ไทยแลนด์
Saturday 20th of April 2024
0
نفر 0

อิสลามอนุญาตให้ซัจญะดะฮ์สิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้าได้หรือไม่ ตอนที่ 1

อิสลามอนุญาตให้ซัจญะดะฮ์สิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้าได้หรือไม่ ตอนที่ 1

อิสลามอนุญาตให้ซัจญะดะฮ์สิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้าได้หรือไม่ ตอนที่ 1

 


ในทัศนะอิสลามอนุญาตให้ทำการซัจญะดะฮ์ (กราบ)และแสดงการตะอ์ซีม(เทอดเกียรติ)สิ่งอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้าได้หรือไม่ ?

 


คำถาม


ดังที่พี่น้องศาสดายูซุฟได้ซัจญะดะฮ์ (กราบ)ต่อเขา ดังนั้น ตามบทบัญญัติของศาสดามุฮัมมัด และคำสอนของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้หรือไม่?


คำตอบโดยย่อ


ในทัศนะอิสลามบนพื้นฐานคำสอนของแนวทางอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ถือว่า การซัจญะดะฮ์ (กราบ)คือ รูปแบบหนึ่งของการทำอิบาดะฮ์ (เคารพภักดี)ที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด สำหรับพระผู้อภิบาลเท่านั้น และไม่อนุญาตให้กระทำกับบุคคลอื่นได้


ส่วนในการซัจญะดะฮ์ที่มีต่อศาสดายูซุฟ (อ.) นั้น มิได้ถือว่าเป็นการซัจญะดะฮ์อิบาดี ทว่าในความเป็นจริง ก็คือว่าเป็นการอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้าด้วยเช่นกัน ดังที่เราได้หันหน้าไปทางกะอ์บะฮ์เพื่อนมาซและได้ซัจญะดะฮ์ ทั้งๆที่การนมาซและการซัจญะดะฮ์ของเรามิได้กระทำเพื่อวิหารกะอ์บะฮ์แต่อย่างใด ทว่าวิหารกะอ์บะฮ์ คือสิ่งเดียว อันถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงอัลลอฮ์ เราจึงทำอิบาดะฮ์


คำตอบเชิงรายละเอียด


ในทัศนะอิสลามและคำสอนตามแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) เตาฮีด (เอกานุภาพแห่งพระเจ้า)คือสิ่งที่มีค่าสูงสุดอันเป็นหลัก และเป็นเขตแดนกั้นระหว่างการปฏิเสธและศรัทธา จุดที่ตรงกันข้ามกับเตาฮีด คือ การตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า (ชิริก) ซึ่งอัลกุรอานได้เรียกสิ่งนั้นว่า “การกดขี่อันยิ่งใหญ่” [1] เป็นบาปความผิดที่ไม่ได้รับการอภัย [2]


เตาฮีด มีรายละเอียดสำคัญ 4 ประการหลักดังนี้ :

1.เตาฮีดซาตีย์
2.เตาฮีดซิฟาตีย์
3.เตาฮีดอัฟอาลีย์
4.เตาฮีดอิบาดีย์


เตาฮีดอิบาดีย์ หมายถึง เฉพาะพระองค์อัลลอฮ์ เท่านั้นที่เราเคารพภักดี ไม่มีสิ่งใดคู่ควรแก่การเคารพภักดีเหมือนพระองค์ เนื่องจากการอิบาดะฮ์ต้องแสดงต่อบุคคลที่มีความสมบูรณ์จริง หรือต่อบุคคลที่ไม่มีความต้องการยังสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น เป็นผู้ประทานความโปรดปรานแก่ทุกสรรพสิ่ง เป็นพระผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย แน่นอน คุณลักษณะเช่นนี้จะไม่พบในบุคคลอื่นนอกจากอัลลอฮ์ (ซบ.)


วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการอิบาดะฮ์ คือ การสรรหาวิถีทางที่เข้าใกล้ชิดพระผู้ทรงเป็นองค์สมบูรณ์ยิ่ง ประกอบกับการประยุกต์เอาคุณลักษณะและคุณสมบัติแห่งความดีงาม และการปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นของพระองค์ เอาใส่ไว้ในตัวเอง เพื่อพัฒนาจิตใจตนให้ออกห่างจากอำนาจใฝ่ต่ำ และมุ่งมั่นอยู่กับการขัดเกลาจิตวิญญาณ แน่นอน วัตถุประสงค์นี้จะไม่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์[3]


คำว่า อิบาดะฮ์ มีความหมายกว้าง  ซึ่งคำว่า อับด์ ตามหลักภาษาจะใช้เรียกบุคคลที่ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เขาได้มอบตัวเองแด่เมาลาผู้เป็นเจ้าของ  ความต้องการของเขาเป็นไปตามความต้องการของพระเจ้า ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ กรรมสิทธิ์ไม่มีความหมายอันใดทั้งสิ้น อีกทั้งจะไม่แสดงความอ่อนแอในการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์อย่างเด็ดขาด


อีกนัยหนึ่งคำว่า “อุบูดียะฮฺ” คือ ขั้นสุดท้ายของการเปิดเผยความนอบน้อมถ่อมตน ด้วยเหตุนี้เอง บุคคลที่มีสามารถในการเคารพภักดี ได้แก่ บุคคลที่เป็นที่สุดของความโปรดปรานและเป็นที่สุดของการแสดงความเคารพภักดี


ด้วยเหตุนี้ การทำอิบาดะฮ์จึงถือว่าเป็นความสมบูรณ์สูงสุดของมนุษย์คนหนึ่ง เป็นความใกล้ชิดยิ่งระหว่างเขากับอัลลอฮ์ และเป็นการยอมจำนนโดยดุษณีต่ออาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์ [4]


อิบาดะฮ์ ในอัลกุรอานอยู่ในฐานะปัจจัยสำคัญสำหรับการสร้างมนุษย์ และการสร้างมวลสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกนี้


อัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า :


وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ
 

”เรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใดเว้นเสียแต่เพื่อการทำอิบาดะฮ์ต่อฉันเท่านั้น” [5]

 

ด้วยเหตุผลนี้เอง การทำอิบาดะฮ์จึงเฉพาะเจาะจงสำหรับอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์เท่านั้น และพระองค์ไม่อนุญาตให้มวลสรรพสิ่งทั้งหลายอิบาดะฮ์ต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากพระองค์เนื่องจากการทำอิบาดะฮ์หรือการแสดงความเคารพภักดีต่อสิ่งอื่น ถือว่าเป็นองค์อันยิ่งใหญ่สำหรับการตั้งภาคีเทียบเคียงพระองค์ เป็นการอธรรมและเป็นบาปที่ไม่ได้รับการอภัยโทษ


หนึ่งในรูปแบบที่สมบูรณ์และสวยงามที่สุดของการอิบาดะฮ์คือ การซัจญะดะฮ์[6] เนื่องจากซัจญะดะฮ์คือขั้นสุดท้ายของการเปิดเผยการนอบน้อมถ่อมตน ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์


ในทัศนะอิสลาม การซัจญะดะฮ์ต่อพระเจ้า ถือว่าเป็นการทำอิบาดะฮ์ที่สำคัญที่สุดหรือเป็นหนึ่งในอิบาดะฮ์ที่สำคัญยิ่งจากอิบาดะฮ์ทั้งหลาย ดังเช่นรายงานกล่าวไว้ว่า  การซัจญะดะฮ์ของมนุษย์ถือว่าเป็นสภาพที่ใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์มากที่สุด  บรรดาผู้นำที่ยิ่งใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) จะทำการซัจญะดะฮ์นานที่สุดเท่าที่จะนานได้[7]


ฉะนั้น บนพื้นฐานคำสอนอิสลามจึงไม่อนุญาตให้ซัจญะดะฮ์สิ่งอื่น นอกเหนือจากอัลลอฮ์ ซึ่งตำราฮะดีษของเราจะมีอยู่หมวดหนึ่งนามว่า “การไม่อนุญาตให้ซัจญะดะฮ์สิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮ์”

 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
รอมฎอนคือเดือนแห่งอัลกุรอาน
...
ความสำคัญของบิสมิลลาฮ์ ...
...
ท่านหญิงฟาติมะฮ์ ...
...
...
...
ซากีนะฮ์(อ.) ...

 
user comment