ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

อย่าแสวงหาความพึงพอใจจากมนุษย์บนความโกรธกริ้วของอัลลอฮ์

อย่าแสวงหาความพึงพอใจจากมนุษย์บนความโกรธกริ้วของอัลลอฮ์ قال رسولُ اللهِ(صلى الله علیه وآله) : مَن أرْضى سُلْطاناً بما یُسْخِطُ اللهَ خَرَجَ مِنْ دِینِ اللهِ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ใครก็ตามที่ทำให้ผู้ปกครองพึงพอใจด้วยสิ่งที่ทำให้อัลลอฮ์ทรงพิโรธ เขาได้ออกจากศาสนาของอัลลอฮ์แล้ว”
อย่าแสวงหาความพึงพอใจจากมนุษย์บนความโกรธกริ้วของอัลลอฮ์


อย่าแสวงหาความพึงพอใจจากมนุษย์บนความโกรธกริ้วของอัลลอฮ์

    Email

0 ทัศนะต่างๆ 0.0 / 5

บทความต่างๆ ›
จริยธรรมและดุอา ›
บทความจริยธรรม    

จัดพิมพ์ใน
    2016-03-26 13:03:43
ผู้เขียน:
    เว็บไซต์ซอฮิบซะมาน

อย่าแสวงหาความพึงพอใจจากมนุษย์บนความโกรธกริ้วของอัลลอฮ์

 

قال رسولُ اللهِ(صلى الله علیه وآله) : مَن أرْضى سُلْطاناً بما یُسْخِطُ اللهَ خَرَجَ مِنْ دِینِ اللهِ

 

      ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ใครก็ตามที่ทำให้ผู้ปกครองพึงพอใจด้วยสิ่งที่ทำให้อัลลอฮ์ทรงพิโรธ เขาได้ออกจากศาสนาของอัลลอฮ์แล้ว”

 

(ตุฮะฟุลอุกูล ฮิกมะฮ์ที่ 172)

 

       เพื่อจะให้มนุษย์คนหนึ่งพึงพอใจในตัวเองนั้น เขาได้ทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงโกรธกริ้วเขา กล่าวคือ เขาคิดว่ามนุษย์ผู้นั้นมีผลกระทบต่อชะตาชีวิตของเขามากกว่า และให้ความสำคัญต่อสิ่งถูกสร้างมากกว่าการให้ความสำคัญต่อพระผู้สร้างของเขา

 

      ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) อีกบทหนึ่ง ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า

 

مَنْ طَلبَ رِضَى مَخْلوقٍ بِسَخَطِ الخَالِقِ سَلَّط اللَّهُ عزَّوجَلّ علیهِ ذلِك المَخْلوق

 

“ผู้ใดที่แสวงหาความพึงพอใจจากมนุษย์ (ผู้ถูกสร้าง) ด้วยความโกรธกริ้วของพระผู้สร้าง อัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติและทรงเกรียงไกรจะทรงทำให้มนุษย์ผู้นั้นมีอำนาจเหนือเขา”

 

(ตุฮะฟุลอุกูล ฮิกมะฮ์ที่ 132)

 

สภาพเช่นนี้ คือลักษณะหนึ่งของการตั้งภาคี

 

      เราจะต้องรับรู้ว่า สภาพเช่นนี้คือลักษณะหนึ่งของการตั้งภาคี (ชิรก์) ต่อพระผู้เป็นเจ้า

 

คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า

 

وَمَا یُؤْمِنُ أَکْثَرُهُمْ بِاللَّهِ إِلَّا وَهُمْ مُّشْرِکُونَ

 

“และส่วนใหญ่ของพวกเขาจะไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ เว้นแต่พร้อมกันนั้น พวกเขาจะเป็นผู้ตั้งภาคี”

 

(อัลกุรอานบทยูซุฟ โองการที่ 106)

 

        กล่าวคือ ส่วนใหญ่ผู้ที่กล่าวอ้างตนว่าศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้านั้น พวกเขาคือผู้ตั้งภาคีต่อพระองค์ ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขาเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) ต่อสิ่งถูกสร้างและให้ความสำคัญต่อการดึงดูดความสนใจและความพึงพอใจต่อสิ่งถูกสร้างมากกว่าพระผู้เป็นเจ้า

 

       ในการอรรถาธิบายโองการนี้ มีฮะดีษ (วจนะ) บทหนึ่งจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านกล่าวว่า

 

إنّ أخْوَفَ ما أخافُ عَلَیکُمُ الشِّرْك الْأصْغَرُ، قالوا: وَمَا الشِّرْك الْأصْغَرُ یا رَسُولَ اللَّهِ؟

قال: الرِّیاءُ یقول اللَّهُ تَعالى یَوْمَ الْقِیامَةِ إذا جاءَ النّاسُ بأعمالِهِم: اذهَبُوا إلَى الَّذِینَ کُنْتُمْ تُراؤونَ فى الدُّنْیا،

فَانْظُروا هَلْ تَجِدُونَ عِنْدَهُم مِنْ جَزاءٍ؟

 

“แท้จริงสิ่งที่ฉันหวั่นกลัวมากที่สุดที่จะเกิดขึ้นกับพวกท่าน นั่นก็คือการตั้งภาคีเล็ก” บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ถามว่า “โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์! การตั้งภาคีเล็กนั้นคืออะไร” ท่านกล่าวว่า “คือการโอ้อวด (ริยาอ์) ในวันกิยามะฮ์ (ปรโลก) เมื่อมนุษย์ได้มาพร้อมกับการกระทำ (อะมั้ล) ต่างๆ ของพวกเขา อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งจะทรงตรัสว่า พวกเจ้าจงไปหาผู้ที่พวกเจ้าได้แสดงการโอ้อวดต่อพวกเขาในขณะที่อยู่ในโลกเถิด แล้วจงดูเถิดว่าพวกเจ้าจะพบเห็นผลรางวัลตอบแทนใดๆ ณ พวกเขาหรือไม่”

 

(ตัฟซีรนะมูเนะฮ์ เล่มที่ 10 หน้าที่ 91)

 

บุคคลที่แสวงหาปัจจัยดำรงชีพจากหนทางที่ต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ (ฮะรอม) เขาได้ตั้งภาคีเล็ก (ชิรก์ค่อฟี) ต่อพระผู้เป็นเจ้า กล่าวคือ เขาไม่เชื่อมั่นว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม โดยที่พระองค์จะทรงประทานปัจจัยดำรงชีพแก่เขาจากหนทางที่อนุมัติ (ฮะลาล)

 

ความพึงพอใจของสิ่งถูกสร้าง (มนุษย์) ภายใต้ร่มเงาแห่งความพึงพอพระทัยของพระผู้เป็นเจ้า

 

        สิ่งที่สำคัญก็คือ หัวใจจะต้องสะอาดบริสุทธิ์จากการตั้งภาคีเหล่านี้ เพื่อที่แสงแห่งศรัทธาและการยอมรับในเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า (เตาฮีด) จะได้ส่องประกายในหัวใจดังกล่าว ในการกระทำใดๆ ก็ตามจำเป็นที่เราจะต้องพิจารณาใคร่ครวญให้ดีว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงพึงพอพระทัยในสิ่งนั้นหรือไม่ ไม่ใช่ดูว่าคนอื่นๆ จะพึงพอใจหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากว่า หากเรายึดเอาความพึงพอพระทัยของพระผู้เป็นเจ้าเป็นบรรทัดฐาน ความพึงพอใจของสิ่งถูกสร้างของพระผู้เป็นเจ้าจะต้องเกิดขึ้นภายใต้ความพึงพอพระทัยของพระองค์

 

       ในบางริวายะฮ์ (คำรายงาน) ที่มาอรรถาธิบายโองการที่ 106 ของซูเราะฮ์ยูซุฟ เราจะพบว่า จุดประสงค์ของการตั้งภาคีดังกล่าวคือการตั้งภาคีในการประทานเนี๊ยะอ์มัต (ความโปรดปราน) กล่าวคือ สิ่งที่มนุษย์ได้รับจากการประทานให้ของพระผู้เป็นเจ้า แต่มนุษย์กลับกล่าวว่า สิ่งนี้เขาได้รับมาจากมนุษย์คนนั้นคนนี้ หากไม่เป็นเพราะเขาฉันคงตายไปแล้ว หรือการดำเนินชีวิตของฉันคงจะต้องมอดม้วยและย่ำแย่เป็นแน่

 

        บุคคลเช่นนี้ได้ยึดเอาผู้อื่นเป็นหุ้นส่วนและภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้าในการประทานปัจจัยดำรงชีพและสิ่งอำนวยสุขต่างๆ

 

คุณค่าของการกระทำ (อะมั้ล) ขึ้นอยู่กับเจตนา (เหนียต)

 

        คุณค่าของทุกๆ การกระทำนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาและแรงบันดาลใจ กล่าวอีกสำนวนหนึ่งก็คือ ในทัศนะของอิสลาม รากฐานของทุกการกระทำของมนุษย์นั้นเกิดมาจากเจตนา (เหนียต) และนั่นก็จะต้องเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ด้วย

 

        ในฮะดีษ (วจนะ) อันเป็นที่รู้จักกันดีของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ที่ท่านกล่าวว่า

 

إنَّما الأعْمالُ بِالنِّیّاتِ، وَلِکُلِّ امْرِىءٍ مانَوى

 

“อันที่จริงการกระทำทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับเจตนา และแต่ละคนจะได้รับ (ภาคผล) ตามที่เขาเจตนา”

 

(มีซานุ้ลฮิกมะฮ์ เล่มที่ 10 หน้าที่ 277 ; วะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 35 ฮะดีษที่ 10)

 

        ในการอธิบายฮะดีษ (วจนะ) บทนี้ได้กล่าวว่า บุคคลที่ทำการต่อสู้ (ญิฮาด) เพื่อพระผู้เป็นเจ้านั้น รางวัลของเขาจะอยู่ ณ พระผู้เป็นเจ้า และผู้ใดก็ตามที่ทำการต่อสู้ (ญิฮาด) เพื่อสิ่งอำนวยสุขทางโลกนี้ กระทั่งว่าเขาจะทำการต่อสู้ด้วยเจตนา (เหนียต) เพื่อที่จะได้มาซึ่ง “อิกอล” (เชือกเล็กๆ ที่ใช้ผูกเท้าของอูฐ) สิ่งที่เขาจะได้รับก็คือสิ่งนั้นเพียงเท่านั้น

 

        ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพราะว่า “เจตนา” (เหนียต) นั้นจะเป็นตัวก่อรูปของการกระทำ (อะมั้ล) เสมอ ใครก็ตามที่กระทำสิ่งหนึ่งเพื่อพระผู้เป็นเจ้า ความพยายามทั้งหมดของเขาที่ทุ่มเทไปก็เพื่อที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการกระทำนั้นๆ ของเขามากกว่า แต่คนที่กระทำสิ่งหนึ่งเพื่อการโอ้อวดและเสแสร้งเพื่อให้ผู้คนเห็นนั้น เขามิได้ให้ความสำคัญและมิได้คำนึงว่าผู้อื่นจะได้รับประโยชน์จากมันหรือไม่

 

        สังคมที่เคยชินอยู่กับการเสแสร้งและโอ้อวด (ริยาอ์) นั้น ไม่เพียงแต่จะห่างไกลจากพระผู้เป็นเจ้า ห่างไกลจากจริยธรรมและคุณธรรมความดีเพียงเท่านั้น ทว่าแผนงานต่างๆ ทางด้านสังคมทั้งหมดของเขาจะเป็นสิ่งที่ว่างเปล่าจากเนื้อหาและคุณค่า

 

ริวายะฮ์ (คำรายงาน) ที่กล่าวประณามการโอ้อวด (ริยาอ์)

 

       ริวายะฮ์หรือคำรายงานต่างๆ ที่ตำหนิประณามการโอ้อวด (ริยาอ์) นั้นมีจำนวนมากมาย ตัวอย่างเช่น ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

 

سَیَأْتی عَلى النّاسِ زمانٌ تَخْبثُ فیهِ سَرائِرُهُمْ، وَتَحْسُنُ فِیهِ عَلانِیَتَهُم،

طَمَعاً فی الدُّنْیا، لایُریدونَ بِهِ ما عِنْدَ رَبِّهِمْ، یَکُونُ دِینُهُمْ رِیاءاً،

لایُخالِطُهُمْ خَوْفٌ، یَعُمُّهُمُ اللَّهُ بِعِقابٍ،

فَیَدْعُونَهُ دُعاءَ الغَریقِ فَلایَستَجیبُ لَهُمْ

 

“ในไม่ช้ายุคสมัยหนึ่งจะมาถึงประชาชน โดยที่จิตใจของพวกเขานั้นเสื่อมทราม ในขณะที่ภายนอกของพวกเขาดูสวยงาม ทั้งนี้เนื่องจากความหื่นกระหายในทางโลก พวกเขาจะไม่ปรารถนาผลรางวัลใด ณ องค์พระผู้อภิบาลของพวกเขา การมีศาสนาของพวกเขาก็เพียงเพื่อการโอ้อวด ความเกรงกลัวใดๆ จะไม่มีในหัวใจของพวกเขา อัลลอฮ์จะทรงทำให้การลงโทษปกคลุมพวกเขาทั้งหมด แม้พวกเขาจะวิงวอนขอต่อพระองค์เหมือนกับการวิงวอนขอของคนจมน้ำ แต่พระองค์ก็จะไม่ทรงตอบรับพวกเขา”

 

(อุซูลุลกาฟี เล่มที่ 2 บาบุรริยาอ์ ฮะดีษที่ 14)

 

         เช่นเดียวกันนี้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ยังได้กล่าวอีกว่า

 

إنَّ المُرائى یُدْعى یَوْمَ القِیَامَةِ بِأربعةِ أسْماء: یا کافِرُ! یا فاجِرُ! یا غادِرُ یا خاسِرُ!

حَبِطَ عَمَلُكَ، وَبَطَلَ أجْرُكَ، فَلا خَلاصَ لَكَ الْیَوم، فَالْتَمِسْ أجْرَكَ مِمَّن کُنْتَ تَعْمَلُ لَهُ

 

“แท้จริงผู้ที่โอ้อวดจะถูกเรียกในวันกิยามะฮ์ (ปรโลก) ด้วยชื่อ 4 ชื่อคือ โอ้ผู้ปฏิเสธ! โอ้คนชั่วช้า! โอ้คนเจ้าเล่ห์! โอ้ผู้ขาดทุน! การกระทำ (อะมั้ล) ของเจ้าได้สูญสลายไปแล้ว และรางวัลของเจ้าได้กลายเป็นโมฆะไปแล้ว วันนี้ไม่มีทางรอดพ้นสำหรับเจ้า ดังนั้นเจ้าจงวอนขอผลรางวัลของเจ้าจากบุคคลที่เจ้ากระทำอะมั้ลเพื่อ(โอ้อวด) เขาเถิด”

 

(วะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 51 ฮะดีษที่ 16)

 

ที่มา : บทเรียนจริยธรรมของท่านอายะตุลลอฮ์มะการิม ชีราซี (แปลและเรียบเรียง)

ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ดุอาประจำวันที่ 29 ...
คำว่า ฟิตนะฮ์ ในอัลกุรอาน
ทำไมอิสลามห้ามดื่มสุรา
ความเชื่อในมะฮ์ดี ...
กระซิบกระซาบพระองค์
...
...
มองเห็นอัลลอฮ์?!
ทำไมต้องอ่าน ...
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัลอัลอิคลาศ ...

 
user comment