ไทยแลนด์
Thursday 28th of March 2024
0
نفر 0

การรู้จักพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน

การรู้จักพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน

การรู้จักพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน

 

คัมภีร์อัล -กุรอาน (Al-Quran) คือ คัมภีร์ของศาสนาอิสลาม ที่ชาวฝรั่งเรียกกันว่า โกราน (Koran) คำว่า “อัล” เท่ากับ the ซึ่งในภาษาอังกฤษไม่ได้มีความหมายพิเศษอะไร คำว่า “กุรอาน” แปลว่า “สิ่งที่จะต้องอ่าน” (That which is to be read) บ้างแปลว่า “บทอ่าน” หรือ “บทท่อง” (The Reading) บ้าง

 

ถอดความง่าย ๆ ก็คือแปลว่า


“พระคัมภีร์” เพราะเป็นสิ่งที่ศาสนิกชนจะต้องอ่านต้องศึกษาให้เข้าใจ รวมทั้งให้สามารถอ่านด้วยทำนองที่ไพเราะและมิศิลปะได้ คัมภีร์อัลกุรอานกำเนิดมาจากการเขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของท่านนบีมูฮัมมัด ผู้อ้างว่าได้รับทราบจากทูตสวรรค์บ้าง จากพระองค์อัลลอฮ์โดยตรงบ้าง กล่าวคือ พระองค์อัลลอฮ์ทรงประทานมาให้แก่ท่านนบีมูฮัมมัด ในลักษณะลงวะฮีย์ (เผยโองการ) โดยตรงบ้าง โดยผ่านญิบรีล (กาเบรียล) สู่ท่านนบีบ้าง เพื่อให้ใช้เป็นธรรมนูญ ในการดำเนินชีวิตของมุสลิมทั่วโลก มุสลิมทุกคนถือว่าคัมภีร์อัล-กุรอานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะต้องแสดงความเคารพอย่างเคร่งครัด เพราะทุกตัวอักษรทุกคำเกิดจากการเปิดเผย (วะฮีย์) ของพระเจ้า เป็นเทวบัญชาของพระเจ้า และเป็นสัจพจน์ ที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าที่ไม่มีใครจะสงสัยดัดแปลงแก้ไขได้
คัมภีร์อัล-กุรอานนี้ได้มีการรวบรวมบันทึกไว้ด้วยภาษาอาหรับ เป็นรูปเล่มอย่างสมบูรณ์ครั้งแรกหลังจากที่ท่านนบีสิ้นชีวิตแล้ว 5 เดือน มีขนาดหนังสือน้อยกว่าคัมภีร์ไบเบิ้ลของศาสนาคริสต์ บันทึกไว้ในทำนองร้อยแก้ว และมีบางตอนในบทท้ายเล่มทีถ้อยคำสอดคล้องกัน มีจังหวะรับกันเหมือนโคลงกลอนในกวีนิพนธ์ มีเนื้อหาหลายตอนที่คล้ายคลึงกับคัมภีร์ของศาสนายิวและศาสนาคริสต์ ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่ว่าความจริงแล้วคัมภีร์อัล-กรุอาน ถือเป็นคัมภีร์สุดท้ายที่บูรณ์ที่สุดเพราะได้เพิ่มเติมสิ่งที่ขาดในคัมภีร์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางทฤษฎีหรือการปฏิบัติไว้อย่างครบถ้วน สำหรับบุคคลและสังคมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตการอยู่รวมกัน การแต่งงาน การตาย อาชีพการทำมาหากิน เศรษฐกิจ สังคม การปกครอง และการเมือง


ลักษณะการบรรจุเนื้อหาในคัมภีร์อัล-กุรอานแบ่งออกเป็น “ซูเราะฮ์” หรือ บทมี 114 บท (หรือจะเรียกว่า “บรรพ” ก็ได้) แต่ละบทประกอบด้วย “อายะฮ์” หรือโองการ มีทั้งหมด 6,666 โองการ (หรือจะเรียกว่า “วรรค” ก็ได้) จำนวนโองการของแต่ละบทจะไม่เท่ากัน ถ้าคิดเป็นคำทั้งหมดในคัมภีร์มีจำนวนนับได้ 77,639 คำ แต่ละบท (ซูเราะฮ์) จะมีชื่อหัวข้อกำกับและบอกว่า ทรงส่งข้อความลงมา ณ ที่ไหน คือ ที่เมืองเมกกะหรือที่เมืองเมดินะ ทั้ง 2 เมืองนี้มีเนื้อหาสาระแตกต่างกัน คือ


1.ซูเราะฮ์ที่เมืองเมกกะ เรียกว่า มักกียะฮฺ มีจำนวน 93 ซูเราะฮ์เป็นโองการสั้น ๆ กล่าวถึง
1.1 เรื่องราวของชนชาติต่าง ๆ และความพินาศล่มจมแห่งสังคมชนชาติต่าง ๆ
1.2 ลักษณะอันเป็นเอกภาพของพระองค์อัลลอฮ์ และศรัทธาที่ควรมีต่อพระองค์
1.3 ข้อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของอัลลอฮ์ และคำสอนให้ประพฤติดี เว้นชั่ว
2.ซูเราะฮ์ที่เมืองมะดีนะฮ์ เรียกว่า “มะดะนียะห์” มีจำนวน 21 ซูเราะฮ์ เป็นโองการที่ค่อนข้างยาวกล่าวถึง
1.1 ประมวลกฎหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับมรดก การซื้อขาย การหย่าร้าง ฯลฯ
1.2 หลักปฏิบัติของมุสลิม เช่น การถือศีลอด การประกอบพิธีฮัจญ์ ฯลฯ  

 

ข้อควรทราบอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ปราชญ์มุสลิมในสมัยต่อมาได้นำเอาซูเราะฮ์ทั้งหมดในคัมภีร์อัล-กุรอานมาแบ่งเป็น 30 บท แต่ละบทมีความยาวใกล้เคียงกัน เรียกว่า “ญุซอ์” เพื่อให้มุสลิมผู้มีศรัทธาได้ใช้อ่านวันละบทในระหว่างถือศีลอดในเดือน รอมฎอนครบ 30 วัน 30 บทพอดี ปัจจุบันนี้คัมภีร์อัล-กุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ เกือบทุกภาษา และแพร่หลายไปทั่วโลก รวมทั้งฉบับภาษาไทย


นอกจากนี้ยังมีอัล-ฮะดีษ(Al-Hadith) แปลตามศัพท์ว่า “อธิบาย” เป็นการบันทึกหรืออธิบายเกี่ยวกับคำสอน ตลอดจนจริยาวัตรของท่านศาสดานบีมูฮัมมัด เดิมเป็นเรื่องเล่าและจดจำสืบต่อกันมา ภายหลังจึงมีผู้รวบรวมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มีหลายสำนวนหลายภาษา และมีมากมาย ฉบับภาษาไทยก็มี กล่าวกันว่ามีจำนวนไม่น้อยกว่า 4000 ข้อ เช่น
-มนุษย์ที่ดีที่สุด คือผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์


-ผู้ใดมีความพยายาม ผู้นั้นจะได้รับความสำเร็จ
-บุรุษที่อิ่มหนำสำราญในขณะที่เพื่อนบ้านของเขากำลังตกยากนั้น ไม่ใช่มุสลิม
-อย่าริอ่านเป็นคนติดเหล้าหรือเล่นการพนัน
-ผู้ที่ดีที่สุดในพวกท่าน คือ ผู้ปฏิบัติต่อครอบครัวของเขาอย่างดีที่สุด


ชาวมุสลิมนิยมศึกษาอัล-ฮะดีษ เพื่อทราบรายละเอียดในชีวิตของท่านศาสดานบีเพื่อยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ถ้าเปรียบเทียบกับคัมภีร์อัล-กุรอานแล้ว อัล-ฮะดีษเป็นหนังสือที่มีความสำคัญก็จริง แต่ไม่อาจเปรียบเทียบความยิ่งใหญ่และความศักดิ์สิทธิ์ได้เท่ากับคัมภีร์อัล-กุรอาน ซึ่งเป็นพระวจนะและเป็นการสำแดง (Reveal) ของพระเจ้าที่ใคร ๆ จะโต้เถียงมิได้ แต่ถ้าพิจารณาในแง่การตีความและการปฏิบัติแล้ว ข้อความในคัมภีร์อัล-กุรอานมีหลายตอนที่เข้าใจยากและยังต้องการตีความกัน และเจ้าสำนักตีความทั้งหลายมักจะยกเอาอัล-ฮะดีตมาเป็นเครื่องช่วยในการพิจารณาตัดสินว่าคำใดถูกต้อง เพราะคำอธิบายและแบบอย่างจริยาวัตรของท่านนบีมูฮัมมัดเองถือว่าสูงกว่าพวกนักปราชญ์ใด ๆ ดังนั้น ในแง่การตีความและการปฏิบัติแล้ว อัล-ฮะดีษจึงยังคงความสำคัญอยู่มากทีเดียว


ในราวปี ค.ศ.610 เมื่อมุฮัมมัดนั่งบำเพ็ญตนอยู่ในถ้ำบนยอดเขาฮิรออฺตามดั่งที่เคยทำเป็นประจำ ญิบรออีล ทูตแห่งอัลลอฮ์ก็ปรากฏตนขึ้น และนำพระโองการจากพระผู้เป็นเจ้ามีความว่า “จงอ่านเถิด ด้วยพระนามแห่งผู้อภิบาล ผู้ทรงให้บังเกิด พระองค์ผู้ทรงให้มนุษย์เกิดมาจากเลือดก้อนหนึ่ง จงอ่านเถิด และพระผู้อภิบาลของเธอนั้นคือผู้ทรงใจบุญยิ่ง ผู้ทรงสอนมนุษย์ด้วยปากกา ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้”(บทอัลอะลัก)


ตั้งแต่นั้นมา มุฮัมมัดก็ได้กลายเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ที่ต้องรับหน้าที่ประกาศศาสนาของอัลลอฮ์ นั่นคือ ศาสนาอิสลาม ที่ตั้งอยู่บนหลักการไม่บูชาสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ การวิวรณ์ การรับสาส์น หรือโองการจากอัลลอฮ์นั้นเรียกในภาษาอาหรับว่า วะฮีย์ ศาสดามุฮัมมัดได้รับวะฮีย์เป็นคราวๆ ทะยอยลงมาเรื่อยๆ จากวะฮีย์แรกถึงวะฮีย์สุดท้ายใช้เวลา 23 ปี ทุกครั้งที่วะฮีย์ลงมา ท่านศาสนทูตจะประกาศให้สาวกของท่านทราบ เพื่อจะได้ไปประกาศให้คนอื่นทราบอีกต่อไป สาวกจะพยายามท่องจำวะฮีย์ที่ลงมานั้นจนขึ้นใจ และท่านศาสดาจะสั่งให้อาลักษณ์ของท่านบันทึก ลงในสมุดที่ทำด้วยหนังสัตว์ กระดูก หรือสิ่งอื่นๆที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ คัมภีร์อัลกุรอานสุดยอดของวาทศิลป์ ชาวอาหรับสมัยนั้นเก่งกาจในเชิงกวีนิพนธ์ มีกวีลือนามปรากฏอยู่ทุกเผ่า ที่กะอฺบะหฺนั้นก็มี บทกวีที่แต่งโดยเจ็ดยอดกวีอาหรับ เขียนด้วยน้ำทองคำแขวนอยู่ ในงานแสดงสินค้าประจำปีที่ อุกาศ ในอาราเบีย ที่จัดให้อาหรับทุกเผ่าพันธุ์มาพบปะแลกก็จะมีกิจกรรมที่สำคัญที่สุดร่วมอยู่ด้วย นั่นคือการประชันบทกวี อันลักษณะของคัมภีร์อัลกรุอานนั้นอยู่กึ่งกลางระหว่างร้อยแก้วและร้อยกรอง คัมภีร์อัลกรุอานจึงเป็นสิ่งท้าทายที่พิศดารสำหรับชาวอาหรับ เพราะเป็นร้อยแก้วมีความไพเราะได้ โดยไม่ต้องใช้มาตราสัมผัสและบทวรรคตามกฏของกวีนิพนธ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอาหรับฉงนใจว่า คนที่ไม่เคยแต่งโคลงกลอนและอ่านเขียนไม่ได้อย่างมุฮัมมัด จะต้องไม่ใช่ผู้แต่งอัลกุรอานเป็นแน่


อัลกุรอานแบ่งออกเป็นบท เรียกว่า ซูเราะฮ์ ซึ่งมีทั้งหมด 114 ซูเราะฮ์ แต่ละซูเราะฮ์ แบ่งเป็นวรรค สั้นยาวไม่เท่ากัน เรียกว่า อายะฮ์ (แปลว่า สัญลักษณ์) ซึ่งอัลกรุอาน มีอายะฮ์ทั้งหมด 6236 อายะฮ์ตามการนับมาตรฐาน (ดู คัมภีร์มาตรฐานที่พิมพ์โดยรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย) เนื้อหาในอัลกุรอานนั้นแบ่งได้ สามหมวดคือ หนึ่งเกี่ยวกับหลักการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้า ความเร้นลับที่มีอยู่ในและนอกกาละ และเทศะ หมวดที่สองคือพงศาวดารของประชาติก่อนอิสลาม และคำพยากรณ์สำหรับอนาคตกาล หมวดที่สามเป็นนิติบัญญัติสำหรับมนุษย์ที่จะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในแต่ละซูเราะหฺหรือแม้ใน แต่ละวรรคอาจจะมีที่ระบุถึงสามหมวดในเวลาเดียวกัน คัมภีร์อัลกรุอานมีความมหัศจรรย์หลายอย่าง


ประการแรก ก็คือความไพเราะที่กวีทุกคนต้องยอมสยบ


ประการที่สอง คือการเปิดเผยความลี้ลับของศาสตร์และวิทยาการแขนงต่าง ๆ ที่คนสมัยนั้นยังไม่ทราบ


การเปิดเผยพงศาวดารในอดีต การพยากรณ์อนาคต การเปิดเผยความลี้ลับที่วิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ ดั่งเช่น การระบุถึงการขยายตัวของจักรวาล คลื่นใต้น้ำ และบทบาทของลมในการผสมพันธ์ของต้นไม้เป็นต้น การที่ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่ไม่แก่เฒ่าหรือตายเหมือนภาษาอื่นๆ และการที่วิทยาการที่มีระบุในคัมภีร์อัลกรุอาน ไม่เคยล้าสมัย อีกทั้งคำสั่งสอนของอัลกุรอานก็เอาหลักตรรกวิทยาและปัญญาเป็นพื้นฐาน คัมภีร์ที่เก่าแก่นานถึง 1400 ปีนี้จึงไม่เก่าแก่ตามอายุ ทว่ายังใช้การได้ประดุจดังคัมภีร์นี้เพิ่งลงมา เมื่อวันนี้นี่เอง

 

ด้วยความมหัศจรรย์ของกรุอานดังที่กล่าวมาคือปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่ ที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานให้แก่ ท่านนบีมูฮัมมัด เพื่อยืนยันว่า อัลกรุอานเป็นโองการของพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริงไม่ใช่กวีนิพนธ์ของมนุษย์ และถ้าพวกเธอยังแคลงใจใน(อัลกรุอาน)ที่เราประทานแก่บ่าวของเรา พวกเธอก็จงนำมาสักบทหนึ่งเยี่ยงนั้น และจงเรียกผู้ช่วยเหลือของพวกเธอมา –นอกจากอัลลอฮ์- ถ้าพวกเธอแน่จริง หลังจากศาสดามุฮัมมัดประกอบพิธีฮัจญ์ในมักกะฮ์ อัลลอฮ์ก็ได้ทรงประทานโองการอันสุดท้าย นั่นคือ วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเธอสมบูรณ์ และฉันได้ทำให้ความโปรดปรานของฉันที่มีต่อพวกเธอนั้น บริบูรณ์ และฉันได้เลือกให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเธอ (อัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 3) การเรียบเรียงโองการนั้นไม่ได้ถือหลักระดับก่อนหลังเป็นหลัก ทว่าอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงกำหนดวิธีการเรียง โองการที่ลงมาตอนท่านศาสดาอพยพ ซึ่งที่เรียกว่า มักกียะฮ์ ก็อาจจะเข้าไปอยู่ในบทที่มีโองการที่ลงมาหลัง อพยพไปมะดีนะฮ์ คือทีเรียกว่า มะดะนียะฮ์ ก่อนญิบรีลจะมาฟังท่านศาสดาอ่านทบทวนโองการที่ได้รับ ปีละครั้งทุกๆปี แต่ในปีสุดท้ายก่อนท่านศาสดาจะเสียชีวิตนั้น ญิบรออีลได้มาฟังท่านศาสดาอ่านทบทวน อัลกุรอานสองครั้งเพื่อความมั่นใจว่าท่านศาสดาได้จดจำโองการทั้งหมด โดยไม่มีที่ตกบกพร่อง ท่านศาสดาเสียชีวิตหลังจากโองการอัลกุรอานได้รวบรวมขึ้นเป็นเล่มบริบูรณ์ เนื่องด้วยอัลกุรอานเป็นธรรมนูญของอิสลาม จึงเกิดมีวิทยาการใหญ่ๆแตกแขนงมาจากอัลกุรอาน หลายสาขา เช่น วิชาตัจญ์วีด ซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานให้ถูกต้อง วิชาอุลูมอัลกุอาน หรือที่เรียกว่า อุศูลอัลกุรอาน เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของอัลกุรอาน ศึกษาว่าโองการแต่ละโองการลงมาที่ไหนเมื่อไหร่และเหตุใด อันเป็นส่วนช่วยในการตีความหมายอัลกุรอาน หรือที่เรียกว่า ตัฟซีรอัลกุรอาน

 

ตั้งอดีดจนกระทั่งปัจจุบันได้มีนักปราชญ์อิสลามหลายสิบท่านที่ได้แต่งหนังสือตีความหมายอัลกุรอาน เรียกหนังสืออรรถาธิบายนี้ว่า หนังสือตัฟซีร และเรียกผู้แต่งว่า มุฟัซซิร การตีความหมายอัลกุรอาน จะใช้หลักของอุลูมอัลกุรอานดังกล่าวบวกเข้ากับพระวจนะของท่านศาสดา ภาษาศาสตร์ และวิทยาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันนี้ชาวมุสลิมจะอ้างอิงหนังสือตัฟซีรเก่าๆเป็นหลักในการเขียนตัฟซีรใหม่ หรือในการแปลความหมายอัลกุรอานเป็นภาษาอื่นๆ การตีความหมายอัลกุรอาน เนื่องจากคัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มีวาทศิลป์เลอเลิศ จึงไม่มีใครแม้แต่ผู้เดียวยอมรับว่าสามารถ แปลอัลกุรอานได้ดีพอ แน่นอนทีเดียว นั่นก็เป็นการท้าทายของอัลกุรอานอีกประการหนึ่ง เพราะถ้าหากสามารถแปลเป็นภาษาอื่นให้มีอรรถรสเหมือนแม่บทได้ ความมหัศจรรย์ก็จะหมดไป อย่างไรก็ตามงานแปลเป็นที่จำเป็นต้องทำ นักวิชาการมุสลิมในแต่ละประเทศในโลกจะพยายามแปลความหมาย ของอัลกุรอาน ในปัจจุบันอัลกุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาส่วนใหญ่ของโลกทุกภาษาแล้ว

 

ขอขอบคุณ เว็บไซต์ตักรีบมะซอฮิบอิสลาม

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อาณาจักรดุอาสะฮัร
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 ...
ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ ...
...
...
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 ...
ดุอาประจำวันที่ 18 ...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย

 
user comment