ไทยแลนด์
Tuesday 19th of March 2024
0
نفر 0

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 11 เดือนรอมฎอน

อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 11 เดือนรอมฎอน


อรรถาธิบายดุอาอ์ ประจำวันที่ 11 เดือนรอมฎอน

 

 

بسم الله الرحمن الرحيم

اللهمّ حَبّبْ الیّ فیهِ الإحْسانَ

وکَرّهْ الیّ فیهِ الفُسوقَ والعِصْیانَ

وحَرّمْ علیّ فیهِ السّخَطَ والنّیرانَ

بِعَوْنِكَ یا غیاثَ المُسْتغیثین

 
ความหมาย :

 

โอ้อัลลอฮ์ โปรดทำให้ข้าฯรักในสิ่งที่ดีงาม และเกลียดชังในการทำบาปและการฝ่าฝืน

โปรดทำให้ความกริ้วและไฟนรกเป็นสิ่งต้องห้ามแก่ข้าฯ

ด้วยความช่วยเหลือของพระองค์

โอ้ผู้ทรงให้การช่วยเหลือแก่ผู้ขอความช่วยเหลือทั้งหลาย

 

 
คำอธิบาย :

 

ประโยคแรก

 

اللَّهُمَّ حَبِّبْ إِلَیَّ فِیهِ الْإِحْسَانَ

 

ความว่า  โอ้อัลลอฮ์  โปรดทำให้ฉันรักในการทำสิ่งที่ดีงาม และเกลียดชัดในสิ่งที่ชั่วร้าย และทำให้ฉันรักในการทำอิบาดะห์และสิ่งดีงามทั้งหลาย

 

ดุอาอ์บทนี้ได้ตระหนักให้เรานั้นมีความสุขในการทำสิ่งที่ดีงาม  และหากจะทำในสิ่งที่ดีก็จงปฏิบัติอย่าให้คนอื่นได้รู้และเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดยังพระองค์

 

จงใช้ชีวิตด้วยการไม่ดูถูกและหมิ่นเกียรติคนอื่น อย่าได้แสดงความโอ้อวดในการทำความดี  มิฉะนั้นแล้วในวันกิยามัตก็จะไม่มีผลตอบแทนใดๆสำหรับเรา

 
จงบริจาคในสิ่งที่ดีและสิ่งที่มีค่า

 

ในการบริจาคต้องให้สิ่งของที่ดี หากมีความสามารถก็จงบริจาคในสิ่งของที่มีราคาและมีค่า

 

สิ่งที่ดีที่สุดในการบริจาคคือการบริจาคให้กับญาติพี่น้องที่ยากจนและขัดสน ซึ่งบางคนมักจะไม่บริจาคให้กับญาติพี่น้องของตน

 
ประเภทของการทำความดีงาม

 

ประเภทที่หนึ่ง : ทำความดีงามเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดยังพระองค์

 

ประเภทที่สอง : ทำความดีเพื่อโอ้อวดและเรียกร้องความสนใจ

 

การทำความดีงามเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดยังพระองค์

 

หากมนุษย์ทำในสิ่งที่ดีและมุ่งหวังในการแสวงหาความใกล้ชิดและความพึงพอพระทัยของอัลลอฮ์  เมื่อนั้นสามารถกล่าวได้ว่าการทำสิ่งที่ดีนั้นเป็นการทำดีเพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยจากพระองค์อย่างแท้จริง

 
การอินฟาก(การบริจาค) เป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำความดี(อิห์ซาน)

 

อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า

 

وَ أَنْفِقُوا فِي سَبِیلِ اللَّهِ وَ لا تُلْقُوا بِأَیْدِیکُمْ إِلَى التَّهْلُکَةِ وَ

 أَحْسِنُوا إِنَّ اللَّهَ یُحِبُّ الْمحْسِنِینَ

 

ความว่า และพวกเจ้าจงบริจาคในทางของอัลลอฮ์และจงอย่าโยนตัวของพวกเจ้าสู่ความพินาศ และจงทำดีเถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงชอบผู้กระทำดีทั้งหลาย

 

โองการนี้บ่งชี้ว่า การอินฟากเป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำความดีที่สามารถช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจากสิ่งชั่วร้าย  และเมื่อการอินฟากที่เกิดขึ้นในรูปแบบของการทำความดี ตามโองการที่กล่าวว่า

 

 

 وَمَثَلُ الَّذِینَ یُنفِقُونَ أَمْوَالَهُمُ ابْتِغَاء مَرْضَاتِ اللّهِ

 

ความว่า และอุปมาบรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์ของพวกเขา เพื่อแสวงหาความพึงใจของอัลลอฮ์

 

อัลลอฮ์(ซ.บ)ก็จะทรงกล่าวถึงผลของการทำความดีว่า

 

بَلی مَن أسلَمَ وَجهَهُ لِلّهِ وَ هُوَ مُحسِنٌ فَلَهُ أجرُهُ عِندَ رَبِّهِ وَ

 لاخَوفٌ عَلَیهِم وَ لا هُم یَحزَنونَ

 

ความว่า หาใช่เช่นนั้นไม่ ผู้ใดที่มอบใบหน้าของเขา ให้แก่อัลลอฮ์ และขณะเดียวกัน เขาก็เป็นผู้กระทำความดีแล้วไซร้ เขาจะได้รับรางวัลของเขา ณ ที่พระเจ้าของเขา และไม่มีความกลัวใด ๆ แก่พวกเขา และทั้งพวกเขาก็จะไม่เสียใจ

 

 
การทำดีเพื่อโอ้อวดและเรียกร้องความสนใจ

 

แม้นว่าในรูปแบบภายนอกมนุษย์ได้ทำความดีด้วยการแสดงออกมาว่าทำความดีเพื่อพระองค์ แต่เป้าหมายลึกๆเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง การกระทำเช่นนี้

 

ประการแรก ถือว่าเขาได้ตั้งภาคีต่อพระองค์ในการทำความดี

 

 ประการที่สอง เป็นการโอ้อวด และจะไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆจากพระองค์  เนื่องจากว่าบุคคลประเภทนี้เสมือนเป็นสหายของชัยฏอน

 

 ดั่งอัลกุรอานกล่าวว่า

 

وَالَّذِینَ یُنفِقُونَ أَمْوَالَهُمْ رِئَـاء النَّاسِ وَلاَ یُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَلاَ

 بِالْیَوْمِ الآخِرِ وَمَن یَکُنِ الشَّیْطَانُ لَهُ قَرِینًا فَسَاء قِرِینًا

 

ความว่า  และบรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์ของพวกเขา เพื่อโอ้อวดผู้คน และทั้งพวกเขาก็ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และไม่ศรัทธาต่อวันปรโลกนั้น(แน่นอนพวกเขาจะอยู่ในนรกตลอดกาล) และผู้ใดที่มีชัยฏอนเป็นเพื่อนของเขาแล้ว มันก็เป็นเพื่อนที่เลว

 

ความหมายของคำว่า

 

حبب الی فیه الاحسان

 

อัลกุรอานกล่าวว่า

 

إنَّ اللهَ یُحِبُ المُحسنین

 

ความว่า แท้จริงแล้วอัลลอฮ์ทรงรักผู้ทำความดี

 

เมื่อพิจารณาโองการข้างต้นแล้ว  เมื่อมนุษย์ต้องการให้เขาเป็นที่รักของอัลลอฮ์(ซบ) ก็ได้ขอพระองค์ให้เขาเป็นผู้ที่รักในการทำความดี และในวันนี้เราจึงขอดุอาอ์ให้เราเป็นผู้หนึ่งที่มีความรักในการทำความดีในหนทางแห่งความพึงพอพระทัยของพระองค์....

 

ประโยคถัดมา

 

 وَ کَرِّهْ إِلَیَّ فِیهِ الْفُسُوقَ وَ الْعِصْیَانَ

 

ความว่า โอ้ อัลลอฮ์ โปรดทำให้ข้าฯ เกลียดชังและห่างจากฟิสก์(ความชั่วร้าย การฝ่าฝืน)และการทำความผิดบาป

 
“ความหมายของคำว่า อิศยาน และ “ฟาซิก”

 

หมายถึงการที่มนุษย์ได้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์  และหากเขายังคงจมปลักในการทำความผิดบาปและฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์แล้ว เขาจะถูกเรียกว่า คนฟาซิก  เพราะเขาหมกหมุ่นอยู่กับการทำความผิดอยู่ตลอดเวลา

 

ผลของการห่างไกลจากฟาซิก

 

อัลกุรอานกล่าวว่า

 

    وَ کَرَّهَ إِلَیْکُمُ الْکُفْرَ وَ الْفُسُوقَ وَ الْعِصْیانَ أُولئِك هُمُ الرَّاشِدُون

 

ความว่า แต่ อัลลอฮ์ทรงให้การศรัทธาเป็นที่รักแก่พวกเจ้า และทรงให้การปฏิเสธศรัทธา และความชั่วช้าและการฝ่าฝืนเป็นที่น่าเกลียดชังแก่พวกเจ้า ชนเหล่านั้นคือพวกที่ดำเนินอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง

 

ประโยคถัดมา

 

 

وَ حَرِّمْ عَلَیَّ فِیهِ السَّخَطَ وَ النِّیرَانَ

 

ความว่า โอ้อัลลอฮ์ โปรดทำให้คามกริ้วและไฟนรกเป็นสิ่งที่ต้องห้ามสำหรับข้าฯ ด้วยเถิด

 
การกลัวบทลงโทษจากพระองค์

 

อัลลอฮ์(ซ.บ)กล่าวว่า

 

واتقوا الله و اعلموا ان الله شدید العقاب

 

ความว่า จงกลัวอัลลอฮ์ และพึงรู้ว่าแท้จริงแล้วอะซาบและบทลงโทษของพระองค์นั้นรุนแรงและเจ็บปวดยิ่ง

 

ซึ่งบทลงโทษของพระองค์นั้นจะเกิดกับบรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ อีกทั้งไม่ทำการขอบคุณเนียะอ์มัตของพระองค์ เนรคุณต่อพระองค์และพระองค์ไม่พึงพอพระทัยต่อพวกเขา

 

อัลกุรอานได้กล่าวถึงสาเหตุของการลง “อะซาบ” ว่า

 

 مَّا یَفْعَلُ اللّهُ بِعَذَابِکُمْ إِن شَکَرْتُمْ وَآمَنتُمْ وَکَانَ اللّهُ شَاکِرًاعَلِیمًا

 

ความว่า อัลลอฮ์ทำการลงโทษพวกเจ้าทำไม หากพวกเจ้ากตัญญู และศรัทธา และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงขอบใจและทรงรอบรู้

 

ดังนั้นจากโองการดังกล่าว บ่งชี้ว่าบุคคลที่รอดพ้นจากบทลงโทษของพระองค์คือบุคคลที่มีตักวาและห่างไกลจากการฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์

 

ประโยคถัดมา

 

بِعَوْنِك

 

ความว่า ด้วยความช่วยเหลือของพระองค์

 

หมายความว่า โอ้อัลลอฮ์  ข้าฯวิงวอนขอดุอาอ์นี้จากพระองค์  และหากพระองค์ไม่ทรงช่วยเหลือข้าฯ  ข้าฯก็ไม่สามารถที่จะเพิ่มพูนคุณลักษณะแห่งความดีงามนี้ได้ และหากปราศจากการช่วยเหลือของพระองค์แล้ว ข้าฯก็ไม่อาจบรรลุถึงเป้าหมายได้อย่างแน่นอน

 

ในริวายะห์ รายงานว่า หากบ่าวของพระองค์ เข้าหาพระองค์หนึ่งก้าว  พระองค์ก็จะทรงเข้ามาหาเขาหนึ่งก้าว

 

 ด้วยเหตุนี้ อย่าได้สิ้นหวัง แต่ทั้งนี้เราต้องเริ่มก้าวเขาหาพระองค์ก่อน เพื่อพระองค์จะได้ช่วยเหลือเรา

 

ประโยคสุดท้าย

 

یَا غِیَاثَ الْمُسْتَغِیثِین

 

ความว่า โอ้ผู้ทรงให้การช่วยเหลือแก่ผู้ขอความช่วยเหลือทั้งหลาย

 

โอ้พระองค์ โปรดให้การคุ้มครองแก่บุคคลที่ขอความคุ้มครองต่อพระองค์

 

ยาอัลลอฮ์  ขอให้ทุกๆการวิงวอนของเราในเดือนนี้ถูกตอบรับด้วยเถิด

 ขอให้เราเป็นผู้ที่รักในการทำอิบาดะห์และทำความดีด้วยเถิด

อามีน ยาร็อบบัล อาละมีน

 

บทความโดย เชคอิบรอฮิม อาแว

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
ดุอาประจำวันที่ 26 ...
ประเภทของเตาฮีด
ความจำเป็นในการแสวงหาศาสนา
การชำระตนจากบาปด้วยการอิบาดะฮ์
บทซิยาเราะฮ์ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ...
บทกลอนแด่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
...
5 สิ่งที่จะทำให้หัวใจเกิดรัศมี”
ท่านอนที่ดีที่สุดในอิสลาม

 
user comment