ไทยแลนด์
Saturday 20th of April 2024
0
نفر 0

สถานภาพด้านความรู้ของอิมามอะลี (อ.)

สถานภาพด้านความรู้ของอิมามอะลี (อ.)

สำหรับการรู้จักท่านอิมามอะลีอะมีรุลมุอฺมินีน (อ.) นอกจากจะศึกษาได้จากประวัติศาสตร์แล้ว ยังสามารถศึกษาได้จากคำพูด

ของบุคคลต่างๆ ที่กล่าวถึงท่าน นับตั้งแต่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามะอฺซูม (อ.) บรรดาเซาะฮาบะฮฺ

บรรดานักปราชญ์ทั้งที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิม แน่นอนการที่จะกล่าวถึงบุคลิกภาพของท่านอิมามอะลี (อ.) ในทุกแง่ทุกมุม

ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากบุคลิกของท่านมีความสมบูรณ์ในทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความรู้ และวิชาการ ถือว่าท่านเป็น

องค์ความรู้ในวิชาการทุกด้านและทุกแขนง ดังที่ท่านศาสดากล่าวถึงท่านอิมามอะลีว่า ฉันคือนครแห่งความรู้อะลีคือประตูของท่าน ดังนั้นท่านอิมามอะลี (อ.) จึงเป็นคนเดียวที่เป็นตัวแทนประวัติศาสตร์ และเป็นผู้เก็บรักษาและแบกรับสาส์นของท่าน

ศาสดา (ซ็อล ฯ) เอาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาส์นด้านวิชาการ และความรู้ ท่านอิมาม (อ.) จึงกล่าวกับผู้คนเสมอว่าจงถามฉันซิก่อนที่ฉันจะไม่อยู่ในหมู่สูเจ้า

 

การใช้ประโยชน์ด้านความรู้และวิชาการจากศาสดา (ซ็อล ฯ)

ท่าน อิมามอะลี (อ.) อยู่กับท่านศาสดาตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้นมา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ศาสดา (ซ็อล ฯ) คือผู้เลี้ยงดูท่านอิมามอะลี (อ.) จนเติบใหญ่ อิมามจึงได้รับประโยชน์ด้านความรู้และวิชาการจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มาโดยตลอด การฟูมฟัก

วิชาการจากสถาบันนบูวัตของศาสดาที่มีต่ออิมามอะลี (อ.) จึงมิใช่เรื่องธรรมดา ท่านอิมามจึงกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

 

وَلَيْسَ كُلُّ أَصْحَابِ رَسُولِ اللهِ (صلى الله عليه وآله) مَنْ كَانَ يَسْأَلُهُ وَيَسْتَفْهِمُهُ، حَتَّى إِنْ كَانُوا لَيُحِبُّونَ أَنْ يَجِيءَ الاْعْرَابِيُّ أَوْ

الطَّارِىءُ، فَيَسَأَلَهُ (عليه السلام) حَتَّى يَسْمَعُوا، وَكَانَ لاَ يَمُرُّ بِي مِنْ ذلِكَ شَيْءٌ إِلاَّ سَأَلْتُ عَنْهُ وَحَفِظْتُهُ.

 

ไม่ได้เป็นเช่นนั้นที่ว่า บรรดาสาวกทั้งหมดของศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ถามสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากท่าน และต้องการความหมายอันแท้จริงของสิ่งนั้น เพราะมีบางกลุ่มชอบอาหรับเร่ร่อน หรือมีผู้ถามศาสดาแล้ว พวกเขาจะฟังคำตอบเหล่านั้น แต่สำหรับฉันแล้วนึกสิ่งใดได้ก็จะถามท่านศาสดา แล้วจดจำสิ่งนั้นไว้[1]

 

อิบนุ อบิลฮะดีด ผู้เขียนคำอธิบายนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ กล่าวว่า จงรู้ไว้เถิดว่าท่านอะมีรุลมุอฺมินีนนั้นมีความพิเศษสำหรับท่านศาสดา ซึ่งสาวกคนอื่นนั้นไม่มี ท่านอะลีอยู่กับท่านศาสดาในทุกที่และทุกเวลา ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้ว่าในช่วงเวลาที่ท่านทั้งสองอยู่ด้วยกันได้ถ่ายถอดความรู้ ใดบ้าง ท่านอะลีจะถามความหมายของอัล-กุรอาน วิชาการด้านเทววิทยาและด้านอื่นจากท่านศาสดา หรือถ้าท่านไม่ถามท่านศาสดาจะเป็นผู้สอนท่านเอง ขณะที่ไม่มีสาวกท่านใดมีลักษณะทำนองนี้เลย[2]

 

ซึ่งสามารถแบ่งบรรดาสาวกออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

 

1) บรรดาสาวกที่ไม่เคยถามคำถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แต่ชอบที่จะให้คนอื่นถาม พวกเขาจะได้ฟังและนำไปใช้ประโยชน์

2)  สาวกบางกลุ่มมีความเข้าใจน้อย และไม่มีความอดทนในการใฝ่หาความรู้

3) สาวกบางกลุ่มมุ่งมั่นอยู่กับการแสดงความเคารพภักดีพระเจ้า (อิบาดะฮฺ) จนลืมโลกและการแสวงหาความรู้

4) สาวกบางกลุ่มนิยมความนิ่งเฉยโดยไม่ถามไถ่ปัญหาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

5) สาวกบางกลุ่มไม่ให้ความสำคัญต่อศาสนาและคำสอน พวกเขาจึงไม่สละเวลาสักเล็กน้อย หรือไม่ใส่ใจที่จะถามปัญหาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

6) สาวกบางกลุ่มใฝ่ใจที่จะศึกษาปัญหา แต่ไม่ยอมออกหน้าในการแสวงหาความรู้จะรอให้ผู้อื่นถามปัญหาแล้วตนจะใช้ประโยชน์ในช่วงนั้น  

แต่สำหรับท่านอิมามอะลี (อ.) แล้ว ไม่ได้เป็นดังเช่นสาวกคนอื่นทั่วไปท่านมีความฉลาด มีไหวพริบ มีความสะอาดบริสุทธิ์ มี

จิตใจที่ผ่องใส และมีจิตวิญญาณที่สูงส่ง ท่านจึงมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาที่จะแสวงหาความรู้ของพระเจ้า ตลอดระยะเวลาที่

ท่านอยู่กับศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านจึงได้ถามทุกสิ่งที่สงสัย และถามทุกสิ่งที่ต้องการรู้

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ดุอาอฺแก่ท่านอิมามอะลีเรื่องความรู้และวิชาการ

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ดุอาอฺให้ข้าฯว่า

 

عَلَّمَهُ اللهُ نَبِيَّهُ فَعَلَّمَنِيهِ، وَدَعَا لِي بَأَنْ يَعِيَهُ صَدْرِي، وَتَضْطَمَّ عَلَيْهِ جَوَانِحِي

 

ขออัลลอฮฺทรงบรรจุความรู้เหล่านี้ไว้ในทรวงอกของข้าฯ และขอให้อวัยวะทุกส่วนของข้าฯ เปี่ยมไปด้วยวิชาการความรู้เหล่านั้น[3]

 

ความรู้อันกว้างไกลของท่านอิมามอะลี

ท่านอิมามอะลี (อ.) คือองค์ความรู้อันมหาศาลของอัล-กุรอาน และท่านศาสดาที่ไม่มีวันเสื่อมสลาย ประกอบกับดุอาอฺที่ท่านศาสดาได้วิงวอนขอให้แก่ท่านนั้น ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าความรู้และวิชาการของท่านนั้น อยากที่จะหาที่เปรียบเปรย ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

 

أَيُّهَا النَّاسُ، سَلُونِي قَبْلَ أَنْ تَفْقِدُونِي، فَلاََنَا بِطُرُقِ السَّمَاءِ أَعْلَمُ مِنِّي بِطُرُقِ الاَْرْضِ، قَبْلَ أَنْ تَشْغَرَ بِرِجْلِهَا فِتْنَةٌ تَطَأُ فِي خِطَامِهَا، وَ تَذْهَبُ بِأَحْلاَمِ قَوْمِهَا.

 

 

โอ้ประชาชนเอ๋ย จงถามข้าฯซิ ก่อนที่ข้าฯ จะจากพวกเจ้าไป เนื่องจากข้าฯ รู้จักเส้นทางแห่งฟากฟ้าดียิ่งกว่าเส้นทางบนหน้าแผ่นดิน (อิมามชี้ให้เห็นถึงวิชาว่าด้วยเรื่องจักรวาล : Cosmology) จง ถามข้าฯก่อนที่การทดสอบและความชั่วจะเกิดเต็มหน้าแผ่นดิน ประหนึ่งฝูงอูฐได้เคลื่อนไปอย่างไร้เจ้าของ (และความชั่วได้ครอบงำทุกแห่งหน) สติปัญญาของประชาชนสูญสิ้นไป

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวไว้อีกที่หนึ่งว่า

 

فَوَ الَّذِي نَفْسِي بَيَدِهِ لاَ تَسْأَلُونِي عَنْ شَيْء فِيمَا بَيْنَكُمْ وَ بَيْنَ السَّاعَةِ، وَ لاَ عَنْ فِئَة تَهْدِي مِئَةً وَ تُضِلُّ مِئَةً إِلاَّ أَنْبَأْتُكُمْ بِنَاعِقِهَا وَ قَائِدِهَا وَ سَائِقِهَا، وَ مُنَاخِ رِكَابِهَا، وَ مَحَطِّ رِحَالِهَا

ดังนั้นพวกเจ้าจงถามข้าซิ (ถามถึงอนาคตและชะตากรรมของพวกเจ้า) ก่อนที่ข้าจะจากไปชั่วกาลนาน[4]

ข้าขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของข้าอยู่ในพระหัตถ์และอำนาจของพระองค์ พวกเจ้าจะไม่ถามข้าเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันแห่งกาลอวสานของโลกหรือ พวกเจ้าจะไม่ถามข้าถึงกลุ่มชนจำนวนเรือนร้อย (น้อยหรือมากกว่า) ที่ได้รับทางนำและหลงทางดอก หรือ นอกเสียจากว่าข้าจะทำให้พวกเจ้าได้รับรู้และตอบคำถามเหล่านั้น (ข้าจะพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า) เกี่ยวกับบุคคล (บรรดาผู้นำ) ที่ได้เรียกร้องประชาชนไปสู่  การชี้นำทางพวกเขา การขับไล่ของพวกเขา สถานที่ๆ พวกเขาจะลงมาสู่ และสถานที่ๆพวกเขาจะรวมตัวกัน[5]

 

ท่านอิมามอะลี (อ.) คือองค์แห่งความรู้

       

أَيُّهَا النَّاسُ، إِنِّي، وَاللهِ، مَا أَحُثُّكُمْ عَلَى طَاعَة إِلاَّ وَ أَسْبِقُكُمْ إِلَيْهَا، وَ لاَ أَنْهَاكُمْ عَنْ مَعْصِيَة إِلاَّ وَ أَتَنَاهَى قَبْلَكُمْ عَنْهَا

           

โอ้ประชาชนเอ๋ย ข้าขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่า ข้าจะไม่เชิญชวนให้เจ้าเชื่อฟังปฏิบัติตาม เว้นเสียแต่ว่าข้าได้ปฏิบัติ

สิ่งนั้นก่อนเจ้า ข้าจะไม่ห้ามปรามเจ้าให้ละเว้นบาปกรรมอันใด เว้นเสียแต่ว่าข้าได้ละเว้นสิ่งต่างๆ เหล่านั้นก่อนเจ้า[6]

 

ความด้อยในศักยภาพที่จะรับความรู้ของท่านอิมามอะลี (อ.)

แน่นอนว่า ความรู้ของท่านอิมาม (อ.) กว้างไกลไร้พรมแดนแต่น่าเสียดายว่า ในช่วงเวลาที่ท่านปกครองสังคมอยู่นั้นมี

ประชาชนเพียงน้อยนิดที่สามารถตักตวง ความรู้จากท่านได้ ประกอบกับกาลเวลาไม่เอื้ออำนวยสำหรับการสั่งสอนในองค์ความ

รู้เหล่านั้น ท่านได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ปรับปรุงระบบการปกครองใหม่ ต้องลื้อฟื้นคำสอนและแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

ใหม่อีกครั้งหลังจากที่ถูกลืมเลือนไปชั่วขณะหนึ่ง ประกอบการสงครามที่รุมเล้าท่านอยู่ภายนอก และศึกภายในอีกที่ท่านต้อง

ปราบปราม ดังนั้น สิ่งเหล่านี้คืออุปสรรคสำคัญที่ไม่เอื้ออำนวยให้ท่านถ่ายทอดคลังวิชาการแก่ ประชาชน ประกอบกับกาลเวลา

เพียง 5 ปีกับไม่กี่เดือนที่ท่านปกครองรัฐอิสลามอยู่นั้นมันน้อยเกินไป ต่อการสอนสั่งวิชาการแก่ประชาชน

ฉะนั้นสามารถกล่าวถึงอุปสรรคของสานต่อด้านองค์ความรู้ของท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ดังนี้

 

1)  ไม่มีบุคคลที่มีคุณสมบัติพอที่จะรับความรู้เหล่านั้น

 

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึง ประเด็นนี้แก่โกเมล สาวกท่านหนึ่งของท่านว่า

 

إِنَّ هَاهُنَا لَعِلْماً جَمّاً وَ أَشَارَ بِيَدِهِ إِلَى صَدْرِهِ لَوْ أَصَبْتُ لَهُ حَمَلَةً بَلَى أَصَبْتُ لَقِناً غَيْرَ مَأْمُونٍ عَلَيْهِ مُسْتَعْمِلًا آلَةَ الدِّينِ لِلدُّنْيَا

 

เจ้ารู้ไหม ตรงนี้ (อิมามเอามือชี้ไปที่ทรวงอก) สั่งสมความรู้ไว้เต็มเปี่ยม ถ้าข้าพบผู้มีความเหมาะสมข้าจะสั่งสอนเขา ช่างน่าเสียดายที่ข้าพบคนเฉลียวฉลาดแต่ขาดความมั่นใจในตัวเขา เพราะเขาจะใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางโลก[7]

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ย้ำกับโกเมลถึงเรื่องผู้คนไว้ว่าผู้คนนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

 

لَكَ النَّاسُ ثَلَاثَةٌ فَعَالِمٌ رَبَّانِيٌّ وَ مُتَعَلِّمٌ عَلَى سَبِيلِ نَجَاةٍ وَ هَمَجٌ رَعَاعٌ أَتْبَاعُ كُلِّ نَاعِقٍ يَمِيلُونَ مَعَ كُلِّ رِيحٍ لَمْ يَسْتَضِيئُوا بِنُورِ الْعِلْمِ وَ لَمْ يَلْجَئُوا إِلَى رُكْنٍ وَثِيقٍ

 

ประชาชนนั้นมี 3 ประเภท ได้แก่ หนึ่งปวงปราชญ์ผู้รู้ในหนทางของพระเจ้า สองผู้ศึกษาเพื่อหาทางรอดพ้น สามผู้โง่เขลา

เหมือนลมเพลมพัดเมื่อมีเสียงแว่วมาเขาจะวิ่งตามเสียงนั้นไป เขาจะโซเซไปกับทุกลมที่พัดผ่าน ไม่เคยตอบรับรัศมีแห่งความรู้ใด และไม่เคยอาศัยสถานที่พักพิงอันมั่นคง[8]

 

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวสำทับถึงคุณค่าอันสูงส่งแก่โกเมลว่า

 

يَا كُمَيْلُ الْعِلْمُ خَيْرٌ مِنَ الْمَالِ الْعِلْمُ يَحْرُسُكَ وَ أَنْتَ تَحْرُسُ الْمَالَ وَ الْمَالُ تَنْقُصُهُ النَّفَقَةُ وَ الْعِلْمُ يَزْكُوا عَلَى الْإِنْفَاقِ وَ صَنِيعُ الْمَالِ يَزُولُ بِزَوَالِهِ يَا كُمَيْلَ بْنَ زِيَادٍ مَعْرِفَةُ الْعِلْمِ دِينٌ يُدَانُ بِهِ بِهِ يَكْسِبُ الْإِنْسَانُ الطَّاعَةَ فِى حَيَاتِهِ وَ جَمِيلَ الْأُحْدُوثَةِ بَعْدَ وَفَاتِهِ وَ الْعِلْمُ حَاكِمٌ وَ الْمَالُ مَحْكُومٌ عَلَيْهِ

 

โอ้ กุเมล ความรู้ประเสริฐกว่าทรัพย์สมบัติเพราะความรู้จะปกป้องเจ้า แต่เจ้าต้องปกป้องทรัพย์สมบัติ ความมั่งมีลดน้อยถอยลงโดยการจับจ่ายใช้สอย ในขณะที่ความรู้ถูกทำให้เพิ่มพูนขึ้นโดยการเผยแพร่ บุคลิกที่ได้รับมาโดยความมั่งมีย่อมสูญสิ้นไป

เพราะการสูญสิ้นทรัพย์สิน โอ้ โกเมลบุตรของซิยาดเอ๋ย การรู้จักความรู้แห่งศาสนา คือ การให้รางวัลและมนุษย์ได้เชื่อฟังปฏิบัติตามพระเจ้าตลอดอายุขัยโดยความรู้นั้น และเมื่อตายจากไปชื่อเสียงความดีงามจะถูกกล่าวถึง ความรู้ คือ ผู้บัญชาการ ส่วนความมั่งคั่งคือ ผู้น้อมรับคำบัญชา [9]

นอกจากนั้นท่านอิมามอะลี (อ.) ยังได้กล่าวถึงคุณค่าของผู้รู้ไว้ว่า

 

يَا كُمَيْلُ هَلَكَ خُزَّانُ الْأَمْوَالِ وَ هُمْ أَحْيَاءٌ وَ الْعُلَمَاءُ بَاقُونَ مَا بَقِيَ الدَّهْرُ أَعْيَانُهُمْ مَفْقُودَةٌ وَ أَمْثَالُهُمْ فِى الْقُلُوبِ مَوْجُودَةٌ هَا

 

โอ้ โกเมล เศรษฐีที่ปราศจากความยำเกรง คือ ซากศพที่เดินได้แม้ภายนอกจะดูว่ามีชีวิตอยู่ก็ตาม ส่วนผู้รู้จะดำรงสืบต่อไป ตราบที่โลกยังมีอยู่ แม้ว่าเรือนร่างของเขาจะถูกฝังไว้ใต้ดินแต่การรำลึกถึงยังคงอยู่ในใจผู้คนเสมอ[10]

 

2) โอกาสไม่เอื้ออำนวยกับประชาชนไม่มีศักยภาพในการรับรู้

 

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

 

وَاللهِ لَوْ شِئْتُ أَنْ أُخْبِرَ كُلَّ رَجُل مِنْكُمْ بِمَخْرَجِهِ وَ مَوْلِجِهِ وَ جَمِيعِ شَأْنِهِ لَفَعَلْتُ، وَ لكِنْ أَخَافُ أَنْ تَكْفُرُوا فِيَّ بِرَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ. أَلاَ وَ إِنِّي مُفْضِيهِ إِلَى الْخَاصَّةِ مِمَّنْ يُؤْمَنُ ذلِكَ مِنْهُ

 

ข้าขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่า ถ้าข้าต้องการแจ้งข่าวคราว ข้าสามารถทำให้พวกเจ้าทุกคนรู้ถึงการเริ่มต้น การสิ้นสุด

ตลอดจนฐานภาพชีวิตของแต่ละคนได้ว่าเป็นอย่างไร แต่ข้าเกรงว่าการทำเช่นนี้จะเป็นสาเหตุทำให้พวกเจ้ากลายเป็นผู้ปฏิเสธข้า (เลยเถิดในตัวข้า) และ (ลืม) ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) พึงสังวรไว้เถิดว่า ข้าจะแจ้งข่าวนี้แก่สาวกที่เฉพาะเจาะจงของข้า ซึ่งข้ามั่นใจว่าพวกเขาจะไม่ปฏิเสธและไม่เลยเถิดในตัวข้า[11]

 

ที่มา

[1] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาบทที่ 210

 

[2]  ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ อิบนุอบิลฮะดีด เล่ม 11 หน้า 48

 

[3]  นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาบทที่ 128

 

[4].บรรดา นักประวัติศาสตร์ทั้งหมดตลอดจนนักวิชาการต่างยอมรับสารภาพเป็นเสียงเดียวกัน ว่า ตลอดหน้าประวัติอิสลาม นอกจากท่านอิมามอะลี (อ.) แล้ว ไม่มีบุคคลใดกล้าหาญพอที่จะท้าทายประชาชนให้ถามคำถามมาทุกประเภท และถึงแม้ว่ามีบางคนกล่าวท้าทายทำนองนั้น แต่ในที่สุดเขาก็ไม่อาจตอบคำถามได้ทั้งหมด

 

[5] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาบทที่ 93

 

[6] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาบทที่ 175

 

[7] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำสุภาษิตที่ 147

 

[8] อ้างแล้วเล่มเดิม

 

[9] อ้างแล้วเล่มเดิม

 

[10] อ้างแล้วเล่มเดิม

 

[11] อ้างแล้วเล่มเดิม

     

ขอขอบคุณเว็บไซต์เลิฟฮุเซน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

สงคราม “อาร์มาเกดอน” ...
ความสำคัญของน้ำนมแม่ ...
อิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ.) ...
อาลัมบัรซัค ...
อิสลาม : ศาสนาแห่งสันติ
สถานภาพการเมือง ...
คุณค่าของการเศาะลาวาต
หมายเหตุการเข้ารับอิสลาม ...
...
การพลี” สูงสุดของการพิสูจน์ ...

 
user comment