ไทยแลนด์
Thursday 28th of March 2024
0
نفر 0

การให้อภัยในอัลกุรอานและริวายะฮ์

การให้อภัยในอัลกุรอานและริวายะฮ์

การให้อภัยในอัลกุรอานและริวายะฮ์

การให้อภัย คือคุณลักษณะที่งดงามยิ่งประการหนึ่ง ที่เป็นเครื่องแสดงถึงระดับความสมบูรณ์และความสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิบัติดีต่อคนที่กระทำไม่ดีต่อเรา มันคือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความมีเกียรติ ความอดทนอดกลั้น ความมีจิตใจที่กว้างขวาง ความอ่อนน้อมถ่อมตนและคุณลักษณะต่างๆ ในตัวของผู้ให้อภัย

การให้อภัยและการไม่ถือโทษโกรธเคืองนี้ นอกจากจะมีผลและรางวัลตอบแทนในปรโลกแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดของความดีงามและความจำเริญต่างๆ สำหรับการดำเนินชีวิตทางโลกนี้ ทั้งต่อบุคคลและสังคม ตัวอย่างเช่น การเสริมสร้างเกียรติศักดิ์ศรีให้แก่ตัวเรา การขจัดความเป็นศัตรูและความเกลียดชังต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของเรากลับกลายมาเป็นเพื่อนสนิทหรือมิตรแท้ของเราได้ จะเป็นบ่อเกิดของความสมบูรณ์ของจิตใจและความสงบสุขทั้งต่อบุคคลและสังคม จะช่วยยับยั้งการดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องของความไม่ดีงาม ความรุนแรง ความเป็นศัตรูและความเกลียดชังต่างๆ ในความเป็นจริงแล้วการให้อภัยนี้จะเป็นจุดสิ้นสุดของปัญหาต่างๆ ดังกล่าว

พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสว่า

 وَلَا تَسْتَوِي الْحَسَنَةُ وَلَا السَّيِّئَةُ ادْفَعْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ فَإِذَا الَّذِي بَيْنَكَ وَبَيْنَهُ عَدَاوَةٌ كَأَنَّهُ وَلِيٌّ حَمِيمٌ وَمَا يُلَقَّاهَا إِلَّا الَّذِينَ صَبَرُوا وَمَا يُلَقَّاهَا إِلَّا ذُو حَظٍّ عَظِيمٍ

“และความดีกับความเลวร้ายนั้นย่อมไม่เท่าเทียมกัน เจ้าจงตอบโต้ (และปัดป้องความเลวร้าย) ด้วยสิ่งที่ดีงามกว่าเถิด แล้วเมื่อนั้นผู้ที่ระหว่างเจ้ากับเขาเคยเป็นปรปักษ์กันก็จะกลับกลายเป็นประหนึ่งมิตรสนิทโดยพลัน และไม่มีผู้ใดจะได้รับมัน (คุณธรรมดังกล่าวนี้) นอกจากบรรดาผู้ที่อดทน และจะไม่มีผู้ใดได้รับมันนอกจากผู้ที่มีโชคผลอันยิ่งใหญ่” (1)

จิตวิญญาณ แห่งการให้อภัย


โดยธรรมชาติของการดำเนินชีวิตทางสังคม (นับตั้งแต่ครอบครัวไปจนถึงสังคมใหญ่) นั้น การเผชิญหน้าและการกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และแทบจะไม่สามารถพบเห็นใครเลยที่ว่าสิทธิต่างๆ ของเขาจะไม่ถูกละเมิดและถูกทำลาย ถ้าหากสปิริตหรือจิตวิญญาณของการให้อภัยและการไม่ถือโทษโกรธเคืองไม่ปกคลุมอยู่ในสังคมแล้ว รากฐานของชีวิตทางสังคมจะต้องพบกับความสั่นคลอนและความทุกข์ยากอย่างมาก การให้อภัยสามารถพบเห็นได้ทั้งในคำพูดและการปฏิบัติตนของบรรดาผู้นำแห่งพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งจะขอชี้ให้เห็นเพียงบางส่วนเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ ณ ที่นี้

มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าวในคุฏบะฮ์ (การเทศนา) ครั้งหนึ่งว่า

 أَ لَا أُخْبِرُكُمْ بِخَیْرِ خَلَائِقِ الدُّنْیَا وَ الْآخِرَةِ الْعَفْوِ عَمَّنْ ظَلَمَكَ وَ تَصِلُ مَنْ قَطَعَكَ وَ الْإِحْسَانُ إِلَى مَنْ أَسَاءَ إِلَیْكَ وَ إِعْطَاءُ مَنْ حَرَمَكَ

“จะให้ฉันจะบอกแก่ท่านทั้งหลายไหม ถึงคุณลักษณะที่ดีงามที่สุดของโลกนี้และปรโลก นั่นคือ การให้อภัยต่อผู้ที่อธรรมต่อท่าน และการที่ท่านจะเชื่อมสัมพันธ์ต่อผู้ที่ตัดสัมพันธ์กับท่าน และการทำดีต่อผู้ที่กระทำเลวต่อท่านและการให้ต่อผู้ที่ลิดรอนท่าน” (2)

ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) อีกบทหนึ่ง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

 مَن كَثُرَ عَفوُهُ مُدَّ فى عُمُرِهِ

“ผู้ใดที่ให้อภัยมาก ชีวิตชองเขาก็จะยืนยาว” (3)

ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ.) กล่าวว่า

 الْعَفْوُ مَعَ الْقُدْرَةِ جُنَّةٌ مِنْ عَذابِ اللهِ سُبْحانَهُ

“การให้อภัยในขณะที่มีอำนาจนั้น คือโล่ที่จะป้องกันจากการลงโทษของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)” (4)

 

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของการให้อภัยและการไม่ถือโทษนั้นก็คือ ในกรณีที่เรามีอำนาจที่จะทำการแก้แค้นเอาคืนจากผู้ที่กระทำไม่ดีหรือละเมิดสิทธิของตนได้ แต่เขาไม่ถือโทษและให้อภัยบุคคลดังกล่าว หากมิเช่นนั้นแล้ว การนิ่งเงียบเนื่องจากไม่มีอำนาจและความสามารถที่จะแก้แค้นนั้นคือการเก็บกดอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งจะนำไปสู่ความเครียดแค้น ความเกลียดชังและจะเป็นบ่อเกิดของความผิดบาปจำนวนมากมาย อย่างเช่น การระแวงสงสัย การคาดคิดในทางไม่ดี ความอิจฉาริษยา การนินทา การให้ร้ายและอื่น
จงให้อภัยแก่ผู้อื่น แล้วอัลลอฮ์จะทรงให้อภัยแก่เรา


ทุกคนคาดหวังที่ว่าบุคคลอื่นๆ จะไม่ถือโทษและให้อภัยในความผิดพลาดต่างๆ ของเรา หรือให้โอกาสเราที่จะชดเชยและแก้ไขปรับปรุงความผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากตัวเรา แน่นอนยิ่งว่า สิ่งนี้คือความต้องการของเราทุกคน ดังนั้น จะต้องเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อน ด้วยการไม่ถือโทษและการให้อภัยในความผิดพลาดต่างๆ ของผู้อื่น ยับยั้งตนจาการคิดแก้แค้นและตอบโต้ ในความเป็นจริงแล้วเราจะเห็นได้ว่า ในการดำเนินชีวิตทางสังคมนั้น การไม่ถือโทษ การมองข้ามความผิดพลาดและการให้อภัยต่อกันและกันเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยกับคุณธรรมดังกล่าวนี้เองที่จะทำให้ดวงใจทั้งหลายเกิดความใกล้ชิดต่อกันมากยิ่งขึ้น และพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งก็จะทรงตอบแทนผลรางวัลทางจิตวิญญาณแก่เรา และผู้ใดก็ตามที่ให้อภัยและไม่ถือโทษความผิดพลาดของผู้อื่น พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งก็จะไม่ทรงมองข้าม จะทรงเมตตาและจะทรงให้อภัยความผิดบาปต่างๆ ของเขาด้วยเช่นกัน
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวว่า

 فاعفوا واصفحوا، ألا تحبون أن یغفر الله لکم

“ท่านทั้งหลายจงให้อภัยและจงยกโทษเถิด พวกท่านไม่ปรารถนาที่จะให้อัลลอฮ์ทรงอภัยโทษแก่พวกท่านดอกหรือ” (5)

เพื่อที่เสริมสร้างคุณธรรมอันสูงส่งและจิตวิญญาณแห่งการให้อภัยนี้ ให้เกิดขึ้นในสังคมของมนุษย์ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งได้ทรงตรัสไว้ใน คัมภีร์อัลกุรอานว่า

 وَسَارِعُوا إِلَى مَغْفِرَةٍ مِنْ رَبِّكُمْ وَجَنَّةٍ عَرْضُهَا السَّمَوَاتُ وَالْأَرْضُ أُعِدَّتْ لِلْمُتَّقِينَ الَّذِينَ يُنفِقُونَ فِي السَّرَّاءِ وَالضَّرَّاءِ وَالْكَاظِمِينَ الْغَيْظَ وَالْعَافِينَ عَنِ النَّاسِ وَاللَّهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ

“และพวกเจ้าจงรีบรุดกันไปสู่การอภัยโทษจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าเถิด และไปสู่สวรรค์ซึ่งความกว้างของมันนั้น ประดุจดังบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน โดยที่มันถูกเตรียมไว้แล้วสำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง คือบรรดาผู้ที่บริจาคทั้งในยามสุขสบายและในยามเดือดร้อน บรรดาผู้ที่ระงับความโกรธและผู้ที่ให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ และอัลลอฮ์จะทรงรักผู้ที่กระทำดีทั้งหลาย” (6)

ผู้ที่ปรารถนาจะให้การดำเนินชีวิตของเขาได้รับความสงบสุขและความสงบมั่นทางจิตใจอย่างแท้จริงนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาจะต้องมองข้ามปัญหาและความไม่ดีงามต่างๆ ที่พบเห็นจากบุคคลอื่น ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวว่า

 أََغْضِ عَلَی القَذَی و اِلاّ لَم تَرضَ أَبَداً

“จงหลับตาลงต่อหนามที่อยู่ในดวงตาเถิด มิเช่นนั้นแล้วท่านจะไม่มีความสุข (ในการดำเนินชีวิต) ตลอดไป” (7)


แหล่งที่มา :

1) ซูเราะฮ์ฟุศศิลัต/อายะฮ์ที่ 34 - 35

2) อัลกาฟี เล่มที่ 2 หน้าที่ 107

3) มีซานุ้ลฮิกมะฮ์ เล่มที่ 3 หน้าที่ 2013

4) ฆุร่อรุ้ลฮิกัม เล่มที่ 1 ฮะดีษที่ 1547

5) อัลกาฟี เล่มที่ 1 หน้าที่ 299

6) ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน/อายะฮฺที่ 133 – 134

7) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ฮิกมะฮ์ที่ 213


ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ดุอาประจำวันที่ 17 ...
...
เป้าหมายของการถือศีลอด ...
ค่ำคืนที่ประเสริฐกว่า 1000 เดือน
...
เตาฮีด ...
วิธีการรู้จักอิมาม
...
ความเชื่อต่ออิมามมะฮ์ดี (อ)คือ ...

 
user comment