ไทยแลนด์
Tuesday 16th of April 2024
0
نفر 0

เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ (16)

เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ (16)

บทเรียนอูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา)

 

เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ (16)

นักปรัชญาอิสลามได้แบ่งอิลลัต (ปฐมเหตุ) ออกเป็นสองประเภท คือ
1. “อิลลัต ฮากีกีย์” (ปฐมเหตุที่แท้จริง) คือ อิลลัตที่ทั้งการเกิดขึ้นและทั้งการดำรงอยู่ของ”มะลูล” (ผล) ขึ้นอยู่กับมัน ถ้าหากไม่มีมันสรรพสิ่งก็ไม่สามารถเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้
2. “อิลลัต มุอิดดัต” (ปฐมเหตุที่เป็นตัวช่วย) คือ ถ้าไม่มีมัน “มะลูล” (ผล) หรือสรรพสิ่งสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ การเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง”มะลูล” (ผล) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมันเป็นตัวหลัก


ยกตัวอย่าง เพื่อความเข้าใจ”อิลลัต”ทั้งสองประเภท เช่น ตัวอย่างของ “ต้นไม้” “อิลลัตฮากีกี”(ปฐมเหตุที่แท้จริง) ของมัน คือ เมล็ดพันธ์ ถ้าไม่มีเมล็ด ต้นไม้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้


 ส่วน”อิลลัตมุอิดดัต”(สาเหตุที่เป็นตัวช่วย)ของต้นไม้ คือ “น้ำ” ถึงแม้ว่า เราเอาเมล็ดไปปลูกในดินที่มีน้ำแล้ว แต่ต้นไม้ก็ไม่ขึ้น ทำไมน้ำจึงเป็น “อิลลัตมุอิดดัต”(สาเหตุที่เป็นตัวช่วย) เพราะถ้ามีน้ำอย่างเดียว ต้นไม้ก็ไม่ขึ้น ถ้าน้ำเป็น”อิลลัตฮากีกีย์”(สาเหตุที่แท้จริง)ก็หมายความว่าที่ไหนมีน้ำที่นั่นก็ต้องมีต้นไม้ และยังพบอีกว่าบางครั้งมีเม็ดพันธ์เติบโตขึ้นโดยที่ไม่มีน้ำ ดินก็เป็น”อิลลัตมุอิดดัต” เพราะถ้าเป็น”อิลลัตฮากีกีย์” หมายความว่า ที่ไหนมีดินที่นั่นก็มีต้นไม้ สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเพียงตัวช่วยในการเกิดขึ้นของต้นไม้ ดิน น้ำ แสงอาทิตย์เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ต้นไม้เกิดขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งบางครั้งองค์ประกอบบางอย่างอาจขาดหายไป แต่ต้นไม้ก็ยังเกิดขึ้นได้ เช่น ต้นไม้ที่เกิดบนภูเขาหิน ที่ๆไม่มีดิน หรืออุตสาหกรรมยุคใหม่การปลูกผักโดยที่ไม่ต้องใช้ดิน


ใน”อิลลัตฮากีกีย์”(สาเหตุที่แท้จริง) ก็แบ่งออกเป็นสี่ประเภท
1. “อิลลัตฆออี” คือ เป้าหมาย จุดประสงค์ วัตถุประสงค์ ในการทำสิ่งๆหนึ่งให้เกิดขึ้น
2. “อิลลัตซูรี” รูปร่าง ลักษณะ แม่แบบ
3. “อิลลัตมาดดี” วัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ
4. “อิลลัตฟาอีลี” ผู้กระทำ สมมุติมีรูปแบบแล้ว มีเป้าหมายแล้ว มีวัตถุดิบแล้ว แต่ยังไม่มีผู้กระทำ สรรพสิ่งก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้


“เป้าหมาย”ก็เป็น อิลลัต ฮากีกี ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาโดยไม่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ สมมุติมนุษย์ไม่มีความจำเป็น เก้าอี้ไม่ต้องการเก้าอี้ มนุษย์มีไม้แล้ว มีรูปแบบแล้ว แต่มนุษย์ไม่ต้องการให้มันเกิด เก้าอี้ก็ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นก็เมื่อมนุษย์มีความต้องการ มีความประสงค์ บางครั้งเป้าหมายในการเกิดขึ้นเพื่อใช้เอง หรือบางครั้งเพื่อไว้จำหน่าย หรือเพื่ออะไรก็แล้วแต่


“อิลลัตฮากีกีย์”(สาเหตุที่แท้จริง)ทั้งสี่นั้นมีความสำคัญทั้งหมด ขาดอันใดอันหนึ่งไป “มะลูล” (ผล)ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ และอิลลัตที่สำคัญที่สุดคือ”อิลลัตฮากีกีย์ ฟาอีลี” (ผู้กระทำ) เราได้เข้าใจนิยามของ”อิลลัตฮากีกีย์”ไปแล้วว่า “การเกิดขึ้นและการคงอยู่ของ”มะลูล”ขึ้นอยู่กับการคงอยู่ของมัน” แต่ในความเป็นจริง ถ้าเราพิจารณาการสร้างของมนุษย์จะตรงกับนิยามแค่ครึ่งเดียว ตรงที่การเกิดขึ้นเท่านั้น แต่การคงอยู่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ”อิลลัตฟาอิลี” เพราะบางครั้ง”อิลลัตฟาอิลี”(ผู้กระทำ)ไม่อยู่แล้ว เช่น ตัวอย่างของการสร้างเก้าอี้ ผู้กระทำคือช่างไม้ เก้าอี้ได้เสร็จสมบรูณ์แล้ว บางครั้งช่างไม้ได้ตายไปแล้ว แต่เก้าอี้ยังคงมีอยู่ แสดงว่าการคงอยู่ของเก้าอี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับช่างไม้อย่างสมบรูณ์ เมื่อสร้างมาแล้วเขาก็ตายไป แสดงว่าช่างไม้เป็น”อิลลัตฟาอิลี”ที่ไม่สมบรูณ์ ไม่ตรงนิยามที่ว่า การคงอยู่ของมะลูล(ผล)ขึ้นอยู่กับอิลลัตฮากีกีฟาอิลีด้วย และอิลลัต(สาเหตุ)ทางวัตถุทั้งหมดจะเป็นในลักษณะนี้ ในมุมมองหนึ่งมันเป็น”อิลลัตฮากีกีย์”(สาเหตุที่แท้จริง) แต่ไม่ได้เป็น”อิลลัตฮากีกีย์”อย่างสมบรูณ์ ดังนั้น แสดงว่ามันต้องมี”อิลลัตฟาอิลี”ที่สูงส่งและสมบรูณ์กว่านี้ จะต้องมี”อิลลัตฟาอีลี”อันหนึ่งที่ดำรงอยู่ตลอดไป ดังนั้น นอกจาก”อิลลัตฟาอิลี”ทางวัตถุแล้ว ยังมี”อิลลัตฟาอิลี”ที่สูงส่งและคงอยู่ตลอดไปอีก เพราะการคงอยู่ของสรรพสิ่งต่างๆตั้งแต่การเกิดขึ้นมาของโลกจนถึงวันนี้ยังคงดำรงอยู่ เช่น สรรพสิ่งต่างๆยังคงดำรงอยู่ มนุษย์จำนวนหนึ่งยังคงดำรงอยู่ ทะเลยังคงอยู่ วันนี้ทะเลก็ยังคงอยู่ ภูเขาก็ยังคงอยู่ ท้องฟ้าก็ยังคงอยู่ ดวงอาทิตย์ ดวงดาวต่างๆก็ยังคงอยู่ อะไรคือ “อิลลัตฟาอิลี”(ผู้กระทำ))ที่แท้จริงของมัน หรือบางครั้งบางสิ่งบางอย่างอาจจะแปลงสภาพไปเช่นมนุษย์ตายไปแปลงสภาพกลายเป็นดิน แต่ก็ถือว่ามันยังคงอยู่ เมื่อสิ่งต่างๆเหล่านี้ยังคงอยู่แสดงว่า มันต้องมี”อิลลัตฟาอิลี”ที่สมบูรณ์หนึ่งที่ดำรงอยู่ตลอดไปและไม่ใช่วัตถุเพราะวัตถุสูญสลายได้ ซึ่งก็คือ “วาญิบุลวูญูด” เพราะเราได้พิสูจน์ไปแล้วว่า วาญิบุลวูญูด เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิมและคงอยู่ตลอดไป การที่มันมีอยู่ตลอดไปก็หมายถึงว่า สรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ได้ก็เพราะมัน วาญิบุลวูญูดเป็นปฐมเหตุที่แท้จริงและสมบูรณ์ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “อิลลัตฟาอิลี อาลี”(อิลัตฟาอีลีที่แทัจริงและสูงส่ง)


“อิลลัตฟาอิลี อาลี” อันนี้ไม่สามารถที่จะเป็นอื่นได้นอกจาก”วาญิบุลวูญูด” เพราะมาจากตัวนิยามของมันเองคือ “การเกิดขึ้นและการคงอยู่ของมะลูล(ผล)ขึ้นอยู่กับการคงอยู่ของอิลลัต(สาเหตุ)ของมัน” เพราะ”วาญิบุลวูญูดนั้นเป็น”อิลลัต”ที่ดำรงอยู่ตลอดไป บนหลักการอันนี้ทำให้เราเห็นความขัดแย้งระหว่างปรัชญาอิสลาม กับปรัชญาตะวันตก ที่เชื่อว่าหลังจากที่”อิลลัตฟาอิลี”ให้กำเนิด “มะลูล”แล้ว สิ่งนั้นก็ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเองตามธรรมชาติ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอิลลัตฟาอิลี”อีกต่อไป แต่ตามหลักปรัชญาอิสลามเชื่อว่า การมีและการดำรงอยู่ของ”มะลูล”ขึ้นอยู่กับการให้ที่ไม่สิ้นสุดของ”อิลลัตฟาอิลี” ซึ่งเรียก”อิลลัต”อันนั้นว่า “อิลลัตฟาอิลี อาลี” (ปฐมเหตุที่แท้จริงและสมบูรณ์) “มะลูล”จะพึ่งพิงอยู่กับมันโดยไม่ตัดขาดแม้แต่วินาทีเดียว


ตัวอย่างหนึ่ง เช่น เมื่อมนุษย์เอาเมล็ดพันธ์ไปปลูก มนุษย์ก็จะพบว่ามันเติบโตไปตามวิถีทางธรรมชาติของมันหมดทุกเมล็ดหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ เพราะในความเป็นจริงพบว่า บางเมล็ดพันธ์ไม่เจริญเติบโต บางเมล็ดตายกลางทาง บางเมล็ดพันธ์ที่พอโตมาแล้วบางต้นให้ผล บางต้นไม่ให้ผล ถามว่าเกิดจากอะไรทั้งๆที่ปลูกและดูแลแบบเดียวกัน คำตอบ ก็คือ เกิดจากการได้รับจาก”อิลลัตฟาอิลี อาลี”ไม่เท่ากัน “บะรอกัต” ไม่เท่ากัน”บะรอกัต”คือ ถ้าใช้กับต้นไม้ หมายถึง การงอกเงย ความอุดมสมบรูณ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการให้ของของ”อิลลัตฟาอิลี อาลี” ต้นไหนที่ได้รับความบารอกัต ก็จะอุดมสมบรูณ์ ส่วนต้นไหนที่ไม่ได้รับความบะรอกัต ก็จะไม่งอกเงยขึ้นมา หรืออาจะไม่อุดมสมบรูณ์ ไม่ให้ผล


ในภาคทฤษฎีของปรัชญาแนวทางซุนนี อาจจะพูดอีกแบบหนึ่งแต่ในทางปฏิบัติ ทั้งของชีอะห์และซุนนีนั้นเหมือนกัน ซุนนีปฏิบัติเหมือนกับความเชื่อของชีอะห์ การปฏิบัติของซุนนีเองเป็นตัวยืนยัน เช่น ตัวอย่าง การนมาซฮายัต(ละหมาดวิงวอนให้ความต้องการถูกตอบรับ) และการวิงวอนขอดุอาอ์ต่างๆ  สมมุติ ถ้าเกิดเทือกสวนไร่นาไม่ประสบความสำเร็จ พวกเขาจะพูดว่า “อัลลอฮ์(ซ.บ)ไม่ค่อยให้ พระองค์ให้น้อย” แสดงว่าในทางปฏิบัติซุนนีก็เชื่อไปยังสิ่งหนึ่งที่ให้อยู่ตลอดเวลา พลังที่ถูกส่งมาตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่ง”อิลลัตฟาอิลี อาลี” มีความแตกต่างจาก”อิลลัตฟาอิลี”ที่เป็นวัตถุ “อิลลัต ฟาอิลี”ที่เป็นวัตถุ เมื่อมันให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดไป มันก็จะสูญเสียบางสิ่งบางอย่างไป เช่น ตัวอย่างของช่างไม้ ในขณะทำเก้าอี้เขาก็ไม่สามารถทำสิ่งอื่นได้ เขาจะสูญเสียพละกำลังไป บางครั้งไม่มีพละกำลังที่จะทำสิ่งอื่น แต่การให้ของ”อิลลัตฟาอิลี อาลี”นั้นไม่มีวันหมดสิ้น ไม่ได้ทำให้มันสูญเสียสิ่งใดไป ไม่ได้ทำให้มันมีน้อยลง ไม่ว่ามันจะให้ไปเท่าไรก็ตาม


มีหลายๆเหตุการณ์ที่พิสูจน์ว่ามี”อิลลัตฟาอิลี อาลี”ที่แท้จริงและสมบรูณ์อยู่ เช่น การเชือดให้ขาด “อิลลัตฮากีกีย์”ของมันก็คือ ผู้เชือด มีดที่คม เป้าหมายในการเชือด สิ่งที่จะเชือด วิธีการเชือด แต่ทำไมเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมแล้วแต่การเชือดก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้เกิดขึ้น ถามว่าทำไม เช่นในกรณีของท่านศาสดาอิบรอฮีม(อ)ที่เชือดท่านศาสดาอิสมาอีล(อ) แสดงว่านอกเหนือจาก”อิลลัตฮากีกีย์”ทางวัตถุเหล่านี้แล้วยังมี”อิลลัตฮากีกีย์”อื่นอีกที่สูงส่งกว่าสมบรูณ์กว่า เพราะถ้ามีดคมแล้วมันต้องเชือดเข้าแล้วทำไมจึงเชือดไม่เข้า หรือในกรณีไฟที่ถูกจุดขึ้นเพื่อเผาท่านนบีอิบรอฮีม(อ)กลับเย็นทั้งๆที่องค์ประกอบทางวัตถุพร้อมสมบูรณ์เพื่อการเผาผลาญแต่มันกลับไม่เผา ก็แสดงว่ามี”อิลลัตฮากีกีย์”ที่สมบูรณ์หนึ่งที่ควบคุมในสิ่งต่างๆเหล่านี้ทั้งหมดอยู่ ซึ่งอิลลัตฟาอิลี อาลี นั่นก็คือพระผู้เป็นเจ้า ที่คอยควบคุมกิจการต่างๆอยู่ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง สมมุติว่ามนุษย์ไม่สบาย แล้วมนุษย์ก็ทานยา พบว่าบางคนหาย บางคนไม่หาย แสดงว่า ยาเป็นองค์ประกอบเท่านั้น ผู้รักษาเยียวยาที่แท้จริงไม่ใช่ยา ยาไม่ได้เป็น”อิลลัตฟาอิลี”ที่แท้จริงที่ทำให้หายจากโรค ถ้ายาเป็น”อิลลัตฟาอิลี”ที่แท้จริง แสดงว่าทุกคนที่กินยาในโรคเดียวกันก็จะหายจากโรค แต่พบว่าบางคนหาย บางคนไม่หาย ท่านนบีอิบรอฮีม(อ)ได้กล่าวในอัลกุรอ่านว่า

 

واذا مرضت فهو يشفين

"เมื่อฉันไม่สบาย พระองค์เท่านั้นที่ทำให้หาย" (26:80)


ซึ่งอาจผ่านขั้นของการกินยาหรือไม่กินยาก็ได้ แสดงว่า ผู้ที่ทำให้หายที่แท้จริงไม่ใช่วัตถุ สาเหตุของการที่ทำให้หายหรือไม่ให้หายอย่างแท้จริงนั้นคือ”อิลลัตฟาอิลี”ที่สมบรูณ์ซึ่งไม่ใช่วัตถุนักปรัชญาบอกว่านั้นก็คือ วาญิบุลวูญูด หมายถึงพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง แต่กฎอันหนึ่งตามธรรมชาติ เมื่อองค์ประกอบทางวัตถุครบสมบรูณ์แล้ว ผลของมันก็จะเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เมื่อ “อิลลัต” (สาเหตุ) ครบ “มะลูล” (ผล )ก็จะเกิดขึ้นมาตลอดจนบางครั้งทำให้มนุษย์ลืม “อิลลัตฟาอิลี” ที่แท้จริงและสมบรูณ์ ถ้าเมื่อไรที่มีองค์ประกอบครบสมบรูณ์แล้วแต่ผลของมันยังไม่เกิดขึ้น ถ้าเมื่อใดที่ทานยาแล้วแต่ไม่หายนั้น เหตุผลหนึ่งเพื่อให้มนุษย์ได้นึกถึง “อิลลัตฟาอิลี อาลี”ที่แท้จริงและสมบรูณ์ หรือพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง ส่วนมาก มนุษย์จะนึกถึงพระผู้เป็นเจ้าเมื่อสิ้นหวังจากวัตถุ

 

ขอขอบคุณสถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
มองเห็นอัลลอฮ์?!
ทำไมต้องอ่าน ...
คำว่า ฟิตนะฮ์ ในอัลกุรอาน
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอัลอิคลาศ ...
...
จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ...
สนทนากับอิมามอะลี (อ) หัวข้อ ...
ดุอาเดือนรอญับ
...

 
user comment