ไทยแลนด์
Thursday 28th of March 2024
0
نفر 0

สิ่งจำเป็นที่ต้องไม่ปรากฏในครอบครัว ตอนที่2

สิ่งจำเป็นที่ต้องไม่ปรากฏในครอบครัว ตอนที่2

สิ่งจำเป็นที่ต้องไม่ปรากฏในครอบครัว ตอนที่2
 

 
สิ่งสำคัญที่สุดต้องหลีกเลี่ยงคือ ข้ออ้าง
หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องหลีกเลี่ยงคือ ความดื้อรั้นและข้ออ้าง มีตัวอย่างอยู่ย่างดาษดื่นในสังคมที่ว่าครอบครัวเกิดความขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรง เพราะความดื้อรั้นและข้ออ้างแบบเด็กๆ ทั้งที่สิ่งนั้นไม่มีรากฐานความมั่นคงอันใดทั้งสิ้น ปรกติแล้วเราจะเห็นการยืนหยัด กับการดื้อรั้นอยู่เสมอ รายงานบทหนึ่งจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า {الخَيرُعادةٌ ولشرُّ لجاجة} “วามดีงามคืออุปนิสัยเคยชิน ความชั่วคือการดื้อดึง” หมายถึง มนุษย์ต้องพยายามสร้างอุปนิสัยให้เคยชินกับความดีงาม และต้องยืนหยัดต่อสิ่งนั้น เช่น การนะมาซตั้งแต่เริ่มต้นเวลา มนุษย์จะต้องผลักไสตนเองให้นะมาซตั้งแต่เริ่มเข้าเวลาให้ได้ พยายามปฏิบัติให้เป็นอุปนิสัยเคยชิน เพราะการเคยชินกับการกระทำคุณงามความดี ถือเป็นสิ่งดีอย่างยิ่ง หรือพยายามยืนหยัดตนเองว่าอย่าพูดโกหก อย่าผิดคำพูดกับบุคคลอื่น แต่ถ้าบางคนพยายามผลักไสตนเองไปสู่ประเด็นที่ไม่มีความสำคัญ ไม่มีเหตุผล หรือพยายามหาข้ออ้างต่างๆ นานา ทำให้ครอบครัวเกิดความระส่ำระสายอย่างนี้เรียกว่า ความดื้อรั้น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ผู้ศรัทธาต้องไม่มีคุณลักษณะไม่ดี 6 ประการในตัวเขา” ซึ่งคุณลักษณะไม่ดี 6 ประการที่ว่านี้เองคือ สิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง ต้องไม่นำเข้ามาในชีวิตของตน ได้แก่

 
1-เข้มงวดเกินควร
คำว่า อัลอุซรุ หมายถึงความเข็มงวด บางครั้งจะเห็นว่าความเข็มงวดเกิดควรของบิดามารดา คือสาเหตุสำคัญทำให้ลูกๆ ของเขาต้องเตลิดหนีไป หรือไม่ก็หลงผิดไปในทางไม่ดี บางคนต้องไปพึ่งยาเสพติด ลักขโมย และก่ออาชญากรรมอื่นๆ อีกมากมาย ในทำนองเดียวกันการปล่อยปละไม่ใส่ใจ หรือความหย่อนยานเกินเหตุก็เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงเช่นกัน
2- การไม่เผื่อแผ่ความดี
คำว่า อันนะกะดุ หมายถึงไม่มีความดี หรือความตระหนี่ถี่เหนียว คำว่า นะกิดุ ในอัลกุรอาน หมายถึง พื้นดินที่ไม่อาจกระทำการอันใดในนั้นได้ แต่ถ้านำคำนี้ไปใช้ในรูปของรากของคำ จะหมายถึง ไม่มีความความดี หรือการไม่เผื่อแผ่ความดีไปถึงคนอื่น ซึ่งผู้ศรัทธาเขามิใช่คนเยี่ยงนี้ กล่าวคือเขามิใช่ทั้งผู้ขัดขวางความดี และมิใช่ทั้งผู้ไม่เผื่อแผ่คุณความดี
3- ข้อแก้ตัวและข้ออ้าง
คำว่า อัลละญาญะตุ หมายถึง ความดื้อรั้น ข้อแก้ตัว และข้ออ้างต่างๆ
4- โกหก
คำว่า อัลกิซบุ หมายถึง มุสา โกหก พูดไม่จริง
5- ความอิจฉาริษยา
คำว่า อัลฮะซะดุ หมายถึง ความอิจฉาริษยา การไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดีกว่าตน
6- การอธรรม
คำว่า อัลบัฆยุ หมายถึง การอธรรมฉ้อฉล ดังนั้น ผู้ศรัทธาที่แท้จริงจะต้องไม่มีคุณลักษณะไม่ดีทั้ง 6 ประการดังที่กล่าวมา (เข้มงวดเกินควร ไม่เผื่อแผ่ความดี มีข้อแก้ตัวและข้ออ้าง โกหก มีความอิจฉาริษยา และอธรรม)
ซึ่งชั่วช้าที่สุดของสิ่งเหล่านี้คือ การดื้อรั้นหาข้อแก้ตัว รายงานฮะดีษกล่าวว่า ความดื้อรั้นคืออิบลิสชัยฏอนนั่นเอง เพราะชัยฏอนได้หาข้ออ้างเพื่อแก้ตัว โดยกล่าวว่า “ฉันจะไม่ยอมกราบอาดัมเด็ดขาด เพราะฉันมาจากธาตุไฟ ส่วนมนุษย์มาจากธาตุดิน อย่างไรก็ตามถ้าหากอิบลิสคือผู้เชื่อฟังปฏิบัติตำสั่งของพระเจ้าจริง วันนั้นมันต้องกราบคารวะอาดัมตามพระบัญชาของพระองค์ ทว่าชัยฏอนมองเห็นบางสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ กระนั้นก็ยังไม่เชื่อฟัง ดังนั้น เป็นที่รู้กันดีว่า การดื้อรั้น คือนิสัยของอิบลิส และเป็นคุณสมบัติของชัยฏอน
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่ {اللجاجُ بَدرُ الشر} “การดื้อร้นคือแหล่งที่มาของความชั่วทั้งหลาย”
ข้ออ้างของหมู่ชนมูซา (อ.)
ศาสดามูซา (อ.) บุตรของอิมรอน ต้องเผชิญปัญหานี้กับหมู่ชนของท่าน พวกเขาได้สังหารคนหนึ่งเสียชีวิต แล้วกล่าวว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นผู้สังหาร อัลลอฮฺ ตรัสว่า จงเชือดวัวแล้วนำเนื้อส่วนหนึ่งไปลูบบนผู้ตาย จะทำให้ผู้ตายฟื้นคืนชีพ ดังนั้น ถ้าพวกเขาสังหารวัวตัวใดก็ได้ ปัญหาของพวกเขาก็จะหมดไป ทว่าพวกเขาได้บ่ายเบี่ยงหาข้ออ้างต่างๆ นานา จนกระทั่งต้องเป็นวัวที่ถูกกำหนดเท่านั้น และถูกกดดันให้วัวตัวนั้นมีราคาสูงเป็นพิเศษ พวกเขาเพียรถามอยู่เสมอว่า “จะให้เชือดวัวสีอะไร อาหารของมันควรเป็นอะไร อายุวัวควรเป็นเท่าไหร่” เพื่อพวกเขาจะทำให้เงื่อนไขนั้นยากขึ้น สิ่งนี้ เรียกว่า การหาข้ออ้าง พวกเขายังได้กล่าวแก่มูซา (อ.) อีกว่า “ตัวท่านกับพระเจ้าของท่านจงไปสู่รบกับศัตรูเถิด พวกเราจะคอยอยู่ที่นี่ พวกเราจะส่งเสริมท่าน และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงเราจะเข้าไปในเมือง  พวกเขาได้ขออ้างจนกระทั่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกริ้ว พระองค์จึงปล่อยให้พวกวงศ์วานอิสรอเอลระหกระเหินด้วยความยากลำบาก อยู่นานถึง 40 ปี
ข้ออ้างในสมัยเราะซูล (ซ็อลฯ)
เมื่อพิจารณาอัลกุรอาน บทฟุรกอน จะพบคำสั่งหนึ่งกล่าวแก่ประชาชนว่า มีประชาชนกลุ่มหนึ่งไปพบท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และกล่าวว่า  {وَيَمْشِي فِي الْأَسْوَاقِ } “โอ้ ยาเราะซูล เพราะเหตุใดท่านจึงมาเดินในตลาดเล่า”ลองพิจารณาดูซิวาคำพูดของพวกเขาเป็นจริงหรือไม่ แล้วพวกเขามีธุระอันใดกับท่านเราะซูล ท่านจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร หรือไปไหนก็มิได้เกี่ยวข้องอันใดกับเขา พวกเขากล่าวอีกว่า ถ้าหากท่านเป็นเราะซูลจริง ไฉนต้องรับประทานอาหารด้วย เราะซูลจำเป็นต้องอิ่มทิพย์ตลอดเวลา ต้องเหาะเหินเดินอากาศด้วย หรือถ้าหากท่านเป็นเราะซูลจริง ไฉนท่านเป็นมนุษย์เหมือนเรา แล้วทำไมอัลลอฮฺไม่ส่งเราะซูลเป็นมลาอิกะฮฺลงมา อัลลอฮฺ ตรัสในอัลกุรอานว่า “มาตรว่าเราได้ส่งนะบีเป็นมะลาอิกะฮฺ ต้องส่งลงมาในรูปของมนุษย์ แต่ถ้าส่งเป็นมะลาอิกะฮฺลงมาจริง พวกเจ้าก็จะพูดอีกว่า ทำไม่ไม่ส่งนะบีเป็นมนุษย์ลงมา ทำไม่ส่งนะบีที่เป็นเพศเดียวกับเราลงมาเล่า แน่นอน ถ้าเราส่งนะบีเป็นสามัญชนลงมา พวกเขาก็จะกล่าว่า ทำไม่พระองค์ไม่ส่งนะบีคนอาหรับลงมาเล่า พวกเขาได้หาข้ออ้างชนิดเด็กๆ กับท่านเราะซูล เพื่อจะบ่ายเบี่ยงความจริง หน้าเสียดายว่าข้ออ้างเหล่านี้ก็มีอยู่ในหมู่ชนทั่วไปอย่างพวกเรา บางครั้งเราก็พบว่าการยืนหยัดของครอบครัวหนึ่ง ก็พังพินาศลงไปเพราะข้ออ้าง และข้อแก้ตัวเหล่านี้ อัลกุรอาน กล่าวกับเราว่า

 

 
وَلاَ تَقْفُ مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ إِنَّ السَّمْعَ وَالْبَصَرَ وَالْفُؤَادَ كُلُّ أُولئِكَ كَانَ عَنْهُ مَسْؤُولاً
“จงอย่าตามสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น เนื่องจากทั้งหู ตา และหัวใจ ทุกสิ่งเหล่านั้นจะถูกสอบสวน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ดุอาประจำวันที่ 17 ...
...
เป้าหมายของการถือศีลอด ...
ค่ำคืนที่ประเสริฐกว่า 1000 เดือน
...
เตาฮีด ...
วิธีการรู้จักอิมาม
...
ความเชื่อต่ออิมามมะฮ์ดี (อ)คือ ...

 
user comment