ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

สตรีกับความเท่าเทียมในสังคม

สตรีกับความเท่าเทียมในสังคม

สังคมสองเพศ และสังคมไม่แบ่งเพศ

 
ให้เราพิจารณาลักษณะพื้นฐานประการที่สองของสังคมซึ่งมีผลกระทบต่อสถานะของผู้หญิง ในอัล-กุรอานมีคำสอนให้สังคมมีลักษณะเป็นสังคมสองเพศมากกว่าที่จะเป็นสังคมแบบไม่แบ่งเพศ ในขณะที่มีการรักษาคุณค่าที่เท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี อัล-กุรอานไม่ได้ตัดสินความเท่าเทียมกันนี้ว่าหมายถึงความเหมือนกันหรือเป็นอย่างเดียวกันของทั้งสองเพศ

 
บางทีเราอาจจะคุ้นเคยกับการมีเสื้อผ้าและรองเท้าที่ไม่แบ่งแยกเพศ เพชรนิลจินดาและทรงผมที่ไม่แบ่งแยกเพศ การกระทำและความบันเทิงที่ไม่แบ่งแยกเพศ อันที่จริงแล้ว มันค่อนข้างยากในประเทศตะวันตกที่จะตัดสินใจว่าคนที่กำลังเห็นอยู่นี้เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

 
นี่เป็นผลมาจากแนวความคิดปัจจุบันในสังคมตะวันตกที่คิดว่า ถ้าหากมีความยากลำบากระหว่างทั้งสองเพศในการแสดงออกทางร่างกาย, สติปัญญาและอารมณ์ความรู้สึก เพราะฉะนั้น ก็ควรจะไม่ให้มีความแตกต่างระหว่างการทำหน้าที่และบทบาทของทั้งสองเพศในสังคมเสียเลย การแต่งกายและการกระทำเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏภายนอกของความเชื่อที่ฝังลึกนี้

 
เมื่อมันร่วมกันไปกับการลดระดับคุณภาพและบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเพศหญิง แนวคิดนี้จึงได้ก่อให้เกิดสังคมไม่แบ่งเพศขึ้นมา ซึ่งบทบาทของเพศชายเท่านั้นที่ได้รับความเคารพและเจริญรอยตาม ถึงแม้จะมีความมุ่งหมายอย่างกว้างขวางที่จะเพิ่มระดับความเท่าเทียมกันให้แก่ผู้หญิง แต่ความคิดที่ว่าผู้ชายและผู้หญิงไม่เพียงแต่เท่าเทียมกันเท่านั้น แต่จะต้องเหมือนและมีลักษณะเดียวกันด้วยนี้ ได้ผลักดันผู้หญิงให้ต้องลอกเลียนแบบผู้ชาย และถึงขนาดชิงชังสภาวะความเป็นหญิงของตัวเอง ด้วยวิธีเช่นนี้เองที่ทำให้เกิดลัทธิชายเป็นใหญ่รูปแบบใหม่ขึ้นมา

 
ความกดดันอย่างน่ากลัวทางสังคมได้ส่งผลผู้หญิงต้องปลดวางบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของตัวเองที่เคยปฏิบัติมา และถูกบีบให้ต้องใช้ชีวิตในแบบที่ไร้ซึ่งบุคลิกภาพและตัวตนของตัวเอง

 
สังคมตามพื้นฐานจากอัล-กุรอานเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน เป็นสังคมแบบสองเพศซึ่งทั้งสองเพศได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ความรับผิดชอบเฉพาะของตนเอง เพื่อให้มีการทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ในสังคมเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิกทุกคนในสังคม การแบ่งแยกหน้าที่การงานที่กำหนดให้แก่ผู้ชายเป็นหน้าที่รับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจเสียมากกว่า ในขณะที่ผู้หญิงได้รับมอบหมายได้มีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูลูกและให้การสนับสนุนส่งเสริม

 
“และมารดาทั้งหลายนั้น จะให้นมแก่ลูก ๆ ของนางภายในสองปีเต็ม สำหรับผู้ที่ต้องการจะให้ครบถ้วนในการให้นม และหน้าที่ของพ่อเด็กนั้นคือปัจจัยยังชีพของพวกนางและเครื่องนุ่งห่มของพวก นางโดยชอบธรรมไม่มีชีวิตใดจะถูกบังคับนอกจากเท่าที่ชีวิตนั้นมีกำลังความสามารถเท่านั้น มารดาก็จงอย่าได้ก่อความเดือดร้อน(ให้แก่สามี) เนื่องด้วยลูกของนาง และพ่อเด็กก็จงอย่าได้ก่อความเดือดร้อน(ให้แก่ภรรยา) เนื่องด้วยลูกของเขา และหน้าที่ของทายาทผู้รับมรดกก็เช่นเดียวกัน แต่ถ้าทั้งสองต้องการหย่านม อันเกิดจากความพอใจ และการปรึกษาหารือกันจากทั้งสองคนแล้ว ก็ไม่มีบาปใดๆ แก่เขาทั้งสอง และหากพวกเจ้าประสงค์ที่จะให้มีแม่นมขึ้นแก่ลูก ๆ ของพวกเจ้าแล้วก็ย่อมไม่มีบาปใด ๆ แก่พวกเจ้า เมื่อพวกเจ้าได้มอบสิ่งที่พวกเจ้าให้(แก่นางเป็นค่าตอบแทน) โดยชอบธรรม และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และพึงรู้ด้วยว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (อัล-กุรอาน 2 : 233)

 
อัล-กุรอาน ได้จำแนกความสำคัญของการปฏิบัติบทบาทและหน้าที่อันสลับซับซ้อนของเพศเอาไว้ ได้แบ่งเบาภาระทางด้านเศรษฐกิจที่หนักกว่าของสมาชิกเพศชายในสังคมด้วยการแบ่งปันส่วนแบ่งของมรดกมากกว่าผู้หญิง ในขณะเดียวกันก็ได้มอบสิทธิ์แก่ผู้หญิงในการได้รับการเลี้ยงดูเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน สำหรับการทุ่มเทของเธอทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัว และสำหรับการที่เธอได้เลี้ยงดูอุ้มชูลูกๆ

 
แนวคิดของสังคมไม่แบ่งเพศก่อให้เกิดความสัมพันธ์แบบแข่งขันกันระหว่างทั้งสองเพศ ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ในอเมริกาและประเทศแถบตะวันตก และเป็นหายนะสำหรับสมาชิกทุกคนในสังคม ไม่ว่าเป็นหนุ่มสาว คนชรา ลูก พ่อแม่ คนโสดและคนแต่งงาน ผู้ชายและผู้หญิง

 
ในทางตรงกันข้าม ในสังคมสองเพศเป็นคำตอบที่เป็นธรรมชาติมากกว่าสำหรับปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศ เป็นแบบแผนของสังคมที่สนับสนุนการร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันระหว่างเพศ มันเป็นแบบแผนที่พบว่ามีความเหมาะสมกับสังคมต่างๆ มากมายในประวัติศาสตร์

 
แนวคิดเรื่องความไม่แตกต่างระหว่างเพศ หรือภาพลักษณ์นำไปสู่ความโดดเด่น เพิ่งจะได้เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ในสังคมตะวันตก แม้แต่หลักฐานทางการเพศในเรื่องความแตกต่างทางด้านจิตใจและอารมณ์ของสองเพศก้ถูกปิดบังอำพรางในการศึกษาค้นคว้าของตะวันตก เพราะกลัวว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด

 
ไม่รู้ว่าขบวนการอันวิบัติทางสังคมนี้จะดำเนินต่อไปอีกนานแค่ไหนก่อนที่มันจะล้มละลายไป แต่ที่แน่ๆ มุสลิมควรจะสำนึกรู้ถึงข้อบกพร่องและอันตรายที่จะเกิดขึ้นตามมา และทำให้สังคมของเราและคนหนุ่มสาวของเรารับรู้ถึงภัยพิบัติอันจะเกิดจากแนวคิดนั้น

 
ผู้สนับสนุนตัวยงของสังคมไม่แบ่งเพศได้ประณามสังคมสองเพศว่าเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตของผู้หญิง ถ้าหากคำว่าสองเพศมีความหมายว่าเพศหนึ่งประเสริฐกว่าอีกเพศหนึ่ง สถานการณ์อันตรายเช่นนั้นคงจะเกิดขึ้น แต่ในสังคมตามคำสอนจากอัล-กุรอานที่แท้จริง ซึ่งเราทุกคนควรปฏิบัติตาม จะไม่มีทางเกิดสิ่งนั้นขึ้นได้

 
จามข้างต้น อัล-กุรอานได้สนับสนุนสถานะสูงส่งและเท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชาย ขณะเดียวกันได้รับรองความแตกต่างโดยทั่วไปของพวกเขาทางด้านธรรมชาติและหน้าที่ ด้วยเหตุนี้ เมื่อได้กล่าวถึงความเท่าเทียมกันทางด้านศาสนา จริยธรรม สติปัญญา และกฎหมายแล้ว อัล-กุรอานไม่เคยกล่าวถึงทั้งสองเพศว่าเหมือนกันหรือเป็นอย่างเดียวกันเลย ซึ่งได้กำหนดจุดยืนนี้ด้วยการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบที่ต่างกันและมอบให้ต่างกันในเรื่องมรดกและการเลี้ยงดูซึ่งเหมาะสมกับหน้าที่รับผิดชอบของทั้งสองเพศ

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ฟาฏิมะฮฺ(อ.) กับสถานภาพอันสูงส่ง
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ...
สิทธิ ของหู ดวงตาและเท้า
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...
ฟาฏิมะฮ์ ...
มองเรื่อง “ข่าวลือ” ...

 
user comment