ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

มุบาฮะละฮ์ ในประวัติศาสตร์อิสลาม

อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ตรัสว่า فَمَنْ حَآجَّكَ فِيهِ مِن بَعْدِ مَا جَاءكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءنَا وَأَبْنَاءكُمْ وَنِسَاءنَا وَنِسَاءكُمْ وَأَنفُسَنَا وأَنفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَل لَّعْنَةُ اللّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ
มุบาฮะละฮ์ ในประวัติศาสตร์อิสลาม

อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ตรัสว่า

فَمَنْ حَآجَّكَ فِيهِ مِن بَعْدِ مَا جَاءكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءنَا وَأَبْنَاءكُمْ وَنِسَاءنَا وَنِسَاءكُمْ وَأَنفُسَنَا وأَنفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَل لَّعْنَةُ اللّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ

 

 "ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของอีซา(ว่าเป็นบุตรของพระเจ้า) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกๆของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเรา และตัวของพวกท่าน และเราจะมาวิงวอน (ต่อพระเจ้า)กัน ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้อัลลอฮ์ทรงลงโทษทัณฑ์แก่บรรดาผู้โกหก"


 (อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการ 61)

 

ท่านอามิร บุตรสะอัด บุตร อบีวักกอศ รายงานจากบิดาของเขา ได้เล่าว่า :


เมื่อโองการนี้ได้ถูกประทานลงมา คือ "ดังนั้นจงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆของเรา และลูกๆของพวกท่าน และบรรดาสตรีของเราและบรรดาสตรีของพวกท่าน"
 (บทอาลิอิมรอน โองการ 61)


 ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้เรียก อะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซัน และฮูเซนมา แล้วกล่าวว่า :


โอ้อัลลอฮ์ พวกเขาเหล่านี้คือ (อะฮ์ลีย์) ครอบครัวของข้าพเจ้า
 (ศอฮีฮ์-อัตติรมิซี หะดีษที่ 2932 ตรวจทานโดย เชคมุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานี)

 

ซุลฮิจญะฮ์เป็นเดือนที่ 12 ตามปฏิทินอาหรับ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ เรื่องมุบาฮะละฮ์ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 10
มุบาฮะละฮ์มีหลักฐานระบุว่าเป็นเรื่องจริง อันเป็นความภาคภูมิใจของประชาชาติมุสลิม

 

เรื่องเริ่มจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้ส่งสาส์นไปยังกษัตริย์และผู้ปกครองในดินแดนต่างๆ เพื่อเชิญชวนสู่ศาสนาอิสลาม สาส์นฉบับหนึ่งถูกส่งไปที่เมืองนัจญ์รอน (ซาอุดิอารเบียในปัจจุบัน) เป็นที่อยู่อาศัยของชาวนัศรอนี (คริสต์)และยะฮูดี (ยิว) ขณะนั้น อบูฮาริษะฮ์ ดำรงตำแหน่งอุสกุฟ (พระสังฆนายก) แห่งเมืองนัจญ์รอน เป็นผู้รับสาส์นจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ)

 

พระสังฆนายกได้อ่านเนื้อหาอย่างละเอียด จากนั้นก็สั่งให้มีการประชุมในทันที ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้นำศาสนา, นักการเมือง และผู้สูงศักดิ์ สรุปมติในที่ประชุมมีความเห็นว่า ให้ส่งคณะทูตไปยังเมืองมะดีนะฮ์ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) โดยมติที่ประชุมได้คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิได้ 60 คนเพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญนี้ โดยมี 3 บุคคลต่อไปนี้เป็นหัวหน้าคณะคือ

 

1-สังฆราชอุสกุฟ ชื่ออบู ฮาริษะฮ์

2-อัลอากิ๊บ (อับดุลมะซีห์) กุนซือเจ้าความคิด

3-อัลอัยฮัม ผู้อาวุโสทั้งอายุและสมณศักดิ์

 

คณะทูตคริสเตียนเดินทางมาถึงเมืองมะดีนะฮ์ และได้เข้าพบท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ที่มัสญิดมะดีนะฮ์ ซึ่งท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ปฏิบัตินมาซเสร็จพอดี ชาวคริสต์ทุกคนสวมชุดนักบุญที่ทอมาจากผ้าไหม (ดีบาจญ์และหะรีร) สวมแหวนทอง แบกไม้กางเขนไว้ที่บ่า งดงามตระการตา พวกเขาให้สลามท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ)

 

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้ตอบรับสลาม และให้การต้อนรับพวกเขาอย่างสมเกียรติ พร้อมกับรับฮะดียะฮ์ (ของขวัญ) ที่พวกเขานำมามอบให้ ในขณะเดียวกันเวลาอัศริเป็นเวลาสวดมนต์ของศาสนาคริสต์ ชาวคริสต์จึงขออนุญาตท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) สวดมนต์ในมัสญิดมะดีนะฮ์ บรรดาซอฮาบะฮ์ (สาวก) ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ต้องการขัดขวาง แต่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้อนุญาตให้พวกเขาสวดมนต์ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) กล่าวกับบรรดามุสลิมว่า ปล่อยให้พวกเขาทำเถิด

 

หลังจากสวดมนต์เสร็จ พวกเขาได้หันมาสนทนากับท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) โดยท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้กล่าวกับสังฆราช และอากิ๊บว่า “จงเข้ารับอิสลามเถิด” ทั้งสองตอบว่า “เรารับอิสลามก่อนท่านนานแล้ว”

 

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) จึงกล่าวว่า "มีบางสิ่งที่ขัดขวางท่านทั้งสองมิให้เข้ารับอิสลาม พวกท่านอ้างว่าอัลลอฮ์ (พระเจ้า) มีบุตร พวกท่านกราบไหว้ไม้กางเขน และรับประทานเนื้อสุกร" เขาทั้งสองตอบว่า "หากพระเยซูไม่ใช่บุตรของพระเจ้า แล้วใครเป็นบิดาของเขาล่ะ?!


 
แต่ในอีกรายงานหนึ่งบันทึกว่า ชาวคริสต์ทั้งสองได้ถามท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ว่า "ท่านจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับอีซา (พระเยซู) ? แต่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้เงียบไม่ตอบสิ่งใด จนกระทั่งท่านได้รับวิวรณ์จากพระองค์ ในบทอาลิอิมรอนโองการที่ 59 ว่า “แท้จริงอุปมาเรื่องอีซา ณ.อัลลอฮ์ เปรียบดั่งอาดัม พระองค์ทรงสร้างเขามาจากดิน แล้วทรงตรัสกับเขาว่า จงเป็นแล้วเขาก็เป็นขึ้นมา”

 

ดังนั้นเมื่อพระองค์ทรงสร้างศาสดาอาดัม (อ) มาจากดิน โดยไม่มีบิดามารดา แล้วทรงสร้างศาสดาอีซา (อ) มาจากมารดาฝ่ายเดียวโดยไม่มีบิดา ย่อมถือว่ามหัศจรรย์น้อยกว่าเรื่องของอาดัมอีก

 

การสนทนายังดำเนินต่อไปจนคณะทูตแห่งเมืองนัจญ์รอนกล่าวกับท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ว่า "เราไม่เห็นได้อะไรเพิ่มจากท่านเลยในเรื่องของผู้ที่เรานับถือ นอกจากแค่ความแตกต่างของพระเยซูกับอาดัมด้านมีแม่กับไม่มีพ่อแม่เท่านั้น เราจึงไม่ขอยอมรับข้อพิสูจน์ที่ท่านยกมา ดังนั้นอัลลอฮ์ ตะอาลาจึงทรงประทานโองการที่ 61 ซูเราะฮ์อาลิอิมรอนมายังท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ในเวลานั้นทันทีว่า

 

"ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า(มุฮัมมัด)ในเรื่องของอีซา(ว่าเป็นบุตรของพระเจ้า) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ท่านทั้งหลาย(ชาวคริสต์)จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเรา และตัวของพวกท่าน และเราจะมาวิงวอน (ต่อพระเจ้า)กัน ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้อัลลอฮ์ทรงลงโทษทัณฑ์แก่บรรดาผู้โกหก" (บทอาลิอิมรอน โองการ 61)

 

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) จึงท้าฝ่ายชาวคริสต์ให้มาทำมุบาฮะละฮ์กัน ซึ่งฝ่ายคริสเตีนขอพลัดไปวันรุ่งขึ้น ตอนเวลาฟาญัรจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น นี่คือที่มาของ โองการมุบาฮะละฮ์ หรือเรื่องราวของเหตุการมุบาฮาละฮ์

 

และยังมีบางรายงานเล่าว่า สังฆราชได้ถามท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ว่า "ท่านจะว่าอย่างเกี่ยวกับพระเยซู (ศาสดาอีซา)ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้ตอบว่า "เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงคัดเลือกเขามาให้เป็นศาสดาของพระองค์

 

สังฆราชอุสกุฟจึงถามต่อว่า “ศาสดาอีซามีบิดาหรือไม่?”

 

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้ตอบว่า "มารดาเขาไม่เคยสมรสกับใครแล้วจะมีบิดาได้อย่างไร?


สังฆราชได้ถามต่อว่า "แล้วท่านมาบอกว่า เขาเป็นบ่าวคนหนึ่งได้อย่างไร ? ท่านเคยเห็นมนุษย์คนไหนที่เกิดมาโดยไม่มีบิดาบ้างหรือไม่ ?" พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) จึงทรงประทานโองการลงมายังท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ว่า

 

"แท้จริงอุปมาของอีซานั้น ดังอุปมัยของอาดัม พระองค์ทรงบังเกิดเขาจากดิน และได้ทรงประกาศิตแก่เขาว่า จงเป็นขึ้นเถิด แล้วเขาก็เป็นขึ้น ความจริงนั้นมาจากพระผุ้อภิบาลของเจ้า ดังนั้นจงอย่าเป็นหนึ่งในหมู่ผู้สงสัยเป้นอันขาด ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า (มุฮัมมัด) ในเรื่องของอีซา (ว่าเป็นบุตรของพระเจ้า) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว

จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า ท่านทั้งหลาย (ชาวคริสต์) จงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่านและตัวของเรา และตัวของพวกท่าน และเราจะมาวิงวอน (ต่อพระเจ้า) กัน ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้อัลลอฮ์ทรงลงโทษทัณฑ์แก่บรรดาผู้โกหก" (บทอาลิอิมรอน โองการที่ 59 – 61)

 

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) จึงได้อ่านโองการดังกล่าวให้ชาวคริสต์ฟัง และได้ท้าพวกเขาให้มาทำมุบาฮะละฮ์กัน ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) กล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติทรงแจ้งแก่ฉันว่า โทษทัณฑ์จะลงมายังผู้อยู่กับความเท็จหลังการทำมุบาฮะละฮ์ เพื่อจะได้แสดงให้เห็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกและฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด"

 

ชาวคริสต์ได้ขอเลื่อนเวลาการทำมุบาฮะละฮ์ไปวันพรุ่งนี้ จากนั้นพวกเขาได้กลับไปปรึกษาหารือกัน สังฆราชอุสกุฟกล่าวกับพวกเขาว่า "พวกท่านจงสังเกตุดูว่าพรุ่งนี้ หากมุฮัมมัดพาลูกและครอบครัวของเขาออกมาสาบาน พวกเจ้าก็จงอย่ามุบาฮะละฮ์กับเขาอย่างเด็ดขาด"

 

รุ่งเช้าท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้จูงมือท่านอะลี มีท่านฮาซันและฮูเซนเดินอยู่ข้างหน้า ส่วนท่านหญิงฟาติมะฮ์บุตรีเดินอยู่ข้างหลัง สังฆราชอุสกุฟเดินนำหน้าคณะมา พอเห็นท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เดินตรงมาหา เขาจึงถามว่า "ท่านพาใครมามุบาฮะละฮ์?

 

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ตอบว่า “นี่คืออะลี ลูกของลุงฉัน และเป็นบุตรเขยของฉัน เขาเป็นบิดาของหลานชายทั้งสองของฉัน เขาคือคนที่ฉันรักมากที่สุด เด็กสองคนนี้

(ฮาซัน ฮูเซน) เป็นบุตรของลูกสาวฉันที่เกิดจากอะลี ทั้งสองเป็นที่รักยิ่งของฉัน ส่วนสตรีนางนี้ชื่อฟาติมะฮ์ นางเป็นสตรีที่มีเกียรติมากที่สุดและเป็นญาติที่สนิทที่สุดของฉัน”

 

สังฆราชอุสกุฟหันมามองอากิบและอับดุลมะซีห์ พลางกล่าวกับพวกเขาว่า "จงดูเถิด มุฮัมมัดพาบุตรกับครอบครัวของเขาออกมามุบาฮะละฮ์กับพวกเรา เพื่อปกป้องสัจธรรมของเขา" ชาวคริสต์หวั่นเกรงว่า หากการมุบาฮะละฮ์เกิดขึ้นจริงในวันนี้ อาจจะจะเกิดเพทภัยกับพวกเขาอย่างแน่นอนเพราะพวกเขาได้แลเห็นรัศมีบนใบหน้าของบุคคลที่เขากำลังจะทำการมุบาฮาละฮ์ด้วย สุดท้ายพวกเขาจึงขอประนีประนอมกับฝ่ายมุสลิมด้วยการยอมจ่ายญิซยะฮ์ (เครื่องราชบรรณาการ )แทน ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายคริสต์ คือยอมรับญิซยะฮ์แทน จากนั้นชาวคริสต์จึงได้ลากลับไป

 

หนังสือซอฮีฮฺมุสลิม รายงานว่า หลังจากที่ฝ่ายมุสลิมกับฝ่ายคริสเตียนได้ตกลงกันว่าจะไปมุบาฮะละฮ์กันที่นอกเมืองมะดีนะฮ์กลางทะเลทราย ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้คัดเลือกบุคคลที่จะไปมุบาฮะละฮ์เพียงสี่คนเท่านั้น โดยไม่มีผู้ใดมีส่วนร่วมในการไปมุบาฮะละฮ์ครั้งนี้

รายงานจากท่านสะอัด บุตร อบีวักกอศเล่าว่า :

เมื่อโองการนี้ได้ประทานลงมาคือ :  ดังนั้นจงมาเถิด เราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่าน...บทอาลิอิมรอน โองการ 61) ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯได้เรียก อะลี ฟาติมะฮ์ ฮาซัน และฮูเซนมา แล้วกล่าวว่า: โอ้อัลลอฮ์ พวกเขาเหล่านี้คือ (อะฮ์ลีย์) ครอบครัวของข้าพเจ้า

(ซอฮีฮุมุสลิม กิตาบ ฟะฎออิลุซ-ซอฮาบะฮ์ หะดีษที่ 4420

 

โดย เชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ


ขอขอบคุณเว็บไซต์อะฮ์ลุลบัยต์อะคาเดมี


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ดุอาประจำวันที่ 17 ...
...
เป้าหมายของการถือศีลอด ...
ค่ำคืนที่ประเสริฐกว่า 1000 เดือน
...
เตาฮีด ...
วิธีการรู้จักอิมาม
...
ความเชื่อต่ออิมามมะฮ์ดี (อ)คือ ...

 
user comment