ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

อัล-กุรอานในทรรศนะอิมามอะลี (อ.)2

อัล-กุรอานในทรรศนะอิมามอะลี (อ.)2

อัล-กุรอานในทรรศนะอิมามอะลี (อ.)2

 
หะดีษของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยกย่องอัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นสิ่งที่มีคุณค่าคุกันเหมือนกันโดยที่สิ่งหนึ่งจะปราศจากอีกสิ่งหนึ่งไม่ได้อย่างเช่นหะดีษษะเกาะลัยนฺได้เรียก ชื่ออัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺว่าเป็นษะกีล (สิ่งหนัก) นั้นบางที่อาจกล่าวได้ว่า เพราะทั้งสองคือสิ่งที่มีค่า ยิ่งใหญ่ สูงส่ง และมีเกียรติที่สุด ซึ่งคำว่า ษะกีล โดยแก่นแท้ของมันเป็นการบอกข่าวถึงความยิ่งใหญ่แห่งเกียรติยศ อำนาจ และตำแหน่งของอัล-กุรอาน และความยิ่งใหญ่ด้านฐานันดรและระดับชั้นของอหฺลุลบัยตฺ (อ.)

 

 
หนังสือ อับกอต ได้คัดลอกมาจากอัลนิฮายะฮฺ ของ อิบนุอะษีร ว่า คำว่า ษะกีล จะใช้กับผู้มีตำแหน่งหรือฐานันดรที่สูงส่ง ดังนั้น จะสังเกต  เห็นว่าอัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺมีความยิ่งใหญ่ด้านฐานะภาพ และเกียรติยศที่สูงส่งจึงเรียกทั้งสองว่าเป็น ษะกีล อัล-กุรอานเมื่อเทียบชั้นกับคัมภีร์เล่มอื่นๆ ที่ถูกประทานลงมามีความยิ่งใหญ่มากกว่า และเป็นหนึ่งในความมหัศจรรย์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่และดำเนินต่อไป  ดุจดั่งเช่น ดวงอาทิตย์ที่ยังโคจรอยู่ในฟากฟ้าปัจจุบัน  เป็นเพราะว่าอัล-กุรอานคือพจนารถของพระผู้เป็นเจ้าจึงไม่มีสิ่งที่เป็นโมฆะทั้งหลายย่ามกายเข้ามาสู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อีกทั้งเป็นนูรรัศมีและเป็นประทีปนำทาง ส่วนอหฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ความรู้และคุณวิเศษอื่นๆ ของท่านไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่นได้เพราะคนอื่นไม่มีคุณสมบัติที่เพียงพอ ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ไม่ว่าในมิติใดก็ตาม ดังเช่นที่เราไม่สามารถนำบรรดาศาสดา (อ.) ทั้งหลายไปเปรียบเทียบกับมนุษย์คนอื่นๆ  เพราะว่าเป็นความผิดพลาด ดังนั้นการเปรียบเทียบอหฺลุลบัยตฺกับคนอื่น ก็ถือว่าเป็นความผิดพลาดเช่นกันเพราะบรรดาอหฺลุลบัยตฺถือว่าเป็น หุจญัติของอัลลอฮฺ (ซบฺ) ที่มีต่อสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งกลาย   และเป็นคลังแห่งวิชาการของพระองค์
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงตำแหน่งของอหฺลุลบัยตฺด้วยคำพูดสั้นๆ ไว้อย่างชัดเจนว่า “พวกเขาคือเคหะสถานที่เร้นลับ เป็นรูปลักษณ์ของคำบัญชา เป็นคลังแห่งวิชาการเป็นสถานที่ย้อนกลับของอหฺกาม สถานเก็บรักษาตำราความรู้ และเป็นกำบังที่มั่งคงแข็งแรงของศาสนา เป็นพลังงานที่สนับสนุนศาสนา และโดยสื่อของพวกเขาทำให้ศาสนาธำรงอยู่ และความจอมปลอมทั้งหลายต้องมลายสิ้น ไม่มีประชาชาติคนใดสามารถเทียบเคียงกับอหฺลุลบัยตฺของท่านศาสดามุฮัมมัดได้ ซึ่งประชาชาติทั่วไปดำรงอยู่ได้เพราะคุณความดี และนิอฺมัตของอาลิมุฮัมมัด ฉะนั้น มนุษย์ปุถุชนธรรมดาจึงไม่มีวันที่จะมีรัศมีเทียบเคียงเท่าอหฺลุลบัยตฺ พวกเขาคือเสาหลักของศาสนาและเป็นมูลฐานของการยะกีน (เชื่อมั่น) ผู้ที่เลยเถิดไปอย่างสุดโต่งต้องย้อนกลับมาหาพวกเขา ทำนองเดียวกันผู้ที่ล้าหลังต้องเร่งรีบตัวเองและไปให้ทันพวกเขา คุณวิเศษณ์อำนาจการปกครองเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพวกเขา คำสั่งเสียพินัยกรรมและผู้สืบทอดมรดกของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อยู่ ณ พวกเขา ปัจจุบันสิทธิของเขาได้ถูกฉ้อฉลจึงเป็นหน้าที่ต้องนำมันกลับไปยังตำแหน่งที่ถูกเคลื่อนย้ายออกไป”

 

 
ท่านซะมัคชะรีย์ ได้กล่าวว่า การใช้คำว่า ษะกะลัยนฺ (อ่านโดยให้ ษา และก๊อฟ เป็นฟัตหฺ) กับอัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺนั้นเป็นการเปรียบเทียบความคล้ายเหมือน ดังเช่นมนุษย์กับญินฺในลักษณะที่ว่า การสร้างโลกให้เกิดขึ้นเป็นเพราะการมีอยู่ของมนุษย์และญิน การปรับปรุงและความถูกต้องของศาสนาขึ้นอยู่กับอัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺ แต่ทว่าประเด็นดังกล่าวขัดแย้งกับความเป็นจริงของหะดีษ อันเนื่องจากว่าไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ เลยในหะดีษที่บ่งบอกว่าการใช้คำว่า ษะกีล กับอัล-กุรอานและอิตรัต มาจากบาบของการตัชบีห์ (การเปรียบเทียบ)

 

 
สามารถตั้งสมมติได้ว่า จุดประสงค์ของ คำว่า ษะกัล หมายถึง การปฏิบัติและการยึดมั่นกับทั้งสอง การเชื่อฟังและปฏิบัติตามการผดุงสิทธิและการเอาใจใส่ต่ออัล-กุรอานและอิตรัต  เป็นภาระที่หนักอึ้งและเป็นการกระทำที่ยากลำบาก  ดังที่นักภาษาศาสตร์และนักรายงานหะดีษบางคนได้อธิบายไว้

 

 
ท่านหะมะวี ได้รายงานริวายะฮฺจากท่านอบิ้ลอับบาส ได้มีผู้ถามอบิลอับบาสว่า เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงได้เรียกอัล-กุรอานและ  อิตรัตว่าเป็น ษะกะลัยนฺ ตอบว่า :   “เพราะการยึดมั่นกับทั้งสองเป็นภาระที่หนักอึ้ง

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ฟาฏิมะฮฺ(อ.) กับสถานภาพอันสูงส่ง
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ...
สิทธิ ของหู ดวงตาและเท้า
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...

 
user comment