ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

แหล่งที่มาของนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮ์ อัลอิสลาม)

แหล่งที่มาของนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮ์ อัลอิสลาม)

แหล่งที่มาของนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮ์ อัลอิสลาม)

บรรดามุสลิมต่างได้ยึดถือปฏิบัติตามอัล-กุรอานและซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อย่างเคร่งครัด ส่วนการพิสูจน์หลักศาสนบัญญัติ(อะฮฺกามชัรอียฺ) ได้ยึดแหล่งที่มาอันเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชาการและความรู้ ได้แก่


๑.    อัล-กุรอาน
๒.    ซุนนะฮฺ (แบบฉบับของท่านศาสดา)
๓.    อิจมาอฺ  (การเห็นพร้องต้องกันของนักปราชญ์ที่ต่างยุคสมัย)
๔.    สติปัญญา

 

อัล-กุรอาน


จากแหล่งที่มาของความรู้ อัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสดาเป็นแหล่งที่มาที่สำคัญที่สุดของฟิกฮ์ อัลอิสลาม โดยเฉพาะสายธารอิมามียะฮ์ อิษนา อะชะรียะฮ์
บรรดามุสลิมทุกคนได้ยึดอัล-กุรอานเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับนิติศาสตร์อิสลาม และเป็นมาตรฐานในการรู้จักศาสนบัญญัติ(อะฮฺกาม)ของพระผู้เป็นเจ้า เพราะบรรดาอิมามผู้นำที่บริสุทธิ์ทั้งหลายได้ยึดอัล-กุรอาน เป็นที่ย้อนกลับของความรู้สูงสุดในการพิสูจน์หลักอะฮฺกามและกฎต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เอง คำพูดอื่นๆจะถือว่าถูกต้องและสามารถนำไปปฏิบัติได้ ก็ต่อเมื่อนำไปเทียบกับอัล-กุรอานแล้วไม่มีความขัดแย้งใดๆ แต่ถ้าหากมีความขัดแย้งจะต้องละทิ้งคำพูดเหล่านั้น และยึดอัล-กุรอานเป็นหลัก


ท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ.) อิมามท่านที่ ๖ ได้กล่าวว่า


و كلّ حديثٍ لا يوا فق كتاب الله فهو زخرفٌ


“ทุกคำพูดที่ไม่สอดคล้องกับอัล-กุรอานถือว่าไม่มีรากที่มา”


ท่านอิมาม (อ.) ได้รายงานริวายะฮฺจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยกล่าวว่า


أيها النّاس ما جائكم عنّي يوافق كتاب الله فأنا قلته و ماجائكم يخالف كتاب الله فلم أقله


“โอ้ประชาชนเอ๋ย ทุกคำพูดที่กล่าวว่ามาจากฉัน ถ้าสอดคล้องกับอัล-กุรอานเป็นคำพูดของฉัน แต่ถ้าคำพูดใดไม่สอดคล้องกับอัล-กุรอานไม่ใช่คำพูดของฉัน”
จากฮะดีษทั้ง ๒ ที่กล่าวมาทำให้รู้ว่าบรรดามุสลิมทั้งหมดได้ยึดเอาอัล-กุรอานเป็นแหล่งพิสูจน์หลักอะฮฺกามที่สำคัญที่สุด

 

ซุนนะฮฺ


 ซุนนะฮฺหมายถึง คำพูด การกระทำ หรือการที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) สนับสนุนการกระทำบางอย่าง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งที่มาสำคัญของความรู้ด้านฟิกฮฺของอิสลาม และด้านอื่นๆ บรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์เป็นผู้รักษาและอธิบายซุนนะฮฺโดยตรงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และยังเป็นคลังวิชาการสำหรับท่านอีกต่างหาก แน่นอนถ้าซุนนะฮฺของท่านได้รับการถ่ายทอดโดยกลุ่มบุคคลหรือวิธีการอื่นที่สามารถเชื่อถือได้ จะถูกยอมรับเช่นเดียวกัน


และเป็นการดีถ้าหากจะมาพิจารณากันถึง ๒ ประเด็นที่มีความสำคัญดังต่อไปนี้


เหตุผลที่ยึดมั่นซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมาม (อ.)ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการปฏิบัติตามอัล-กุรอาน และยังได้กล่าวแนะนำให้ยึดมั่นซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)  ซึ่งทั้ง ๒ เป็นความสมบูรณ์ของกันและกัน


ท่านอิมามอัศศอดิก (อ.) กล่าวว่า


إذا ورد عليكم حديثٌ فوجدتم له شاهداً من كتاب الله أو من قول رسول الله و إلا فالّذي جائكم به اولى به


“เมื่อใดก็ตามที่คำพูดหนึ่งได้มาถึงท่าน ดังนั้น ถ้าอัล-กุรอานและซุนนะฮฺรับรองคำพูด ท่านจงรับไว้ แต่ถ้าไม่รับรอง คำพูดนั้นดีสำหรับคนที่นำมันมา”

 

ท่านอิมามมุฮัมมัด อัลบากิร (อ.) กล่าวว่า การยึดมั่นในซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นเงื่อนไขพื้นฐานสำหรับบุคคลที่เป็นมุจตะฮิด


ท่านกล่าวว่า บุคคลที่เป็นฟะกีฮฺที่แท้จริงได้แก่ผู้ที่หลีกเลี่ยงความลุ่มหลงโลก  มีความพึงปรารถนาในโลกหน้า และยึดมั่นซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อย่างเคร่งครัด
(หมายเหตุ ฟะกีฮฺ หมายถึงบุคคลที่มีความชำนาญ และเชี่ยวชาญพิเศษด้านนิติศาสตร์อิสลาม)


บรรดาอิมาม (อ.) นั้นมีความเคร่งครัดต่อซุนนะฮฺเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดที่ว่า ใครก็ตามขัดแย้งกับซุนนะฮฺ และอัล-กุรอานเป็นกาฟิร เกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านอิมามอัศศอดิก (อ.) กล่าวว่า


مَن خَالَفَ كتاب الله و سنة محمدٍ فقد كفر


บุคคลใดก็ตามขัดแย้งกับอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของมุฮัมมัดเป็นกาฟิร


จากคำอธิบายดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่า สายธารอิมามียะฮ์ อิษนา อะชารีย์ เป็นสายธารที่มีความเคร่งครัดต่อซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่ามากกว่ามัซฮับอื่นๆ ทั้งหมดด้วยซ้ำ ดังนั้น การที่มีบางคนกล่าวหาสายธารนี้ว่าเป็นมัซฮับที่ละเลยต่อซุนนะฮฺ จึงไม่เป็นความจริง เป็นคำพูดที่ไม่มีแก่นสารและมูลความจริงแต่อย่างใด
เหตุผลที่ยึดมั่นต่อฮะดีษของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อคำพูดของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญ ๒ ประการดังต่อไปนี้


๑.    สาระและแก่นสารของฮะดีษของอิมาม (อ.)
๒.    หลักฐานที่มั่นคงและความจำเป็นในการยึดมั่นฮะดีษแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)


แม้ว่าจะมีหลักฐานและเหตุผลที่ชัดเจนมากมายบ่งบอกถึงความจำเป็นเหล่านั้น แต่เพื่อสร้างความมั่นใจจะอธิบายเพิ่มเติมดังนี้ว่า


แก่นสารฮะดีษของอิมาม (อ.) ชีอะฮฺเชื่อโดยหลักการว่าเฉพาะอัลลอฮฺ (ซบ.) เท่านั้น ที่มีสิทธิ์สถาปนากฎหมายขึ้นปกครองประชาชาติ และสังคม และทรงประทานรอซูลลงมาเพื่อเผยแผ่กฎหมายแก่ประชาโลก และเป็นที่ชัดเจนอีกเช่นกันว่าท่านรอซูล (ซ็อล ฯ) คือตัวแทนของพระองค์ในการนำวะฮฺยูและกฎหมายต่างๆ มาสู่ประชาชาติ ส่วนการที่ชีอะฮฺยึดมั่นต่อฮะดีษของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นแหล่งที่มาสำคัญของฟิกฮฺอิสลามสายชีอะฮฺ ไม่ได้หมายความว่าฮะดีษของอะฮฺลุลบัยตฺเป็นเอกเทศจากฮะดีษของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ทว่าต้องเป็นฮะดีษที่อธิบายซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อีกทีหนึ่ง


และด้วยเหตุนี้ ชีอะฮฺจึงยึดมั่นและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ก็จะไม่กล่าวสิ่งใดออกมา บนพื้นฐานของอำนาจใฝ่ต่ำ หรืออารมณ์ของตนเอง แต่ทุกสิ่งที่ท่านกล่าวล้วนเป็นซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ทั้งสิ้น และเพื่อพิสูจน์คำพูดของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ขอกล่าวฮะดีษต่อไปนี้


๑. ท่านอิมามอัศศอดิก (อ.) ได้ตอบคำถามชายคนหนึ่งที่ถามท่าน โดยตอบว่า


مهما أجبتك فيه بشيئ فهو عن رسول الله لسنا نقول برأينا من شيئ


“ทุกคำตอบที่ฉันตอบท่าน ล้วนมาจากท่านศาสดาทั้งสิ้น พวกเราจะไม่พูดสิ่งใดตามทัศนะของเรา”


 

๒.ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวต่ออีกว่า


حديثي حديثُ أبي، و حديث أبي حديث جدي، و حديث جدي حديث الحسين، و حديث الحسين حديث الحسن، و حديث الحسن حديث امير المؤمنين، و حديث امير المؤمنين حديث رسول الله، و حديث رسول الله قولُ اللِّه عزّ و جلّ


“คำพูดของฉันคือคำพูดของบิดาฉัน (อิมามบากิร) คำพูดของบิดาฉันคือคำพูดของปู่ฉัน (อิมามซัยนุลอาบิดีน) คำพูดของปู่ฉันคือคำพูดของอิมามฮุซัยนฺ คำพูดของอิมามฮุซัยนฺคือคำพูดของอิมามฮะซัน คำพูดของอิมามฮะซันคือคำพูดของอิมามอะลี คำพูดของอิมามอะลีคือคำพูดของท่านศาสดา คำพูดของท่านศาสดาคือพระดำรัสของอัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกร”


๓.    อิมามมุฮัมมัดอัลบากริ (อ.) กล่าวกับญาบิรว่า


حدثّني أبي عن جدّي رسول الله (ص) عن جبرائيل عن الله عزّوجلّ، وكلّما اُحَدِّثُكَ بهذا الاِسناد


“บิดาของฉันได้เล่าแก่ฉัน โดยรายงานมาจากปู่ทวดของฉันรอซูลุลลอฮฺ (ซ็อล ฯ)  จากญิบรออีล (อ.)  จากอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงเกรียงไกร และทุกสิ่งที่ฉันได้บอกกับท่านล้วนมาจากสายรายงานเหล่านี้”


จากริวายะฮฺที่กล่าวมาทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า เนื้อหาสาระของฮะดีษแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)
 ผู้เป็นอิมามของชีอะฮฺ อิมามียะฮ์ ก็คือซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นั่นเอง

 

หลักฐานที่มั่นคงและความจำเป็นในการยึดมั่นฮะดีษแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)


นักฮะดีษทั้งฝ่ายชีอะฮฺ และซุนนียฺต่างยอมรับว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ละทิ้งมรดก ๒ ประการที่มีค่ายิ่งไว้ท่ามกลางประชาชาติ ท่านได้ประกาศเชิญชวนประชาชาติทั้งหลายให้เชื่อฟังปฏิบัติตามทั้งสองอย่างเคร่งครัด และท่านได้รับรองว่า ความเจริญผาสุกของประชาชาติขึ้นอยู่กับการยึดมั่นกับทั้งสอง ได้แก่อัล-กุรอานคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอิตรัต (ทายาท) ของท่าน


จากจุดนี้ขอนำเสนอบางตอนของริวายะฮฺ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง


๑.    ศอเฮียะฮ์ อัตติรมิซียฺ ได้รายงานมาจากท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ จากท่านศาสดา
(ซ็อล ฯ) ว่า


يا أيّهالنّاس إنّي قد تركت فيكم ما إن أخذ به لن تضلّوا: كتاب الله و عترتي أهل بيتي


“โอ้ประชาชนทั้งหลาย แท้จริงฉันได้ฝากสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่สูเจ้า ถ้าหากสูเจ้ายึดมั่นจะไม่หลงทางตลอดไป ได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอิตรัต (ทายาท) ของฉัน
 

๒. ท่านติรมิซียฺ ได้บันทึกไว้ในหนังสือของตนอีกว่า


قال رسول الله صل الله عليه وسلم إنّي تاركٌ فيكم ما إن تمسكتم به لن تضلّوا بعدي أحد هما أعظم من الآخر كتاب الله حبل ممدود من السماء إلى الأرض و عترتي أهل بيتي و لن يفترقا حتى يردا علىّ الحوض، فانظروا كيف تخلفوني فيهما
 

ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า
“แท้จริงฉันได้ฝากสิ่งสำคัญยิ่งไว้ในหมู่สูเจ้า ถ้าสูเจ้ายึดมั่นกับสิ่งนั้นหลังจากฉันจะไม่หลงทางตลอดไป สิ่งหนึ่งมีความยิ่งใหญ่กว่าอีกสิ่ง คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ อันเป็นสายเชือกที่ทอดตรงจากฟากฟ้าสู่แดนดิน และอิตรัต (ทายาท) ของฉัน ซึ่งทั้งสองจะไม่แยกออกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะย้อนคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ ดังนั้น จงพิจารณาเถิดว่า หลังจากฉันพวกท่านขัดแย้งกับทั้งสองได้อย่างไร”


๓. ท่านมุสลิม บิน ฮัจญาจ ได้บันทึกไว้ในหนังสือศอเฮียะฮ์ของตน โดยรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า


ألا ايّها الناس فإنّما أنا بشر يوشك أن يأتي رسول ربّي فاجيب وأنا تارك فيكم ثقلين اوّلهما كتاب الله فيه الهدى والنّور فخذوا بكتاب الله واستمسكوا به فحثّ على كتاب الله ورغّب فيه ثمّ قال : وأهل بيتي اُذكّركم الله في أهل بيتي اُذكّر كم الله في أهل بيتي اُذكّر كم الله في اهل بيتي


“โอ้ประชาชนเอ๋ย  แท้จริงแล้วฉันเป็นปุถุชนคนหนึ่งเท่านั้น ใกล้เวลาที่ทูตแห่งพระผู้อภิบาลจะมา ซึ่งฉันได้ตอบรับคำเชิญแล้ว ฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่าน สิ่งหนึ่งคือคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ซึ่งในนั้นมีทางนำและนูร ฉะนั้นจงยึดเหนี่ยวคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺไว้ให้มั่น ซึ่งท่านได้เน้นย้ำถึงการปฏิบัติตามคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ หลังจากนั้นท่านได้กล่าวต่ออีกว่า ส่วนอะฮฺลุลบัยตฺ (ทายาท) ของฉัน อัลลอฮฺได้เตือนสำทับพวกท่านเกี่ยวกับอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน อัลลอฮฺได้เตือนสำทับพวกท่านเกี่ยวกับอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน อัลลอฮฺได้เตือนสำทับพวกท่านเกี่ยวกับอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน”


๔. นักฮะดีษกลุ่มหนึ่ง รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า


أني تارك فيكم الثقلين كتاب الله و أهل بيتي و إنّهما لن يفترقا حتى يردا على الحوض


“แท้จริงฉันได้ฝากสิ่งหนัก ๒ สิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอิตรัต (ทายาท) ของฉัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะย้อนคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ”


สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือ ฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้มีมากกว่าที่ได้กล่าวมา


ท่านมุฮักกิก บุรูมัน ซัยยิด มีร ฮามิด ฮุซัยน์ได้บันทึกรายงานฮะดีษบทนี้ไว้ในหนังสือ อะบะกอตุลอันวาร จำนวน ๖ เล่ม


จากฮะดีษที่กล่าวมาเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การปฏิบัติตามอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เคียงข้างอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นสิ่งจำเป็นในอิสลาม ส่วนการละเลยคำสั่งสอนของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นสาเหตุทำให้หลงทาง

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์ islamshia.net

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

บทธรรมเทศนาของอิมามริฎอ
ทำไมต้องซัจดะฮฺบนดิน
...
ดุอาประจำวันที่ 17 ...
...
เป้าหมายของการถือศีลอด ...
ค่ำคืนที่ประเสริฐกว่า 1000 เดือน
...
เตาฮีด ...
วิธีการรู้จักอิมาม

 
user comment