ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

การวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าในมุมมองของอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.)

การวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าในมุมมองของอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.)
เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม
 
เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ คือการที่พวกเขาจะสามารถเชื่อมสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและถูกต้องต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาได้ เพื่อที่จะเสริมสร้างสายสัมพันธ์ต่อพระผู้เป็นเจ้าได้ดียิ่งขึ้นนั้น สถานที่และช่วงเวลาของการวิงวอนขอ (มุนาญาต) ถือว่ามีบทบาทสำคัญยิ่ง สถานที่อย่างเช่น มัสยิด และช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการวิงวอนขอพร (มุนาญาต) ต่อพระผู้เป็นเจ้าก็คือในช่วงเดือนรอมฎอนอันจำเริญ ขณะนี้ช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ถูกจัดเตรียมให้แล้วโดยพระผู้เป็นเจ้า ณ ที่นี้จำเป็นที่เราจะต้องรับรู้ถึงมารยาทของการภาวนาขอพร (มุนาญาต) ต่อพระผู้เป็นเจ้า กล่าวคือ เราจะภาวนาขอพรอย่างไร และเราจะวิงวอนขออะไร เพื่อที่จะเรียนรู้มารยาทของการภาวนาขอพร (มุนาญาต) ต่อพระผู้เป็นเจ้า สมควรอย่างยิ่งที่เราจะเรียนรู้มารยาทเหล่านี้จากบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ในเนื้อหาต่อไปนี้เราจะมาเรียนรู้สิ่งดังกล่าวจากท่านอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.)

เงื่อนไขของการตอบรับดุอาอ์

ปัญหาและความกังวลหลักของปวงบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าก็คือว่า จะขอดุอาอ์อย่างไรที่จะทำให้ดุอาอ์ของพวกเขาถูกตอบรับจากพระองค์ ด้วยจุดประสงค์ดังกล่าวนี้เองที่บรรดาผู้นำทางศาสนาจึงได้กล่าวถึงมารยาทและเงื่อนไขต่างๆ ไว้ ซึ่งด้วยกับการระวังรักษาและการปฏิบัติตามมารยาทและเงื่อนไขเหล่านี้ คาดหวังได้มากยิ่งขึ้นว่าดุอาอ์ของพวกเขาจะได้รับการตอบรับจากพระองค์
เกี่ยวกับเรื่องนี้มีฮะดีษบทหนึ่งที่รายงานมาจากท่านอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.) ด้วยเช่นกัน โดยที่ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวว่า

لَقِيَ الْحَسَنُ بْنُ عَلِيٍّ (عَلَيهِما السَّلام) عَبْدَ الله بْنَ جَعْفَرٍ فَقَالَ : يَا عَبْدَ الله كَيْفَ يَكُونُ الْمُؤْمِنُ مُؤْمِناً وَهُوَ يَسْخَطُ قِسْمَهُ وَيُحَقِّرُ مَنْزِلَتَهُ وَالْحَاكِمُ عَلَيْهِ الله وَأَنَا الضَّامِنُ لِمَنْ لَمْ يَهْجُسْ فِي قَلْبِهِ إِلا الرِّضَا أَنْ يَدْعُوَ الله فَيُسْتَجَابَ لَهُ

ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้พบกับอับดุลลอฮ์ บินญะอ์ฟัร โดยได้กล่าว (กับเขา) ว่า “โอ้อับดุลลอฮ์เอ๋ย! ผู้ศรัทธานั้นจะเป็นผู้ศรัทธา (ที่แท้จริง) ได้อย่างไร ?ในขณะที่เขาไม่พอใจต่อส่วนแบ่ง (และโชคผลที่ได้รับจากพระผู้เป็นเจ้า) ของเขา และดูถูกเหยียดหยามสถานภาพของตนเอง ในขณะที่ผู้ปกครองของเขาคืออัลลอฮ์ และฉันคือผู้ให้หลักประกันสำหรับบุคคลที่ไม่มีสิ่งใดปรากฏขึ้นในหัวใจของเขา นอกจากความพึงพอใจ โดยที่เขาจะวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ แล้วดุอาอ์ (การวิงวอนขอ) นั้นจะถูกตอบรับสำหรับเขา” (1)
 
จำเป็นจะต้องตระหนักว่า จุดประสงค์จากความพึงพอใจในกำหนดต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้านั้น มิได้หมายความว่า มนุษย์จะไม่ขวนขวายเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในชีวิตของตนเอง ทั้งนี้เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งได้ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า

وَأَن لَّيْسَ لِلْإِنسَانِ إِلَّا مَا سَعَىٰ

“และมนุษย์จะไม่ได้รับอะไร นอกจากสิ่งที่เขาได้ขวนขวายเอาไว้” (2)

แต่จุดประสงค์ก็คือ มนุษย์จะต้องไม่แสดงความไม่พอใจต่อสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานให้แก่เขา โดยที่เขายังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งดังกล่าวได้ และเขาจะต้องไม่โอดครวญและพร่ำบ่น อย่างเช่นการที่เขาจะกล่าวว่า ทำไมฉันถึงไม่เกิดมาในครอบครัวที่มีสถานภาพที่ดีกว่านี้ หรือกรณีที่เขาพยายามที่จะปรับปรุงสภาพการดำเนินชีวิตของตนเองแล้ว แต่ก็ไม่สามารถบรรลุผลตามที่ใจของเขาปรารถนา เขาจะต้องเข้าใจว่าสิ่งดังกล่าวนั้นมันเกินขอบเขตอำนาจของตัวเขาแล้ว และเขาจะต้องพอใจในสิ่งเกิดขึ้นกับเขาโดยที่เขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรมันได้ ตัวอย่างเช่น เขาได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วเพื่อที่จะแสวงหาอาชีพที่ดีกว่า หรือแสวงหาผลกำไรที่เป็นสิ่งฮะลาล (อนุมัติ) ให้ได้มากกว่า แต่ผลที่ได้รับนั้นไม่ได้ดั่งที่ใจหวัง ในที่นี้เขาจะต้องไม่แสดงความไม่พึงพอใจออกมา โดยคิดว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่ต้องการให้เขาได้ดีหรือไม่รักเขา!


คุณค่าขอการขอดุอาอ์ในที่ลับตาคน

กรณีที่ว่าเราจะวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร และจะวิงวอนขอจากพระองค์แบบใดในการที่จะทำให้บรรลุซึ่งความต้องการต่างๆ ของตนเอง สิ่งนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่ง มารยาทในการปรากฏตัวเบื้องพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่นี้ เราจำเป็นต้องเรียนรู้จากปวงบ่าวที่ดีที่สุดของพระองค์
ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้กล่าวเกี่ยวกับคุณค่าของการวิงวอนขอต่างๆ โดยลับตาผู้คน และการรับรู้ของพระผู้เป็นเจ้าในสิ่งที่เราวิงวอนขอ โดยกล่าวว่า

إن الله یعلم القلب التقی و الدعاء الخفی... و لقد کان المسلمون یجتهدون فی الدعاء و ما یسمع لهم صوت ، إن کان إلا همسا بینهم و بین ربهم


 
“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรู้ถึงหัวใจของผู้ยำเกรงและดุอาอ์ที่ซ่อนเร้น... และแน่นอนยิ่งบรรดามุสลิมนั้นจะอุตสาห์พยายามในการวิงวอนขอดุอาอ์ และเสียงจะไม่ถูกได้ยินสำหรับพวกเขา นอกจากเสียงกระซิบที่แผ่วเบาระหว่างพวกเขาและองค์พระผู้อภิบาลของพวกเขา” (3) นั่นเป็นเพราะอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งได้ทรงตรัสว่า

ادْعُوا رَبَّكُمْ تَضَرُّعًا وَخُفْيَةً

“พวกเจ้าจงวิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าในสภาพของการถ่อมตนและปกปิด” (4) และพระองค์ทรงยกย่องสรรเสริญศาสดาซะกะรียา (อ.) โดยตรัสว่า

إِذْ نَادَىٰ رَبَّهُ نِدَاءً خَفِيًّا

“เมื่อเขาวิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของเขา ด้วยการวิงวอนที่แผ่วเบา” (5) และระหว่างการขอโดยซ่อนเร้นและการขออย่างเปิดเผยนั้น มีความแตกต่างกันถึงเจ็บสิบเท่า (6)


จะวิงวอนขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้า

ในเดือนแห่งการวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้า อันได้แก่เดือนรอมฎอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงค่ำคืนลัยละตุลก็อดริ์ ซึ่งดูเหมือนว่าในวันและค่ำคืนเหล่านี้ ดุอาอ์ต่างๆ จะถูกตอบรับอย่างง่ายดายกว่าช่วงเวลาอื่นๆ แต่สำคัญคือว่า เราควรจะวิงวอนขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้า? แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับสิ่งดังกล่าวนี้ เราควรพิจารณาดูตัวบทดุอาอ์ต่างๆ ของบรรดามะอ์ซูม (อ.) ว่า พวกท่านวิงวอนขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้า เราจะขอนำเสนอตัวอย่างต่างๆ ของคำวิงวอนขอจากพระผู้เป็นเจ้าของท่านอิมามฮะซัน (อ.) ดังต่อไปนี้

ก. การมอบหมายความต้องการต่างๆ ที่จำเป็นทั้งทางโลกนี้และปรโลกต่อพระผู้เป็นเจ้า

ในการวิงวอนขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าของท่านอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.) นั้น ภายหลังจากการสรรเสริญและสดุดีต่อพระองค์ การขอพร (ซอละวาต) ให้แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และวงศ์วานของท่าน การวิงวอนขออภัยโทษจากพระองค์ การพรรณนาถึงเดชานุภาพต่างๆ ทั้งมวลของพระผู้เป็นเจ้า และการกล่าวซอละวาตแก่อะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) อีกครั้งหนึ่งแล้ว ในท้ายที่สุดท่านจะวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า

 و اکفنا مهمّ الدنیا و الآخرة فی عافیة یا ربّ العالمین
 

“และโปรดยังความพอเพียงแก่เหล่าข้าพระองค์ ซึ่งสิ่งจำเป็นแห่งโลกนี้และปรโลก ให้อยู่ในความดีงามอย่างสมบูรณ์ด้วยเถิด โอ้พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก” (7)

ข. การวิงวอนขอบั้นปลายชีวิตที่ดีงามจากพระผู้เป็นเจ้า

ตามความเชื่อของบรรดาผู้นำทางศาสนา ดุอาอ์ที่ดีที่สุดที่เราควรจะวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าให้พระองค์ทรงประทานบั้นปลายชีวิตที่ดีงามให้แก่เรา นั่นคือสภาพของผู้ที่มีศรัทธามั่น (มุอ์มิน) ต่อพระผู้เป็นเจ้าที่จะจากโลกนี้ไป การวิงวอนขอในลักษณะเช่นนี้ ในคำภีร์อัลกุรอานก็ได้ถูกกล่าวถึงไว้โดยพระผู้เป็นเจ้าเช่นเดียวกัน โดยได้กล่าวว่า

 رَبَّنا أَفْرِغْ عَلَیْنا صَبْراً وَ تَوَفَّنا مُسْلِمینَ

“โอ้พระผู้อภิบาลของเรา โปรดประทานความอดทนอย่างท่วมท้นแก่พวกเราด้วยเถิด และโปรดทรงให้พวกเราตายในฐานะผู้สวามิภักดิ์ด้วยเถิด” (8)

ท่านอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.) ยังได้วิงวอนขอต่อพระผู้พระเจ้าเช่นนี้ว่า

 اللَّهُمَّ اجْعَلْ خَيْرَ عُمْرِي آخِرَهُ ، وَخَيْرَ عَمَلِي خَوَاتِمَهُ ، وَخَيْرَ أَيَّامِي يَوْمَ أَلْقَاكَ

“โอ้อัลลอฮ์โปรดทรงบันดาลให้อายุขัยที่ดีงามที่สุดของข้าพระองค์อยู่ในช่วงท้ายของมัน และการกระทำที่ดีงามที่สุดของข้าพระองค์คือช่วงบั้นปลายของมัน และโปรดบันดาลให้ช่วงวันเวลาที่ดีงามของข้าพระองค์ คือวันที่ข้าพระองค์จะพบกับพระองค์ด้วยเถิด” (9)


ดุอาอ์ขณะละศีลอดของอิมามฮะซัน

ท่านอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.) กล่าวว่า

 أَنَّ لِكُلِّ الصَّائِمِ عِنْدَ فُطُورِهِ دَعْوَةً مُسْتَجَابَةً فَإِذَا كَانَ أَوَّلُ لُقْمَةٍ فَقُلْ بِسْمِ اللَّهِ [اللَّهُمَ] یَا وَاسِعَ الْمَغْفِرَةِ اغْفِرْ لِی فَإِنَّهُ مَنْ قَالَهَا عِنْدَ إِفْطَارِهِ غُفِرَ لَه

“แท้จริงสำหรับผู้ถือศีลอดทุกคนนั้น ในช่วงเวลาการละศีลอดของเขา ดุอาอ์จะถูกตอบรับ ดังนั้นในช่วงอาหารคำแรกของเขา เขาจงกล่าวว่า

 بِسْمِ اللَّهِ [اللَّهُمَ] یَا وَاسِعَ الْمَغْفِرَةِ اغْفِرْ لِی
 
“ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ โอ้อัลลอฮ์ โอ้ผู้ทรงเปิดกว้างในการให้อภัย ได้โปรดอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” ดังนั้น ผู้ใดที่กล่าวดุอาอ์นี้ในขณะการละศีลอดของเขา เขาจะได้รับการอภัยโทษ" (10)

ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) อีกบทนึ่งของท่านอิมามฮะซัน (อ.) ท่านกล่าวว่า

ผู้ใดที่กล่าวในขณะละศีลอด ในช่วงอาหารคำแรกของเขาว่า

 بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمنِ الرَّحِیمِ یَا وَاسِعَ الْمَغْفِرَةِ اغْفِرْ لِی

“ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณายิ่งผู้ทรงปรานียิ่ง โอ้ผู้ทรงเปิดกว้างในการให้อภัย ได้โปรดอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” เขาจะได้รับการอภัยโทษ" (11)
 
 










แหล่งที่มา :
 
1) บิฮารุ้ลอันวาร เล่มที่ 43 หน้าที่ 351
2) ซูเราะฮ์อันนัจญ์มุ/อายะฮ์ที่ 39
3) ตัฟซีรอัลกัชช๊าฟ, มะห์มูด ซะมัคชะรี, เล่มที่ 2 หน้าที่ 110
4) ซูเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ/อายะฮ์ที่ 55
5) ซูเราะฮ์มัรยัม/อายะฮ์ที่ 3
6) ฟัรฮังก์ ญาเมี๊ยะอ์ ซุคอนอเน่ อิมามฮะซัน (อ.) มุฮัมมัด ดัชตี, หน้าที่ 332
7) บะลาเฆาะฮ์ อัลอิมามุลฮะซัน อัลมุจญ์ตะบา (อ.) มะฮ์ดี อัลอัฏบี อัลบัศรี และเพื่อนร่วมงาน หน้าที่ 22
8) ซูเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ/อายะฮ์ที่ 126
9) มุฮะญุดดะอะวาต วะมันฮะญุลอิบาดาต, ซัยยิดอิบนุฏอวูซ, หน้าที่ 144
10) อิกบาลุลอะอ์มาล, ซัยยิดอิบนุฏอวูซ (พิมพ์เก่า) เล่มที่ 2, พิมพ์ครั้งที่สอง ฮ.ศ. 1409, สำนักพิมพ์ดารุ้ลกุตุบิลอิสลามียะฮ์ (เตหะราน) เล่มที่ 1 หน้าที่ 116
11) หนังสืออ้างอิงเล่มเดิม

ขอขอบคุณเว็บไซต์ซอฮิบซะมาน

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

อัลกุรอาน ...
...
ยุทธวิธี การขับเคลื่อน ...
รู้จัก “วีรชนแห่งกัรบะลาอฺ” ...
ท่านอนที่ดีที่สุดในอิสลาม
...
ดุอาประจำวันที่ 26 ...
ประเภทของเตาฮีด
ความจำเป็นในการแสวงหาศาสนา
การชำระตนจากบาปด้วยการอิบาดะฮ์

 
user comment