ไทยแลนด์
Thursday 28th of March 2024
0
نفر 0

การเชิญชวนสู่อิสลามบนพื้นฐานของตรรกะ

การเชิญชวนสู่อิสลามบนพื้นฐานของตรรกะ ข้อเคลือบแคลงสงสัยประการหนึ่ง ที่ศัตรูของอิสลามพยายามที่จะหยิบยกและนำเสนอใน โซเชียลมีเดียหรือสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตและองค์กรต่างๆ
การเชิญชวนสู่อิสลามบนพื้นฐานของตรรกะ

การเชิญชวนสู่อิสลามบนพื้นฐานของตรรกะ

 

ข้อเคลือบแคลงสงสัยประการหนึ่ง ที่ศัตรูของอิสลามพยายามที่จะหยิบยกและนำเสนอใน โซเชียลมีเดียหรือสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตและองค์กรต่างๆ นั่นก็คือ พระเจ้าเรียกร้องเชิญชวนมนุษยชาติไปสู่อิสลามด้วยการบีบบังคับกระนั้นหรือ? เพื่อที่จะตอบข้อเคลือบแคลงสงสัยนี้ ในเบื้องต้นจำเป็นที่เราจะต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า โดยพื้นฐานแล้วเป็นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะบีบบังคับบุคคลอื่นให้มีศรัทธาและ เชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง?

 

 ความศรัทธา (อีหม่าน) และความเชื่อนั้นเป็นเรื่องภายในของหัวใจ และเรื่องของหัวใจนั้นไม่สามารถที่จะบังคับกันได้ ไม่มีใครที่จะสามารถใช้กำลังหรือการข่มขู่เพื่อบีบบังคับผู้อื่นให้เชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ แม้เป็นไปได้ว่าบางทีด้วยผลของการข่มขู่และความกลัวอาจจะทำให้เขาผู้นั้น แสดงออกทางภายนอกว่าศรัทธาและเชื่อมั่น แต่ความศรัทธาที่แท้จริงในหัวใจนั้นไม่อาจที่จะเกิดขึ้นด้วยวิธีการดังกล่าวได้อย่างแน่นอน

 

  เช่นเดียวกับความรัก และความเกลียดชัง ซึ่งเป็นเรื่องของหัวใจ และไม่สามารถที่จะบังคับใครให้รักตนเองได้ และด้วยเหตุนี้เองที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า

 

لَا إِكْرَاهَ فِي الدِّينِ  قَدْ تَبَيَّنَ الرُّشْدُ مِنَ الْغَيِّ

 

“ไม่มีการบังคับใดๆ ในศาสนา แน่นอน ความถูกต้องนั้นเป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจากความหลงผิด” (1)

 

 ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เช่นกัน ที่ในคัมภีร์อัลกุรอาน พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ทรงตรัสต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ว่า

 

وَ لَوْ شَاءَ رَبُّكَ لاَمَنَ مَن فىِ الْأَرْضِ كُلُّهُمْ جَمِيعًا أَ فَأَنتَ تُكْرِهُ النَّاسَ حَتىَ يَكُونُواْ مُؤْمِنِين

 

“และ หากพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงประสงค์แล้ว แน่นอน ผู้ที่อยู่ในแผ่นดินทั้งมวลจะศรัทธา เจ้าจะบังคับหมู่ชนเพื่อให้พวกเขาเป็นผู้ศรัทธากระนั้นหรือ” (2)

 

คัมภีร์ อัลกุรอานโองการนี้ได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า หากพระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์แล้ว พระองค์ก็ทรงสามารถที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนกลายเป็นผู้ศรัทธาโดยการบังคับ (ญับร์) ด้วยเดชานุภาพและมหิทธานุภาพของพระองค์ แต่ทว่าพระองค์ทรงประสงค์ที่จะให้มนุษย์จำแนกแยกแยะแนวทางที่ถูกต้องออกจาก แนวทางที่ผิดพลาดด้วยเจตจำนงเสรี (อิคติยาร) ของตนเอง และทรงประสงค์ที่จะให้พวกเขาย่างก้าวไปบนเส้นทางแห่งความสำเร็จและความผาสุก ไพบูลย์ บนพื้นฐานของวิสัยทัศน์ ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง เจตจำนงเสรีและเสรีภาพ

 

 ในอีกโองการหนึ่ง พระองค์ทรงตรัสต่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า

 

لَعَلَّكَ بَاخِعٌ نَّفْسَكَ أَلَّا يَكُونُواْ مُؤْمِنِين* إِن نَّشَأْ نُنزَّلْ عَلَيهم مِّنَ السَّمَاءِ ءَايَةً فَظَلَّتْ أَعْنَاقُهُمْ لها خَاضِعِين

 

“บางทีการที่พวกเขาไม่ศรัทธานั้น อาจทำให้เจ้าถึงกับจะเป็นผู้ทำลายชีวิตของเจ้าเอง หากแม้นเราประสงค์ เราก็จะให้มีสัญลักษณ์หนึ่งจากฟากฟ้าลงมายังพวกเขา แล้วคอของพวกเขาก็ยอมก้มแสดงความนบนอบต่อมัน” (3)

 

จาก โองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นสามารถสรุปได้เป็นอย่างดีว่า ตรรกะของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) คือการแนะนำตักเตือนที่ดีงาม ไม่ใช่การบีบบังคับและการใช้อำนาจข่มขู่ ท่านพยายามที่จะชี้นำทางประชาชนด้วยวิธีการที่ดีที่สุด คัมภีร์อัลกุรอานเองได้กล่าวว่า

 

 ادْعُ إِلى سَبيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَ الْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَ جادِلْهُمْ بِالَّتي هِيَ أَحْسَن

 

“จง เรียกร้องเชิญชวนสู่แนวทางของพระผู้อภิบาลของเจ้าด้วยวิทยปัญญา และการตักเตือนที่ดีงาม และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีงามยิ่งกว่า” (4)

 

ท่านศาสตราจารย์ชะฮีดมุรตะฎอ มุเฏาะฮ์ฮะรี กล่าวว่า

 

 “ประเด็นนี้ถูกหยิบยกและตั้งเป็นปมคำถามอยู่บ่อยครั้งที่ว่า ศาสนาอิสลามนั้น การเรียกร้องเชิญชวนของมัน อาศัยกำลังและการบีบบังคับ หรือว่าอาศัยตรรกะและเจตจำนงเสรี”

 

 และนี้คือสิ่งที่บรรดาบาทหลวงชาว คริสต์ (ยิ่งไปกว่านั้นชาวตะวันตกทั้งหลาย) ได้ทำการโหมโฆษณาชวนเชื่อเป็นพิเศษในประเด็นนี้ ถึงขั้นที่ว่าพวกเขาได้กล่าวขานถึงอิสลามว่า “อิสลามคือศาสนาที่เกิดจากคมดาบ”

 

อิสลามเป็นศาสนา (แห่งความรุนแรง) ที่จะอาศัยดาบเพียงเท่านั้น... และแม้แต่ในหนังสือบางเล่มของพวกเขา ก็ได้แสดงการหมิ่นประมาทต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และพวกเขาได้เขียนการ์ตูนล้อเลียนต่างๆ ในรูปของบุรุษผู้ซึ่งในมือข้างหนึ่งถือคัมภีร์อัลกุรอาน และในมืออีกข้างหนึ่งถือดาบ และยืนอยู่เหนือศีรษะของผู้คนทั้งหลาย (และปัจจุบันระเบิดนิวเคลียร์ถูกใช้แสดงแทนดาบเคียงคู่กับคัมภีร์อัลกุรอาน) ซึ่งต้องการจะสื่อความหมายว่า พวกท่านจงศรัทธาต่อคัมภีร์อัลกุรอานเล่มนี้ หรือมิเช่นนั้นเราก็จะบั่นคอของพวกท่านด้วยดาบนี้ (หรือเราจะทำลายพวกท่านด้วยระเบิดนิวเคลียร์)

 

 และนับเป็นความโชคร้าย ที่บางครั้งชาวมุสลิมเองก็จะพูดคำพูดต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์และไม่สอดคล้องคัมภีร์อัลกุรอาน แต่ไปสอดคล้องกับคำพูดต่างๆ ของบรรดาศัตรู กล่าวคือ คำพูดซึ่งด้านหนึ่งของมันนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่พวกเขาได้ตีความและอรรถาธิบายเป็นอย่างอื่น และกลายเป็นเหตุผลข้ออ้างที่ไปอยู่ในมือของพวกเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะกล่าวว่า “อิสลามเจริญก้าวหน้าด้วยกับสองสิ่ง คือด้วยกับทรัพย์สมบัติของท่านหญิงคอดิญะฮ์และด้วยกับดาบของท่านอะลี (อ.)” กล่าวคือ ด้วยกับความมั่งคั่งและการใช้กำลังบีบบังคับ ถ้าหากศาสนาเจริญก้าวหน้าด้วยกับความมั่งคั่งและการใช้กำลังบีบบังคับแล้ว ศาสนาดังกล่าวนั้นควรจะเป็นศาสนาประเภทใดกัน?! แต่ทว่าคัมภีร์อัลกุรอานไม่มีแม้แต่เพียงที่เดียวที่จะกล่าวว่า “ศาสนาอิสลามได้รับความเจริญก้าวหน้าและแผ่ขยายด้วยกับความมั่งคั่งและการใช้กำลังบีบบังคับ...” (5)

 

 

แหล่งอ้างอิง :

 

[1] ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์/อายะฮ์ที่ 256

[2] ซูเราะฮ์ยูนุส/อายะฮ์ที่ 99

[3] ซูเราะฮ์อัชชุอะรออ์/อายะฮ์ที่ 3 และ 4

[4] ซูเราะฮ์อันนะฮ์ลิ/อายะฮ์ที่ 125

[5] ซีเรเย นะบะวี, ชะฮีดมุเฏาะฮ์ฮะรี, หน้าที่ 138


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อรรถาธิบายดุอาอ์ประจำวันที่ 10 ...
โองการวิลายัต ...
1 ซุลฮิจญะฮ์ ...
การผ่าดวงจันทร์ ...
...
การไว้วางใจในพระเจ้า
ทำไม อิบลิส (ซาตาน) ...
ดุอากุเมล มรดกอันล้ำค่า
อัล-กุรอาน, ...
ความสำคัญของบิสมิลลาฮ์ ...

 
user comment