ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

สัญลักษณ์ของผู้ศรัทธาในคำกล่าวของอิมามซัจญาด (อ)

สัญลักษณ์ของผู้ศรัทธาในคำกล่าวของอิมามซัจญาด (อ)

 

รายงานจากท่านอิมามอะลี อิบนิ ฮุเซน (อ) ได้กล่าวว่า

 

علی بن الحسین (علیهما‌السلام) قال :

 

عَلَامَاتُ الْمُؤْمِنِ خَمْسٌ: الْوَرَعُ‌ فِي‌ الْخَلْوَةِ وَ الصَّدَقَةُ فِي الْقِلَّةِ وَ الصَّبْرُ عِنْدَ الْمُصِيبَةِ وَ الْحِلْمُ عِنْدَ الْغَضَبِ وَ الصِّدْقُ عِنْدَ الْخَوْفِ

 

สัญลักษณ์ของมุอฺมิน (ผู้ศรัทธา) มีด้วยกัน ห้าประการ

การวะเราะอ์(ออกห่างจากการทำความผิดบาป)ในยามลำพัง ,การบริจาคทานในยามคับขัน ,การอดทนในยามเศร้าโศก ,การมีฮิลม์(ขั้นสูงสุดแห่งการอดทน) ในยามโกรธ และการกล่าวสัตย์จริงในยามหวาดกลัว”

 

ท่านอายะตุลลอฮ์ เชคมุจตะบา เตหะรานี  ได้อธิบายความหมายของริวายะฮ์ (คำรายงาน)นี้ว่า

1.การมีวะเราะอ์ ในยามลำพัง คือ สัญลักษณ์ประการหนึ่งของผู้ศรัทธาที่แท้จริง กล่าวคือ การออกห่างจากบาปต่างๆในขณะที่เขานั้นอยู่เพียงลำพังผู้เดียว ซึ่งสภาพที่แท้จริงของผู้ศรัทธา ก็คือ การมีสภาพที่เขาออกห่างจากการกระทำบาปอยู่ตลอดเวลา แต่การกระทำที่ดีที่สุดคือ การไม่กระทำบาปในยามที่เขานั้นอยู่คนเดียว

ถ้าหากว่า บุคคลหนึ่ง บุคคลใดละทิ้งการทำความผิดบาปอย่างเปิดเผย เช่น การดื่มเหล้า สุราเมรัย หรือ การมีความสัมพันธ์ทางเพศอย่างผิดหลักศาสนา นั้นก็คือ สิ่งที่ดี ที่สมควรทำ แต่มิได้หมายความว่า เขานั้นเป็นผู้มีอีหม่านที่แท้จริง เพราะการมีอีหม่านที่แท้จริง คือ การอยู่เดียวดาย หรือซ่อนจากสายตาของคนทั่วไป แล้วเขาไม่ทำบาป นั่นคือ เขานั้น มีอีหม่านเข้ามาซึมซับในหัวใจของเขา เขาสำนึกเสมอว่า พระเจ้าทรงอยู่กับเขา และเขาไม่เห็นสิ่งใด นอกจากพระองค์ เท่านั้น

ประการที่สอง คือ การบริจาคเซาะดะเกาะฮ์ในยามที่เขามีเพียงน้อยนิด หมายความว่า เมื่อเวลาใดก็ตามที่มุอ์มิน มีรายจ่ายเพียงเล็กน้อย เขาก็สามารถจะบริจาคทานได้ ตามความสามารถของเขา  ซึ่งเป็นการกระทำที่ดีกว่า การบริจาคทานในขณะที่เขามี เพราะผู้ที่มีไม่มากแล้วบริจาคนั้นเป็นผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรักต่อเขามากกว่า ดังนั้น การบริจาคทานของผู้ที่มีไม่มากหรือน้อยคือ การมีอีหม่านที่แท้จริง

ประการที่สาม คือ การมีซอบัร (ความอดทน)ในยามเมื่อเกิดเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ที่ทำให้เขารู้สึกเสียใจ นั่นคือ สัญลักษณ์อีกประการหนึ่งของมุอ์มินที่แท้จริง เพราะฉะนั้น การมีความอดทนอดกลั้นของเขา คือ การมีความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพระเจ้าทางด้านจิตวิญญาณ

ประการที่สี่ คือ การมีฮิลม์ในยามโกรธ หมายความว่า ฮิลม์ คือ จุดสุดยอดของการมีความอดทน เพราะว่ามุอ์มินจะต้องมีความอดทน แต่การอดทนที่เขาสามารถบังคับมันได้จะทำให้เขาเป็นมุอ์มินที่สมบูรณ์  เมื่อเขารู้สึกโมโห เขาไม่แสดงมันออกมา โดยการอดทน หรือบังคับตัวของเขา จากการอดทน ด้วยเหตุนี้ การมีความอดทนลักษณะนี้ คือ บ่อเกิดแห่งความศรัทธาที่แท้จริง

ประการที่ห้า คือ การกล่าวสัตย์จริง ในยามที่มีความกลัว กล่าวได้ว่า การพูดโกหก เกิดขึ้นมาจากสองสิ่ง คือ การได้รับผลประโยชน์ และการขจัดอันตรายให้ออกไปจากเขา นี่คือ รากฐานของการพูดโกหก มนุษย์ เมื่อเขามีความกลัว เขาก็หวาดหวั่นว่า ผลประโยชน์จะหลุดออกจากเขา เขาจึงต้องพูดโกหก เช่น พ่อค้าที่เขาพูดโกหกลูกค้า เพื่อต้องการที่จะขายสินค้าให้กับลูกค้า ถ้าเขาไม่โกหกสินค้าของเขาก็จะไม่มีผู้ซื้อ

และบางครั้งเมื่อเขารู้สึกกลัวว่าจะเกิดผลกระทบและมีอันตรายต่อเขา เขาจึงต้องพูดโกหก จะเห็นได้ว่า  การพูดความจริงในขณะที่มีความหวาดกลัว คือ คุณลักษณะที่แท้จริงของมุอ์มิน

 

 ที่มา

1.บิฮารุลอันวาร เล่ม 64 หน้า 293

 

แปลโดย อิบนุ มุฮัมมัด

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ฟาฏิมะฮฺ(อ.) กับสถานภาพอันสูงส่ง
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ...
สิทธิ ของหู ดวงตาและเท้า
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...

 
user comment