ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน วัฒนธรรมแห่งยุคสมัย ตอนที่ 2

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน วัฒนธรรมแห่งยุคสมัย ตอนที่ 2

   โดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี

 

       และในอีกโองการหนึ่งในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน

 

اسْتَحْوَذَ عَلَيْهِمُ الشَّيْطَانُ فَأَنسَاهُمْ ذِكْرَ اللَّهِ أُوْلَئِكَ حِزْبُ الشَّيْطَانِ أَلَا إِنَّ حِزْبَ الشَّيْطَانِ هُمُ الْخَاسِرُونَ  

 

       "ชัยฎอนมารร้ายได้เข้าไปครอบงำพวกเขาเสียแล้ว มันจึงทำให้พวกเขาลืมการรำลึกถึงอัลลอฮ์ ชนเหล่านั้นคือบรรดาพรรคพวกของชัยฏอน พึงทราบเถิดว่า แท้จริงพรรคพวกของชัยฏอนนั้น พวกเขาเป็นผู้ขาดทุน" (ซูเราะห์ อัลมุญาดะละฮ์ โองการที่ 19)  

 

       และอีกโองการหนึ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงตรัสไว้เกี่ยวกับท่านศาสดาอัยยู๊บ (อ.) ว่า

 

وَاذْكُرْ عَبْدَنَا أَيُّوبَ إِذْ نَادَى رَبَّهُ أَنِّي مَسَّنِيَ الشَّيْطَانُ بِنُصْبٍ وَعَذَابٍ

 

        "และจงรำลึกถึงบ่าวของเรา อัยยู๊บ เมื่อเขาวิงวอนขอต่อพระเจ้าของเขา โดยกล่าวว่า ชัยฏอนมารร้ายได้ทำให้ฉันได้รับความเหนื่อยยาก และทุกข์ทรมาน" (ซูเราะฮ์ อัศศ๊อด โองการที่ 41)

 

         ท่านศาสดาอัยยู๊บ (อ.) ได้กล่าวแก่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ว่า "โอ้อัลลอฮ์ ชัยฏอนมารร้ายได้ทำให้ฉันได้รับความเหนื่อยยาก และทุกข์ทรมาน" แล้วชัยฏอนมารร้ายทำอะไรกับท่านศาสดาอัยยู๊บหรือ??? แน่นอนชัยฏอนไม่ได้เอามีดมาทิ่มแทงท่าน หรือหยิบไม้มาทุบตีท่าน หรือมีอิทธิพลใดๆ เหนือท่านศาสดาอัยยู๊บแต่ประการใด แต่สิ่งที่ชัยฏอนได้สร้างความเหนี่อยยาก และทุกข์ทรมานแก่ท่านก็คือ การที่ชัยฏอนมารร้ายได้ยุแหย่ ล่อลวงแก่ผู้ที่ต้องการเป็นผู้ศรัทธาในสิ่งที่ท่านนำมาประกาศนั่นเอง

 

      โดยการยุแหย่ว่า อย่าไปหาเขาเลย อย่าไปเชื่อปฏิบัติตามเขาเลย ยุแหย่ใส่ร้ายต่างๆนานา จนหลายคนไม่ยอมเชื่อฟังท่านศาสดาอัยยู๊บ (อ.) จนทำให้ท่านศาสดาอัยยู๊บต้องต้องเหน็ดเหนี่อยและทุกข์ทรมาน ดังนั้นโองการข้างต้นจึงเป็นแค่การรำพึงถึงสถานภาพของท่านศาสดาอัยยู๊บ (อ.) เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ชัยฏอนมารร้ายสร้างความเหนี่อยยากและทุกข์ทรมานแก่ท่านโดยตรง

 

       อีกโองการหนึ่งพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทรงตรัสเอาไว้เกี่ยวกับผลของต้น "ซักกูม" ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ถูกนำมาจากก้นบึ้งของขุมนรก ว่า طَلْعُهَا كَأَنَّهُ رُؤُوسُ الشَّيَاطِينِ

 

       "ผลของมันคล้ายกับหัวของชัยฏอน" (ซูเราะฮ์อัศศ๊อฟฟ๊าต โองการที่62-65) ชาวอาหรับได้จินตนาการอันน่าเกลียดของชัยฏอนมารร้ายเอาไว้เป็นรูปเป็นร่าง และพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานก็ได้นำเสนอความเชื่ออันนี้ของพวกอาหรับ كَأَنَّهُ رُؤُوسُ الشَّيَاطِينِ หมายถึงลักษณะอันน่าเกลียดน่ากลัวที่ชาวอาหรับได้จินตนาการเอาไว้ ตรงนี้เองที่พวกไม่เข้าใจทั้งหลายกล่าวว่า พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของชาวอาหรับ แต่ทว่า คำตอบต่อข้อกล่าวหานี้คือ

 

الشَّيَاطِينِ  كَأَنَّهُ رُؤُوسُ

 

         ความหมายที่แท้จริงของ شَّيَاطِينِ  ตรงนี้คือ "งูชนิดหนึ่ง" ที่อาศัยอยู่ตามท้องทะเลทราย และชอบเลื้อยขึ้นไปอาศัยอยู่ตามต้นไม้ งูชนิดนี้มีหัวที่น่าเกลียดน่ากลัวเป็นอย่างมาก ซึ่งงูชนิดนี้ถูกเรียกว่า "งูชัยฏอน" ชาวอาหรับเมื่อได้เจองูชนิดนี้จะรู้สึกขลาดกลัวและขยะแขยงเป็นอย่างมาก พวกมันจะอยู่ตามต้นไม้ หัวของมันจะคล้ายกับผลของต้นไม้มาก อัลกุรอานจึงเปรียบผลของต้น "ซักกูม" คล้ายกับหัวของชัยฏอนมารร้าย ซึ่งน่าขยะแขยงเป็นที่สุดที่พระองค์ได้ทรงตระเตรียมเอาไว้ให้เหล่าผู้อธรรมในวันแห่งการตอบแทน ดังนั้นในโองการข้างต้นจึงเป็นแค่การเปรียบเทียบเท่านั้น ซึ่งภายนอกคืองูชนิดหนึ่ง แต่ภายในคือผลไม้ที่น่าขยะแขยงที่สุดของต้น "ซักกูม"

 

        ดังนั้นความหมายของชัยฏอนในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน คือการเปรียบเปรยกับสิ่งที่อยู่ภายนอกดังในโองการต่างๆ ที่หยิบยกมากล่าวเป็นตัวอย่าง มิได้หมายถึงชัยฏอนมารร้ายซึ่งเป็นสิ่งถูกสร้างหนึ่งของพระองค์เสมอไป

 

          ปัญหาคือบุคคลที่โง่เขลาเขาไม่มีความเข้าใจในเรื่องของภาษาอาหรับ เขาจึงเข้าใจความหมายพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานแบบผิดๆ 

 

        การที่พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้นำเสนอแค่บางส่วนจากวัฒนธรรมของชาวอาหรับ นั่นหมายถึงว่าพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของอาหรับหรือ?

 

         แล้วการประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และชาวอาหรับต่างหากที่รับเอาวัฒนธรรมนั้นมาจากศาสดาอิบรอฮีม (อ.) แล้วจะกล่าวได้อย่างไรว่า อัลกุรอานได้เอาวัฒนธรรมแห่งฮัจญ์มาจากวัฒนธรรมอาหรับ ในเมื่อการประกอบพิธีฮัจญ์ไม่ใช่วัฒนธรรมของอาหรับ?

 

          การทำมาค้าขายก็มีอยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน แล้วจะบอกว่าพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของอาหรับอีกหรือ?

 

          สมมุติว่า พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ถูกประทานลงมาเป็นภาษาไทย และได้หยิบยกเรื่องราวของคนไทยไปเปรียบเปรยในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน นั่นหมายถึงพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมไทยหรือ?

 

          เมื่อพระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า      وَمَا أَرْسَلْنَا مِن رَّسُولٍ إِلاَّ بِلِسَانِ قَوْمِهِ لِيُبَيِّنَ لَهُمْ

 

         "และเรามิได้ส่งร่อซูลคนใด นอกจากด้วยการพูดภาษาชนชาติของเขา เพื่อจะได้ชี้แจงอย่างชัดแจ้งแก่พวกเขา" (ซูเราะฮ์อิบรอฮีม โองการที่ 4)

 

لِسَانِ    หมายถึง "ภาษา" และการใช้ "ภาษา" ในการเปรียบเทียบ การพาดพึงถึง คำอุปมา สุภาษิตของภาษานั้นๆ ที่นำมาใช้ไม่ได้หมายความว่า เป็นการได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของชนที่ใช้ภาษานั้น แน่นอนหากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานถูกประทานลงมาเป็นภาษาไทย พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานก็จะใช้ภาษาในการเปรียบเทียบ การพาดพึงถึง คำอุปมา และสุภาษิตของภาษาไทยอย่างแน่นอน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของชนชาวไทยแต่อย่างใด

 

           ดังนั้นเราไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่า "พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน คือสิ่งซึ่งได้สร้างวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย ไม่ใช่สิ่งซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง"

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์อะฮ์ลุลบัยต์อะคาเดมี

http://www.ahlulbait.org

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ฟาฏิมะฮฺ(อ.) กับสถานภาพอันสูงส่ง
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ...
สิทธิ ของหู ดวงตาและเท้า
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...
ฟาฏิมะฮ์ ...

 
user comment