ไทยแลนด์
Tuesday 23rd of April 2024
0
نفر 0

การปฏิบัติตามความไว้วางใจ (อะมานะฮ์) ในคำสอนของอิสลาม

การปฏิบัติตามความไว้วางใจ (อะมานะฮ์) ในคำสอนของอิสลาม

การปฏิบัติตามความไว้วางใจ (อะมานะฮ์) ในคำสอนของอิสลาม

 

 
  หนึ่งในคำสอนที่สวยงามที่สุดของอิสลามและเป็นคุณลักษณะทางด้านจริยธรรมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินชีวิตทางสังคม นั่นก็คือ การให้ความสำคัญต่อความไว้วางใจ (อะมานะฮ์) และการรักษาทรัพย์สินและสิ่งต่างๆ ที่ผู้อื่นได้มอบให้อยู่ในความดูแลของเรา พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงตรัสไว้ในคัภีร์ของพระองค์ว่า

 
انَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ انْ تُؤَدُّوالْاماناتِ الى اهْلِها
“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงบัญชาให้พวกเจ้ามอบคืนความไว้วางใจให้กับเจ้าของของมัน” (อัลกุรอานบทอันนิซาอ์ โองการที่ 58)

 
            ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า

 
انَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ لَمْ يَبْعَثْ نَبِيّاً الَّا بِصِدْقِ الحديثِ وَاداءِ الْامانَةِ الَى الْبِرِّ وَالْفاجِر
“แท้จริงอัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร มิได้ทรงแต่งตั้งศาสดาคนใดลงมา เว้นแต่ด้วยการมีวาจาสัจ และการปฏิบัติตามความไว้วางใจทั้งต่อคนดีและคนชั่ว” (1)

 
          ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า :

 
أداءُ الأمانَةِ إلَى البَرِّ وَالفاجِرِ، والوَفاءُ بِالعَهْدِ لِلبَرِّ وَالفاجِرِ، وبِرُّ الوالِدَيْنِ بَرَّيْنِ كانا أو فاجِرَيْنِ
“สามสิ่งที่อัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร จะไม่ทรงผ่อนปรนแก่ผู้ใดเกี่ยวกับมัน นั่นคือ การปฏิบัติตามความไว้วางใจทั้งต่อคนดีและคนชั่ว การักษาคำมั่นสัญญาทั้งต่อคนดีและคนชั่ว และการทำดีต่อผู้ให้กำเนิดทั้งสอง ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะเป็นคนดีหรือคนเลวก็ตาม” (2)

 
            ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า ช่วงเวลาก่อนที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเสียชีวิต (วะฟาต) ฉันได้ยินท่านพูดย้ำถึงสามครั้งว่า

 
يا ابَاالْحَسَنِ ادِّ الْامانَةَ الَى الْبَرِّوَالْفاجِرِ فيما قَلَّ وَجَلَّ حَتَّى فِى الْخَيْطِ وَالْمَخيطِ
          “โอ้อบัลฮะซัน! จงปฏิบัติตามความไว้วางใจทั้งต่อคนดีและคนชั่ว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยหรือมากมายก็ตาม แม้แต่เพียงด้ายและเข็ม” (3)

 
           เช่นเดียวกันนี้ ท่านยังได้กล่าวว่า

 
ادُّوا الْاماناتِ وَلَوْ الى قَتَلَةِ الْانْبِياءِ
“จงปฏิบัติตามความไว้วางใจต่างๆ แม้แต่กับบรรดาผู้ที่สังหารปวงศาสดา” (4)

 
ประเภทของความไว้วางใจ (อะมานะฮ์)

 
           ในคำสอนของอิสลามนั้น “อะมานะฮ์” (ความไว้วางใจ) จะถูกใช้กับสองสิ่ง คือ ความไว้วางใจจากพระผู้เป็นเจ้า ทรัพย์สินและสิ่งต่างๆ ที่ได้รับฝากจากผู้อื่น

 
(ก) ความไว้วางใจจากพระผู้เป็นเจ้า : พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ทรงตรัสว่า

 
إِنَّا عَرَضْنَا الْأَمانَةَ عَلَى السَّماواتِ وَ الْأَرْضِ وَ الْجِبالِ فَأَبَيْنَ أَنْ يَحْمِلْنَها وَ أَشْفَقْنَ مِنْها وَ حَمَلَهَا الْإِنْسانُ إِنَّهُ كانَ ظَلُوماً جَهُولاً
“แท้จริงเราได้เสนออะมานะฮ์ (ความไว้วางใจและหน้าที่รับผิดชอบ) แก่บรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และขุนเขาทั้งหลาย แต่พวกมันปฏิเสธที่จะแบกรับมันและกลัวต่อมัน และมนุษย์ได้แบกรับมัน แท้จริงเขา (มนุษย์) เป็นผู้อธรรมยิ่ง อีกทั้งโฉดเขลายิ่ง” (อัลกุรอาน บท อัลอะห์ซาบ โองการที่ 72)

 
           บรรดานักวิชาการและนักอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอานได้แสดงทัศนะไว้มากมายเกี่ยวกับโองการนี้ และได้อธิบายถึงตัวอย่างต่างๆ ของคำว่า “อะมานะฮ์” (ความไว้วางใจ) ไว้ และตามคำพูดของบรรดานักค้นคว้าวิจัย “ตัฟซีรนะมูเนะฮ์” สามารถกล่าวได้ว่า “อะมานะฮ์ (ความไว้วางใจ) จากพระผู้เป็นเจ้า” นั่นก็คือ “ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมาจากพระผู้เป็นเจ้า” นั่นเอง

 
           ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ถือว่า “อะมานะฮ์” (การปฏิบัติตามความไว้วางใจ) เป็นคุณลักษณะแห่งการเลือกและเจตจำนงเสรี พวกเขาจะชี้ให้เห็นถึงส่วนหนึ่งของ “อะมานะฮ์” (ความไว้วางใจ) อันยิ่งใหญ่นี้ไว้ อย่างเช่น “สติปัญญา” หรือ “อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย” และ “หน้าที่บังคับและภาระผูกพันต่างๆ” หรือ “สิ่งที่ถูกกำหนดบังคับ (วาญิบาต) ทั่วไปของศาสนา” [5]

 
(ข) ทรัพย์สินและสิ่งของที่รับฝาก : จุดประสงค์ของทรัพย์สินและสิ่งของต่างๆ ที่รับฝาก นั่นก็คือ ทรัพย์สินเงินทองและสิ่งของต่างๆ หรือบางครั้งอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นวัตถุ เช่น ความลับที่ผู้อื่นได้มอบให้อยู่ในการดูแลและการปกปิดของเรา และจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษามันไว้อย่างดีที่สุด ตัวอย่างบางส่วนของอะมานะฮ์ (ความไว้วางใจ) ที่เป็นวัตถุ อย่างเช่น จดหมาย เอกสารหลักฐาน สิ่งของ สินค้า ทรัพย์สมบัติของบัยตุ้ลมาล (กองคลัง) ของประชาชน สาธารณสมบัติ สัตว์และที่ดิน เป็นต้น

 
ผลของการปฏิบัติตามความไว้วางใจ ที่มีผลต่อการดำรงชีวิต

 
          การรักษาความไว้วางใจ (อะมานะฮ์) นั้นมีผลและความดีงามต่างๆ มากมาย ทั้งส่วนบุคคลและสังคม ซึ่งจะขอยกตัวอย่างบางส่วน ณ ที่นี้

 

    ความพึงพอพระทัยจากพระผู้เป็นเจ้า : พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงกล่าวถึงปวงบ่าวผู้ใกล้ชิด (เอาลิยาอุลลอฮ์) และผู้เป็นที่รักของพระองค์ไว้ในโองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอาน ที่แสดงให้เห็นถึงการที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัยต่อคุณลักษณะทางด้านจริยธรรมดังกล่าวนี้ และการที่ปวงบ่าวของพระองค์จะระวังรักษามัน ดังเช่นที่พระองค์ทรงตรัสว่า

وَ الَّذينَ هُمْ لِأَماناتِهِمْ وَ عَهْدِهِمْ راعُونَ وَ الَّذينَ هُمْ بِشَهاداتِهِمْ قائِمُونَ وَ الَّذينَ هُمْ عَلى‌ صَلاتِهِمْ يُحافِظُونَ أُولئِكَ في‌ جَنَّاتٍ مُكْرَمُونَ
“และบรรดาผู้ที่ระวังรักษาอะมานะฮ์ (ความไว้วางใจและสิ่งที่ได้รับมอบหมาย) ของพวกเขา และคำมั่นสัญญาของพวกเขา และบรรดาผู้ที่ดำรงมั่นต่อการเป็นพยานของพวกเขา และบรรดาผู้ที่ดำรงรักษาการนมาซของพวกเขา ชนเหล่านั้นแหละจะเป็นผู้ได้รับเกียรติให้อยู่ในสวนสวรรค์ทั้งหลาย” (อัลกุรอานบทอัลมะอาริจญ์ โองการที่ 32–35)

 
            ในรายงานบทหนึ่งจากท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านกล่าวว่า

 
إذا أحَبَّ اللّه ُ عَبدا حَبَّبَ إلَيهِ الأمانَةَ
“เมื่ออัลลอฮ์ทรงรักบ่าวคนใด พระองค์จะทรงทำให้เขารักในอะมานะฮ์ (การปฏิบัติตามความไว้วางใจ)” (6)

 

    การสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นต่อประชาชน : หนึ่งในคุณลักษณะที่โดดเด่นของท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) คือคุณลักษณะของการรักษาอะมานะฮ์ (ความไว้วางใจ) ของท่าน โดยที่บรรดาผู้ตั้งภาคี (มุชริกีน) ชาวมักกะฮ์เองได้ไว้วางใจท่านเนื่องมาจากคุณลักษณะทางด้านจริยธรรมดังกล่าวนี้ของท่าน ในยามที่พวกเขาต้องเดินทางไกล พวกเขาจะนำทรัพย์สินมาฝากไว้กับท่าน นอกจากนี้จากประสบการณ์และตามหลักแห่งเหตุผลทางปัญญานั้น มนุษย์โดยทั่วไปจะรักและไว้วางใจต่อผู้ที่มีชื่อเสียงทางด้านความซื่อสัตย์และการรักษาความไว้วางใจ

         ในคำรายงานบทหนึ่ง ท่านอิมามซอดิก (อ.) ที่ท่านได้กล่าวกับอับดุลเราะห์มาน บินซิยาบะฮ์ ว่า : “จะให้ฉันแนะนำสิ่งที่มีค่าแก่ท่านไหม” เขากล่าวว่า “ครับ โอ้บุตรของท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ)” ท่านอิมาม (อ.) จึงกล่าวว่า

 
عَلَیك بِصِدْقِ الْحَدیثِ وَ اَداءِ الاَمَانَةِ تَشْرِك النَّاسَ فی اَمْوالِهِمْ هکذا
“ท่านจงมีวาจาสัจ และจงปฏิบัติตามความไว้วางใจ แล้วท่านจะมีส่วนร่วมในทรัพย์สินของประชาชน (แล้วท่านได้รวบนิ้วของท่านให้ติดกัน แล้วกล่าวว่า) แบบนี้” [7]

 

     ความกว้างขวางในปัจจัยดำรงชีพ : ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า

الأَمَانَةُ تَجُرُّ الرِّزْقَ ، وَالْخِيَانَةُ تَجُرُّ الْفَقْرَ
         “การปฏิบัติตามความไว้วางใจนั้นจะนำมาซึ่งปัจจัยดำรงชีพ และการบิดพลิ้ว (ต่อความไว้วางใจ) นั้นจะนำมาซึ่งความยากจน” [8]

 

     ความมั่นคงและความสงบสุขทางสังคม : ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าวเกี่ยวกับผลทางสังคมของการรักษาความไว้วางใจไว้เช่นนี้ว่า

لا تَزالُ اُمَّتی بِخَیرٍ ما لَمْ یتَخاوَنُوا وَاَدُّوا الاَمانَةَ
         “ประชาชาติของฉันจะยังคงอยู่ในความดีงาม ตราบที่พวกเขาไม่ทรยศต่อกัน และพวกเขาได้ปฏิบัติตามความไว้วางใจ” [9]

 
แหล่งอ้างอิง :

 
[1] อัลกาฟี, เล่มที่ 2, ฮะดีษที่ 1, หน้าที่ 104

 
[2] มิชกาตุลอันวาร์, อัฏฏ๋อบริซี, เล่มที่ 3, หน้าที่ 142

 
[3] บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 7, หน้าที่ 275

 
[4] ตุหะฟุ้ลอุกูล, หน้าที่ 74

 
[5] ตัฟซีรนะมูเนะฮ์, เล่มที่ 17, หน้าที่ 454

 
[6] มีซานุลฮิกมะฮ์, เล่มที่ 2, หน้าที่ 438, ฮะดีษที่ 3298

 
[7] วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่มที่ 19, หน้าที่ 69

 
[8] ตุหะฟุ้ลอุกูล, หน้าที่ 221

 
[9] วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่มที่ 19, หน้าที่ 25

 
ที่มา : คุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ มัสยิดซอฮิบุซซะมาน (อ.) จ.ปทุมธานี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...
ฟาฏิมะฮ์ ...
มองเรื่อง “ข่าวลือ” ...
เคล็ดลับอายุยืน(1)
ชัยฏอน คือ ...
มุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์) ...
เราะห์มัต (ความเมตตา) ...
ความพอเพียงในอิสลาม

 
user comment