ไทยแลนด์
Thursday 28th of March 2024
0
نفر 0

สิทธิของมุสลิมในการประกอบพิธิฮัจญ์

สิทธิของมุสลิมในการประกอบพิธิฮัจญ์

สิทธิของมุสลิมในการประกอบพิธิฮัจญ์

 

إِنَّ أَوَّلَ بَيْتٍ وُضِعَ لِلنَّاسِ لَلَّذِي بِبَكَّةَ مُبَارَكًا وَهُدًى لِلْعَالَمِينَ

     

“แท้จริงบ้านหลังแรกที่ถูกตั้งขึ้นสำหรับมนุษย์ (เพื่อการอิบาดะฮ์) นั้นคือ บ้านที่มักกะฮ์ โดยเป็นที่ที่ถูกให้มีความจำเริญและเป็นที่แนะนำแก่ประชาชาติทั้งหลาย”

 

      กะอ์บะฮ์ คือ สถานที่นมัสการที่สำคัญ และศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เป็นบ้านหลังแรกที่ถูกสร้างขึ้นการนมัสการของประชาชน

 

      การไปซิยารัตกะอ์บะฮ์ มีเงื่อนไขสำคัญคือ “มีความสามารถ” และเป็นวาญิบเพียงครั้งเดียวในชีวิตสำหรับมุสลิม ดังกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 97 กล่าวว่า

 

      “ในบ้านนั้น มีหลายสัญญาณที่ชัดแจ้ง (ส่วนหนึ่งนั้น) คือ มะกอมอิบรอฮีม และผู้ใดได้เข้าไปในบ้านนั้น เขาก็เป็นผู้ปลอดภัยและสิทธิของอัลลอฮ์ที่มีแก่มนุษย์นั้น คือการมุ่งสู่บ้านหลังนั้น อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้และผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงพึ่งประชาชาติทั้งหลาย” (อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 97)

 

      ในปีที่ 2 ของการฮิจญ์เราะฮ์ (อพยพ) “อัลลอฮ์ ทรงให้กะอ์บะฮ์ เป็นกิบลัตสำหรับมุสลิม และนับจากเวลานั้นเป็นต้นมาเวลานมาซมุสลิมทุกคนบนโลกนี้ต้องหันหน้าไปสู่กะอ์บะฮ์

 

      ฮัจญ์ เป็นอิบาดะฮ์เฉพาะพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อฟังปฏิบัติตาม และการแสวงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ซึ่งต้องปฏิบัติในกำหนดเวลา และสถานที่กำหนดพิเศษนั้นคือ เดือน ซุลฮิจญ์ ณ นคร “มักกะฮ์” ฮัจญ์ เป็นวาญิบ (ข้อบังบังคับ) 1 ครั้งเหนือมุสลิมทุกคนที่มีความสามารถ และเงื่อนไขพร้อมสมบูรณ์

 

      ฮัจญ์ อัลกุรอานมากมายหลายโองการกล่าวถึงฮัจญ์เอาไว้ ฮัจญ์มีความสำคัญอย่างยิ่งแม้แต่ชื่อบท (ซูเราะฮ์) หนึ่งของอัลกุรอานยังมีชื่อว่า “ฮัจญ์” นอกจากนั้นยังมีรายงานวจนะ (ฮะดีษ) มากกว่า 9,000 รายงานที่กล่าวถึงเรื่องฮัจญ์ บทบัญญัติ และพิธีการของฮัจญ์ ซึ่งฮัจญ์เป็นอิบาดะฮ์ (การเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) ที่มีความสำคัญกว่าอิบาดะฮ์อื่นรองจาก นมาซ ฮัจญ์ นอกจากจะมิติของการเป็นอิบาดะฮ์แล้ว ยังมีมิติอื่นอีก อุละมาอ์ (นักปราชญ์อิสลาม) นอกจากจะพยายามอธิบายให้เห็นถึงการกระทำภายนอกของฮัจญ์แล้ว ยังอธิบายให้เห็นถึงแก่นแท้ของฮัจญ์ เพื่อให้บรรดาฮุจญาตได้เข้าถึงแก่นแท้ของ เตาฮีด หรือแก่นแท้ของการเคารพในพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งถือว่าสำคัญที่สุด

 

การให้ความสำคัญต่อฮัจญ์

 

      อัลกุรอาน บท (ซูเราะฮ์) ฮัจญ์ โองการที่ 27 กล่าวว่า

 

وَأَذِّن فِي النَّاسِ بِالْحَجِّ يَأْتُوكَ رِجَالًا وَعَلَىٰ كُلِّ ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِن كُلِّ فَجٍّ عَمِيقٍ

 

“และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำฮัจญ์ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง”

 

      ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ประการ ฮุกุม (กฎเกณฑ์) ของฮัจญ์แก่ประชาชน อัลกุรอานแนะนำว่าฮัจญ์คือ “สัญลักษณ์” ของพระเจ้า และยังได้กำหนดอีกด้วยว่าการทำฮัจญ์ต้องปฏิบัติในเดือนซุลฮิจญะฮ์ (เดือนที่ 12 ในปฏิทินอิสลาม) ประเด็นความละเอียดอ่อนของโองการอยู่ที่คำว่า “ยะอ์ตูกะ” จงเรียกร้องเพื่อให้ประชาชนมาสู่เจ้า อัลกุรอานไม่ได้กล่าวว่า “จงมาสู่กะอ์บะฮ์” แต่กล่าวว่า พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และทางฮูฐ ปัญหาคือ การไปฮัจญ์คือการไปถึงยังแก่นแท้ของพระเจ้า มิเช่นนั้นแล้ว การไปเวียนว่ายรอยอาคารสี่เหลี่ยมจะมีความหมายอะไร และถ้ายิ่งอาคารสี่เหลี่ยมอยู่ภายใต้การครอบครองของฏอฆูตด้วยปัญหายิ่งไปกันใหญ่

 

      กะอ์บะฮ์ จึงเป็นบ้านหลังแรกที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อการอิบาดะฮ์ของมนุษย์ชาติ

 

إِنَّ أَوَّلَ بَيْتٍ وُضِعَ لِلنَّاسِ لَلَّذِي بِبَكَّةَ مُبَارَكًا وَهُدًى لِلْعَالَمِينَ

 

“แท้จริงบ้านหลักแรกที่ถูกตั้งขึ้นสำหรับมนุษย์ (เพื่อการอิบาดะฮ์) นั้นคือบ้านที่มักกะฮ์ โดยเป็นที่ที่ถูกให้มีความจำเริญ และเป็นที่แนะนำแก่ประชาชาติทั้งหลาย”

(อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 96)

 

فِيهِ آيَاتٌ بَيِّنَاتٌ مَقَامُ إِبْرَاهِيمَ ۖ وَمَنْ دَخَلَهُ كَانَ آمِنًا ۗ وَلِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إِلَيْهِ سَبِيلًا ۚ وَمَنْ كَفَرَ فَإِنَّ اللَّهَ غَنِيٌّ عَنِ الْعَالَمِينَ

     

“ในบ้านนั้น มีหลายสัญญาณที่ชัดแจ้ง (ส่วนหนึ่งนั้น) คือมะกอมอิบรอฮีม และผู้ใดได้เข้าไปในบ้านนั้น เขาก็เป็นผู้ปลอดภัยและสิทธิของอัลลอฮ์ที่มีแก่มนุษย์นั้น คือการมุ่งสู่บ้านหลังนั้น อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้และผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงพึ่งประชาชาติทั้งหลาย”

(อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 97)

 

ผู้มีกรรมสิทธิ์ใน มักกะฮ์ และมะดีนะฮ์ คือเจ้าของประเทศที่เมืองทั้งสองอยู่ในประเทศนั้นหรือ?

 

       สิ่งที่เราต้องใคร่ครวญตรงนี้ ไม่ใช่คือความเจ้าของ หรือใครคือผู้ถือกรรมสิทธิ์เมืองทั้งสองนี้ ทว่าปัญหาเรื่องมักกะฮ์ มัสญิดุลฮะรอม และกะอ์บะฮ์ จำเป็นต้องแยกออกจากกัน บางครั้งอาจเกี่ยวกับปัญหาการบริหารเมืองและสถานที่ แต่บางครั้งปัญหาก็เกี่ยวกับการบริหารกิจการของฮัจญ์

 

       มีใครสักคนสามารถกล่าวได้ไหมว่าเขาคือ เจ้าของกะอ์บะฮ์? หรือมัสญิดอัลฮะรอมเป็นสมบัติของใครสักคนได้หรือไม่? หรือคนสักกลุ่มหนึ่งที่เฉพาะ สามารถออกความคิดเห็น หรือตัดสินใจบางอย่างเกี่ยวกับกะอ์บะฮ์ และพิธีกรรมฮัจญ์ ทั้งที่สิ่งนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสังคมอิสลามและพี่น้องมุสลิมได้หรือไม่?

 

       อัลกุรอานกล่าวว่า

 

ثُمَّ لْيَقْضُوا تَفَثَهُمْ وَلْيُوفُوا نُذُورَهُمْ وَلْيَطَّوَّفُوا بِالْبَيْتِ الْعَتِيقِ

 

“แล้วให้พวกเขาชำระทำความสะอาดด้วยการโกนหรือตัด และให้พวกเขาทำให้ครบถ้วนในเรื่องบนบานทั้งหลายของพวกเขา (เป็นการจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์) และจงให้พวกเขาฎอวาฟ (เดินเวียน) รอบบ้านอันเก่าแก่”

(อัลกุรอาน บทฮัจญ์ โองการที่ 29)

 

       โองการนี้มีบัญชาให้ประชาโลก เดินเวียนว่าย (ฏอวาฟ) รอบกะอ์บะฮ์ หรือบัยตุลอะตีก (บ้านเก่าแก่) ความหมายของโองการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “บ้านหลังนี้มิใช่กรรมสิทธิ์ของใคร” ด้วยเหตุนี้ กะอ์บะฮ์จึงเกี่ยวข้องกับมุสลิมทั้งหมด ไม่มีใครหรือผู้ใดมีสิทธิมากล่าวอ้างการมีกรรมสิทธิ์ถือครองกะอ์บะฮ์ ได้เด็ดขาด

 

       อิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า “กะอ์บะฮ์ คือ บ้านแห่งความอิสระ ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถกล่าวอ้างการเป็นเจ้าของ หรือถือกรรมสิทธิ์ครอบครองกะอ์บะฮ์ได้”

 

       อิมามซอดิก (อ.) เน้นย้ำว่า “ตราบที่กะอ์บะฮ์ ยังดำรงอยู่ ศาสนาก็ยังคงดำรงอยู่ ท่ามกลางประชาชนและสังคม”

 

       ฉะนั้น ทั้งอัลกุรอานและรายงานได้เน้นให้เห็นว่า ไม่มีผู้ใดสามารถกล่าวอ้างได้ว่า เขามีกรรมสิทธิ์ หรือเป็นเจ้าของกะอ์บะฮ์ บ้านของอัลลอฮ์ได้เด็ดขาด สิ่งที่อัลกุรอานเน้นย้ำแสดงให้เห็นว่า บ้านของอัลลอฮ์ คือ สื่อในการยืนหยัดของประชาชน และการยืนหยัดของสังคม

 

جَعَلَ اللَّهُ الْكَعْبَةَ الْبَيْتَ الْحَرَامَ قِيَامًا لِّلنَّاسِ وَالشَّهْرَ الْحَرَامَ

 

 “อัลลอฮ์ได้ทรงให้อัล-กะอ์บะฮ์ อันเป็นบ้านที่ต้องห้าม เพื่อการยืนหยัดสำหรับมนุษย์ และเดือนที่ต้องห้าม”

(อัลกุรอาน บทมาอิดะฮ์ โองการที่ 97)

 

       อัลกุรอาน หลายโองการเน้นย้ำว่า อัลลอฮ์ ทรงทำให้กะอ์บะฮ์เป็นสถานที่ปลอดภัยสุด สำหรับมนุษย์ชาติ และเป็นสื่อที่ทำให้ศาสนาของพระองค์ยืนหยัด ดังนั้น จึงไม่มีใครและผู้ใดสามารถพูดได้ว่า ตนคือเจ้าของกะอ์บะฮ์ คำว่า “กิยามันลิลนาส” บ่งบอกให้เห็นชัดเจนว่า ตราบใดที่ยังมีกะอ์บะฮ์ อิสลาม ก็ยังคงดำรงอยู่อย่างมั่นคง และถ้ากะอ์บะฮ์อ้างว้าง ปราศจากผู้คนเดินเวียนว่ายฏอวาฟ หรือมีเฉพาะมุสลิมที่ปราศจากอุดมการณ์เวียนว่ายแล้วละก็ คำว่า “เพื่อการยืนหยัดสำหรับมนุษย์” จะมีความหมายได้อย่างไร

 

       เพราะประโยคนี้จึงบ่งบอกให้เห็นว่า การประกอบฮัจญ์ นอกจากจะมีมิติของการอิบาดะฮ์ (การเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) โดยสมบูรณ์แล้ว ยังมีมิติทางการเมือง และการขับเคลื่อนสังคมให้ไปสู่ความเป็นเอกภาพ ความจำเริญ และความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ รายงานฮะดีษ (วจนะ)จากท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  จึงกล่าวว่า “ผู้ที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์ เขาจะมีความบริสุทธิ์เหมือนทารกแรกเกิด” นั้นหมายความว่า ความผิดของเขาได้ถูกชำระล้างหมดสิ้นแล้วในพิธีฮัจญ์ ด้วยเหตุนี้ การห้ามไม่ให้มุสลิมไปประกอบพิธีฮัจญ์ จึงไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากการมีเจตนาไม่ดี ไม่ซื่อตรงต่ออิสลาม

 

ประวัติการห้ามไม่ให้ทำฮัจญ์

 

       อัลกุรอานกล่าวถึงบุคคลที่ห้าม หรือขัดขวางไม่ให้ไปทำฮัจญ์ว่า “แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และขัดขวางทางอัลลอฮ์ และมัสยิดอัลฮะรอม ซึ่งเราได้ทำมันไว้ สำหรับมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันทั้งผู้ที่พำนักอยู่ในนั้นและที่มาจากภายนอก” (อัลกุรอาน บทฮัจญ์ โองการที่ 25)

 

       อิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงบ้านของอัลลอฮ์ว่า จงใส่ใจบ้านของอัลลอฮ์ จงอย่าปล่อยให้กะอ์บะฮ์ อยู่ตามลำพัง เพราะเวลานั้นอัลลอฮ์ จะไม่ให้โอกาสแก่เราอีก (พระองค์จะประทานการลงโทษลงมา)

 

       อิมามซอดิก (อ.) “ถ้าหากประชาชนละทิ้งการทำฮัจญ์ อัลลอฮ์ จะประทาน (อะซาบ) การลงโทษแก่พวกเขา”

 

รายงานฮะดีษ ยังได้ระบุอีกว่า เป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) เหนือผู้ปกครองอิสลาม ถ้าหากประชาชนละเว้นการทำฮัจญ์ เขาจะต้องบังคับให้ประชาชนไปทำฮัจญ์ และถ้าหากเขาต้องการค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทาง ให้จัดแบ่งจากกองคลังอิสลาม (บัยตุลมาล)

 

       การห้ามมุสลิมไม่ให้ไปทำฮัจญ์ครั้งแรก เกิดจากน้ำมือของพวกมุชริก มักกะฮ์ ประมาณปี ฮ.ศ.ที่ 6 พวกเขาได้ขัดขวางท่านบนี และมุสลิมที่จะเดินทางจากมะดีนะฮ์ เพื่อไปทำฮัจญ์ เนื่องจากการขัดขวางการทำฮัจญ์ครั้งนี้ จึงเป็นเหตุนำไปสู่การทำสนธิสัญญา “ฮุดัยบียะฮ์” และมุสลิมได้ไปทำฮัจญ์ในปีถัดไป

 

การห้ามไม่ให้ไปทำฮัจญ์

 

       ผู้ดูแลมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ ไม่มีสิทธิสั่งห้ามไม่ให้บางประเทศเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้ เนื่องจากการขัดแย้งทางการเมือง ดังที่เขาเคยห้ามมุสลิมซีเรีย ลิเบีย เยเมน ปาเลสไตน์ และอิหร่านมาแล้ว

 

       ตามรายงานของอัลกุรอาน การห้ามไม่ให้มุสลิมที่มีความามารถไปประกอบพิธีฮัจญ์ ถือเป็นบาปใหญ่ เนื่องจากอัลกุรอาน กล่าวว่า “يَصُدُّونَ عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ  ขัดขวางทางอัลลอฮ์ แน่นอนว่า การกระทำเช่นนี้อัลลอฮ์ (ซบ.) มิทรงปราโมทย์ และมิทรงพึงพอพระทัยแน่นอน

 

إِنَّ الَّذِينَ كَفَرُوا يَصُدُّونَ عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ وَالْمَسْجِدِ الْحَرَامِ الَّذِي جَعَلْنَاهُ لِلنَّاسِ سَوَاءً الْعَاكِفُ فِيهِ وَالْبَادِ

 

“แท้จริงผู้ปฏิเสธคือ ผู้ซึ่งขัดขวางทางอัลลอฮ์ และมัสยิดอัลฮะรอม ซึ่งเราได้ทำมันไว้ สำหรับมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันทั้งผู้ที่พำนักอยู่ในนั้น และที่มาจากภายนอก”

(อัลกุรอาน บทฮัจญ์ โองการที่ 25)

 

       ผู้ที่ห้ามมุสลิมไม่ให้ไปทำฮัจญ์มีแค่กลุ่มเดียว ได้แก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ด้วยเหตุนี้ การที่มีผู้ปกครองบางประเทศสั่งห้ามมิให้มุสลิมไปประกอบพิธีฮัจญ์ จึงต้องใคร่ครวญว่าตนอยู่ในสถานภาพอันใด ใช่สิทธิ์อะไรในการสั่งห้าม หรือใช้สิทธิความเป็นเจ้าของประเทศ หรือสิทธิของผู้ดูแลกะอ์บะฮ์

 

       ถ้าสมมุติว่า มีคนกลุ่มหนึ่งต้องการเป็นเจ้าของกะอ์บะฮ์ หรือมีสิทธิครอบครองกะอ์บะฮ์ อัลลอฮ์ (ซบ.) จะไม่ตรัสว่า “ทางของอัลลอฮ์” عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ เนื่องจากแนวทางเป็นของอัลลอฮ์ จึงไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ครอบครอง หรือจะมาแสดงความเป็นเจ้าของ แล้วมาสั่งห้ามคนโน้น หรือประเทศนี้ไม่ให้ไปประกอบพิธีฮัจญ์เด็ดขาด ด้วยเหตุนี้ การที่รัฐบาลซาอุดิฯ ได้สั่งห้ามมิให้ประชาชนบางประเทศเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ จึงฮะรอมเป็นบาปใหญ่แน่นอน เพราะพวกเขาขัดขวางแนวทางของอัลลอฮ์ (ซบ.) ขณะที่ผู้ปกครองประเทศดังกล่าว ได้อ้างว่าตนคือ “ผู้รับใช้ฮะรัมทั้งสอง” คอดิมัยน์ ฮะรอมัยน์ ทั้งที่ในความเป็นจริงมันเป็นเพียงการกล่าวอ้างในตำแหน่งเท่านั้นเอง พวกเขาเพียงแค่จินตนาการเอาเองว่า พวกเขามีอีมานต่ออัลลอฮ์ มะอาด และญิฮาด ทั้งที่ในความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้นเลย เนื่องจากพฤติกรรมที่แสดงออกต่อบรรดาฮุจญาต มิได้เป็นไปอย่างให้เกียรติ ในฐานะที่ฮุจญาตคือ แขกผู้มาเยือนของอัลลอฮ์ เพราะพวกเขากำลังไปเยือนบ้านของพระองค์ ตามบัญชาของพระองค์ เขาจึงสมควรได้รับเกียรติอย่างยิ่งจากเจ้าหน้าที่ มิใช่การกระทำที่ไม่ให้เกียรติจากเจ้าหน้าที่ หรือแม้แต่การใช้วาจาไม่สุภาพต่อฮุจญาต ก็เป็นสิ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง และยิ่งการตบตีฮุจญาตด้วยแล้ว เป็นการกระทำที่หน้ารังเกียจและไม่สมควรอย่างยิ่ง แล้วจะนับประสาอะไรกับการสังหารฮุจญาตในบ้านของพระองค์ หรือเขตหวงห้ามของพระองค์ เฉกเช่น มีนา

 

     ดังนั้น เจ้าของกะอ์บะฮ์ที่แท้จริง คือ อัลลอฮ์ (ซบ.) พระองค์ทรงทำให้บ้านหลังนี้ (กะอ์บะฮ์) เป็นสถานประกอบอิบาดะฮ์ของประชาชาติมุสลิม

 

وَلِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إِلَيْهِ سَبِيلًا

 

“และสิทธิของอัลลอฮ์ที่มีแก่มนุษย์คือ การมุ่งสู่บ้านหลังนั้น อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้น”

 

      ขณะที่โองการหลายโองการกล่าวว่า “กลุ่มผู้ซอลิม” ไม่สามารถรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลกะอ์บะฮ์ได้ อัลกุรอานกล่าวว่า

 

وَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنْ مَنَعَ مَسَاجِدَ اللَّهِ أَنْ يُذْكَرَ فِيهَا اسْمُهُ وَسَعَى فِي خَرَابِهَا أُولَئِكَ مَا كَانَ لَهُمْ أَنْ يَدْخُلُوهَا إِلَّا خَائِفِينَ لَهُمْ فِي الدُّنْيَا خِزْيٌ وَلَهُمْ فِي الْآخِرَةِ عَذَابٌ عَظِيمٌ

 

“และผู้ใดเล่าที่อธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่ห้าม การเข้าไปในมัสญิดทั้งหลายของอัลลอฮ์ เพื่อกล่าวรำลึกถึงพระนามของพระองค์ภายในนั้น และพยายามที่จะทำลายมัน คนพวกนี้ไม่สมควรที่จะเข้าไปในนั้น เว้นแต่พวกเขาจะเข้าไปด้วยความยำเกรง สำหรับพวกเขาในโลกนี้คือความอัปยศอดสู และการลงโทษอันมหันต์ในปรโลก”

(อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 114)

 

      เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสิทธิ์รับใช้และดูแลกะอ์บะฮ์ เขาต้องเป็นผู้มีความศรัทธาและยำเกรง (อีหม่าน, ตักวา) อัลลอฮ์ (ซบ.)

 

      ตลอดประวัติ 1400 กว่าปีผ่านมา จะเห็นว่าพิธีการฮัจญ์ ถ้าหากได้อยู่ในการดูแลของประเทศมุสลิมอื่น ที่นอกเหนือจากประเทศปัจจุบัน เราคงไม่ได้เห็นสภาพของผู้แสวงบุญ (ฮุจญาต) และการบริการรับใช้บรรดานักแสวงบุญตกต่ำเช่นนี้ การบริการทั้งในมักกะฮ์ และมะดีนะฮ์คงมิได้เป็นอย่างที่ประจักษ์ ประชาชนและบรรดาฮุจญาตคงได้เห็นความสะดวกปลอดภัย ความยิ่งใหญ่ และการบริหารจัดการที่ดีกว่าปัจจุบัน ขณะที่รัฐบาลผู้ดูแลจัดการในปัจจุบันได้ใช้ทหารและตำรวจเป็นผู้จัดระเบียบทั้งในกะอ์บะฮ์ และมะดีนะฮ์ จึงมีแต่ความแข็งกระด้าง บรรดาฮุจญาตจึงไม่ได้เห็นมารยาทอันดีงาม หรือแรงดึงดูดใจของเจ้าหน้าที่ในการกระทำอิบาดะฮ์ บรรดาฮุจญาตจึงประสบปัญหาด้านสาธารณสุข ความสะอาด การบริการ ความโสโครก และความปลอดภัย ดังเหตุการณ์ร้ายที่ประสบกับฮุจญาต เช่น เครนถล่มใส่ฮุจญาตในมักกะฮ์ การเบียดเสียดเหยียบกันตายในมินา สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจ ความอ่อนแอ และการไร้ความสามารถในการบริหารจัดการ

 

บทสรุป

 

1- อัลลอฮ์ (ซบ.) คือ เจ้าของกะอ์บะฮ์ โดยแท้จริง มิใช่ใครผู้ใด หรือรัฐผู้ปกครองประเทศแต่อย่างไร

2- ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์แอบอ้างการเป็นเจ้าของกะอ์บะฮ์ เขาจึงไม่มีสิทธิ์สั่งห้ามไม่ให้มุสลิมไปทำฮัจญ์ตามอำเภอใจ ด้วยเหตุผลการขัดแย้งทางการเมือง ฉะนั้น การห้ามมุสลิมไม่ให้ไปทำฮัจญ์จึงมิใช่พฤติกรรมของมุสลิม หากเป็นพฤติกรรมของผู้ปฏิเสธพระเจ้า “แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และขัดขวางทางอัลลอฮ์ และมัสยิดอัลหะรอม ซึ่งเราได้ทำมันไว้ สำหรับมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน” (อัลกุรอาน บทฮัจญ์ โองการที่ 25)

3- การสั่งห้ามไม่ให้มุสลิมไปทำฮัจญ์ เท่ากับได้ขัดขวางแนวทางของอัลลอฮ์ จึงเป็นฮะรอม และถือเป็นบาปใหญ่ในอิสลาม เขาต้องได้รับการลงโทษจากอัลลอฮ์อย่างแน่นอน เนื่องจากพระองค์สำทับว่า “จงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำฮัจญ์ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง” (อัลกุรอาน บทฮัจญ์ โองการที่ 27)

4- กะอ์บะฮ์ และคลื่อนมุสลิมที่เวียนว่ายรอบกะอ์บะฮ์ คือ สัญลักษณ์ที่บ่งบอกให้เห็นว่า อิสลามยังคงยืนหยัดอยู่อย่างมั่นคง “แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และขัดขวางทางอัลลอฮ์ และมัสยิดอัลหะรอม ซึ่งเราได้ทำมันไว้ สำหรับมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน” อัลกุรอาน บท ฮัจญ์ โองการที่ 28)

5- ผู้ที่มีสิทธิ์ดูแลกะอ์บะฮ์คือ มุสลิม มุอฺมิน ผู้มีอิมาน มีตักวา และยำเกรงอัลลอฮ์โดยแท้จริง มิใช่ผู้ที่แอบอ้างตำแหน่งหน้าที่ เพียงอย่างเดียว เนื่องจากอัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงกำชับว่า “จงรำลึกเมื่อเราได้ชี้แนะสถานอัลบัยต์แก่อิบรอฮีมว่า เจ้าอย่าตั้งภาคีต่อข้าแต่อย่างใดและจงทำบ้านของข้าให้สะอาด สำหรับผู้มาเวียนรอบ ผู้ยืนละหมาด ผู้รุกัวะ และผู้สุญูด” (อัลกุรอาน บทฮัจญ์ โองการที่ 26)

6- มุสลิมทุกคนบนโลกนี้มีสิทธิ์ในกะฮ์บะฮ์ เท่าเทียมกันหมด เนื่องจากพวกเขาคือบ่าวของอัลลอฮ์ ผู้ทรงสร้างกะอ์บะฮ์ ให้เป็นบ้านหลังแรกเพื่อการนมัสการของชาวมุสลิม “แท้จริงบ้านหลักแรกที่ถูกตั้งขึ้นสำหรับมนุษย์ (เพื่อการอิบาดะฮ์) นั้นคือบ้านที่มักกะฮ์”

 

ที่มา : เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ "ฮัจญ์กับสันติภาพของมนุษยชาติ"


เรีบเรียง : ฮุจญตุลอิสลาม ดร. มุฮัมมัดชรีฟ เกตุสมบูรณ์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
อาณาจักรดุอาสะฮัร
อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 14 ...
ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ ...
...
...
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา ...
อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 ...
ดุอาประจำวันที่ 18 ...
ดุอากุเมล คำอ่านพร้อมความหมาย

 
user comment