ไทยแลนด์
Friday 29th of March 2024
0
نفر 0

บทเรียนอัลกุรอานจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ โองการที่ 107 บทอัตเตาบะฮ์

บทเรียนอัลกุรอานจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ โองการที่ 107 บทอัตเตาบะฮ์

บทเรียนอัลกุรอานจากตัฟซีรเนะฮ์มูเนะฮ์ โองการที่ 107 บทอัตเตาบะฮ์

 
 
อัลกุรอานโองการนี้กล่าวถึงเรื่องราวของมัสญิด ฎีรอร และเป้าหมายของพวกกลับกลอกเกี่ยวกับมัสญิดดังกล่าว โดยกล่าวว่า
 
 
وَالَّذِينَ اتَّخَذُوا مَسْجِداً ضِرَاراً وَكُفْراً وَتَفْرِيقاً بَيْنَ الْمُؤْمِنِينَ وَإِرْصَاداً لِمَنْ حَارَبَ اللّهَ وَرَسُولَهُ مِن قَبْلُ وَلَيَحْلِفُنَّ إِنْ أَرَدْنَا إِلَّا الْحُسْنَى وَاللّهُ يَشْهَدُ إِنَّهُمْ لَكَاذِبُونَ
 
 
คำแปล :
 
 
107. (พวกกลับกลอกบางกลุ่มคือ) บรรดาผู้ที่ยึดเอามัสยิดหลังหนึ่งเพื่อก่อให้เกิดความเดือดร้อน (แก่มุสลิม) และปฏิเสธศรัทธาและก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างบรรดาศรัทธาชนด้วยกัน และเป็นแหล่งซ่องสุมสำหรับผู้ก่อนหน้านี้ได้ทำสงครามต่อต้านอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ และแน่นอนพวกเขาจะสาบานว่า "เราไม่มีเจตนาอื่นใดนอกจากที่ดี" แต่อัลลอฮฺทรงยืนยันว่า แท้จริงพวกเขาเป็นพวกกล่าวเท็จอย่างแน่นอน
 
 
สาเหตุแห่งการประทานลงมา :
 
 
เรื่องราวเกี่ยวกับการประทานอัลกุรอานโองการนี้กล่าวว่า ผู้ที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้างมัสยิดฎิรอร เป็นชายชาวมะดีนะฮฺ นามว่า อบูอามิร  เขาเคยเป็นบาทหลวงของคริสเตียน และยังมีสัมพันธ์ติดต่ออยู่กับศาลโรมัน  นอกจากนี้เขายังได้เกี่ยวข้องกับการวางแผนการสงครามอุฮุดอีกด้วย แต่หลังจากนครเมกกะฮฺได้ถูกยึดครองแล้ว เขาได้ไปยังศาลเฮรเกล มหาจักรพรรดิแห่งกรุงโรมเพื่อระดมกองทัพสู้รบกับชาวมุสลิม เขาได้เขียนจดหมายส่งไปถึงบรรดามุนาฟิก (พวกกลับกลอก) ชาวมะดีนะฮฺ  พร้อมกับแจ้งข่าวการเตรียมพร้อมของกองทัพแห่งโรมัน และได้เน้นย้ำให้พวกกลับกลอกชาวมะดีนะฮฺสร้างฐานทัพให้แก่ตนเองด้วย  พวกกลับกลอกจึงได้ตัดสินใจว่าพวกเขาจะสร้างฐานกำลังภายในมัสยิดนั้นเอง,ด้วยเหตุนี้ ก่อนสงครามตะบูกกลุ่มพวกกลับกลอกชาวมะดีนะฮฺ จึงได้เข้าพบท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)  เพื่อขออนุญาตสร้างมัสยิดข้างๆ มัสญิดกุบามี โดยมีข้ออ้างว่าคนผู้ป่วยและคนชราลำบากที่จะเดินทางไปมัสยิด  อีกทั้งพวกเขายังได้แสร้งเชิญท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)  ให้มาเป็นผู้เปิดมัสยิดหลังดังกล่าวด้วยตัวเอง  ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)  ได้ผลัดไว้หลังจากสงครามตะบูก พวกเขาได้ลงมือสร้างมัสยิดก่อน
 
 
หลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กลับจากสงครามตะบูก บรรดาพวกกลับกลอกได้มาพบท่านอีก และก่อนที่ท่านจะเดินทางเข้าสู่มะดีนะฮฺ พวกเขาได้กล่าวเชิญท่านอีกครั้งหนึ่ง ในเวลานั้นเองทูกผู้นำวะฮฺยูได้ลงมาหาท่านศาสดา เพื่อนำเอาโองการข้างต้นและอีกหลายโองการถัดจากนั้นมาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) พร้อมกับแจ้งเจตนาร้ายและความลับของพวกเขาแก่ท่านศาสดา
 
 
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงมีคำสั่งให้เผามัสยิดทิ้ง หลังจากทุกสิ่งพังพินาศสิ้นแล้ว บริเวณแห่งนั้นได้กลายเป็นสถานที่ทิ้งขยะ[1]
 
 
 

 
คำอธิบาย :
 
 
1- โองการก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงผู้กลับกลอกและบรรดาพวกฝ่าฝืนไว้ 4 กลุ่ม กล่าวคือ
 
- กลุ่มอาหรับชนบทเร่ร่อนที่ปฏิเสธศรัทธาอย่างแข็งกร้าวและฝ่าฝืนอย่างรุนแรง
 
- กลุ่มผู้กลับกลอกภายในมะดีนะฮ์
 
- กลุ่มผู้กลับกลอกจากสงครามตะบูก ซึ่งพวกเขาได้กระทำความผิด แต่ได้สารภาพความผิดและสำนึกตัวในภายหลัง พร้อมกับได้บริจาคทานเพื่อเป็นการไถ่ความผิด
 
- กลุ่มพวกกลับกลอกสามคน หรือกุล่มผู้ปฏิเสธศรัทธาซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ทรงเกียรติแห่งอิสลาม เฉกเช่น ท่านฮัมซะฮ์ ต้องได้รับชะฮีด ชะตากรรมของพวกเขาขึ้นอยู่กับพระบัญชาของพระเจ้า
 
ส่วนโองการนี้ได้กล่าวถึงกลุ่มผู้กลับกลอกกลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มที่รับนโยบายของจากพวกยะฮูดี โดยการสร้างฐานทัพมั่นคงในนครมะดีนะฮ์แก่บรรดาศัตรู
 
2- คำว่า «ضِرار»  หมายถึง การก่อให้เกิดความเสียหายโดยตั้งใจ กล่าวคือเป้าหมายของพวกกลับกลอกนั้นขัดแย้งกับคำกล่าวอ้างของพวกเขาเสมอ เนื่องจากการสร้างมัสยิดของพวกเขาไม่ได้เป็นไปเพื่อช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง หรือเพื่อปฏิบัติศาสนกิจแต่อย่างใด ทว่าพวกเขามีเจตนาเพื่อสร้างความเสียหายให้เกิดแก่บรรดามุสลิม หรือถ้าเป็นไปได้ก็จะขุดรากถอนโคนอิสลามให้หมดไปจากประวัติศาสตร์เสียด้วยซ้ำไป
 
3- มัสยิดกุบา และมัสยิดฎิรอร นั้นอยู่ใกล้ๆ กัน พวกกลับกลอกแอบแฝงเจตนาไว้ว่าต้องการแบ่งผู้ศรัทธาออกเป็น 2 กลุ่ม และสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในหมู่พวกเขา ซึ่งจากคำกล่าวของโองการสรุปได้ว่ามุสลิมต้องไม่สร้างมัสยิดติดกัน เพราะเท่ากับเป็นการแบ่งกลุ่มมุสลิมให้เล็กลงไป อันเป็นผลที่ก่อให้เกิดความเสียหายภายนอก และยังเป็นสาเหตุทำให้บรรดามุสลิมปราศจากจิตวิญญาณในการพัฒนาเพื่อสร้างความก้าวหน้าต่อไป
 
4- บรรดาพวกกลับกลอกได้ติดตามเป้าหมายอันชั่วร้ายของตน ด้วยการแสดงพฤติกรรมอันสวยหรูภายนอกอันเป็นการกลบเกลื่อน มิหนำซ้ำยังได้สาบานด้วยว่าพวกเขามีเจตนาดี ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงเน้นย้ำไว้ด้วยคำพูด 4 คำด้วยกัน เพื่อยืนยันถึงการมุสาของพวกเขา
 
- ประการแรกพระองค์ได้เริ่มต้นด้วย ประโยคที่เป็นคำนาม
 
- ประการที่สอง เน้นย้ำด้วยคำว่า อินนะ
 
- ประการที่สาม เน้นย้ำด้วยอักษรลาม (ละกาซิบูน) ซึ่งตามหลักภาษาเรียกว่า ลามอิบติดาอียะฮฺ จะใช้เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญโดยเฉพาะ
 
- ประการที่สี่ คำว่า กาซิบูน แทนที่รูปกริยาที่เป็นอดีตกาล เป็นเหตุผลที่บ่งบอกให้เห็นถึงความต่อเนื่องในการพูดมุสาของพวกเขา
 
ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงได้ปฏิเสธการสาบานโกหกของพวกเขาอย่างแข็งกร้าว และตรัสว่า นั่นเป็นคำมุสาจากพวกเขา และทรงยืนยันให้เห็นถึงการโกหกของพวกเขา พระองค์ไม่ตอบรับคำสาบานนั้น
 
5- จากโองการดังกล่าวเข้าใจได้ว่า เจตคติ ในการกระทำนั้นมีความสำคัญยิ่งใหญ่การกระทำภายนอก ฉะนั้น แม้แต่มัสยิดถ้าสร้างขึ้นโดยมีเจตนาที่จะก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม หรือสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นแล้วละก็ จะไม่มีมรรคผลใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งต้องทำลายทิ้งอีกต่างหาก
 
 
บทเรียนจากโองการ :
 
 
1. บรรดาพวกกลับกลอกได้อาศัยศาสนาทำลายศาสนา (ฉะนั้น ผู้ศรัทธาจะต้องไม่หลงกลหรือปฏิบัติตามทุกเสียงเรียกร้องที่กู่ร้องเรียกมายังพวกเขา)
 
2. บรรดาพวกกลับกลอกได้อาศัยพฤติกรรมที่สวยงามภายนอก หรืออาศัยความสวยงามของศาสนสถาน เช่น มัสยิด เพื่อดำเนินการเผยแพร่ แต่ซ่อนเร้นและติดตามเจตนาที่ชั่วร้ายของตน ฉะนั้น ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
 
3. ต้องระมัดระวังฐานที่ตั้งภายในของศัตรู และตรวจสอบเป้าหมายของพวกเขาให้ถ้วนถี่ เพื่อทำลายแผนการเหล่านั้น
 
4. เอกภาพในหมู่มุสลิมคือ คำจำเป็นเหนือสิ่งอื่นใด ฉะนั้น แม้แต่การสร้างมัสญิดถ้าเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งความแตกแยกในหมู่มุสลิมแล้ว ถือว่ามัสยิดหลังนั้นไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป ต้องทำลายทิ้ง
 
ศาสนสถานในอัลกุรอานและฮะดีซ
 
ตามคำสอนของศาสนาอิสลาม ศาสนสถานสำหรับชาวมุสลิมมีชื่อเรียกว่า มัสยิด ซึ่งบรรดามัสยิดทั้งหลายมีกฎเกณฑ์อันเฉพาะสำหรับตน
 
ก. มัสยิดในอัลกุรอาน
 
1- มัสยิดถูกสร้างขึ้นเพื่อประกอบการนมัสการต่อพระเจ้า (อัลกุรอานบทญิน โองการที่ 18)
 
2- มัสยิดคือ สถานที่ประกอบการนมัสการ และการรำลึกถึงพระเจ้า (อัลกุรอานบทอะอ์รอฟ โองการที่ 29)
 
3- สามารถสร้างมัสยิดบนหลุมฝังศพของบรรดาศาสดาได้ (อัลกุรอานบทอัลกะฮฺฟิ โองการที่ 21)
 
4- บุคคลที่อธรรมที่สุดในหมู่ระชาชนคือ บุคคลที่ขัดขวางไม่ให้มีการเอ่ยนามรำลึกถึงพระเจ้าในมัสยิด (อัลกุรอานบทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 114)
 
5- ความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ และวันแห่งการฟื้นคืนชีพคือปัจจัยสำคัญของการบูรณะมัสยิด (อัลกุรอานบทอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 18)
 
6- การปกปักรักษามัสยิด หรือสถานที่ประกอบการนมัสการของศาสนาอื่น มีสำคัญยิ่งกว่าการทำลายล้าง (อัลกุรอานบทฮัจญ์ โองการที่ 40)
 
 
หมายเหตุ
 
 
1- จงอย่าปฏิบัตินมาซในมัสยิด อันเป็นสถานที่ซึ่งบรรดาพวกกลับกลอกและศัตรูอิสลามได้วางแผนการชั่วร้าย (อัลกุรอานบทอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 8,107)
 
2- ผลบุญในการให้น้ำดื่มแก่บรรดานักแสวงบุญ และผู้ที่บูรณะซ่อมแซมมัสยิดไม่เหมือนกันผลบุญของมวลผู้ศรัทธาที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ (อัลกุรอานบทอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 19)
 
 
ข. มัสยิดในรายงาน
 
 
1- ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า มัสยิดทั้งหลายคือ บ้านสำหรับพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน
2- (บิฮารุลอันวาร เล่ม 83 หน้า 384))
 
2- ท่านอิมามซอดิก (อ.)  กล่าวว่า บุคคลใดสร้างมัสยิด อัลลอฮฺ จะสร้างบ้านในสรวงสวรรค์เตรียมไว้สำหรับเขา (วะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่ม 3 หน้า 485)
 
3-  การสร้างห้องนมาซภายในบ้านได้มีรายงานจาก  ท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า ท่านได้จัดห้องเล็กๆ ภายในบ้านให้เป็นห้องนมาซ  ซึ่งท่านจะนมาซในนั้น และภายในห้องนั้นท่านจะไม่วางสิ่งใดไว้นอกจาก ดาบ พรหมผืนเล็กๆ และอัลกุรอาน (บิฮารุลอันวาร เล่ม 76 หน้า 161)
 
สาวกท่านหนึ่งของท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ท่านอิมาม (อ.) ได้เขียนข้อความส่งให้ฉันว่า ฉันชอบที่จะเห็นท่านสร้างมัสยิดขึ้นภายในบ้านของท่าน (บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 84 หน้า 244)
 
 
ค. มารยาทที่ถึงปฏิบัติต่อมัสยิด
 
1- จงสร้างมัสยิดบนพื้นฐานของความสำรวมตน (อัลกุรอานบทอัตเตาบะฮ์ โองการที่ 108)
 
2- จงอย่าเป็นอุปสรรคกีดขวางผู้อื่นไม่ให้เข้าไปประกอบการนมัสการ หรือกล่าวการรำลึกถึงอัลลอฮฺในนั้น (อัลกุรอาน บทฮัจญ์ โองการที่ 25, บทมาอิดะฮ์ โองการที่ 2, และบทบะกอเราะฮ์ โองการที่ 114)
 
3- จะทำความสะอาดมัสยิดเพื่อการนมาซ (อัลกุรอานบท อัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 125 และฮัจญ์ โองการที่ 26)
 
4- จงให้ความเคารพต่อมัสยิด อย่าทะเลาะวิวาทบริเวณใกล้ๆ หรือในมัสยิด เว้นเสียแต่ว่าถูกบีบบังคับ (อัลกุรอาน บทอัลกอบะเราะฮ์ โองการที่ 191)
 
5- ขณะอยู่ในมัสยิดจงมุ่งมั่นความตั้งใจและเจตนาไปยังพระเจ้า (อัลลอฮ์) เท่านั้น (อัลกุรอานบท อัลอะอ์รอฟ โองการที่ 28)
 
6- อย่าปล่อยให้บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าเข้าใกล้มัสยิดเป็นอันขาด (อัลกุรอาน บทอัตเตาบะฮ์ โองการที่ 28)
 
7- การบูรณะซ่อมแซมมัสยิดเป็นหน้าที่ของบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ซึ่งบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าไม่มีสิทธิ์กระทำสิ่งนี้ (อัลกุรอาน บทอัตเตาบะฮ์ 17-18)
 
8- มีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การบูรณาการมัสยิดหมายถึง การไม่ส่งเสียงดังหรือทำให้เสียงดัง หรือมุ่งมั่นกระทำทำสิ่งที่เป็นโมฆะ ไม่ซื้อขายภายในมัสยิด และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นสิ่งไร้สาระภายในมัสยิด (บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 77 หน้า 85)
 
9- ได้มีรายงานจาก ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า นมาซของบุคคลที่อยู่ใกล้มัสยิดจะไม่ถูกยอมรับ เว้นเสียแต่ว่าได้นมาซในมัสยิด หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น หรือไม่สบาย มีผู้ถามท่านอิมามว่า  เพื่อนบ้านของมัสยิดเป็นใครหรือ
 
ท่านตอบว่า ทุกคนที่ได้ยินเสียงอะซานของผู้ซาน (ผู้ประกาศเวลานมาซ)
(บิฮารุลอันวาร เล่ม 83 หน้า 379)
 
10- มีรายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า จงอย่านำมัสยิดเป็นทางผ่าน หรือเป็นทางเดิน เว้นเสียแต่ว่าท่านได้นมาซ 2 เราะกะอัตในนั้นเสียก่อน (บิฮารุลอันวาร เล่ม 76 หน้า 328)
 
อนึ่ง บางเรื่องราวในโองการที่เกี่ยวข้องกับมัสยิด อัลฮะรอม ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนั้นครอบคลุมเหนือมัสยิดอื่นด้วยเช่นกัน
 
 
ง. มัสยิดกับความยิ่งใหญ่
 
1.มัสยิดอัลฮะรอม คือกิบละฮฺสำหรับมวลมุสลิมทั้งหลาย (อัลกุรอานบทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการ 144, 149,150)
 
2. มัสยิด อัลฮะรอมคือสถานที่ขึ้นมิอ์รอจญ์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) (อัลกุรอานบทอัลอิสรอ โองการที่ 1)
 
3. มัสยิด อัลอักซอถือว่าเป็นเป้าหมายในการขึ้นมิอ์รอจญ์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) บริเวณรอบๆ นั้นมีความจำเริญด้วย  (อัลกุรอาน บทอัลอิสรอ โองการที่ 1)
 
4. รายงานได้กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของมัสยิดกูฟะฮ์ มัสยิดซะฮ์ละฮ์
 
(มีซานุลฮิกมะฮ์ เล่ม 4 หน้า 398)
 
อ้างอิง
 
[1] มัจญ์มะอุลบะยาน ตัฟซีร อบุลฟุตูฮ์ รอซีย์ ตัฟซีรอัลมินาร ตัฟซีรอัลมีซาน ตัฟซีรนูรอัซซะเกาะลัยน์ และหนังสือเล่มอื่นๆ บิฮารุลอันวาร เล่ม 21 หน้า 252 หมวดที่ 30 เรื่องราวเกี่ยวกับอบี อามิร อัรรอฮิบ วะ มัสยิดฎิรอร ฯลฯ หน้า 253,255,263
 

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ดุอาประจำวันที่ 17 ...
...
เป้าหมายของการถือศีลอด ...
ค่ำคืนที่ประเสริฐกว่า 1000 เดือน
...
เตาฮีด ...
วิธีการรู้จักอิมาม
...
ความเชื่อต่ออิมามมะฮ์ดี (อ)คือ ...

 
user comment