ไทยแลนด์
Saturday 20th of April 2024
0
نفر 0

การแต่งงานที่เรียบง่าย

มื่ออายะตุลลอฮ์อลีคอเมเนอีทำการสู่ขอสุภาพสตรีให้บุตรชาย ดร. ฆุลามอะลี หัดดาด อาดิล อดีตประธานสภาสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน มีเรื่องเล่าที่น่าฟังว่า “ใน ปี 1998 วันหนึ่ง ได้มีสตรีท่านหนึ่งมากดกริ่งประตูบ้าน พร้อมกับบอกกล่าวธุระว่าเธอต้องการจะมาทาบทามสู่ขอบุตรสาวของเราให้กับบุตรชายของ
การแต่งงานที่เรียบง่าย

มื่ออายะตุลลอฮ์อลีคอเมเนอีทำการสู่ขอสุภาพสตรีให้บุตรชาย ดร. ฆุลามอะลี หัดดาด อาดิล อดีตประธานสภาสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน มีเรื่องเล่าที่น่าฟังว่า
“ใน ปี 1998 วันหนึ่ง ได้มีสตรีท่านหนึ่งมากดกริ่งประตูบ้าน พร้อมกับบอกกล่าวธุระว่าเธอต้องการจะมาทาบทามสู่ขอบุตรสาวของเราให้กับบุตรชายของเธอ ภรรยาของข้าพเจ้าจึงบอกกล่าวกับเธอไปว่า ตอนนี้บุตรสาวของเราเพิ่งเรียนมัธยมปลาย และเธอต้องการจะเรียนหนังสือก่อน เธอจึงถามเชิงต่อรองว่าเป็นไปได้ไหมถ้าจะมีโอกาสเห็นหน้าลูกสาวของเราเพื่อจะได้ติดต่อทาบทามสู่ขอในภายหลัง ทว่า ภรรยาข้าพเจ้าได้ตอบปฏิเสธไป หลังจากนั้น ภรรยาข้าพเจ้าได้ถามไถ่ว่าเธอเป็นใคร ? สตรีผู้นั้นจึงตอบว่า “ฉันเป็นภรรยาของท่านเราะหฺบัรฺ (อายะตุลลอฮฺสัยยิดอะลี คอเมเนอีย์) ทำให้ภรรยาข้าพเจ้าสะดุ้งและรีบให้สลามกับเธอเป็นคำรบสอง พร้อมกล่าวกับเธอว่า “ขออภัยที่เราตอบปฏิเสธท่านไป ขอเวลาให้เราได้ปรึกษากับท่าน ดร. (ฆุลามอะลี หัดดาด อาดิล) ก่อนได้ไหมคะ แล้วดิฉันจะให้คำตอบกับท่านในภายหลังนะคะ” ตอนนั้น ภรรยาข้าพเจ้าเป็นครูใหญ่โรงเรียนมัธยมปลาย “ฮิดายะฮฺ”

หลังจากภรรยา ได้นำเรื่องนี้มาปรึกษากับข้าพเจ้า ได้มีการนัดหมายกับครอบครัวของท่านเราะหฺบัรฺเพื่อไปดูตัวบุตรสาวของเราที่ โรงเรียน ทั้งนี้ก็เพื่อ (หนึ่ง) ไม่ให้บุตรสาวของเรารู้ตัว (สอง) ถ้าครอบครัวของท่านเราะหฺบัรฺไม่ประทับใจเธอ ก็ไม่ทำให้เธอเสียความรู้สึกใด ๆ ด้วย

ภายหลังจากวันนัดหมายได้ผ่าน พ้นไปไม่นาน และภรรยาท่านเราะหฺบัรฺได้เห็นลูกสาวของเราที่โรงเรียนแล้ว ข้าพเจ้ามีภารกิจสำคัญที่จะต้องไปพบกับท่านเราะหฺบัรฺ เมื่อไปถึง ท่านได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า “ภรรยาของฉันได้อิสติค็อยเราะฮฺ ปรากฎว่าคำตอบออกมาไม่ดี” (บทเรียนที่หนึ่ง)

นับ จากวันนั้น วันเวลาได้ผันผ่านไปหนึ่งปี ครอบครัวท่านเราะหฺบัรฺได้ติดต่อมาอีกเป็นคำรบสองว่าต้องการจะมาทาบทามสู่ขอบุตรสาวของเรา ทำให้ภรรยาข้าพเจ้าถามกลับไปว่า “เกิดอะไรขึ้นหรือคะที่การตัดสินใจได้เปลี่ยนไปอีกครั้งหนึ่ง ?” ท่านเราะหฺบัรฺจึงตอบว่า “ภรรยาของฉันมีความเชื่อมั่นในการอิสติค็อยเราะฮฺมาก และครั้งแรกที่เธออิสติค็อยเราะฮฺนั้น ผลลัพธ์ออกมาไม่ดี เธอจึงเลิกล้มความตั้งใจ (ที่จะสู่ขอบุตรสาวของท่าน) แต่เพราะบุตรสาวของท่านคลุมหิญาบ มีการศึกษา เป็นปัญญาชน และเป็นเด็กดีมีสัมมาคารวะ” (บทเรียนที่สอง) และ ภรรยาได้ขอให้ฉันอิสติค็อยเราะฮฺอีกครั้ง ซึ่งผลลัพท์ในครั้งนี้ออกมาดี ดังนั้น ถ้าท่านทั้งสองอนุญาต เราจะมาสู่ขอบุตรสาวของท่าน” ในตอนนั้น บุตรสาวของเราได้จบชั้นมัธยมปลายแล้ว และกำลังรอฟังผลเอนทรานส์อยู่

หลัง จากได้นัดหมายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สัยยิดมุจญ์ตะบา บุตรชายท่านเราะหฺบัรฺและมารดาของเขาได้มาที่บ้านพร้อมกับผ้าชิ้นหนึ่งซึ่ง เป็นของขวัญให้กับบุตรสาวของเรา หลังจากได้สนทนาพูดคุยกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สองแม่ลูกได้อำลากลับไป ข้าพเจ้าจึงถามไถ่ทัศนะบุตรสาวข้าพเจ้า ปรากฎว่าเธอตอบตกลงตามนั้น (บทเรียนที่สาม)

ไม่ กี่วันหลังจากนั้น ข้าพเจ้าได้มีโอกาสพบกับท่านเราะหฺบัรฺอีกครั้ง ท่านได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า “ท่าน ดร. เรากำลังจะเป็นทองแผ่นเดียวกันแล้วนะ” ข้าพเจ้าจึงถามว่า “ยังไงหรือครับ ?” ท่านเราะหฺบัรฺจึงบอกข้าพเจ้าว่า “สมาชิกในครอบครัวได้แจ้งข่าวกับฉันว่าพวกเขามีความพอใจในทุกสิ่งที่ได้ สนทนาผ่านไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แล้วท่านละมีทัศนะอย่างไรในเรื่องนี้ ?” (บทเรียนที่สี่)

ข้าพเจ้า จึงตอบท่านไปว่า “แล้วแต่ท่านจะเห็นสมควรเถิดครับ” ท่านเราะหฺบัรฺจึงกล่าวว่า “ไม่ได้นะครับ ทั้งท่านและภรรยาของท่านเป็นด๊อกเตอร์และอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยทั้งคู่ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจของท่านทั้งสองมีความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ในขณะที่ฉันกับภรรยาของฉันหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ถ้าฉันจะเปิดเผยชีวิตครอบครัวของฉันให้ท่านทราบ ท่านจะพบว่านอกจากหนังสือและตำราซึ่งมีมากกว่ารถบรรทุกกระบะแล้ว เราไม่มีทรัพย์ศฤงคารอื่นใด นอกจากห้องด้านใน กับห้องด้านนอกซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐจะมาพบปะกับฉัน ฉันไม่มีเงินที่จะซื้อบ้าน บ้านที่ฉันอยู่ในขณะนี้ “เป็นบ้านเช่า” (บทเรียนที่ห้า) ชั้น หนึ่ง มุศเฏาะฟาอยู่ อีกชั้นหนึ่ง มุจญ์ตะบา ท่านลองปรึกษากับบุตรสาวของท่านก่อนนะครับ โปรดอย่าได้คิดหรือจินตนาการว่าการเป็นสะไภ้เราะหฺบัรฺแล้วจะทำให้เธอมี ชีวิตที่หรูหราหรือสะดวกสบายกว่าเก่าก่อน ครอบครัวของเราอยู่กันเช่นนี้ (พอเพียงของแท้ - ไม่ใช่พอเพียงของเทียม) ในขณะที่ครอบครัวของท่านเมื่อเทียบกับผู้คนทั่ว ๆ ไปแล้วถือว่าดีเยี่ยม ขอให้มุมมองและภาพลักษณ์บุตรสาวของท่านเป็นไปในทางที่ดี ถ้าเธอตอบตกลงที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกับบุตรชายของฉัน เธอจะต้องอดทนต่ออุปสรรคขวากหนามพอสมควรนะ มุจญ์ตะบา บุตรของฉันยังไม่ได้สวมใส่อะมามา (สัญลักษณ์ของนักการศาสนาในสายธารอิมามียะฮฺ) ด้วย เขามีโครงการจะไปศึกษาต่อที่เมืองกุม (เมืองศาสนาที่มีสถาบันศาสนาที่ใหญ่ที่สุดของของชีอะฮฺสายธารอิมามียะฮฺ อยู่ห่างจากกรุงเตหะรานไปทางทิศใต้ประมาณ 135 – 150 กิโลเมตร) เพื่อจะเป็นนักการศาสนาในอนาคต ขอให้ท่านนำสิ่งเหล่านี้ไปปรึกษากับบุตรสาวของท่านก่อนนะครับ เพื่อเธอจะได้รับรู้และตัดสินใจไม่ผิดพลาด” (บทเรียนที่หก)

“ฉัน มีแหวนอะกีกอยู่วงหนึ่งซึ่งมีผู้ฮะดียะฮฺ (มอบเป็นของขวัญ) ให้ฉัน ถ้าบุตรสาวของท่านไม่รังเกียจ ฉันก็จะฮะดียะฮฺให้กับเธอ และให้เธอมอบให้กับมุจญ์ตะบาในฐานะ “หัลเกาะฮฺ”

เมื่อข้าพเจ้านำเรื่องนี้ไปปรึกษากับบุตรสาว เธอตอบตกลงทุกอย่างตามนั้น
อนึ่ง ในสมัยก่อนที่ท่านเราะหฺบัรฺจะได้รับเลือกจากประชาชนให้เป็นประธานาธิบดี ท่านมีบ้านเป็นของตนเองหลังหนึ่งที่ทางตอนใต้กรุงเตหะราน (กล่าวกันว่าแถบนั้นเป็นถิ่นฐานคนยากคนจนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก) ซึ่งท่านได้ให้คนอื่นเช่า และอาศัยค่าเช่านั้นเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวของท่าน ท่านเราะหฺบัรฺไม่รับเงินเดือนตำแหน่งเราะหฺบัรฺ และไม่เคยอาศัยตำแหน่งใช้ประโยชน์จากสมบัติของรัฐอิสลาม (บทเรียนที่เจ็ด)

มะฮัรในมุมมองของท่าน ตอนที่ปรึกษากันเกี่ยวกับมะฮัรฺ (สินสอดทองหมั้น) และการจัดพิธีสมรสนั้น ท่านเราะหฺบัรฺได้กล่าวตอนหนึ่งว่า
“เรื่องมะฮัรฺ เป็นสิทธิเลือกสรรของบุตรสาวของท่าน (บทเรียนบทที่แปด) ทว่า ทุกครั้งที่ฉันอ่านคุฏบะฮฺอักด์นิกาหฺให้กับคู่บ่าวสาว สิ่งที่ฉันถือปฏิบัติเป็นกิจวัตรประการหนึ่งก็คือ ฉันจะไม่อ่านคุฏบะฮฺอักด์นิกาหฺให้บ่าวสาวคู่ใดที่มีมะฮัรฺเกินกว่า 14 สิกเกะฮฺ (บทเรียนที่เก้า) (คิด เป็นเงินไทย ณ ปัจจุบันก็ประมาณ 100,000 บาท) ตราบถึงปัจจุบันฉันไม่เคยอ่านให้กับบ่าวสาวคู่ใด ถ้าท่านปรารถนามะฮัรฺเกินกว่า 14 สิกเกะฮฺ เป็นสิทธิที่ท่านสามารถเรียกร้องได้ เพียงแต่ขอให้ท่านเลือกผู้อ่านคุฏบะฮฺอักด์นิกาห์คนอื่นก็แล้วกัน ตามทัศนะของฉัน ถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะตราบถึงปัจจุบันฉันไม่เคยจัดการแต่งงานให้ประชาชนคนใดที่มีมะฮัรฺเกิน กว่า 14 สิกเกะฮฺมาก่อน ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นสะไภ้ของฉัน ฉันก็จะไม่อ่านให้เช่นเดียวกัน” (บทเรียนที่สิบ)

ข้าพเจ้า จึงกล่าวกับท่านเราะหฺบัรฺว่า “ท่านครับ ยังงี้ไม่ได้หรอก เอาเป็นว่าข้าพเจ้าจะคุยกับแม่เขาก่อนนะครับ และเชื่อว่าเขาคงไม่ขัดข้องหรอกครับ” นอกจากนี้ ท่านเราะหฺบัรฺยังให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสถานที่จัดพิธีวะลีมะฮฺอีกด้วยว่า "ท่านสามารถใช้ห้องโถงได้นะครับ แต่ฉันไม่สามารถเข้าร่วมงานได้” ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า “แล้วแต่ท่านจะเห็นสมควรเถิดครับ” ท่านจึงแนะนำว่า “ท่านจะเปิดห้องด้านในสองห้องกับห้องด้านนอกอีกหนึ่งห้องให้ต่อกันก็ได้ซึ่ง สามารถจุคนได้พอสมควร โดยแบ่งคนละครึ่ง ครึ่งหนึ่งเป็นญาติของเรา อีกครึ่งหนึ่งเป็นญาติของท่าน” เมื่อเราคำนวณดูแล้ว สถานที่ดังกล่าวไม่น่าจะจุเกินกว่า 150 – 200 คน และเมื่อนับญาติพี่น้องระดับที่ใกล้ชิดที่สุดของเราก็เกินกว่าจำนวนดังกล่าว เข้าไปแล้ว ทว่า เราต่างก็เห็นพ้องต้องกันทั้งสองฝ่าย (บทเรียนที่สิบเอ็ด)

ข้าพเจ้า จึงเอ่ยกับท่านว่า “ท่านครับ นอกจากญาติพี่น้องทั้งสองฝ่ายของเราแล้ว เราควรจะเชิญท่านคอตะมีย์ , ท่านฮาชิมีย์ (ทั้งสองเป็นอดีตประธานาธิบดีรัฐอิสลาม) ท่านนาฏิก (อดีตประธานสภา) , ท่าน ดร.หะบีบีย์ (อดีตรองประธานาธิบดี) และเจ้าหน้าที่ 3 องค์กรหลักด้วยนะครับ (หมายถึงฝ่ายบริหาร – ฝ่ายตุลาการ – ฝ่ายนิติบัญญัติ)

วะลีมะฮฺในมุมมองของท่าน ในงานเลี้ยงวะลีมะฮฺ เราทำอาหารเพียงอย่างเดียว (บทเรียนที่สิบสอง) ก่อนหน้านี้เราได้ปรึกษากันถึงเรื่องของขวัญหรือของที่ระลึกที่เจ้าบ่าว – เจ้าสาว จะมอบให้แก่กันซึ่งบุตรชายของท่านเราะหฺบัรฺได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่ต้องการทั้งแหวน ไม่ต้องการทั้งนาฬิกา และไม่อยากได้อะไรทั้งสิ้นครับ” ท่านเราะหฺบัรฺจึงกล่าวว่า “ไม่ดีมั้ง อย่างน้อยที่สุดก็ให้ในฐานะ “หัลเกาะฮฺ” ฉันมีแหวนอะกีกอยู่วงหนึ่งซึ่งมีผู้ฮะดียะฮฺ (มอบเป็นของขวัญ) ให้ฉัน ถ้าบุตรสาวของท่านไม่รังเกียจ ฉันก็จะฮะดียะฮฺให้กับเธอ และให้เธอมอบให้กับมุจญ์ตะบาในฐานะ “หัลเกาะฮฺ (แหวนหมั้น)” เราเห็นด้วยและตอบตกลงตามนั้น เมื่อรับแหวนจากท่านแล้ว เราได้สวมแหวนนั้นให้กับมุจญ์ตะบา ทว่า แหวนใหญ่ไปนิดหนึ่ง จึงนำไปให้ทางร้านช่วยทำให้เล็กลง ซึ่งเสียค่าจ้างไป 600 โตมาน (คิดเป็นเงินไทยตอนนี้ประมาณ 20 บาท) สรุปแล้วของขวัญหรือของที่ระลึกสำหรับเจ้าบ่าว 600 โตมาน เราจึงกล่าวกับท่านว่าปัญหานี้คลี่คลายไปหมดสิ้น ทีนี้ก็เหลือแต่ชุดเจ้าสาวซึ่งเราจะขอรับผิดชอบในส่วนนี้เองครับ ท่านจึงแนะนำว่า “ขอให้เป็นไปตาม “วิถีประชา” ที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปนะครับ ความจริงเราได้ตระเตรียมต้อนรับเจ้าสาวสำหรับบุตรชายของเราก่อนหน้านี้แล้ว และได้จัดเตรียมชุดสำหรับเจ้าสาวไว้ก่อนแล้วด้วย” สรุปแล้ว ก่อนที่เจ้าสาวจะได้สวมใส่ชุดวิวาห์ ปรากฎว่าบุตรสาวของเราได้ลองสวมใส่มันนับตั้งแต่คืนนั้น !” ท่านเราะหฺบัรฺได้กล่าวต่อไปว่า “ฉันจะให้พรมทอเครื่องผืนหนึ่ง ท่านก็มอบพรมให้คู่บ่าวสาวผืนหนึ่งด้วยนะครับ” ด้วยขั้นตอนดังกล่าวงานก็ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย คืนนั้นกว่าจะเสร็จงานก็ปาเข้าไปถึงตี 1 ซึ่งครอบครัวของท่านเราะหฺบัรฺที่มาร่วมงานต่างรอคอยที่จะนำเจ้าสาวกลับ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากท่านเราะหฺบัรฺมีภารกิจ ท่านจึงไม่ได้มาร่วมงานด้วย ทว่า เมื่อเรานำเจ้าสาวไปที่บ้านของท่าน ท่านยังไม่ได้เข้านอน เพราะรอคอยต้อนรับสะไภ้ของท่านนั่นเอง โดยท่านกล่าวกับเราว่า “โดยมารยาทแล้ว ถือเป็นหน้าที่ที่ฉันจะต้องต้อนรับสะไภ้ในวันแรกที่เธอก้าวเท้าเข้าสู่บ้าน ของเรา เพื่อจะกล่าว “ยินดีต้อนรับครับ” (บทเรียนที่สิบสาม)

เมื่อ เจ้าสาวเข้าไปในบ้านแล้ว ท่านเราะหฺบัรฺได้นั่งสนทนากับคู่บ่าวสาวเพื่อแนะนำตักเตือนถึงกฎเกณฑ์ เงื่อนไข และความสำคัญของการใช้ชีวิตคู่ให้กับคนทั้งสอง พร้อมกับดุอาอ์และกล่าวต้อนรับสมาชิกใหม่ในครอบครัวของท่าน

(บันทึกจากคำบอกเล่าของ “หุจญะตุลอิสลามพอยันเดะฮฺ” เจ้าหน้าที่สำนักงานท่านผู้นำในกรุงเตหะราน)



บทความโดย
สายธารพิสุทธิ์



ขอขอบคุณเว็บไซต์อิสลามิคโฮมเพจ


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

สงคราม “อาร์มาเกดอน” ...
ความสำคัญของน้ำนมแม่ ...
อิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ.) ...
อาลัมบัรซัค ...
อิสลาม : ศาสนาแห่งสันติ
สถานภาพการเมือง ...
คุณค่าของการเศาะลาวาต
หมายเหตุการเข้ารับอิสลาม ...
...
การพลี” สูงสุดของการพิสูจน์ ...

 
user comment