ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

ประชาชาติสายกลางในทัศนะของอัลกุรอาน

ประชาชาติสายกลางในทัศนะของอัลกุรอาน

ประชาชาติสายกลางในทัศนะของอัลกุรอาน

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า

وَقَالَتِ الْيَهُودُ لَيْسَتِ النَّصَارَى عَلَىَ شَيْءٍ وَقَالَتِ النَّصَارَى لَيْسَتِ الْيَهُودُ عَلَى شَيْءٍ وَهُمْ يَتْلُونَ الْكِتَابَ كَذَلِكَ قَالَ الَّذِينَ لاَ يَعْلَمُونَ مِثْلَ قَوْلِهِمْ فَاللّهُ يَحْكُمُ بَيْنَهُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ فِيمَا كَانُواْ فِيهِ يَخْتَلِفُونَ


และพวกยิวกล่าวว่า พวกคริสต์มิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใด และพวกคริสต์กล่าว่า ชาวยิวมิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใด ทั้ง ๆ ที่พวกเขาอ่านคัมภีร์ ในทำนองเดียวกัน พวกที่ไม่มีความรู้ (บรรดามุชริก) ก็ยังกล่าวเยี่ยงคำกล่าวของพวกเขา ดังนั้น ในวันฟื้นคืนชีพ อัลลอฮฺจะทรงตัดสินระหว่างพวกเขาในเรื่องที่พวกเขาขัดแย้งกัน [1]

อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนดให้มวลมุสลิมเป็นประชาชาติสายกลางในหมู่ประชาชาติทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พวกยิวและคริสต์ ดังนั้น ประชาชาติสายกลางจึงต้องห่างไกลจากความล้าหลัง และการทำที่เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลามเลยเถิดในด้านความเชื่อ และเรื่องเป็นพฤติกรรมของบรรดาศาสนทูตทั้งหลาย

ท่านฮากิมอัลนิชาบูรีย์ กล่าวว่า “แท้จริงพวกเขาคือ พวกอยู่ตรงกลางในเรื่องศาสนาระหว่างพวกทำที่ทำเลยเถิด กับพวกที่หย่อนยานในหน้าที่ ระหว่างพวกทีทำเยยเถิดกับพวกที่ล้าหลังในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพของบรรดาศาสนทูต เช่น พวกยิวและคริสต์ [2]

สภาพสายกลางนั้นหมายถึง ดีและสมดุลที่สุด

ท่านซะมัคชะรีย์ กล่วว่า “ที่บอกว่าสิ่งที่ดีนั้นคือสายกลาง ก็เพราะว่ารอบ ๆ มันต่างมีแต่ความอ่อนแอ และไร้ค่าที่ต่างมุ่งเป้ามาที่ส่วนกลาง ส่วนตรงกลางนั้นเป็นหลักและได้รับการปกป้อง..... หรือมีสภาพสมดุลนั้น ก็เพราะว่าส่วนกลางนั้นเป็นตัวสร้างสมดุลระหว่างสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวมัน”[3]

ท่านอัล กุรฏุบีกล่าวไว้เหมือนกับซะมัคชะรีย์เช่นกัน[4]

สภาพความเป็นกลาง หมายถึงการสมดุลระหว่างการเกินเลย กับการขาดตกบกพร่องนั้นถูกนำมาใช้ตามทัศนะอันมีชื่อเสียงของนักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน [5]

โองการนี้ก็เหมือนโองการข้างต้นที่ว่า มีเจตนารมณ์ให้หมายถึงประชาชาติโดยรวม ถึงแม้ว่าบุคคลบางกลุ่ม เช่น อับดุลลอฮฺ บิน อะบีฮาติม รอซี เคาะฏีบ บัฆดาดี อิบนุฮะซัร อัซก่อลานี อิบนุอับดุลบิร กุรฏุบี อิบนุศศิลาฮ์ และอิบนุนนัจญาร[6] ได้พยายามดึงลงมาครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคล โดยกำหนดว่า มุสลิมทุกคนนั้นอยู่ในทางสายกลางและมีความสมดุล แล้ว “เซาะฮาบะฮ์”ทั้งหมดก็มีความเที่ยงธรรมตามการยืนยันของ อัล-กุรอาน

ท่านฟัฎล์ ฏ็อบร่อซี กล่าวว่า “แท้จริง อัลลอฮฮตะอาลาทรงกำหนดให้ประชาชาติของศาสนทูตแห่งพระองค์ มีสภาพสมดุลและเป็นกลางอยู่ระหว่างศาสดาและมวลมนุษย์ หากมีการกล่าวว่า ถ้าในหมู่ประชาชาตินั้นไม่มีใครมีคุณสมบัติเช่นนั้น จะมีการกำหนดคุณลักษณะของกลุ่มุคนทั้งหมดได้อย่างไร คำตอบนั้นคือ ความหมายที่ต้องการสื่อก็คือ บุคคลที่มีคุณสมบัติตามนั้นเพราะในทุกห้วงเวลาย่อมต้องมีคนที่มีคุณสมบัติเช่นว่านั้นเสมอ [7]

ท่านอะฮ์มัดมุซเฏาะฟา มะรอฆี ได้กำหนดเงื่อนไขของการมีคุณสมบัติของความเที่ยงธรรมและเป็นกลางว่า หมายถึงการปฏิบัติตามแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตของท่านศาสดา(ซ็อล ฯ)ดังนั้น บุคคลใดที่ไม่ปฏิบัติตามสิ่งนั้นก็เท่ากับเขาได้หลุดออกจากประชาชาตินี้ไปแล้ว โดยกล่าวว่า “อันที่จริงเราจะได้รับสิทธิมีคุณสมบัตินี้ก็ต่อเมื่อเราได้ปฏิบัติตามวิถีทาง และหลักการของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งมก็คือสิ่งที่พระองค์ได้ทรงทำให้มันมั่นคงอยู่กับบุคคลที่ปฏิบัติตามเท่านั้น ส่วนบุคคลใดฝ่าฝืนออกจากแนวทางน และอุตรินำเอาวิถีทางอื่นขึ้นมาแทนที่ ทั้งผันแปรออกจากทางหลักการนี้ไป เมื่อนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จะเป็นพยานยืนยันต่อพวกเขาด้วยศาสนา และแนวทางของท่านว่าเขามิใช่ หนึ่งในประชาชาติของท่าน....ด้วยเหตุนี้เองที่เขาจะออกจากทางสายกลาง และเข้าร่วมไปในด้านใดด้านหนึ่ง”[8]

ท่านมุฮัมมัดรเราะชีด ริฎอ ก็แสดงทัศนะดังกล่าวนี้ใน “ตัฟซีร อัลมะนาร”[9]

ท่านอัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอี เจาะจงว่าคุณสมบัติเหล่านี้เป็นของ “เอาลิยาอ์” (ผู้เป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ)เท่านั้นไม่ใช่ของบุคคลอื่น โดยกล่าวว่า “เป็นที่รับรู้กันว่า คุณวิเศษนี้ไม่ใช่สิ่งที่ประชาชาติทุกคนจะได้รับมัน มันเป็นคุณวิเศษเฉพาะสำหรับ “เอาลิยาอ์”ผู้บริสุทธิ์ในหมู่พวกเขา”[10]

ท่านยังกล่าวอีกว่า “ความหมายที่ต้องการสื่อเรื่องประชาชาติจะเป็นพยานยืนยัน (พฤติกรรมทั้งหลาย) ก็คือการเป็นพยานยืนยันนี้อยู่ในกรณีของพวกเขา เสมือนดังเช่น ความหมายที่ต้องการสื่อเรื่องที่ว่า ชาวบะนีอิสรออีลประเสริฐกว่าชาวโลกทั้งผองนั้น ความประเสริฐที่ว่านี้มีอยู่ในกรณีของพวกเขา โดยปราศจากซึ่งการให้คุณสมบัติเหล่านี้แก่ทุกคนในหมู่พวกเขา แต่มันเป็นการอ้างอิงถึงคนทั้งหมด เพราะบางส่วนก็อยู่ในกลุ่มคนทั้งหมด และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนนั้นนั่นเอง[11]

สิ่งที่ยืนยันจุดหมายมิใช่ทุกคนในประชาชาตินั้นก็เพราะมีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้นำเสนอทัศนะเรื่องหลักฐานอ้างอิงของฉัน ตามมติของประชาชาตินั้น มักจะอ้างอิงไปยังโองการ ดังกล่าว พวกเขากล่าวอ้างว่า การลงความเห็นตามมติของประชาชาติ เป็นหลักฐานอ้างอิงโดยไม่ต้องพิจารณาไปยังแต่ละบุคคล ดังเช่นที่ ชะรีฟ มุรตะฎอ[12] บูฮัยยาน อันดะลูซี[13] แจงเรื่องพวกเขาไว้

ท่านอะลาอุดดีน บุคอรี ได้เน้นย้ำว่า จุดมุ่งหมายดังกล่าวคือ ประชาชาติโดยรวมทั้งหมด โดยเขากล่าวว่า “เป็นความเหมาะสมที่ว่า ประชาชาติโดยรวมนั้นต้องได้รับการระบุว่ามีความเที่ยงธรรม

ฉะนั้น ทุกคนก็ไม่อาจได้รับการระบุว่ามีคุณลักษณะดังกล่าว เพราะในความเป็นจริงมันขัดแย้งกับสิ่งนั้น”[14]

ดังนั้น จึงเป็นการไม่ถูกต้องที่มีการอ้างอิงเรื่องความเที่ยงธรรมของบรรดา “เซาะฮาบะฮ์”ทั้งหมดด้วยโองการอันจำเริญดังกล่าว ส่วนการอรรถาธิบายของท่านอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี นั้นกระจ่างชัดแล้ว ส่วนเรื่องที่เรากล่าวมาก่อนหน้านี้ เช่น ความจำเป็นในการพิจารณาโองการทั้งหมดแล้วนำมาเปรียบเทียบกันนั้น ถึงแม้จะรวมถึงบุคคลหลายคนแต่ก็รวมเฉพาะ “บรรดาผู้ซึ่งมีศรัทธา”เท่านั้น โดยไม่รวม “บรรดาผู้ซึ่งในหัวใจของพวกเขามีความป่วยไข้”และ “บรรดาผู้กลับกลอก” ด้วย ส่วนคำำกล่าวขออุละมาอ์ส่วนใหญ่ (ที่ว่าเป็นมติของปวงปราชญ์) นั้นจุดม่งุหมายดังกล่าวก็คงไม่ใช่กลุ่มบุคคลในหมู่ประชาชาติแต่ละบุคคล เพื่อที่จะดึงเรื่องความเที่ยงธรรมของบรรดา “เซาะฮาบะฮ์” มาจากแนวคิดนั้น เพราะในสภาพความเป็นจริงนั้นมันขัดแย้งกัน ดังที่อะลาอุดดีน บุคอรี ได้อ้างมา

ดังนั้น โองการที่ได้กำหนดว่ามวลมุสลิมเป็นประชาชาติสายกลาง หรือมีความสมดุลนั้น ความเป็นกลางและสภาพสมดุลนี้ขยายครอบคลุมไปพร้อม ๆ กับการขยายจำนวนของประชาชาติอิสลามในทุกยุคทุกสมัยด้วย ฉะนั้น ประชาชาติอิสลามในห้วงเวลาต่อมา ก็เป็นประชาชาติสายกลางในเรื่องแนวความเชื่อกฎเกณฑ์ศาสนา และการปฏิบัติตามตัวบทของคำสอนอิสลาม และในช่วงสมัยของเราที่ดำรงอยู่นี้ เมื่อเรากล่าวว่า ประชาชาติอิสลามเป็นประชาชาติสายกลาง หรือประชาชาติที่มีดุลยภาพ คำกล่าวดังกล่าวจะถูกต้องก็ต่อเมื่อมี จุดมุ่งหมายหมายโดยหมายถึงประชาชาติโดยรวมทั้งหมด ส่วนการกำหนดให้ความเป็นสายกลางและมีดุลยภาพสำหรับบุคคลบางคน ไม่ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง เพราะในความเป็นจริงมันขัดแย้งกับมวลมุสลิมจำนวนมากที่ห่างไกลจากอิสลาม ทั้งในด้านความคิดและเจตคติของพวกเขา แล้วเราจะให้คำจำกัดความของการมีดุลยภาพครอบคลุมเฉพาะคนกลุ่มนั้นได้อย่างไร สิ่งที่เรากล่าวผ่านมานั้นเรา กล่าวถึงเรื่องสิทธิของคนกลุ่มหนึ่ง ในห้วงเวลาแห่งการประทานอัล-กถรอาน ดังนั้น โองการนี้จึงจำเพาะเจาะจงประชาชาติโดยรวม ซึ่งมีท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) วงศ์วานผู้บริสุทธิ์ (อ.) ชาวมุฮาญิร (อพยพ) ชาวอันซอร (ผู้ช่วยเหลือ) ผู้ที่ก้าวหน้าในด้านการทำคุณงามความดีเป็นที่ประจักษ์ บุคคลผู้ซึ่งมิเคยฝ่าฝืนพระบัญชาของพระเจ้าและท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) สักวินาทีเดียว แล้วพวกเขาก็ดำเนินเช่นนั้นเรื่อยมา จวบจนกระทั่งถึงวาระแห่งการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

ที่มา

[1]อัล บะเกาะเราะฮ์ /113

[2]ตัฟซีร ฆ่อรออิบุลกุรอาน”เล่ม 1 หน้า 421

[3]อัลกัชชาฟ เล่ม 1 หน้า318

[4]อัลญามิอ์ ลิอะฮ์กาม้ลกุรอาน เล่ม 2 หน้า154

[5] มัจญ์มะอุลบะยาน” เล่ม 1 หน้า 244 ,ตัฟซีร อัลมะรอซี เล่ม 2 หน้า 6 และ ตัฟซีร อัลมะนาร เล่ม 2 หน้า 5

[6]อัลญัรฮ์ วัตตะอ์ดีล” เล่ม 1 หน้า 7 “อัลกิฟายะฮ์ ฟีอัลมุลริวายะฮ์” หน้า 46 “อัลอิศอบะฮ์” เล่ม 1 หน้า 6 “อัลอิซตีอาบ” เล่ม 1 หน้า 2 “มุก็อดดะบะฮ์ อิบนุศิลาฮ์” หน้า 427 และ “ซัรฮุลเกากะบ้ลมุนีร” เล่ม 2 หน้า 474

[7]มัจญ์มะอุลบายาน เล่ม 1 หน้า224

[8]ตัฟซีร อัลมะรอฆี เล่ม2 หน้า6

[9]ตัฟซีร อัลมะรอฆี เล่ม2 หน้า6

[10]อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน”เล่ม 1หน้า 321

[11]อัลมีซาน ฟีตัฟซีริ้ลกุรอาน”เล่ม 1หน้า 321

[12]อัซซาฟี ฟ้อลอิมมะฮ์”เล่ม 1หน้า 232

[13]ตัฟซีร บะฮ์รุลมุฮีฏ”เล่ม 1หน้า 421

[14]กัซฟุ้ลอัซรอร”ของอะลาอุดดีน บุคอรี พิมพ์โดย ดารุลกิตาบ อัลอะร่อบี กรุงเบรุต ปี ฮ.ศ 1394

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัลบะลาเฆาะฮ์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อาณาจักรดุอาสะฮัร
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 ...
ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ ...
...
...
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 ...
ดุอาประจำวันที่ 18 ...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย

 
user comment