ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

ฟะดักในประวัติศาสตร์อิสลาม

ฟะดักในประวัติศาสตร์อิสลาม หลังจากการพิชิตค็อยบัร ในปีฮิจเราะห์ศักราชที่ 7 ประมาณสี่ปีก่อนการเป็นชะฮีด (เสียชีวิต) ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ญิบรออีล (อ.) ได้ลงมาและนำบัญชาจากพระผู้เป็นเจ้ามาให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และท่านอมีรุ้ลมุอ์มิน (อ.) ให้ทำการพิชิตฟะดัก ท่านทั้งสองได้ไปยังแผ่นดินฟะดัก ในความมืดยามค่ำคืนพร้อมกับอาวุธที่จำเป็น และเป็นไปตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล
ฟะดักในประวัติศาสตร์อิสลาม

ฟะดักในประวัติศาสตร์อิสลาม


หลังจากการพิชิตค็อยบัร ในปีฮิจเราะห์ศักราชที่ 7 ประมาณสี่ปีก่อนการเป็นชะฮีด (เสียชีวิต) ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ญิบรออีล (อ.) ได้ลงมาและนำบัญชาจากพระผู้เป็นเจ้ามาให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และท่านอมีรุ้ลมุอ์มิน (อ.) ให้ทำการพิชิตฟะดัก ท่านทั้งสองได้ไปยังแผ่นดินฟะดัก ในความมืดยามค่ำคืนพร้อมกับอาวุธที่จำเป็น และเป็นไปตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) ได้เหยียบบนไหล่ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และท่านศาสดาได้ยืนขึ้น โดยแบกท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) ไว้บนไหล่ของท่าน ด้วยปาฏิหาริย์ (มุอ์ญิซะฮ์) แห่งพระผู้เป็นเจ้า ท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) ในขณะที่พกดาบของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ไปด้วยนั้น ท่านปีนขึ้นไปบนกำแพงป้อมปราการของตำบลฟะดัก และบนกำแพงนั้นเองท่านได้กล่าวอะซานด้วยเสียงดัง


ชาวยิวที่อยู่ในป้อมปราการคาดคิดว่ามุสลิมบุก เข้าโจมตีและกำลังอยู่บนกำแพงต่าง พวกเขาต้องการจะหลบหนีออกจากป้อมปราการโดยผ่านทางประตู แต่นอกป้อมปราการนั้นพวกเขาเห็นท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ยืนอยู่หน้าประตูเบื้องหน้าพวกเขา และอีกด้านหนึ่งท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) ได้ลงมาจากกำแพงและต่อสู้กับพวกเขา และสังหารแกนนำของพวกเขาไป 18 คน และส่วนที่เหลือต่างยอมจำนน


ท่านทั้งสองจับกุมตัวบรรดาสตรีและเด็กๆ ของพวกเขาเป็นเชลย และนำทรัพย์สินเชลยกลับไปกับท่านด้วย ท่านศาสดาประกาศว่า ชาวฟะดักคนใดก็ตามที่เข้ารับอิสลาม ท่านจะเรียกเก็บคุมส์จากทรัพย์สินของเขา (คือจำนวนหนึ่งในห้าของทรัพย์สิน) และใครก็ตามที่คงอยู่บนศาสนาเดิมของเขา ท่านจะยึดทรัพย์สินทั้งหมดของพวกเขา ดังนั้นโดยรูปการดังกล่าว ป้อมปราการแห่งฟะดักถูกพิชิตโดยไม่มีการจัดกองทัพใดๆ ทั้งสิ้น บรรดามุสลิมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ในเรื่องนี้เลยแม้แต่น้อย และตามโองการของซูเราะฮ์อัลฮัชรุ (1) แผ่นดินที่ถูกพิชิตโดยปราศจากการยาตราทัพของชาวมุสลิม หรือแม้กระทั่งการที่ชาวเมืองนั้นๆ ได้เข้ามาหาท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ด้วยการยอมจำนน ดินแดนเหล่านี้และทรัพย์สินเชลยรวมทั้งบรรดาเชลยจะเป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของ ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) สถานที่ให้บริการที่เฉพาะเจาะจงของท่านศาสดาเป็นเหมือนทรัพย์สินส่วนตัวของ ท่าน ที่ท่านสามารถจะตัดสินใจจัดการใดๆ กับมันก็ได้ ถ้วยรางวัลเป็นทรัพย์สินส่วนตัว พวกเขามิได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการตัดสินใจ และบรรดามุสลิมก็ไม่ได้สิทธิ์ใดๆ ในสิ่งเหล่านั้น

การมอบสวนฟะดักให้แก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์


หลังจากเหตุการณ์นี้ ญิบรออีล (อ.) ได้ลงมาและนำโองการนี้มายังท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ว่า


وَآتِ ذَا الْقُرْبَى حَقَّهُ

“และจงมอบแก่เครือญาติใกล้ชิดซึ่งสิทธิของเขา” (2)


ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ถามว่า “จุดประสงค์ของมันคือใคร” ญิบรออีลกล่าวโดยบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าว่า “จงมอบสวนฟะดักนี้แก่ฟาฏิมะฮ์ (อ.)” ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงกล่าวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทรงพิชิตสวนฟะดักให้กับพ่อของเธอ เนื่องจากกองทัพของอิสลามไม่ได้ทำการพิชิตมัน ดังนั้นมันจึงเป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของพ่อ พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาให้พ่อมอบมันแก่เธอ อีกด้านหนึ่ง มะฮัรของค่อดีญะฮ์ (อ.) มารดาของเธอ ก็ยังอยู่ในพันธะของพ่อของเธอด้วย และพ่อของเธอจะมอบมะฮัรของแม่ของเธอ พร้อมกับการปฏิบัติตามบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า จะมอบสวนฟะดักให้แก่เธอ เจ้าจงรับมันไว้เป็นของเธอและลูกๆ ของเธอ และจงครอบครองมันไว้เป็นกรรมสิทธิ์เถิด”
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) กล่าวว่า “ตราบที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็ยังคงมีอำนาจเหนือตัวข้าพเจ้าและทรัพย์สินของข้าพเจ้า” ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “พ่อเกรงว่า หากพ่อไม่มอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเธอในขณะที่พ่อยังมีชีวิตอยู่ คนที่ไม่ยึดมั่นในจรรยาบรรณจะยึดเอาเป็นเหตุผลข้ออ้างภายหลังจากที่พ่อไม่ อยู่แล้ว พวกเขาจะยับยั้งมันจากเธอ” ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้นพ่อก็จงกระทำในสิ่งที่เห็นว่าเหมาะสมเถิด” ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงเรียกท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) มาพบและกล่าวว่า “เจ้าจงเขียนเอกสารสวนฟะดักในฐานะทรัพย์สินที่มอบให้ของศาสดาและจงบันทึกมัน ไว้เถิด” ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เขียนบันทึก ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และท่านหญิงอุมมุอัยมันได้เป็นสักขีพยานในสิ่งนั้น และท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “อุมมุอัยมัน คือสตรีผู้หนึ่งจากชาวสวรรค์”


รายได้จากสวนฟะดัก


ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้เรียกรวมประชาชน ณ บ้านของท่านหญิงซะฮ์รอ (อ.) และบอกกับพวกเขาว่า สวนฟะดักเป็นกรรมสิทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) รายได้จากสวนฟะดักเธอจะจัดสรรในระหว่างประชาชนเนื่องจากมันถูกมอบให้กับท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) รายได้ต่อปีของสวนฟะดักนั้นจะอยู่ในระหว่างเจ็ดหมื่นเหรียญทองถึงหนึ่งแสน สองหมื่นเหรียญทอง ในทุกปีสายตาของผู้ยากจนขัดสนจำนวนมากต่างจับจองรอรับรายได้จากสวนฟะดัก


การแย่งชิงสวนฟะดัก


หลังจากการเสียชีวิต (วะฟาต) ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) บรรดาเจ้าหน้าที่ของอบูบักร โดยคำสั่งของเขา ได้ขับไล่ตัวแทนของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ออกจากสวนฟะดักและยึดครองกรรมสิทธิ์ และใช้จ่ายรายได้ที่ได้จากสวนนั้นทั้งหมดไปกับรัฐบาลที่ฉกชิงมาของเขา
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) นำเอาบันทึกและเอกสารสวนฟะดักที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้สั่งให้ท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) เขียนบันทึกไว้ มาให้อบูบักรดู แต่อบูบักรไม่ยอมรับทั้งเอกสารและไม่ยอมรับทั้งสักขีพยาน (3)

หลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นชะฮีด (เสียชีวิต) ผ่านไป 15 วัน ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ได้ไปยังมัสยิดพร้อมกับสตรีจำนวนหนึ่งจากบนีฮาชิม และกล่าวธรรมเทศนา (คุฏบะฮ์) ซึ่งนับว่าเป็นทะเลแห่งความรู้ คำสอน ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีความคมคายและเปี่ยมไปด้วยโวหารที่ครอบคลุมถึงบทบัญญัติต่างๆ ของอิสลามไว้ในนั้น
อบูบักรได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเขาได้มอบคืนสวนฟะดักให้ แก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) แต่ขณะที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะรอ (อ.) ถือเอกสารนั้นกลับไปยังบ้านของท่าน ท่านได้เผชิญหน้ากับอุมัร เขาได้แย่งชิงเอกสารที่เขียนโดยอบูบักรไปจากมือของท่านหญิงอย่างอาจหาญโดย ไม่ให้เกียรติ

 
เชิงอรรถ:

 [1] ซูเราะฮ์อัลฮัชรุ/อายะฮ์ที่ 6 – 7
[2] ซูเราะฮ์อัลอิสรออ์/อายะฮ์ที่ 26
[3] บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 21, หน้าที่ 22 3 25; และเล่มที่ 29, หน้าที่ 123


ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน

 


source : alhassanain
0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

ทำไมต้องกล่าวบิสมิลลาฮ์?
ท่านหญิงซัยนับ (อ.) ...
วันสำคัญในเดือนรอบีอุลเอาวัล
อะไรคือมุบาฮะละฮ์?
...
อรรถาธิบายซูเราะฮ์ อัลฆอชิยะฮ์
...
รอมฎอนคือเดือนแห่งอัลกุรอาน
...
ความสำคัญของบิสมิลลาฮ์ ...

 
user comment