ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

หลักปฏิบัติในอิสลาม ตอนที่หนึ่ง

หลักปฏิบัติในอิสลาม ตอนที่หนึ่ง อิจญฺติฮาด และ ตักลีด อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายและสมบูรณ์ที่สุด บัญญัติต่าง ๆ ล้วนแต่มีความเหมาะสมและตรงกับสัญชาติญาณดั้งเดิมของมนุษย์ทั้งสิ้น หากผู้ใดนำเอาบทบัญญัติเหล่านี้มาเป็นครรลองในการดำเนินชีวิต ความสมบูรณ์ก็จะประสบกับเขาอย่างแน่นอนเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม
หลักปฏิบัติในอิสลาม ตอนที่หนึ่ง

หลักปฏิบัติในอิสลาม ตอนที่หนึ่ง

 อิจญฺติฮาด และ ตักลีด

อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายและสมบูรณ์ที่สุด  บัญญัติต่าง ๆ ล้วนแต่มีความเหมาะสมและตรงกับสัญชาติญาณดั้งเดิมของมนุษย์ทั้งสิ้น หากผู้ใดนำเอาบทบัญญัติเหล่านี้มาเป็นครรลองในการดำเนินชีวิต ความสมบูรณ์ก็จะประสบกับเขาอย่างแน่นอนเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ศาสนาอิสลามครอบคลุมอยู่บนหลัก 3 ประการ กล่าวคือ

ประการที่หนึ่ง หลักความศรัทธา (อุซุลุดดีน) หมายถึงหลักการที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อศรัทธา มุสลิมจะต้องยอมรับด้วยเหตุและผลอันเป็นพื้นฐานสำคัญแห่งอิสลาม ซึ่งจะต้องไม่เชื่อหรือคล้อยตามความเชื่อของบุคคลอื่น
 
 ประการที่สอง หลักการปฏิบัติ  (ฟุรูอุดดีน) หมายถึงหลักศาสนบัญญัติที่มุสลิมทั้งหลายต้องนำมาปฏิบัติหรือละเว้นการกระทำ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า บทบัญญัติ  สำหรับบุคคลที่ไม่ได้เป็นมุจญฺตะฮิด (ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจญฺตะฮิดขั้นสูงสุด

ประการที่สาม จริยศาสตร์ (อัคลาก) หมายถึงการปฏิบัติตัวเองให้สอดคล้องกับหลักการศาสนา  โดยเน้นไปที่การพัฒนาและยกระดับจิตใจ

หลักความศรัทธา

หลักความศรัทธา คือ หลักการเกี่ยวกับการสร้างความคิดและความเชื่อของมนุษย์ให้มั่นคงแข็งแรง เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่ต้องเชื่อมั่น และยอมรับสิ่งเหล่านั้นด้วยเหตุผลหลักความศรัทธาถือเป็นหลักศาสนา เป็นภารกิจเกี่ยวกับความเชื่อจึงต้องอาศัยความเชื่อมั่น ด้วยเหตุนี้ หลักความศรัทธาจึงไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามผู้ใด

  หลักการปฏิบัติ

หลักปฏิบัติ หมายถึง กฎบัญญัติต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์ ประกอบด้วยสิ่งจำเป็นและไม่จำเป็น ซึ่งการกระทำหรือการละเว้นต้องอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ถูกต้อง จึงจะถือว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์แล้ว

บุคคลที่มีหน้าที่ปฏิบัติ ถ้าต้องการรู้จักคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้สามารถกระทำได้ 3 วิธี กล่าวคือ ค้นคว้าและวิจัยจากแหล่งข้อมูลเกี่ยวข้องเพื่อตีความปัญหาด้วยตัวเอง หรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจญฺตะฮิดที่ค้นคว้ามาแล้ว หรือปฏิบัติหน้าที่ด้วยการอิฮฺติยาฏ

ฉะนั้น หน้าที่ของผู้ปฏิบัติอาจเป็น 1 ใน 3 ประเด็น กล่าวคือ อิจญฺติฮาด ตักลีด หรืออิฮฺติยาฏ


อิจญฺติฮาด
 
อิจญฺติฮาด ตามหลักภาษาหมายถึง ความเพียรพยายามและความเหนื่อยยาก แต่ตามหลักศาสนานิติศาสตร์อิสลามหมายถึง  การค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อวินิจฉัยและตีความบทบัญญัติจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องบนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ดังนั้น บุคคลที่มีคุณสมบัติในการอิจญฺติฮาดได้เรียกว่า มุจญฺตะฮิด (หมายถึง ผู้วินิจฉัยปัญหาศาสนาหรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนิคิศาสตร์อิสลาม)

การตักลีด

การตักลีด ในความหมายของนักปราชญ์หมายถึง การปฏิบัติศาสนกิจตามคำวินิจฉัยของมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดในสมัยของตน

1. มุกัลลัฟทุกคน ถ้าไม่ได้อยู่ในระดับของการอิจญฺติฮาด และไม่รู้แนวการอิฮฺติยาฏ ดังนั้น เกี่ยวกับบทบัญญัติ  วาญิบต้องตักลีด (ปฏิบัติ) ตามมุจญฺตะฮิด

2. การตักลีดในบทบัญญัติ มิได้เฉพาะเจาะจงแค่ปัญหาวาญิบหรือฮะรอมเท่านั้น ทว่าครอบคลุมไปถึงปัญหาที่เป็นมุซตะฮับ มักรูฮฺ และมุบาฮฺด้วย

3. มุจญฺตะฮิด ที่มีผู้อื่นปฏิบัติตาม เรียกว่า มัรญิอฺตักลีด

4. ผู้ที่เป็นมัรญิอฺตักลีดต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

4.1.มีความยุติธรรม

4.2.มีสติสัมปะชัญญะที่สมบูรณ์

4.3. ต้องเป็นมุจญฺตะฮิด

4.4. ต้องมีชีวิต

4.5.ต้องเป็นชาย

4.6.ต้องบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ

4.7. บิดามารแต่งงานถูกต้องตามหลักการของศาสนา

4.8. ต้องเป็นมุสลิมนิกายชีอะฮฺอิมามียะฮฺ

หลัก อิฮฺติยาฏวาญิบ(หลักพึงระวังที่ในประเด็นนั้นไม่มีคำฟัตวาก่อนหน้านั้น) ต้องเป็นผู้มีความรู้สูงสุดสมัยของตนและต้องไม่หลงโลก


 5. อาดิล หมายถึงบุคคลที่พลังยุติธรรมในตัว ความยุติธรรม คือ พลังจิตที่ส่งเสริมให้บุคคลนั้นมีตักวา (ยำเกรง) ต่อพระผู้เป็นเจ้า ระวังความประพฤติของตน ปฏิบัติหน้าที่ตามศาสนาบัญญัติด้วยความเคร่งครัด และไม่ทำบาปทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง

6. อะอฺลัม หมายถึง ผู้มีความรู้ขั้นสูงสุดหมายถึงผู้ที่รอบรู้ที่สุดในเรื่องกฏเกณฑ์และแหล่งข้อมูล รู้ข้อมูลของปัญหาและรายงานดีกว่าคนอื่น ตลอดจนเข้าใจฮะดีษ (รายงาน) ดีกว่าคนอื่น สรุป อะอฺลัมหมายถึงผู้ที่มีความสามารถในการวินิจฉัยปัญหาศาสนาได้ดีกว่าบุคคลอื่น

7. ไม่อนุญาตให้เริ่มตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่ถึงแก่กรรมแล้ว

8. สำหรับบุคคลที่คงสภาพการตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว ในปัญหาที่ท่านไม่ได้ฟัตวาไว้ ปัญหานั้นต้องตักลีดตามมุจญฺตะฮิดที่มีชีวิตอยู่

9. เป็นหน้าที่สำหรับมุกัลลัฟ ต้องค้นหาเพื่อรู้จักมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดในสมัยตน

10. หน้าที่ของบุคคลทั่วไป (ที่มิใช่มุจญฺตะฮิด) ช่วงที่ค้นหามุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดนั้น

11. หน้าที่ของผู้ปฏิบัติตาม กรณีที่มีมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด 2 คน และไม่สามารถจำแนกได้ว่าผู้ใดมีความรู้มากกว่าให้ปฏิบัติดังนี้

- ปฏิบัติหน้าที่โดยการอิฮฺติยาฏ หรือคำกล่าวที่ใกล้เคียงการอิฮฺติยาฏ หรือกล่าวว่า อิฮฺติยาฏวาญิบต้องเป็นเช่นนี้

- ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยการอิฮฺติยาฏได้ ให้เลือกปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคนหนึ่งคนใดก็ได้

12. ถ้าหากมุจญฺตะฮิด 2 ท่าน ซึ่งมีความรู้เท่าเทียมกัน ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามสามารถเลือกปฏิบัติตามท่านใดท่านหนึ่งได้ หรือสามารถปฏิบัติตามบางเรื่องกับท่านหนึ่ง และในเรื่องอื่นสามารถปฏิบัติตามอีกท่านหนึ่งได้

13. ถ้าหากมีมุจญฺตะฮิด 2 ท่าน ท่านหนึ่งเชี่ยวชาญบทบัญญัติด้านการปฏิบัติ (อิบาดาต) ส่วนอีกท่านหนึ่งเชี่ยวชาญด้านการค้าขาย อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ปฏิบัติตามผู้มีความรู้สูงสุดในแต่ละส่วน


14. ทุกคนมีอิสระในการตักลีด ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกัน ดังนั้น ในเรื่องตักลีด ภรรยาไม่จำเป็นต้องกระทำตามสามี ผู้ใดเชื่อมั่นว่ามุจญฺตะฮิดคนใดมีความรู้สูงกว่า สามารถปฏิบัติตามได้ แม้ว่าจะเป็นคนละคนกันก็ตาม



ขอขอบคุณเว็บไซต์อิสลามซอร์ส
 
(ทางเว็บอัลฮะซะนัยน์ ได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางประการเพื่อสอดคล้องกับหัวข้อบทความ )


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ฟาฏิมะฮฺ(อ.) กับสถานภาพอันสูงส่ง
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ...
สิทธิ ของหู ดวงตาและเท้า
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...

 
user comment