ไทยแลนด์
Wednesday 24th of April 2024
0
نفر 0

โองการอัตตัฏฮีรในอัลกุรอาน

โองการอัตตัฏฮีรในอัลกุรอาน

 

 

อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการอัตตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ

อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ

 

อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา

 

จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน เคยเกิดขึ้นแล้วครั้งหนึ่งในบทมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 อันเป็นที่ยอมรับของนักตัฟซีรทั้งหลาย

 

อัลกุรอาน บางโองการเนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษอันเฉพาะจะได้รับการตั้งชื่อไว้พิเศษ เช่น โองการอัตตัฏฮีรเป็นต้น อัลกุรอาน โองการนี้อยู่ในบทอัลอะฮฺซาบ โองการที่ 33 สาเหตุที่ได้รับนามอันเป็นที่รู้จักกันดีนี้ เนื่องจากโองการดังกล่าวอัลลอฮฺ ทรงอธิบายถึงพระประสงค์อันเป็นตักวีนีของพระองค์ เกี่ยวกับอะฮฺลุลบัยตฺ เอาไว้นั่นเอง

 

ส่วนสาเหตุของการประทานโองการนี้ มีรายงานทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺจำนวนมากกล่าวว่า, ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ ภรรยาคนหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า:

 โองการข้างต้นได้ถูกประทานลงมาที่บ้านของฉัน ซึ่งในวันนั้นที่บ้านของฉันมีฟาฏิมะฮฺ อะลี ฮะซัน และฮุซัยนฺ (อ.) อยู่กันอย่างพร้อมหน้า ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เรียกพวกเขาให้เข้ามาอยู่ภายใต้ผ้าคุม, และเวลานั้นท่านกล่าวว่า: โอ้ อัลลอฮฺ พวกเขาคืออะฮฺลุลบัยตฺของฉัน โปรดขจัดความโสมมและความโสโครกทั้งหลายให้ห่างไกลจากพวกเขา [1]

 

ตรงนี้จำเป็นต้องกล่าวถึงสิ่งที่โองการได้ไว้เป็นการเฉพาะ ได้แก่ :

 

1.เมื่อสังเกตคำภาษาอรับที่อธิบายคำพูดตรงนี้, จะเห็นว่ามีคุณลักษณะอันเฉพาะเจาะจงพิเศษ 2 ประการ กล่าวคือ หนึ่งความเฉพาะพิเศษด้านประสงค์ของอัลลอฮฺ ที่ปรารถนาขจัดความโสมมและมลทินทั้งหลาย สองความเฉพาะพิเศษด้านความบริสุทธิ์ และการทำให้อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ห่างไกลจากมลทินและความโสมมทั้งหลาย [2]

 

2.จุดหมายของวัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺจากโองการนี้คือ พระประสงค์ที่เป็นตักวีนี ซึ่งทรงประสงค์ให้อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) สะอาดบริสุทธิ์ เนื่องจากพระประสงค์ที่เป็นตัชรีอียะฮฺ ของพระองค์นั้น ทรงประสงค์กับมนุษย์ทุกคนให้เป็นเช่นนั้น มิได้จำกัดเฉพาะคนใดคนหนึ่ง พระองค์จึงทรงประทานบรรดาศาสนทูต ศาสดา และคัมภีร์จากฟากฟ้าลงมาแก่พวกเขา เพื่อชี้นำทาง ขัดเกลา และสั่งสอนมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เอง พระประสงค์ที่เป็นตัชรีอียฺ จึงครอลคุมทั่วไปมิได้ระบุเป็นการเฉพาะแต่อย่างใด

 

3.วัตถุประสงค์ของ อะฮฺลุลบัยตฺ ในโองการที่กำลังกล่าวถึง หมายถึงใคร? บางคนกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวถึง อะฮฺลุลบัยตฺนั้นหมายถึงเหล่าภิริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ด้วย พวกเขากล่าวว่าสามารถเข้าใจได้จากบริบทของโองการข้างเคียง เนื่องจากโองการทั้งก่อนและหลังจากโองการนี้ กล่าวถึงเหล่าภรรยาของท่านศาสดา ซึ่งไม่มีความหมายแต่อย่างใดที่ระหว่างโองการเหล่านั้น จะมีโองการเฉพาะประทานลงมา และมีวัตถุประสงค์ที่นอกเหนือไปจากบุคคลเหล่านั้น? บรรดานักตัฟซีรทั้งฝ่ายซุนนียฺและชีอะฮฺ ได้ตอบทัศนะดังกล่าวไว้โดยละเอียดในหนังสือตัฟซีรต่างๆ ซึ่งจะขอกล่าวคำตอบเหล่านั้นโดยสังเขปดังนี้ :

 

หนึ่ง โองการที่กำลังกล่าวถึงได้กล่าวถึงคำสรรพนามบุรุษที่สอง (อันกุม) หมายถึงท่านผู้เป็นผู้ชาย ขณะที่ภริยาของท่านศาสดาเป็นหญิง ดังนั้น การนำคำสรรพนามที่บ่งบอกถึงเพศชาย (อันกุม) มาใช้แทนคำสรรพนาม (อันกุนนะ) ซึ่งบ่งบอกถึงเพศหญิง ถือว่าไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องกล่าวว่า คำสรรพนามที่บ่งบอกถึงเพศชาย ในที่นี้กล่าวถึงกลุ่มชนเฉพาะ และเนื่องจากเพศชายมีจำนวนมากกว่า จึงได้นำเอาคำสรรพนามที่เป็นชายมากล่าว

 

สอง การเรียงลำดับและการใช้โองการลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในอัลกุรอาน, เช่น ในช่วงท้ายโองการที่ 3 บทอัลมาอิดะฮฺ ซึ่งถ้าสังเกตจะเห็นว่าตอนช่วงตรงกลางของโองการ กล่าวถึงเรื่อง อาหารและการบริโภคที่ฮะรอม ทั้งที่โองการส่วนที่กล่าวถึงนั้นเป็นการประกาศความสมบูรณ์ของศาสนา อันเป็นสาเหตุทำให้เหล่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่างสิ้นหวังจากศาสนาของพระเจ้าไปตามๆ กัน

 

ท่านเฏาะบัรซียฺ กล่าวว่า : มิใช่เพียงแค่กรณีนี้กรณีเดียวเท่านั้น ที่โองการอัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเคียงข้างกัน แต่กล่าวถึงหัวข้อแตกต่างกัน, ซึ่งอัลกุรอานนั้นเต็มไปด้วยลักษณะเช่นนี้ ทำนองเดียวกันในคำพูดที่เป็นสำนวน และบทกวีอรับของพวกเขาก็เช่นเดียวกัน มีตัวอย่างทำนองนี้ให้เห็นอย่างมากมาย [3]

 

อีกด้านหนึ่งระหว่าง 70 รายงานที่อธิบายโองการนี้ ซึ่งรายงานโดยฝ่ายซุนนียฺ (จากสายรายงานของอุมมุซัลมะฮฺ,อาอิชะฮฺ, อบูสะอีด คุดรีย์, อิบนุอับบาส, เษาบาน, วาอิละฮฺ บิน อัสเกาะอฺ, อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัร, อะลี (อ.), ฮะซัน บิน อะลี (อ.), และจากฝ่ายชีอะฮฺ ซึ่งรายงานมาจากท่านอิมามอะลี (อ.) และอิมามซัจญาด (อ.) อิมามบากิร (อ.) อิมามซอดิก (อ.) อิมามริฎอ (อ.), ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ. อบูซัร, อบูลัยลา, อบุลอัซวัด ดูอีลี, อุมัร บิน มัยมูน เอาดียฺ, สะอฺ บิน อบี วะกอซ, ซึ่งไม่มีแม้แต่รายงานเดียวที่กล่าวว่า โองการข้างต้นได้ลงมาโองการที่กล่าวถึงเรื่องภรรยาของท่านศาสดา, นอกจากนั้นไม่มีนักตัฟซีรคนใดอีกเช่นกันที่กล่าวทำนองนี้ แม้แต่บุคคลเฉกเช่น อุรวะฮฺ หรืออิกเราะมะฮฺ ก็มิได้กล่าวว่า โองการตัฏฮีรนั้นลงให้แก่บรรดาภริยาของท่านศาสดา หรือโองการดังกล่าวลงมาในเรื่องเดียวกันกับโองการก่อนหน้า[4]

 

รายงานจำนวนมากที่กล่าวไว้นั้น ทำให้เข้าใจได้เป็นอย่างดีว่าจุดประสงค์คือ บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ ดังรายงานที่กล่าวว่า :

 

ฮากิม เนชาบูรี (อิมามนักรายงานฮะดีซฝ่ายซุนนี) กล่าวไว้ในมุสตัดร็อก เซาะฮียฺฮัยนฺ โดยรายงานมาจาก อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัร หลังจากกล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการนี้แล้ว กล่าวว่า สายรายงานฮะดีซเหล่านี้ถูกต้อง, ท่านมุสลิมกล่าวไว้ในหนังสือเซาะฮียฺ, บัยฮะกียฺ กล่าวไว้ในซุนันกุบรอ, ฏ็อบรียฺ และอิบนุกะษีร และซุยูฎียฺ กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่าน, ติรมิซียฺ กล่าวไว้ในเซาะฮียฺ, เฏาะฮาวียฺ กล่าวไว้ในมัชกะลิลอาษาร, ฮัยษัมมี กล่าวไว้ในมัจญฺมะอุซซะวาอิด, อะฮฺมัด บิน ฮันบัล กล่าวไว้ในมุสนัด ซึ่งทั้งหมดกล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการโดยรายงานมาจากสายรายงานที่แตกต่างกัน เช่น อุมมุซัลมะฮฺ, วาษิละฮฺ, อุมัร บิน อบีซัลมะฮฺ, และอาอิชะฮฺ, ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ระบุถึงอะฮฺลุบัยตฺของท่านซึ่งประกอบด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) โดยให้บุคคลเหล่านั้นเข้าไปอย่ภายใต้เสื้อคุมของท่าน[5] แม้แต่ในหนังสือติรมิซียฺ ในหมวดความประเสริฐของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.), หนังสือตัฟซีรซุยูฎียฺ รายงานจากอบูสะอีด คุดรียฺ และหนังสือมัชกะลิลอาษาร ของเฏาะฮาวียฺ กล่าวว่า ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ หลังจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้เข้าไปภายใต้เสื้อคุมของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แล้ว เธอได้ขอเข้าไปอยู่ภายใต้เสื้อคุมนั้นด้วย โดยกล่าวว่า : โอ้ ท่านเราะซูลขอให้ฉันเข้าไปอยู่ในนั้นด้วยได้หรือไม่? ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตอบว่า เธอจงอยู่ในที่ของเธอนั่นดีแล้ว (หมายถึงอย่าได้เข้ามาภายใต้เสื้อคุมนี้เลย)

 

สาม เมื่อพิจารณาคำว่า (( ริจญฺซุน)) ในโองการที่กำลังกล่าวถึง จะเห็นว่ามี อลีฟกับลามอยู่ด้วย ซึ่งตามหลักภาษาอรับถือว่าเป็น อลีฟลามญินซ์ หมายถึงบ่งบอกให้เห็นถึงประเภทของๆ สิ่งนั้น, ฉะนั้น ความหมายของโองการจึงหมายถึงว่า อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดสิ่งโสโครกทุกประเภท ความต่ำทราม และความชั่วร้ายให้พ้นไปจากพวกเขา, ดังนั้น การขจัดอย่างสมบูรณ์เช่นนี้ถือว่าตรงกับความบริสุทธิ์ที่พระเจ้าทรงกล่าวถึง[6] ขณะที่ไม่มีผู้ใดกล่าวอ้างถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แม้แต่คนเดียว, กล่าวคือมิมีผู้ใดกล่าวว่า เหล่าภริยาของท่านศาสดามีความบริสุทธิ์จากความผิดทั้งปวง หรือได้รับการยกเว้นจากความผิดพลาด ด้วยเหตุนี้เอง โองการข้างต้นจึงเป็นเหตุผลที่ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม (อ.)[7]

 

ด้วยเหตุนี้ จุดประสงค์ของอะฮฺลุลบัยตฺ ในโองการข้างต้นจึงหมายถึงบุคคลทั้งห้าท่าน หรือที่รู้จักกันในนามของ อาลิกีซา และกฎเกณฑ์ของโองการก็ระบุเฉพาะเจาะจงสำหรับพวกเขาเท่านั้น

 

 

แหล่งอ้างอิง

[1] ตัฟซีรอัลมีซาน ฉบับแปล, เล่ม 16, หน้า 457.

 

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 462.

 

[3] เฏาะบัรซียฺ, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 7, หน้า 560.

 

[4] อ้างแล้ว, หน้า 466

 

[5] โองการตัฏฮีร ดัรกุตุบ โด มักตับ, อัลลามะฮฺ ซัยยิด มุรตะฎอ อัซการียฺ, หน้า 12-20.

 

[6] ตัฟซีรอัลมีซาน ฉบับแปล, เล่ม 16, หน้า 467.

 

[7] อ้างแล้วเล่มเดิม

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์อิสลามเควสท์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...
ฟาฏิมะฮ์ ...
มองเรื่อง “ข่าวลือ” ...
เคล็ดลับอายุยืน(1)
ชัยฏอน คือ ...
มุอ์ญิซะฮ์ (ปาฏิหาริย์) ...
เราะห์มัต (ความเมตตา) ...
ความพอเพียงในอิสลาม

 
user comment