ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า หนึ่งในหลักการของความเชื่อ คือ ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า อัล-กุรอานไม่เคยใช้คำว่า อัดลฺ ในความหมายของอะดาลัตของพระผู้เป็นเจ้าแม้แต่ครั้งเดียว แต่ได้อธิบายในเชิงปฏิเสธว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงกดขี่หรือเอาเปรียบบุคคลหรือสิ่งใดแม้แต่นิดเดียว อัลกุรอานกล่าวว่าเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า


หนึ่งในหลักการของความเชื่อ คือ ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า อัล-กุรอานไม่เคยใช้คำว่า อัดลฺ ในความหมายของอะดาลัตของพระผู้เป็นเจ้าแม้แต่ครั้งเดียว แต่ได้อธิบายในเชิงปฏิเสธว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงกดขี่หรือเอาเปรียบบุคคลหรือสิ่งใดแม้แต่นิดเดียว อัลกุรอานกล่าวว่าเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม


إِنَّ اللّهَ لاَ يَظْلِمُ النَّاسَ شَيْئًا وَلَكِنَّ النَّاسَ أَنفُسَهُمْ يَظْلِمُونَ

แท้จริงอัลลอฮฺไม่ทรงอธรรมแก่มนุษย์แต่อย่างฝใด แต่ว่ามนุษย์ต่างหากที่อธรรมตัวของพวกเขาเอง[๑]

การทดสอบต่าง ๆ ที่ได้เกิดกับมนุษย์ ไม่มีสิ่งใดขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้าแม้แต่นิดเดียว เนื่องจากการทดสอบและบะลาอฺแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทกล่าวคือ

๑. บะลาอฺเกิดจากน้ำมือและการงานของมนุษย์อัล-กุรอานกล่าวว่า


وَمَا أَصَابَكُم مِّن مُّصِيبَةٍ فَبِمَا كَسَبَتْ أَيْدِيكُمْ وَيَعْفُو عَن كَثِيرٍ

และเคราะห์กรรมอันใดที่ประสบแก่พวกเจ้า ก็เนื่องด้วยน้ำมือของพวกเจ้าได้ขวนขวาย และพระองค์ทรงอภัย (ความผิดให้) มากต่อมากแล้ว[๒]


ظَهَرَ الْفَسَادُ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ بِمَا كَسَبَتْ أَيْدِي النَّاسِ

ความอนาจารได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ จากน้ำมือของมนุษย์ที่ขวนขวายไว้ [๓]

๒. บะลาอฺบางอย่าง อัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นผู้ประทานลงมา ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนดังนี้

๒.๑. บะลาอฺสำหรับบรรดาพวกกดขี่ทั้งหลาย เพื่อเป็นการตักเตือนหรือเป็นทานบนเพื่อให้คิดอัล-กุรอานกล่าวว่า

كَذَلِكَ نَبْلُوهُم بِمَا كَانُوا يَفْسُقُونَ

ในทำนองนั้นแหละที่เราได้ทดสอบพวกเขา เนื่องจากพวกเขาได้ฝ่าฝืน[๔]

๒.๒. พระองค์ได้ประทานแก่บรรดาผู้ศรัทธาโดยมีประสงค์เพื่อการทดสอบ อัล-กุรอานกล่าวว่า


وَلِيُبْلِيَ الْمُؤْمِنِينَ مِنْهُ بَلاء حَسَناً إِنَّ اللّهَ سَمِيعٌ عَلِيمٌ

พระองค์จะทรงทดสอบบรรดาผู้ศรัทธาด้วยความดีงามจากพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงได้ยินทรงรอบรู้[๕]

๒.๓ พระองค์ทรงประทานแก่บรรดาเอาลิยาอฺของพระองค์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการยกระดับฐานันดรของพวกเขา อัล-กุรอานกล่าวว่า


وَإِذِ ابْتَلَى إِبْرَاهِيمَ رَبُّهُ بِكَلِمَاتٍ فَأَتَمَّهُنَّ قَالَ إِنِّيجَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا

และจงรำลึกถึง ขณะที่พระผู้อภิบาลของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยพระบัญชาบางประการ แล้วเขาได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่าแท้จริงฉันจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ[๖]

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงการทดสอบทั้ง ๓ ประการว่า

البلاء للظالم أدب و للمؤ من امتحان و للا نبياء درجة

บะลาอฺสำหรับผู้กดขี่คือการตักเตือน สำหรับมุอฺมินคือการทดสอบ และสำหรับอัมบิยะฮฺ (บรรดาศาสดา) คือฐานันดร

 พระผู้เป็นเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการกดขี่

وَمَا اللَّهُ يُرِيدُ ظُلْمًا لِّلْعِبَادِ

อัลลอฮฺ ไม่ประสงค์ที่จะกดขี่บ่าวคนใด[๗]

لَهُ مُلْكُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَإِلَى اللَّهِ تُرْجَعُ الأمُورُ

อำนาจอันเด็ดขาดแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นเป็นสิทธิ์ของพระองค์ และการงานทั้งหลายถูกให้กลับไปยังอัลลอฮ.เท่านั้น[๘]

โองการแรกได้กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงประสงค์ที่จะกดขี่ ส่วนโองการที่สองได้กล่าวถึงประเด็นหนึ่ง อันเป็นข้อคิดว่าการกดขี่และการเอาเปรียบทั้งหลาย จะไม่ออกมาจากพระองค์อย่างเด็ดขาด เนื่องจากพระองค์คือผู้ทรงมีกรรมสิทธิ์เหนือสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิตบนโลกนี้ และพระองค์ทรงมีสิทธิ์ใช้สิ่งเหล่านั้นตามที่พระองค์ทรงประสงค์ในฐานะของผู้ทรงสิทธิ์ดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ การกดขี่จึงไม่มีความหมายสำหรับพระองค์ เพราะการกดขี่ หรือการเอาเปรียบคือ การละเมิดสิทธิ์ใช้ทรัพย์สิน หรือสินของผู้อื่น ฉะนั้น การกดขี่และการเอาเปรียบจึงไม่มีความหมายสำหรับพระองค์

 ความชั่วทั้งหลายเกี่ยวข้องกับพระองค์ไหม?


وَإِن تُصِبْهُمْ حَسَنَةٌ يَقُولُواْ هَـذِهِ مِنْ عِندِ اللّهِ وَإِن تُصِبْهُمْ سَيِّئَةٌ يَقُولُواْ هَـذِهِ مِنْ عِندِكَ قُلْ كُلًّ مِّنْ عِندِ اللّهِ

หากมีความดีใดประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็จะกล่าวว่าสิ่งนี้มาจากอัลลอฮฺ และหากมีความชั่วใดประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็จะกล่าวว่า สิ่งนี้มาจากเจ้า จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ทุกอย่างนั้นมาจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น[๙]


مَّا أَصَابَكَ مِنْ حَسَنَةٍ فَمِنَ اللّهِ وَمَا أَصَابَكَ مِن سَيِّئَةٍ فَمِن نَّفْسِكَ

ความดีใดที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากอัลลอฮฺ และความชั่วใดที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวของเจ้าเอง[๑๐]

คำถามทำไมโองการแรกจึงกล่าวว่าความดีและความชั่วทั้งหลายเกี่ยวข้องกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ส่วนโองการที่สองได้จำกัดว่าเฉพาะความดีเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ ส่วนความชั่วเป็นของมนุษย์

คำตอบ ถ้าหากทำการวิเคราะห์ถึงความชั่วทั้งหลายจะเห็นว่ามีสองลักษณะ กล่าวคือความชั่วในเชิงบวก กับความชั่วในเชิงลบ ซึ่งในเชิงลบนั้นเองที่ได้ถ่ายทอดภาพลักษณ์ของความชั่วออกมาในภาพที่ น่ารังเกียจ น่ากลัว ตัวอย่าง จะเห็นว่ามนุษย์เราถูกฆ่าตายด้วยอาวุธร้ายแรง หรืออาวุธธรรมดาทั้งที่ไม่มีความผิด เหมือนกับว่าผู้คนเหล่านั้นได้กระทำความผิดพวกเขาจึงถูกฆ่าตาย ที่นี้ลองมาพิจารณาถึงตัวการ และสาเหตุที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ฆ่ากัน ซึ่งหนึ่งในตัวการเหล่านั้นคือ อำนาจและความคิดของมนุษย์ อำนาจของมนุษย์เป็นอาวุธร้ายแรงชนิดหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าทั้งในเชิงบวกและลบ ความถูกต้อง การหยิบฉวยโอกาส ผลทีเกิดจากการยิงอาวุธออกไป ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นความชั่วในเชิงบวก เนื่องจากว่าสามารถเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกและสังคมได้ และที่สำคัญถ้านำไปใช้อย่างถูกวิธีในที่ ๆ ของมัน แน่นอนสามารถแก้ใขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย

มีเพียงด้านเดียวที่เป็นความชั่วในเชิงลบ นั่นคืออำนาจ อาวุธ ตลอดจนสติปัญญาของมนุษย์ถูกใช้ไปอย่างไม่ถูกที่ และไม่ถูกวิธี เช่น แทนที่สิ่งเหล่านี้จะเป็นสื่อในการป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้าย หรือคนชั่วที่คิดจะสังหารชีวิตคนอื่นกับมาเป็นอันตรายที่คร่าชีวิตของผู้คนที่ไม่มีความผิด ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า การที่บอกว่าความดีงามทั้งหลายเกี่ยวข้องกับอัลลออฺ (ซบ.) นั้น เนื่องจากว่าแหล่งที่มาของอำนาจทั้งหลาย หรือแม้แต่อำนาจที่ใช้ไปในหนทางที่ไม่ถูกต้องก็มาจากพระองค์เช่นกัน ส่วนโองการที่สองที่กล่าวว่าความชั่วร้ายมาจากมนุษย์ นั้นต้องการบอกว่า ความชั่วในเชิงลบนั้นเกิดจากการนำอำนาจและความเมตตาของพระองค์ไปใช้ในทางลบสวนทางกับสิ่งที่เป็นพระประสงค์ของพระองค์

เหมื่อนกับพ่อได้เอาสตางค์ให้ลูกเพื่อนำไปสร้างอาคาร หรือที่อยู่อาศัย แต่ลูกกลับนำเอาสตางค์เหล่านั้นไปใช้ในหนทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นเที่ยวเตร่ หรือซื้อสิ่งมึ่นเมา หรือนำไปเสพยาเสพติดเป็นต้น ซึ่งการทำเช่นนี้ ไม่มีความคลางแคลงใจว่าสตางค์นั้นมาจากพ่อ แต่การนำไปใช้ไม่ถูกหนทางและก่อให้เกิดความชั่วนั้นมาจากตัวเขาเอง

 ความชั่วของมนุษย์เป็นสาเหตุทำให้ถูกห้ามจากความดีงาม

อัลกรอานกล่าวว่า ความดีต่าง ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากอัลลอฮฺ ส่วนความชั่วต่าง ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวเจ้าเอง

ในทัศนะของพระผู้เป็นเจ้าสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า พระองค์ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งอย่างสวยงาม ส่วนในทัศนะของอัล-กุรอานทุกสรรพสิ่งที่ถูกเรียกว่าเป็น สรรพสิ่ง (ซัยอุน) ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างจากพระองค์ทั้งสิ้น ดังนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระองค์คือ การสร้างของพระองค์จะไม่แยกออกจากสิ่งที่สวยงาม ส่วนสิ่งที่ไม่สวยงามและน่าเกียจนั้นเป็นเพราะว่าขาดความสมบูรณ์มิใช่การสร้างของพระองค์ และสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ถูกห้ามจากความดีงามทั้งหลายของพระองค์ นั้นมาจากมนุษย์และสังคม

การสร้างและความสวยงามเป็นสองสิ่งที่มีความสำคัญต่อกันและกัน ทุกสรรพสิ่งในฐานะที่เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ภาพลักษณ์ที่แท้จริงที่ปรากฏภายนอกคือความสวยงาม แม้ว่าจะมีความน่าเกียจผ่านมาบนสรรพสิ่งเหล่านั้นและมองว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ นั่นเป็นเพราะว่าความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นที่มีต่อสิ่งอื่น ซึ่งอยู่นอกตัวตนของมัน และไม่เกี่ยวข้องกับสภาพการมีอยู่ที่แท้จริงเมื่อสัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.)

เป็นที่ชัดเจนว่าเมื่อใดก็ตามถ้าพระองค์กล่าวถึงความชั่ว การกดขี่ ความผิดทั้งหลายหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ต้องเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง หมายความว่า ไม่มีมนุษย์คนใดพร้อมความผิดของเขาเมื่อรวมกันแล้วเป็นสิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ (ซบ.) เฉพาะตัวเขาเท่านั้นที่เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ส่วนความผิดของเขาไม่เกี่ยวข้องกับพระองค์แต่อย่างใด

อีกนัยหนึ่ง ดังคำกล่าวของนักปราชญ์ที่ว่า โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ส่วนที่ตรงกับดวงอาทิตย์จะเป็นกลางวันที่มีความสว่างไสว ส่วนอีกด้านหนึ่งที่มืด นั่นเป็นเพราะว่าหันหลังให้ดวงอาทิตย์ ไม่ได้หมายความว่าดวงอาทิตย์ปราศจากแสง ดวงอาทิตย์ยังส่องแสงอยู่ตลอดเวลา และโลกที่สว่างก็เป็นเพราะว่าได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ได้มีแสงเป็นของตนเอง ส่วนความมืดของโลกเป็นเพราะความบกพร่องของโลกที่ไม่อาจรับแสงอาทิตย์ได้ ความสมบูรณ์ของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันได้รับมาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ส่วนความบกพร่องเกิดจากตัวมนุษย์เอง

ความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับความยุติธรรม


وَرَفَعَ بَعْضَكُمْ فَوْقَ بَعْضٍ دَرَجَاتٍ لِّيَبْلُوَكُمْ فِي مَا آتَاكُمْ

และได้ทรงเทิดบางคนของพวกเจ้าเหนือกว่าอีกบางคนหลายขั้น เพื่อที่พระองค์จะทรงทดสอบพวกเจ้าในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานแก่พวกเจ้า[๑๑]

ไม่มีความคลางแคลงใจที่ว่าในหมู่มนุษย์มีความแตกต่างและมีระดับชั้นไม่เหมือนกัน นั้นเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการได้เปรียบของชนกลุ่มหนึ่งทึ่มีต่อชนอีกกลุ่มหนึ่ง เช่น คนรวยกับคนยากจนในสังคม คนรวยย่อมมีโอกาสที่ดีกว่าไม่ว่าจะเป็นการเป็นอยู่ การศึกษา หรืออาชีพการงาน ส่วนคนจนย่อมด้อยโอกาสไปตามลำดับ แน่นอนสิ่งเหล่านี้ไม่มีวันที่จะเท่าเทียมกัน และไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า แม้ว่าในสังคมจะให้ความสำคัญกับความยุติธรรม กระนั้นคนในสังคมก็ยังไม่เท่าเทียมกันอยู่ดีไม่ว่าจะเป็นความสามารถ ความคิด หรือรสนิยม

ถ้าหากคนในสังคมอิสลามเท่าเทียมกัน หรือมีฐานะและความสามารถในระดับเดียวกัน ประหนึ่งภาชนะที่ออกมาจากโรงงานเดียวกันมีรูปร่างเหมือนกันทั้งหมด สังคมนั้นย่อมเปรียบเสมือนสังคมที่ตายแล้ว เพราะไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีจิตวิญญาณ และปราศจากความสมบูรณ์

สาเหตุที่พระผู้เป็นทรงไม่ลงโทษพวกกดขี่บนโลกนี้

เป็นเพราะว่าโลกไม่สามารถรองรับโทษกรรมของพวกกดขี่ได้ เนื่องจากการกดขี่ของคนบางพวกนั้นรุนแรงและเกินขอบเขตที่โลกจะรองรับได้ เช่น บางกลุ่มชนได้รับการกดขี่ถูกสังหารอย่างไม่เป็นธรรม หรือสิทธิของพวกเขาถูกฉ้อฉล เหมือนกับพีน้องมุสลิมในปาเสลไตน์ หรืออีรักที่ประสบอยู่ในปัจจบัน ดังนั้นถ้าจับตัวการคนเดียวมาลงโทษ สิทธิของคนอื่นก็จะถูกทำลายไปหมดสิ้น

อัล-กุรอานกล่าวว่า ถ้าหากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงลงโทษพวกกดขี่บนโลก จะไม่มีบุคคลใดหลงเหลืออยู่บนโลกอีกต่อไป โดยกล่าวว่า

وَلَوْ يُؤَاخِذُ اللّهُ النَّاسَ بِظُلْمِهِم مَّا تَرَكَ عَلَيْهَا مِن دَآبَّةٍ

และหากอัลลอฮฺจะทรงลงโทษมนุษย์เนื่องจากความอธรรมของพวกเขา พระองค์จะไม่ทรงให้เหลืออยู่บนโลก แม้สัตว์สักตัว[๑๒]

ถ้าหากพิจารณาถึงการกดขี่จะเห็นว่าไม่มีมนุษย์คนใดบนโลกที่ไม่กดขี่ ทุกคนล้วนเป็นคนกดขี่ทั้งสิ้นไม่กดขี่คนอื่น ก็กดขี่ตัวเองไปตามลำดับ ดังนั้น ถ้ามีการลงโทษอย่างเร่งด่วนจะไม่มีมนุษย์คนใดหลงเหลืออยู่อีกต่อไป นอกจากบรรดาศาสดา และอิมามผู้ปราศจากความผิดบาปเท่านั้น




อ้างอิง

[๑] ยูนุซ / ๔๔

[๒] อัซซูรอ / ๓๐

[๓] อัร-โรม / ๔๑

[๔] อัล-อะอฺรอฟ / ๑๖๓

[๕] อัมฟาล / ๑๗

[๖] อัล-บะเกาะเราะฮฺ / ๑๒๔

[๗] อัล-ฆอฟิร / ๓๑

[๘] อัล-ฮะดีด / ๕

[๙] อัน-นิซาอฺ / ๒๘

[๑๐] อัน-นิซาอฺ / ๒๙

[๑๑] อัน-อาม / ๑๖๕

[๑๒] อัน-นะฮฺลิ / ๖๑


ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อิมามฮุเซน (อ) ...
ชีวประวัติศาสดาแห่งอิสลาม ...
ทำไมชีอะฮ์จึงเรียกลูกๆ ...
...
อภัยทาน
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
...
...
...

 
user comment