ไทยแลนด์
Thursday 18th of April 2024
0
نفر 0

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 8

ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ตอนที่ 8

อัดลฺอิลาฮี 8
(ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า)

    ทุกสรรพสิ่งถูกสร้างขึ้นมาด้วยความยุติธรรม ทั้งความยุติธรรมตามนิยามที่สาม คือ “การให้สิทธิตามที่สิ่งนั้นควรจะได้รับ” และทั้งตามนิยามที่สี่คือ “การวางทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในที่ที่เหมาะของมัน”

นิยามที่สาม คือการให้สิทธิ สรรพสิ่งต่างๆมีสิทธิที่จะเกิดขึ้น และพระองค์ก็ให้สรรพสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น

นิยามที่สี่ คือ ทุกสรรพสิ่งถูกสร้างมาโดยมีปรัชญาของเป้าหมาย”ฮิกมะฮ์” อย่างมีเหตุมีผล ในการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย

    ในทีนี้สิทธิของมนุษย์ คือ มนุษย์เมื่อมีสิทธิที่จะเกิดขึ้นมา  พระองค์ให้สิทธิอันนั้นให้มนุษย์เกิดขึ้นมา และในการให้เกิดขึ้นมานั้นมีเหตุผล ตามนิยามที่สี่ คือ มีเหตุมีผล มีปรัชญาของเป้าหมาย “ฮิกมะฮ์” มนุษย์เกิดมาแล้วต้องมีศาสนา เพราะศาสนาจะนำมนุษย์ไปสู่เป้าหมายที่สมบูรณ์ การประทานศาสนามาให้แก่มนุษย์ก็มาจากความยุติธรรมตามนิยามที่สามและนิยามที่สี่ การประทานศาสนาให้แก่มนุษย์นั้นมันเป็นสิทธิสำหรับมนุษย์

    – ข้อสงสัยที่ 1 ข้อคลางแคลงสงสัยนี้เนื้อหาของมัน คือ ความแตกต่างในสรรพสิ่ง มีขาวมีดำ มีรวย มีจน มีสวย มีหล่อ มีขี้เหร่

ความแตกต่างเหล่านี้ดูเหมือนมันไม่ยุติธรรม เพราะมันไม่เหมือนกัน บางคนเกิดมาสวย บางคนเกิดมาขี้เหร่ บางคนรวย บางคนจน บางคนดำ บางคนขาว และความแตกต่างอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งความแตกต่างบางอย่างสามารถอธิบายได้ง่าย แต่บางอย่างก็อธิบายได้ยาก ต้องใช้ความลึกซึ้ง บางครั้งเป็นความแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น ความพิการ บางคนร่างกายสมบูรณ์  บางคนสมหวัง บางคนผิดหวัง แม้กระทั่งในสัตว์ สัตว์บางชนิดเกิดมาเพื่อถูกล่า สัตว์บางชนิดเกิดมาเพื่อเป็นนักล่า

จะอธิบายอย่างไรว่าความแตกต่างเหล่านี้นั้นไม่ได้ขัดกับความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า เช่น บางคนเกิดมาผิวขาว บางคนผิวดำ เพราะในบางครั้งคนผิวดำอาจถูกเหยียดหยาม ถูกดูถูก

ทำไมพระองค์ไม่สร้างมาให้ขาวทั้งหมด จะได้ไม่ต้องมีใครถูกเหยียดหยาม

คำตอบ คือ คำถามนี้เกิดมาจากความเข้าใจผิด คิดไปเองว่าผิวขาวดีกว่าผิวดำ เกิดจากความผิดพลาดของการให้คุณค่าที่ผิดๆ เมื่อให้คุณค่าผิด คิดว่าผิวขาวดีกว่าผิวดำ จึงทำให้คนที่เกิดมาผิวดำบอกว่ามันไม่ยุติธรรม

ดังนั้นหากให้คุณค่าว่า ผิวดำดีกว่าผิวขาว คนขาวก็จะเรียกร้องความยุติธรรมขึ้นมาอีก ปัญหาอยู่ที่ความผิดพลาดของการให้ค่า  ฉะนั้นคุณค่าของมนุษย์ในทัศนะของอิสลาม ในทัศนะของพระผู้เป็นจ้านั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสีผิว หรือเพศสภาพ ผู้หญิงหรือผู้ชาย แต่ทว่าอยู่ที่ความยำเกรง(ตักวา)ของมนุษย์ต่างหาก ซึ่งอัลกุรอานได้ยืนยันเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮ์ ฮุจญรอต โองการที่ 13

يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّا خَلَقْنَاكُمْ مِنْ ذَكَرٍ وَأُنْثَىٰ وَجَعَلْنَاكُمْ شُعُوبًا وَقَبَائِلَ لِتَعَارَفُوا ۚ إِنَّ أَكْرَمَكُمْ عِنْدَ اللَّهِ أَتْقَاكُمْ ۚ إِنَّ اللَّهَ عَلِيمٌ خَبِيرٌ

“โอ้มนุษย์ชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าเป็นเพศชายและเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่าและตระกูลเพื่อที่พวกเจ้าจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่ง ในหมู่พวกเจ้า ณ อัลลอฮ์นั้น คือ ผู้ที่มีความยำเกรงในหมู่พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน”

    ดังนั้น ความแตกต่างเหล่านี้ไม่ได้ขัดกับความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า เพราะในความเป็นจริงผิวขาวไม่ได้ดีไปกว่าคนผิวดำ และผิวดำก็ไม่ได้ดีไปกว่าผิวขาว ในความหลากหลายนั้นไม่ได้ขัดกับความยุติธรรม

แน่นอนว่าในประวัติศาสตร์เริ่มต้นด้วยการที่คนขาวเอาคนดำมาเป็นทาส มันจึงเป็นสาเหตุทำให้รู้สึกแบบนี้ คนดำรู้สึกต่ำต้อย แต่กลับกันถ้าสมมุติโลกเริ่มต้นด้วยการเอาคนขาวมาเป็นทาส คนขาวก็จะรู้สึกต่ำต้อย และคนดำก็จะไม่รู้สึกต่ำต้อย ซึ่งความผิดพลาดอันนี้เป็นความผิดของมนุษย์เอง จะมากล่าวหาว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่ยุติธรรมไม่ได้

สมมุติฐาน หากการสร้าง พระองค์สร้างแต่ผู้หญิง ก็จะมีคำถามทำไมมีผู้ชาย ทำไมไม่ให้เหมือนกันหมด ทำไมไม่สร้างมาให้เป็นผู้ชายทั้งหมด หรือไม่ก็ให้เป็นผู้หญิงทั้งหมด?

คำตอบ คือ ถ้าเป็นผู้ชายทั้งหมดก็เหมือนกับการไม่ได้สร้าง เพราะอีกไม่นานจะไม่เหลือมนุษย์คนใดดำรงอยู่ เพราะไม่มีการสืบพงศ์พันธ์ุ
ดังนั้น เพื่อการขยายเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องมีทั้งผู้ชายและผู้หญิง อาจจะมีคำถามขึ้นมาอีกว่าแล้วทำไม่ต้องให้ผู้หญิงต่ำกว่าผู้ชาย? คำถามนี้ก็เช่นกันเกิดมาจากการให้คุณค่าที่ผิด โดยบอกว่าผู้ชายดีกว่าผู้หญิง เพราะการให้คุณค่าที่ผิด ผู้หญิงจึงกล่าวว่ามันไม่ยุติธรรม
คำตอบคือ คุณค่าของความเป็นมนุษย์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ความแตกต่างทางเพศไม่ได้ขัดกับความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งจากโองการข้างต้นก็เป็นคำตอบหนึ่งที่ชัดเจน(ฮุจญรอต 13)

    หากจะให้ลึกกว่านี้ สิทธิในการเกิดนั้นแตกต่างกัน  บางคนมีสิทธิเป็นผู้ชาย บางคนมีสิทธิเป็นผู้หญิง การให้มีผู้ชายและการให้มีผู้หญิง มันยุติธรรมตามนิยามที่สี่ คือ มีฮิกมะฮ์ มีปรัชญาของเป้าหมายที่ลึกซึ้ง เพื่อให้เกิดความสงบซึ่งกันและกัน คนที่เป็นชายก็เรียกร้องผู้หญิง ส่วนผู้หญิงก็เรียกร้องผู้ชาย ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติในการสร้างมนุษย์ ความสงบจะไม่เกิดขึ้นหากสองเพศไม่ได้มาเจอกัน

และที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น คือ มนุษย์จะดำรงอยู่ในโลกนี้ได้ มนุษย์จะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มนุษย์ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ บางกรณี การช่วยเหลือต้องใช้เพศตรงกันข้าม เช่น มีงานบางประเภทที่เหมาะสำหรับผู้ชาย บางประเภทเหมาะสำหรับผู้หญิง เช่น การหาปัจจัยมาเลี้ยงชีพเลี้ยงครอบครัวเป็นงานของผู้ชาย  ความสามารถอันนี้เป็นของผู้ชาย เพราะสรีระร่างกายของผู้ชายนั้นมีความเหมาะสมมากกว่า ส่วนงานและหน้าที่ของผู้หญิงคือ งานบ้าน ต้องอยู่บ้าน เพื่ออมรมสั่งสอนบุตร เลี้ยงดูบุตร เพราะผู้หญิงเป็นเพศที่สามารถมอบความรักความเมตตาให้แก่บุตรได้ดีที่สุด

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

คุณค่าของการเศาะลาวาต
หมายเหตุการเข้ารับอิสลาม ...
...
การพลี” สูงสุดของการพิสูจน์ ...
...
...
อิมามมะฮ์ดี (อ.) ...
ไชฏอนศึกษา บทเรียนครั้งที่ 4/3 ...
ฮิญาบในอิสลาม
ท่านหญิงซัยนับ บินอะลี ...

 
user comment