ไทยแลนด์
Saturday 20th of April 2024
0
نفر 0

ปรัชญาแห่งดุอา

ปรัชญาแห่งดุอา

 มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเขาจะ สุขสบาย หรือ พบกับความทุกข์ ไม่ว่าจะยากจน หรือ ร่ำรวย ไม่ว่าจะมี ยศฐา หรือ ต่ำต้อย ไม่ว่าจะเป็น คนบุญ หรือ คนบาป เพราะ มนุษย์ถูกสร้างมาให้มีคุณลักษณะฟุกะรอ ซึ่งหมายถึงต้องการการช่วยเหลือตลอดเวลา

เมื่อมนุษย์ทุกคนต้องการความช่วยเหลือ เขาจึงขอความช่วยเหลือ จากผู้ที่มีความสามารถตอบรับคำขอของเขาได้

กลุ่มหนึ่ง เลือกที่ขอความช่วยเหลือจาก มนุษย์ด้วยกัน
กลุ่มหนึ่งเลือกที่จะขอความช่วยเหลือต่อผู้ที่มีอำนาจเหนือเขา

     ความช่วยเหลือจากสิ่งที่ไม่ได้มีอำนาจโดยสมบูรณ์ ไม่อาจมอบความช่วยเหลือ ให้กับมนุษย์ได้ในทุกวาระ เพราะผู้ให้การช่วยเหลือ มีอำนาจจำกัดในการตอบรับคำขอของพวกเขา

     การช่วยเหลือจากผู้ที่มีอำนานเหนือทุกสิ่ง อันหมายถึงพระผู้เป็นเจ้า จึงจะสามารถตอบรับคำขอของมนุษย์ได้อย่างแท้จริง เพราะ อำนาจในการช่วยเหลือ มนุษย์เป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ และไม่มีสิ่งใด ที่จะสามารถมอบความช่วยเหลือ แก่มนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากผู้ที่มีอำนาจสมบูรณ์

อัลกุรอ่าน ได้พรรณนา เกี่ยวกับการวิงวอนต่อพระเจ้าว่า

ﻭَﺇِﺫَﺍ ﺳَﺄَﻟَﻚَ ﻋِﺒَﺎﺩِﻱ ﻋَﻨِّﻲ ﻓَﺈِﻧِّﻲ ﻗَﺮِﻳﺐٌ ﺃُﺟِﻴﺐُ ﺩَﻋْﻮَﺓَ ﺍﻟﺪَّﺍﻉِ ﺇِﺫَﺍ ﺩَﻋَﺎﻥِ ﻓَﻠْﻴَﺴْﺘَﺠِﻴﺒُﻮﺍْ ﻟِﻲ ﻭَﻟْﻴُﺆْﻣِﻨُﻮﺍْ ﺑِﻲ
ﻟَﻌَﻠَّﻬُﻢْ ﻳَﺮْﺷُﺪُﻭﻥ

” และเมื่อบ่าวของข้า ถามเจ้าถึงข้าแล้ว (จงตอบเถิดว่า) แท้จริงข้าอยู่ใกล้ ข้าจะตอบรับ คำวิงวอนของผู้ที่วิงวอน เมื่อเขาได้ร้องขอต่อข้า ดังนั้น พวกเจ้าจงตอบรับข้าเถิด และจงศรัทธาต่อข้า เพื่อว่าพวกเขาจะได้รับการชี้นำ “ซูเราะฮ บากอเราะฮ /186

 ผู้ที่ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุด และสามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้ทั้งทางด้านวัตถุ และจิตวิญาณ คือ พระองค์ โองการได้พรรณาไว้อย่างสวยความถึงความรักของพระองค์ที่มีต่อปวงบ่าว ให้ขอต่อผู้ให้ที่แท้จริง

บทบาทของดุอาในวิถีชีวิต

     ดุอา มิใช่บทสวดที่มีไว้อ่าน และขอวิงวอนแต่เพียงอย่างเดียว อัลกุรอ่านยังได้นำเสนออีกมิติหนึ่งเกี่ยวกับดุอา โดยได้นำเสนอ บทวิงวอนของปวงบ่าว ผู้บริสุทธิ์ เช่น บรรดา อัมบียา หรือเอาลียา เมื่อดุอาของปวงบ่าวถูกจารึกไว้ในอัลกุรอ่าน การขอดังกล่าว จะต้องมีความหมายต่อมวลมนุษยชาติอย่างแน่นอน

     ดุอาในอัลกุรอ่าน ยังมีบทบาทเป็นครู ในการชี้นำเพื่อเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิต เป็นการชี้ให้เห็นถึง วิถีชีวิต และความปราถนาของบรรดาศาสดา ถ้อยคำที่ถูกจารึกไว้ เปรียบดั่งอุดมการณ์ในการใช้ชีวิตของพวกเขา เราจึงเข้าใจว่า เหตุใด ในกูนูตนมาซ อีด เราถึงได้ขอวิงวอน จากพระผู้ทรงเป็นเมตตา ให้ได้รับในสิ่งที่ ป่วงบ่าวผู้ศอและฮ ได้วิงวอนขอ และออกห่างจากสิ่งที่พวกเขาได้วิงวอนต่อพระองค์ เหตุผลหนึ่งเพราะดุอาของมนุษย์ผู้สมบูรณ์เป็นภาพสะท้อน แง่มุมชีวิตที่เขามีมุมมองต่อโลก

อิมามคาเมเนอีย์ ได้กล่าวไว้ถึงแง่มุมดังกล่าว ว่า

“ในพระมหาคัมภีร์ อัลกุรอ่าน มีการเอ่ยถึง การดุอา และการดุอาของบรรดาบ่าวผู้ศอและฮ ที่ได้วิงวอนขอต่อพระองค์ เหล่านี้ ก็เพื่อสอนเรา ว่า เมื่อบรรดาศาสดา ต้องเผชิญกับอุปสรรค พวกเขาจะทำการดุอา และวิงวอนขอความช่วยเหลือ จากพระผู้เป็นเจ้า

فَدَعَا رَبَّهُ أَنِّي مَغْلُوبٌ فَانتَصِرْ
ต่อมาเขาได้วิงวอนขอต่อองค์อภิบาลว่า แท้จริง ข้าพระองค์ถูกพิชิตเสียแล้ว ได้โปรดช่วยเหลือ ข้าพระองค์ด้วยเถิด” ซูเราะฮ กอมัร / 10
ซึ่งเป็นบทวิงวอนที่มาจากวจนะของศาสนานูฮ(อ) หรือ บทวิงวอนจากวัจนะของศาสดามูซา (อ)

فَدَعَا رَبَّهُ أَنَّ هَٰؤُلَاءِ قَوْمٌ مُجْرِمُونَ

“ครั้นแล้ว เขาก็วอนขอต่อองค์อภิบาลว่า แท้จริงพวกเหล่านั้น ล้วนเป็นกลุ่มชนผู้กระทำบาป” ซูเราะฮดูคอน/ 22
มูซา ได้ร้องขอต่อพระองค์ และได้ขอความคุ้มครองจากพระองค์ “
——
دعا از منظر رهبر معظم انقلاب ص 59

     อัลกุรอ่าน ได้สั่งเสียต่อบรรดามุสลิม ให้ทำการวิงวอน ด้วยความบริสุทธิ์ใจ หรือ อิคลาศ ให้เขาวิงวอนด้วยความเกรงกลัวต่อการลงโทษจากวคามผิดที่ได้กระทำไป ให้เขาวิงวอนด้วยความหวัง ให้เขาดุอาด้วยการร่ำไห้ และดุอาอย่างสันโดษ ผู้ที่ขอดุอาอย่างแท้จริง อันประกอบด้วย ความรู้ และการกระทำ(علم وعمل) ชีวิตของเขาจะเปลี่ยนไปตามคำวิงวอนในดุอานั้น
อิมามโคมัยนี ได้ตำหนิ ต่อบรรดา ผู้ที่ไม่รู้จัก คุณค่า ของดุอา และไม่เข้าใจถึงความสำคัญ ของคำวิงวอนอันจำเริญเหล่านี้ ว่า
“บรรดาบุคคล ที่ได้วิพากวิจารณ์ บทดุอาจากตำราต่างๆ แท้ที่จริงแล้ว พวกเขา ไม่รู้ และโง่เขลา พวกเขาไม่รู้เลยว่า บทดุอาเหล่านี้ ได้สร้างมนุษย์ไว้อย่างไรบ้าง”
——-
کلمات قصار امام خمینی ص 52

     นอกจาก ดุอาที่ถูกบันทึกในอัลกุรอ่านแล้ว ดุอาที่ได้มาจากการสอนของบรรดามะศูม ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน การทำความเข้าใจต่อดุอาเหล่านี้ จะทำให้มนุษย์เข้าถึงแก่นแท้ ของความเป็นบ่าว เข้าถึงวิทยาปัญญา อันเป็น้ำทิพย์แห่งเกาซัร
เพราะวัจนะของพวกเขาเหล่านั้น คือวัจนะของมนุษย์ผู้สมบูรณ์ ดุอาของพวกเขาจึงเป็นดุอาที่นำไปสู่ความสมบูรณ์
เพราะวัจนะของเขาเหล่านั้น คือวัจนะของมะศูม ดุอาของเขาเหล่านั้นจึงนำมนุษย์ไปสู่ความบริสุทธิ์
เพราะความรู้ของเขาเหล่านั้น มาจากการประทานของพระเจ้า ดุอาของเขาเหล่านั้นจึงนำมนุษย์ไปสู่พระองค์

    ตัวอย่างดุอาที่ขับลำนำแห่งจิตวิญญาณ คือ ดุอานุดบะฮ ดุอากุเมล ดุอาตะวัซซุล และดุอาอื่นๆ ดุอาเหล่านี้เต็มไปด้วย มะรีฟัต ที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสำเร็จ อันได้แก่มะรีฟัตแห่งเตาฮีด มะรีฟัตแห่งนะบูวัต มะรีฟัตแห่งมะอาด มะรีฟัตแห่งอิมามัต และมะรีฟัตแห่งความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า และยังเป็นอุดมการณ์ที่รอมนุษย์ไปศึกษาทำความเข้าใจ

    ดังที่กล่าวในตอนต้น มิติหนึ่งของดุอา คือการชี้นำมนุษย์ในภาคความรู้ อีกมิติหนึ่งคือการชี้นำมนุษย์ในภาคอามั้ล หรือการปฏิบัติ มีฮิกมัต และวิทยปัญญา มากมายที่รอให้ มนุษย์เข้ามาเก็บเกี่ยวจากคำวิงวอนเหล่านี้

อิมามคาเมเนอีย์ กล่าวว่า

“ดุอา หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์ และความเชื่อมั่น ต่อพระผู้เป็นเจ้า แม้ว่ามนุษย์จะขึ้นสู่จุดที่เขาได้รับชัยชนะ หรืออำนาจ เขาก็ยังต้องการการดุอาอยู่ เขาจะต้องพูดกับพระเจ้า เขาจะต้องขอจากพระเจ้า… “
“ในด้านหนึ่งดุอาหมายถึง การสร้างความรู้สึกที่จะใกล้ชิดต่อพระเจ้าให้กับตัวเอง และการพรรณนาภาษาใจกับพระองค์”

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
...
สงคราม “อาร์มาเกดอน” ...
ความสำคัญของน้ำนมแม่ ...
อิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ.) ...
อาลัมบัรซัค ...
อิสลาม : ศาสนาแห่งสันติ
สถานภาพการเมือง ...
คุณค่าของการเศาะลาวาต

 
user comment