ไทยแลนด์
Thursday 28th of March 2024
0
نفر 0

วันอารอฟะห์ วันแห่งการวิงวอนขออภัยโทษ

วันอารอฟะห์ วันแห่งการวิงวอนขออภัยโทษ

 

“อารอฟาต” คือนามของสถานที่หนึ่งที่ตั้งอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมักกะห์ ห่างจากมัสยิดอัลฮะรอม 17 กม. โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 17.95 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเมืองฎออิฟ และนครมักกะฮ์

 

บรรดาผู้ไปแสวงบุญที่นครมักกะฮ์เมื่อถึงวันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ ก็จะรวมตัวกันอยู่ในทุ่งอารอฟะฮ์ตั้งแต่ตอนบ่ายจนตะวันตกดิน บางรายงานได้มีบันทึกว่า ท่านศาสดาอาดัม (อ) และท่านหญิงฮาวา (อ) ก็ได้พบกันเป็นครั้งแรกบนพื้นพิภพนี้ก็พบกันในสถานที่แห่งนี้ ด้วยเหตุนี้เอง สถานทีแห่งนี้จึงถูกเรียกว่า "อาราฟาต" และวันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮ์ถูกเรียกว่า "วันอารอฟะฮ์"

 

วันอารอฟะฮ์ คือวันอีดที่ยิ่งใหญ่วันหนึ่งสำหรับมุสลิม ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกขนามนามว่าเป็นวันอีดก็ตาม เนื่องจากว่าในวันอารอฟะฮ์เป็นวันซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ทรงเชิญชวนปวงบ่าวของพระองค์ให้เข้าสู่การเคารพภักดีพระองค์ พระองค์ได้ทรงเปิดประตูแห่งการปฏิบัติคุณงามความดีให้กับปวงบ่าวของพระองค์ในวันดังกล่าว และเป็นวันซึ่งบรรดาชัยฏอนมารร้ายต่างกรีดร้องด้วยความโหยหวล เนื่องจากความโกรธ และความต่ำต้อยที่พวกมันได้รับในวันนี้

 

มีรายงานหนึ่งบันทึกว่า ในวันอารอฟะฮ์ครั้งหนึ่ง ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ) ได้ยินเสียงผู้ยากไร้คนหนึ่งขอความช่วยเหลือจากคนอื่นอยู่ ท่านอิมาม (อ) ได้กล่าวแก่ผู้ยากไร้คนนั้นทันทีว่า "เจ้าไม่ละอายเลยหรือ? ที่ในวันนี้ (วันอารอฟะฮ์) เจ้ายังแบมือเพื่อวิงวอนขอสิ่งต้องการของตนเองจากเพื่อนมนุษย์อยู่อีก ในขณะที่ในวันนี้นั้นแม้กระทั่งเด็กทารกทั้งหลายที่อยู่ในครรภ์ของมารดาก็ยังได้รับความโปรดปรานจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทั้งสิ้น"

 

ในอีกรายงานหนึ่งท่านอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า "บุคคลใดก็ตามที่เขายังไม่ได้รับการอภัยโทษในเดือนรอมฎอนอันทรงเกียรติ ก็จะไม่ได้รับการอภัยโทษอีกแล้วจนกระทั่งเดือนรอมฎอนปีหน้ามาเยือน นอกเสียจากว่าเขาจะได้พบกับวันอารอฟะฮ์เท่านั้น"

 

จากวจนะข้างต้นของอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ) ทำให้เราเข้าใจได้ทันทีว่า ความหวังสุดท้ายของหลายๆ คนที่เขายังไม่ได้รับการอภัยโทษในเดือนรอมฎอนอันทรงเกียรติ คือวันอารอฟะฮ์นั่นเอง

การอามั้ล (การปฏิบัติภารกิจเพื่อพระองค์อัลลอฮ์) ที่ประเสริฐที่สุดในวันอารอฟะฮ์ คือการดุอาอ์ วิวอน ขอลุแก่โทษ และแสวงหาความใกล้ชิดยังพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ซึ่งเป็นการดุอาอ์ เป็นการวิงวอน ขออภัยโทษในความผิด ที่อยู่ในช่วงเวลาพิเศษ เป็นโอกาสพิเศษ และสำหรับบางคนก็ได้ปรากฏกายในสถานที่พิเศษอีกด้วย นั่นคือการได้อยู่ดุอาอ์ วิงวอน ต่อพระองค์อัลลอฮ์ในทุ่งอารอฟาตนั่นเอง

 

ในวันอารอฟะฮ์ มีบทดุอาอ์มากมายที่สมควรอ่าน เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) เฉกเช่นเดียวกันวันสำคัญอื่นๆ ที่เป็นเวลาพิเศษ วันพิเศษในการดุอาอ์ต่อพระองค์ อาธิเช่น วันต่างๆ ในเดือนรอมฎอนอันทรงเกียนติ บางวันในเดือนรอญับ และเดือนชะอ์บาน หรือในค่ำคืนต่างๆ อาธิเช่น ค่ำคืนศุกร์ ค่ำคืนแห่งกัดร์ ซึ่งเป็นวันเวลาที่พิเศษในการดุอาอ์วิงวอนต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทั้งสิ้น

 

การวิงวอนขอสิ่งประสงค์ต่างๆ ของมนุษย์ที่มียังพระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ พระผู้ทรงประทานให้แก่บ่าวผู้ต่ำต้อย คือรากฐานแห่งการเชื่อมโยงมนุษย์กับพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน พระผู้ซึ่งการดำรงอยู่ของพระองค์เป็นสิ่งนิรันดร

 

ดังนั้นตามหลักความเป็นจริงข้างต้น เราจึงไม่สามารถที่จะกล่าวว่า การอิบาดัต การดุอาอ์ การวิงวอนต่อพระองค์ผู้ทรงเกรียงไกรนั้น ถูกจำกัด และถูกเฉพาะอยู่ในวันใดวันหนึ่ง หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเท่านั้น เนื่อจากว่าพระผู้เป็นเจ้าที่เราเคารพภักดี และพระผู้เป็นเจ้าที่เราดุอาอ์ และวิงวอนนั้น ไม่มีสถานที่ และเวลาสำหรับพระองค์ พระองค์คือเจ้าของแห่งกาลเวลา และสถานที่ทั้งมวล เมื่อพระองค์ไม่ถูกเฉพาะสำหรับสถานที่และเวลาสำหรับพระองค์ การอิบาดัตต่อพระองค์ ก็จะต้องไม่ถูกเฉพาะสถานที่และเวลาเช่นเดียวกัน

 

แต่ทว่าในศาสนาอิสลามที่เป็นศาสนาซึ่งสมบูรณ์แบบที่สุด ได้นำเสนอโอกาสพิเศษ ในบางครั้ง และสถานที่พิเศษในบางสถานที่ ต่อการเคารพภักดี การดุอาอ์วิงวอน การสื่อสารกับพระผู้ทรงสร้าง นั่นคือนาทีทอง หรือโอกาสพิเศษ ในสถานที่พิเศษ ที่มนุษย์จะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระองค์บ้าง และนั่นคือความโชคดีของมนุษย์บางคน บางกลุ่มที่เขาได้รับโอกาสพิเศษ ในสถานที่พิเศษเหล่านั้น ซึ่งเป็นความประสงค์ของพระองค์ที่มีแก่ปวงบ่าวของพระองค์

 

ดั่งที่พระองค์ทรงดำรัสไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ในซูเราะฮ์อิบรอฮีม โองการที่ 5 ว่า "ให้รำลึกถึงวัน (แห่งความโปรดปราน) ของอัลลอฮ์"

 

 

และหนึ่งจากวันของพระองค์นั้นคือวันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮ์ หรือวันอารอฟะฮ์ นั่นเอง ซึ่งเป็นวันที่มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด เวลาใด ในโลกนี้จะได้รับโอกาสพิเศษในการอิบาดัต เคารพภักดีและวิงวอนขอต่อพระองค์พระผู้ทรงสร้างทั้งชั้นฟ้าและแผ่นดินทุกคน เฉกเช่นเดียวกับวันอีดฟิตรี วันอีดกุรบาน ค่ำคืนกัดร์ หรือวันพิเศษอื่นๆ อีก

 

ทว่าที่เป็นสิ่งพิเศษไปกว่านั้นสำหรับหลายๆ คนจากปวงบ่าวของพระองค์ ที่เขาได้อยู่ในวันพิเศษ ในสถานที่พิเศษ เพื่อการอิบาดัต ดุอาอ์ วิงวอนขอจากพระองค์ อาธิเช่นผู้ศรัทธาที่ได้มีโอกาสไปประกอบพิธีฮัจญ์ และได้ไปปรากฏกาย ณ ทุ่งอารอฟาต นั่นคือความโชคดีของพวกเขาที่พรองค์ได้ทรงประทานให้แก่พวกเขา

 

อามัลต่างๆ ในวันนี้มีดังต่อไปนี้

 

1-ปฏิบัติฆุซุลมุสตะฮับวันอารอฟะฮ์

 

2-อ่านซิยารัตอิมามฮูเซน (อ) ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งมีผลบุญมากมายเทียบเท่าการทำฮัจญ์หนึ่งพันครั้ง และการทำอุมเราะฮ์หนึ่งพันครั้ง และการทำญิฮาดหนึ่งพันครั้ง แท้จริงมีมากมายมหาศาลมากกว่าที่กล่าวเสียอีก

 

3-เมื่อเสร็จจากนมาซซุฮ์ริ และอัศริแล้ว ก่อนที่จะเริ่มอ่านดุอาอ์อารอฟะฮ์ ให้ปฏิบัตินมาซสองรอกาอัต ในที่โล่งแจ้ง และจงสารภาพความผิดบาปต่างๆ ของตนเองจากองค์อภิบาล เพื่อว่าเขาจะได้รับผลบุญต่างๆ ของผู้ที่ปฏิบัติอามัลในทุ่งอารอฟะฮ์ด้วย และบาปต่างๆ ของเขาจะได้รับการอภัยโทษ หลังจากนั้น จึงเริ่มอ่านดุอาอ์อารอฟะฮ์ และอ่านดุอาอ์ต่างๆ ที่มีรายงานจากบรรดาอิมามมะอ์ศูม (อ)

 

4-ถือศีลอด มีรายงานว่าการถือศีลอดในวันอารอฟะฮ์ สำหรับผู้ที่มีความสามารถจะอ่านดุอาอ์อารอฟะฮ์ด้วยนั้น ถือเป็นมุสตะฮับอย่างยิ่ง แต่ถ้าหากการถือศีลอดเป็นเหตุให้ไม่สามารถที่จะอ่านดุอาอ์อารอฟะฮ์ได้เนื่องจากอ่อนเพลีย ก็ไม่สมควรที่จะถือศีลอด เนื่องจากการดุอาอ์ในวันนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

 

5-อ่านดุอาอ์อารอฟะฮ์ของท่านอิมามฮูเซน (อ)

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์อะฮ์ลุลบัยต์อะคาเดมี

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อาณาจักรดุอาสะฮัร
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 ...
ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ ...
...
...
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 ...
ดุอาประจำวันที่ 18 ...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย

 
user comment