ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

อัคบารีย์ คือใคร ตอนที่ 5

อัคบารีย์ คือใคร ตอนที่ 5

อัคบารีย์ คือใคร ตอนที่ 5


โดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ

 

มูลเหตุความขัดแย้งระหว่างอัคบารีย์กับอุซูลีย์


เชค อับดุลลอฮ์ บิน ซอและห์ อัส-สะมาฮีญีย์ มรณะ ฮ.ศ. 1135 กล่าวว่า สองแนวคิดนี้มีความแตกต่างกันถึง 43 ปัญหา ตัวอย่างเช่น


หนึ่ง-อัคบารีย์ถือว่า การนำ “กออิดะฮ์ อุซูลียะฮ์ คือกฏอิลมุลอุซูล” มาใช้นั้นจะทำให้ “ตัวบทฮะดีษ” นั้นต้องถูกละทิ้ง


อัลอิสติรอบาดีย์ถือว่า อะฮ์ลุซซุนนะฮ์คือพวกแรกที่เรียบเรียงตำราอุซูลุลฟิกฮ์นี้ขึ้นมาใช้ แล้วอุละมาอ์ชีอะฮ์ มุตะอัคคิรีน(ยุคหลัง)ก็ลอกเลียนแบบมา และฝ่ายอัคบารีย์ถือว่านั่นคือสิ่งน่าตำหนิสำหรับพวกเขา พวกอัคบารีย์จึงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวิชาอุซูลุลฟิกฮ์ เพราะพวกอุซูลีย์ได้ละเลยคำสั่งห้ามของบรรดาอิม่าม(อ)ในสิ่งนั้น และนี่คือข้ออ้างของฝ่ายอัคบารีย์


เชคยูสุฟ อัลบะห์รอนีย์ ได้แสดงทัศนะว่า หลักฐานเรื่องอิจญ์มาอ์ที่ฝ่ายชีอะฮ์ดำเนินอยู่บนมันนั้น ฝ่ายอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ก็มีความเห็นพ้องตรงกันในสิ่งนั้นเช่นกัน พวกอัคบารีย์จึงถือว่าพวกอุซูลีย์ไปเลียนแบบวิชาอุซุลุลฟิกฮ์มาจากฝ่ายอะฮ์ลุซซุนนะฮ์และนี่คือแม่บทของปัญหาทั้งหลาย


สอง-อัคบารีย์อ้างว่า อัศฮาบของบรรดาอิม่าม(อัศฮาบคือสานุศิษย์) จนมาถึงสมัยของเชคกุลัยนีย์และสมัยของเชคศอดูกนั้น พวกเขาปฏิบัติอามั้ลของพวกเขาตามรายงานฮะดีษต่างๆที่มาจากท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)และอะฮ์ลุลบัยต์(อ)

 


สิ่งที่ชัดเจนก็คือ การที่อัคบารีย์ปฏิเสธอุซูลุลฟิกฮ์ ต้นเหตุหลักคือ พวกเขาเห็นว่ามันจะทำให้ต้องละทิ้งตัวบทหลักฐานทางศาสนา(อะดิลละฮ์ชัรอียะฮ์) หรือหลักฐานด้านการฟัง(ซัมอียะฮ์-คือการเล่าฮะดีษ) โดยจะไปยึดเอากฏอะห์กามจากหลักฐานทางปัญญา(อะดิลละฮ์ อักลียะฮ์)แทน ซึ่งฝ่ายอัคบารีย์ถือว่า พวกอะฮ์ลุซซุนนะฮ์คือกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์วิชานี้ขึ้นมาใช้


คาดว่า นักปราชญ์ชีอะฮ์ที่เข้าไปมีส่วนร่วมเกี่ยวกับวิชาอุซูลุลฟิกฮ์แบบซุนนี่ ที่บรรจุอยู่ในความคิดของพวกอัคบารีย์ก็คือ “ อิบนุ ญุนีด ” ฟะกีฮ์ชีอะฮ์ในอดีต เพราะเขามีความคิดเห็นตรงกับมัซฮับต่างๆของฝ่ายซุนนี่ในทัศนะเรื่อง กิยาส(การอนุมาน)


สาม-อัลอิสติรอบาดีย์ ได้ฉวยโอกาสการอุบัติวิชาการใหม่ขึ้นในวงการฟิกฮ์นั่นคือ อุซูลุลฟิกฮ์ เพื่อโจมตีและสร้างกระแสต่อฝ่ายชีอะฮ์ที่ยึดแนวคิดตรงกันข้ามกับเขา นั่นเป็นเพราะว่า อิลมุลอุซูล นั้นได้เติบโตขึ้นในหมู่ชีอะฮ์หลังการเร้นกายของอิม่ามมะฮ์ดี(อ)เนื่องจากเกิดความจำเป็นต้องพึ่งวิชานี้


ฝ่ายอัคบารีย์ถือว่า ตราบใดที่ยังมีบรรดาสานุศิษย์ของบรรดาอิม่าม(อ)อยู่ และยังมีบรรดานักปราชญ์ฟิกฮ์ในสำนักคิดของพวกเขาอยู่ พวกเขาก็ยังดำเนินต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพาวิชาอุซูลุลฟิกฮ์ในเรื่องฟิกฮ์ของพวกเขา และพวกอัคบารีย์จึงต่อต้านวิชาอุซูลุลฟิกฮ์


ปัญหาขัดแย้งระหว่างสองแนวคิดนี้ที่ชัดเจนที่สุดคือ


1.การยึดความหมายซอเฮ็รของอัลกุรอ่าน เป็นหลักฐาน(حجية ظواهر الكتاب)


2.การยึดอิจญ์ม๊าอ์(มติของมหาชนอุละมาอ์) เป็นหลักฐาน(حجية الإجماع)


3.การยึดอักลีย์(สติปัญญา) เป็นหลักฐาน(حجية دليل العقل)


4.การยึดกฎอิสติศฮาบ(ถือสภาพเดิมเป็นหลัก) เป็นหลักฐาน
حجية الاستصحاب
 

5.การยึดกฏบะรออะฮ์(อัลลอฮ์ไม่เอาโทษกับคนไม่รู้ฮุก่มชัดเจน) เป็นหลักฐาน
حجية البراءة الشرعية
 

6.อัคบารีย์อ้างว่า ฮะดีษในกุตุบอัรบะอะฮ์เชื่อได้หมด แต่ฝ่ายอุซูลีย์บอกว่าทุกฮะดีษในตำราชีอะฮ์ต้องผ่านการตรวจสอบสายรายงานว่ามีความเชื่อถือได้แค่ไหน


วิวัฒนาการด้านการศึกษาค้นคว้าวิชาอุซูลุลฟิกฮ์ของชีอะฮ์นั้นได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปลายศตวรรษที่สิบเอ็ดแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ซึ่งมีบุคคลต้นแบบของแนวคิดนี้ปรากฏขึ้นอาทิเช่น


อัลฮาซัน บิน ซัยนุดดีน อัลอามิลีย์ มรณะฮ.ศ.1011เจ้าของหนังสือมะอิลมุลอุซูล(معالم الأصول)


และในระยะนี้ยังปรากฏขึ้นอีกคนหนึ่งคือ เชคมุฮัมมัด อัลบะฮาอีย์ อัลอามิลีย์ มรณะฮ.ศ.1031 เขาคือผู้ที่เรียบเรียบหนังสือชื่อ ซุบดะตุลอุซูล


ทั้งๆที่ฝ่ายอัคบารีย์ ได้ต่อต้านแนวคิดของพวกอุซูลีย์ในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างชัดเจนและรุนแรง แต่แนวคิดฝ่ายอุซูลีย์ก็ไม่สะดุดหรือหยุดนิ่งเลย ในทางตรงกันข้ามแนวคิดอุซูลีย์ยังพัฒนาและดำเนินต่อไป ซึ่งได้ปรากฏนักปราชญ์สายอุซูลีย์คนสำคัญๆขึ้นมามากมาย เช่น


- เชค อับดุลลอฮ์ อัตตูนีย์ มรณะ ฮ.ศ.1099
- เชค มุฮัมมัด บิน อัลฮาซัน อัชชีรวานีย์ มรณะ ฮ.ศ.1098
- สัยยิด ฮูเซน อัลคอนซารีย์ มรณะ ฮ.ศ.1099
- ศ็อดรุดดีน อัลกุมมีย์ มรณะ ฮ.ศ.1160
- อุสต๊าซ เชค มุฮัมมัด บาเก็ร บิน มุฮัมมัด อัลวะฮีด อัลบะฮ์บะฮานีย์ (1118 - 1206 )


เชคอัลบะฮ์บะฮานีย์ผู้นี้ได้ปะทะกับนักปราชญ์ฝ่ายอัคบารีย์ในช่วงสมัยที่คนสองฝ่ายนี้ได้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงที่สุด และเชคอัลบะฮ์บะฮานีย์สามารถสำแดงวิชาการปกป้องแนวคิดอุซูลีย์นี้เอาไว้ได้อย่างมั่งคงจากการต่อต้านโจมตีของฝ่ายอัคบารีย์


นับได้ว่าเชค มุฮัมมัด บาเก็ร บิน มุฮัมมัด อัลวะฮีด อัลบะฮ์บะฮานีย์ เป็นนักปราชญ์อุซูลีย์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในศตวรรษที่สิบสองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช


เพราะเวลานั้นเมืองกัรบาลา ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางสำคัญของกระแสแนวคิดอุซูลีย์ในการทำสงครามทางวิชาการกับพวกแนวคิดอัคบารีย์ยุคใหม่


ถ้าหากสมัยนั้นไม่มีเชคอัลบะฮ์บะฮานีย์อยู่ แน่นอนฝ่ายอัคบารีย์ย่อมสามารถปกครองเมืองนั้นและใช้เมืองนั้นเป็นศูนย์กลางเผยแพร่แนวคิดอัคบารีย์ไปทั่วทิศอีกด้วย ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้พวกอัคบารีย์โหมกระหน่ำโจมตีตำรับตำราแนวอุซูลีย์ รวมทั้งบรรดาปราชญ์สายอุซูลีย์อย่างรุนแรงเท่าที่พวกเขาสามารถแสดงหลักฐานของพวกเขาออกมาได้
ชะฮีด มุรตะฎอ มุฏาะฮะรีย์ นักปราชญ์ชาวอิหร่าน ได้กล่าวว่า


การปรากฏตัวของกลุ่มแนวคิดอัคบารีย์ขึ้นในตอนต้นแห่งศตวรรษที่สิบสองแห่งฮิจเราะฮ์ศักราชนั้น พวกเขาคือส่วนหนึ่งของพวกมัซฮับซอฮิรีย์ ที่ยึดติดกับความหมายผิวเผินของตัวบทอย่างรุนแรง และพวกอัคบารีย์นี้คือความเจ็บปวดที่สาหัสในโลกวิชาการของชีอะฮ์


ผลงานของพวกอัคบารีย์ เช่นตำราและแนวคิดที่นักปราชญ์สายอัคบารีย์เขียนไว้นั้น ยังคงหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ และพวกเขาคือสาเหตุทำให้โลกวิชาการอิสลามของชีอะฮ์ต้องสะดุด


เพื่อพิสูจน์ให้เข้าใจว่า แนวคิดของพวกอัคบารีย์นั้นผิดและมีผลลบต่อสังคมชีอะฮ์อย่างไร เราจะยกตัวอย่างให้ท่านได้พิจารณาดังนี้


พวกอัคบารีย์อ้างว่า ฮะดีษทุกบทในตำรา “กุตุบ อัรบะอะฮ์” คือ


1.อัลกาฟีย์ ของเชคกุลัยนีย์ มีฮะดีษทั้งหมด 16,199 บท


2.มันลา ยะห์ฎุรุฮุล ฟะกีฮ์ ของเชคศอดูก มีฮะดีษทั้งหมด 13,905 บท


3.อัตตะฮ์ซีบ มีฮะดีษทั้งหมด 5,511 บท


3.อัลอิสติบศ็อร มีฮะดีษทั้งหมด 5,998 บท


มีสถานะ”ถูกต้องหมด” มันคือสิ่งที่ได้รายงานมาจากบรรดามะอ์ซูม(อ)อย่างแน่นอน และไม่ต้องไปสนใจตรวจสอบสายรายงานฮะดีษในตำราเหล่านี้เลย


ข้ออ้างของพวกอัคบารีย์ที่ว่า “ฮะดีษทุกบทในตำรากุตุบ อัรบะอะฮ์ เชื่อได้หมด” ถือว่า ไม่หลักฐานใดมาสนับสนุนเลย


เพราะเจ้าของตำราเหล่านั้นไม่เคยบอกว่า ฮะดีษในตำราของเขานั้นถูกต้องได้ทั้งหมด


ตัวอย่าง ในอัลกาฟี เล่ม 2 หน้า 634 หะดีษที่ 28 เชคกุลัยนีย์บันทึกว่า รายงานจาก อาลี บิน อัลฮะกัมจากฮิชาม บิน ซาลิมจาก อิมามญะอ์ฟัร(อ)กล่าวว่า


إِنَّ الْقُرْآنَ الَّذِي جَاءَ بِهِ جَبْرَئِيلُ (ع) إِلَى مُحَمَّدٍ (ص) سَبْعَةَ عَشَرَ أَلْفَ آيَةٍ
 

อัลกุรอาน ที่ญิบรออีลนำมายังท่านนบีมุฮัมมัดนั้น(ศ)มีจำนวน 17,000 โองการ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ฟาฏิมะฮฺ(อ.) กับสถานภาพอันสูงส่ง
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ...
สิทธิ ของหู ดวงตาและเท้า
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...

 
user comment