ตักเตือน กำชับ ถึงสิ่งที่เป็นรากเหง้าและรากฐานอันสำคัญคือหลักความเชื่อ ซึ่งหมายถึงต้องเชื่อศรัทธาต่อเอกานุภาพของพระเจ้า (เตาฮีด) ซึ่งเตาฮีดเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนทุกการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและมีคุณ ประโยชน์ ท่านอิมามอาลี(อ.) ได้กล่าวในช่วงสุดท้ายของชีวิตก่อนเป็นชะฮีด ว่า
คำสั่งสอนของฉันที่มีต่อพวกท่าน คือจงอย่าได้ตั้งภาคีใดๆ กับอัลลอฮ์และอย่าได้ทำลายแบบ ฉบับของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) สองสิ่งนี้คือเสาหลักของศาสนา ดังนั้นโปรดรักษาความสว่างไสวของดวงประทีปทั้งสองนี้ไว้ และพวกท่านก็จะไม่เป็นผู้ถูกตำหนิและถูกประณามอย่างแน่นอน
ลุกมานได้กล่าวแก่บุตรว่า โอ้ลูกเอ๋ย จงอย่าได้ตั้งภาคีใดๆ กับอัลลอฮ์ โองการนี้ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียด ของการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ แต่กล่าว “โดยรวม” เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมถึงประเภทต่างๆ ของการตั้งภาคี ไม่ว่าจะเป็นการตั้งภาคีต่อ “ซาต” “ซิฟาต” “การเคารพภักดีพระองค์” ล้วนอยู่ในประเภทของการตั้งภาคีทั้งสิ้น
ฉะนั้นจุดสูงสุดของการละเมิดฝ่าฝืนอัลลอฮ์(ซบ.) คือการตั้งภาคีต่อพระองค์ ซึ่งบทลงโทษของมันจะแสนสาหัส ยิ่งกว่าบทลงโทษที่มีต่อการปฏิเสธพระองค์ด้วยซ้ำ

ด้วยเหตุนี้ ลำดับแรกแห่งสาส์นของการเชิญชวนประชาชาติของบรรดาศาสดา คือเรียกร้องไปสู่เอกานุภาพของพระเจ้า (เตาฮีด) ซึ่งท่านลุกมานก็ได้ให้ความสำคัญถึงเรื่องนี้เช่นกัน

ความจำเป็นของการตรวจสอบจิตวิญญาณ “มุฮาซะบะตุลนัฟส์”
ในโองการที่ 16 ซูเราะฮ์ ลุกมาน ได้กล่าวว่า โอ้ลูกเอ๋ย แท้จริง หากมี (-การงานที่ดีหรือชั่วนั้น) มาตรแม้นจะหนักเท่าเมล็ดผักสักเม็ดหนึ่งจะซ่อนอยู่ในหิน หรือมันจะอยู่ในบรรดาชั้นฟ้าหรืออยู่ในแผ่นดินก็ตามแต่ อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงเมตตาผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง

คำตักเตือนข้อที่สองของลุกมานคือ การตรวจสอบกิจการงานในวันแห่งการตัดสิน ซึ่งนับว่าเป็นสายเชือกที่สร้างความสมบูรณ์ ให้เกิดขึ้นระหว่างหลักการของการเริ่มต้นและที่สิ้นสุด คำว่า คอร์ดัล คือต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งมีเมล็ดเล็กมากและมีสีดำ ในด้านของความเล็กของมันนั้นจึงเป็นที่มาของการอุปมาอุปมัยในที่นี้ ดังนั้นความหมายของโองการนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การงานที่ดีหรือชั่วไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะมีค่าหรือไม่ ไม่ว่าจะซ่อน ณ แห่งหนใด ก็จะเสมือนต้นคอร์ดัล ที่ถูกซ่อนอยู่ในส่วนลึกของแผ่นดินหรือจะอยู่ ณ จุดหนึ่งจุดใดบนฟากฟ้าอันสูงส่งอัลลอฮ์(ซบ.) จะทรงรับรู้ และจะทรงนำสิ่งเหล่านี้มาสอบสวน เพื่อที่จะตอบแทนและลงโทษ จำเป็นที่จะต้องตระหนักว่า อัลลอฮ์(ซบ.) ทรงรอบรู้ในทุกๆ การงานของมนุษย์ ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่จะนำมาซึ่งการปรับปรุงแก้ไข ในด้านตัวบุคคลและสังคมของเรา ในหนังสืออัล กาฟี อบูบาซิร ได้รายงานจากท่านอิมามบากิร(อ.) ว่า ฉันได้ยินท่านอิมามกล่าวว่า จงห่างไกลจากบาปเล็กต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผู้สอบสวน บางทีพวกท่านอาจจะคิดว่า ทำบาปแล้วไม่มีผลอันใด เพราะหลังจากนั้นก็ขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ หารู้ไม่ว่าอัลลอฮ์ตรัสไว้ใน อัล กุรอาน ซูเราะฮ์ ยาซีน โองการที่ 12 ว่า และเราจะบันทึกในสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้แต่ก่อนหน้านี้และร่องรอยของพวก เขา และทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเราได้บันทึกไว้อย่างครบถ้วนในบันทึกอันชัดเจน

ท่านอิมามอาลี(อ.) ได้กล่าวในคุตบะฮ์ บทที่ 90 ว่า อัลลอฮ์ คือ ผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง และทรงเป็นผู้สืบทอดมรดกทั้งปวงและทรงเป็นผู้ให้ปัจจัยยังชีพ การโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เป็นไปตามความประสงค์ของพระองค์ อัลลอฮ์คือผู้ทรงแบ่งปัจจัยยังชีพแก่ทุกสรรพสิ่ง และทรงรอบรู้ในทุกกิจการงานทั้งปวง ทรงรอบรู้แม้แต่ลมหายใจเข้าออก ทรงรอบรู้ทุกความเร้นลับที่ซุกซ่อนในทรวง

การดำรงนมาซ
ในซูเราะฮ์ลุกมาน โองการที่ 17 ได้กล่าวว่า โอ้ลูกเอ๋ย จงดำรงการนมาซ จงกำชับในสิ่งที่ดีงาม ห้ามปรามในสิ่งที่ชั่วร้าย และเจ้าจงอดทน ต่อสิ่งที่ประสบแก่เจ้าแท้จริง นี่คือส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่นมั่นคง
ลุกมานได้กล่าวว่า โอ้ลูกรักเอ๋ยจงทำการนมาซ แท้จริงแล้ว การนมาซเป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญต่อการสร้างความรักความผูกพัน ระหว่างเจ้ากับอัลลอฮ์(ซบ.) การนมาซทำให้หัวใจของเจ้ามีชีวิตชีวา วิญญาณของเจ้าอิ่มเอมและดื่มด่ำไร้ความทุกข์ชีวิตของเจ้าจะสดใส ร่องรอยของบาปจะถูกขจัดออกไปจากหัวใจของเจ้า แล้วรัศมีแห่งความศรัทธาก็จะแผ่ปกคลุมหัวใจของเจ้า และจะช่วยเจ้ายับยั้งในการปฏิบัติสิ่งที่ชั่วร้าย ลุกมานได้สอนบุตรในเชิงพฤติกรรม ซึ่งมันเป็นดั่งบันไดที่จะนำพามนุษย์ ไปยังตำแหน่งอันสูงส่ง ความประเสริฐของการนมาซ นั้นมีคำกล่าวอยู่มากมาย ซึ่งในที่นี้ถือว่าเพียงพอแล้วที่เราจะกล่าวฮะดีษบทหนึ่ง ที่ท่านอิมามศอดิก(อ.) กล่าวเพื่อการยืนยันพิสูจน์ถึงความสำคัญและความประเสริฐของการนมาซ

ท่านอิมามศอดิก(อ.) ได้กล่าวว่า แท้จริงแล้วการอนุเคราะห์ “ชะฟาอัต”ของเราบรรดาอิมามจะไม่แผ่ไปถึงบรรดาผู้ที่ไม่ให้ความสำคัญต่อการนมาซ
การนมาซเป็นดั่งความรักที่มีต่ออัลลอฮ์(ซบ.)และเป็นจุดเริ่มต้นของความนิรันดร์สำหรับมนุษย์และเป็นดั่งเมล็ดพันธุ์ที่เจริญงอกงามในฤดูใบไม้ผลิแห่งศรัทธา

นมาซ คือ ปัจจัยควบคุมภาวะทางจิตใจให้สงบนิ่ง และเป็นเครื่องประดับความสวยงามภายนอก นมาซคือ การรำลึกสัจธรรม นมาซคือ ความประเสริฐที่งดงามอันจีรัง และจะนำมาซึ่งการพบเจออัลลอฮ์(ซบ.) นมาซเป็นดั่งเช่น ความโปรดปรานที่ก่อให้เกิดสิ่งดีงาม

การกำชับในสิ่งที่ดีงาม และการยับยั้งในสิ่งที่ชั่วร้าย
ลุกมานได้สั่งสอนถึงปัจจัยหลักสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญทางด้านสังคม คือการกำชับในสิ่งที่ดีงาม และยับยั้งในสิ่งที่ชั่วร้าย ในช่วงท้ายประโยคของโองการที่เรียกว่า “กิจการที่หนักแน่นมั่นคง” เป็นที่ประจักษ์ว่า ทุกๆ การงานในด้านสังคม โดยเฉพาะการกำชับในสิ่งที่ดีงาม และยับยั้งในสิ่งที่ชั่วร้ายนั้น จะต้องพบกับอุปสรรคนานัปการ ซึ่งผู้ทำบาปที่โอหัง ผู้มีบารมีอิทธิพล จะไม่มีวันยอมรับคำตักเตือนเหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะปฏิเสธเท่านั้น จะยังคอยตามรังแกและรุกรานผู้ตักเตือนแน่นอน ดังนั้นผู้ตักเตือนปราศจากการอดทนและการยืนหยัดแล้วไซร้ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน กล่าวคือ ปัจจัยหลักในการกำชับสิ่งที่ดีงามและห้ามปรามสิ่งที่ชั่วร้ายนั้น จะต้องมีจิตสำนึกที่แน่วแน่และมั่นคง ตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้คือ อิมามฮุเซน(อ.) ที่ยืนหยัดต่อสู้กับระบบการปกครองที่กดขี่ เพื่อดำรงไว้ซึ่งซุนนะฮ์ อันแท้จริงของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) จนได้รับการเป็นชะฮีด

อดทนในทุกข์ภัย
อีกประเด็นหนึ่งที่ลุกมานได้ชี้ให้เห็นในที่นี้ความอดทน ท่านอัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอีย์ ได้กล่าวในหนังสือตัฟซีรอัล มีซานของท่านว่า
การอดทนมิได้มีแค่เพียงโองการนี้อย่างเดียวที่ถูกกล่าวว่า “กิจการที่หนักแน่นมั่นคง” แต่ก็มีอีกหลายโองการที่กล่าวถึงความสำคัญของการอดทนในลักษณะเช่นนี้ คำว่าอดทน “ซอบร์”ตามรากศัพท์มีความหมายว่า การคุมขัง การหักห้ามใจ การควบคุมตนเอง ในหนังสืออักร่อบุล มะวาริด เขียนว่า ซอบ รุด ดาบบะห์ คือการคุมขังสัตว์ ไว้ในที่ปราศจากหญ้า ดังนั้น คำว่า อดทน ก็คือ การห้าม และการบังคับ ควบคุมจิตใจของตนเองจากสิ่งที่บทบัญญัติและสติปัญญาได้ห้ามไว้นั้นเอง

การอดทนจะมีรูปแบบและลักษณธที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแต่ละเหตุการณ์ เช่น เมื่อเผชิญต่อเหตุการณ์อันเลวร้าย คุณลักษณะอันนี้เรียกว่า อดทน เมื่อเผชิญกับศัตรูในสมรภูมิแห่งการรบ คุณลักษณะเช่นนี้เรียกว่าความกล้าหาญ เมื่อเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ นานา คุณลักษณะเช่นนี้เรียกว่า เผื่อแผ่ ในตัฟซีร์ อะยาซีย์ ได้รายงานจากท่านอิมามศอดิก(อ.) ว่าจงอดทนในการปฏิบัติตามคำบัญชาของอัลลอฮ์(ซบ.) และอดทนต่อเหตุการณ์อันเลวร้ายที่ประสบกับชีวิต และจงอดทนต่อการชักจูงของอารมณ์ใฝ่ต่ำ

ถึงแม้ว่าการอดทนและการยืนหยัด จะเป็นสิ่งทียากลำบาก แต่มันจะเกิดคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านทั้งโลกนี้และโลกหน้า
ท่านหญิงซัยนับ(อ.) เป็นแบบฉบับของความอดทน ที่สมบูรณ์แบบซึ่งท่านได้แสดงไว้ในเหตุการณ์อันเศร้าสลดที่ แผ่นดินกัรบะลา ดังนั้นการศึกษาถึงชีวิตประวัติของอิมามผู้บริสุทธิ์ จะนำพาให้พบกันเส้นทางอันสว่างไสว ในเรื่องของความอดทนได้เป็นอย่างดี



ขอขอบคุณเว็บไซต์กุรอานรอซูล

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...
ฟาฏิมะฮ์ ...
มองเรื่อง “ข่าวลือ” ...
เคล็ดลับอายุยืน(1)
ชัยฏอน คือ ...
มุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์) ...
เราะห์มัต (ความเมตตา) ...
ความพอเพียงในอิสลาม
...

 
user comment