ไทยแลนด์
Thursday 25th of April 2024
0
نفر 0

มองเรื่อง “ข่าวลือ” ผ่านอัลกุรอาน

มองเรื่อง “ข่าวลือ” ผ่านอัลกุรอาน

มองเรื่อง “ข่าวลือ” ผ่านอัลกุรอาน


ลองนึกถึง "ข่าวลือ"สักเรื่องที่เกี่ยวกับตัวคุณ ผู้คนรอบข้างและสังคมของคุณและคุณรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องจริงเลย และดูเหมือนว่า บางครั้งหลายๆคน  กลับเชื่อข่าวลือ มากกว่าความจริง ข่าวลือพวกนี้ มันคืออะไร มันทำงานอย่างไร มีจุดประสงค์เพื่ออะไร และเราควรรับมือกับมันอย่างไร ลองมาดูคำอธิบายในบทความนี้กัน


ยุคสมัยปัจจุบันเป็นยุคที่ข้อมูลจำนวนมหาศาล ไหล่บ่ามาสู่สังคมของเราทุกวี่วัน เราถูกเลือกให้รับรู้หรือเลือกที่จะรับรู้ในบางข้อมูล จำนวนที่มากของมันทำให้เราไม่สามารถรู้ได้ทั้งหมด  แต่สิ่งที่แฝงมากับข้อมูลเหล่า นี้ บางครั้งมันก็เป็น “ข่าวลือ” บางทีมันก็เป็น “ข่าวลวง” การเชื่อในเรื่องเหล่านี้ส่งผลร้ายมากกว่าที่เราคิด จนบางครั้งผลของมันนำมาสู่การตัดสินชีวิตของผู้คน จึงขอสะท้อน “ข่าวลือ”ในทัศนะของอัลกุรอาน

 

ก่อนอื่น ต้องมานิยามกันก่อนว่า “ข่าวลือ” หมายถึงอะไร ?

 

ข่าวลือ หมายถึง  “ข่าวเฉพาะที่ถูกเสนอให้คนกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เชื่อโดยการเผยแพร่จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจริงหรือเท็จก็ตาม”

ในอัลกุรอาน คุณจะเห็นว่า เหยื่อของข่าวลือ มักเป็นบรรดาศาสดา ผู้ทรงธรรมและคนดีเสมอ ซึ่งในบางกรณี ข่าวลือถูกสร้างจากศัตรู และบางกรณี ข่าวลือก็เกิดจากความเข้าใจผิดของมิตรที่โง่เขลา  จนบางครั้งมีปัญหาต่างๆ มากมายเกิดขึ้นกับศาสดา ความรวดเร็วของข่าวลือถูกกระจาย เหมือนไฟลามป่า คุณจะสังเกตเห็นว่า ตั้งแต่ช่วงแรกของการเผยแพร่ของแต่ละศาสดา มักจะมีกลุ่มหนึ่งปรากฏตัวขึ้น และสร้างข่าวหรือให้ร้ายพวกเขาว่าเป็นคนบ้าบ้าง เป็นคนบ้าอำนาจบ้าง เป็นคนหลงผิดบ้าง เป็นคนเล่นไสยศาสตร์บ้าง ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน

ศาสดานุฮ์ (อ) ถูกกล่าวหาว่า “บรรดาชนชั้นนำในหมู่ประชาชนของเขาได้กล่าวว่า
 แท้จริงเราเห็นท่านอยู่ในความหลงผิดอันชัดแจ้ง” [อะอ์รอฟ :60]


นุฮ(อ)ถูกพิพากษาให้เป็นคนหลงทางเป็นคนหลงผิด โดยชนชั้นนำ นับตั้งแต่วันแรก เช่นเดียวกัน ท่านยังถูก กล่าวหาอีกว่า แล้วหัวหน้าของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในหมู่ชนของเขาได้กล่าวขึ้นว่า “เขาผู้ที่มิใช่ใครอื่น นอกจากเป็นปุถุชนคนธรรมดา เช่นเดียวกับพวกท่านเพียงแต่เขาต้องการที่จะทำตัวให้ดีเด่นเหนือพวกท่าน และหากอัลลอฮ์ทรงประสงค์แล้ว แน่นอนพระองค์จะทรงส่งมะลาอิกะฮ์ลงมา เราไม่เคยได้ยินคำพูดเช่นนี้ ในสมัยบรรพบุรุษของเรา แต่กาลก่อนเลย เขามิได้เป็นอะไรนอกจากเป็นคนบ้า ดังนั้น พวกท่านจงอดทนคอยเขาสักระยะเวลาหนึ่ง [มุอมินูน : 24-25]


2 โองการนี้เสนอให้เห็นว่าในยุคนั้น ศาสดาท่านนี้ถูกทำให้เป็นข่าวในฐานะของคนบ้า คนอยากเด่นอยากดี คนที่ไม่มีอะไร นับเป็นการให้ร้ายที่รุนแรงในแบบทำลาย “สถานะของเหยื่อ”

 

ในตัวอย่างที่ 2 ลองดูเรื่องราวของ ชนชาติศาสดาฮูด(อ) พวกเขาได้เผยแพร่แนวคิดที่ว่า ศาสดาท่านนี้ คือคนโง่เขลาเบาปัญญา คือคนโกหกหลอกลวง ดังที่อัลกุรอานได้ระบุไว้ว่า “บรรดาชนชั้นนำที่ปฏิเสธการศรัทธาในหมู่ประชาชาติของเขาได้กล่าวว่า แท้จริงเรา เห็นท่านอยู่ในความโฉดเขลา และแท้จริงพวกเราแน่ใจว่าท่านนั้นเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้มุสา”

 

เช่นเดียวกัน มูซา ถูกเสนอภาพลักษณ์ให้สังคมในนามของ คุณไสย พ่อมด หมอผี คนโกหก และคนบ้า ดังที่อัลกุอ่านระบุดังนั้น เมื่อมูซาได้มาหาพวกเขาพร้อมด้วยสัญญาณทั้งหลายอันชัดแจ้งของเรา พวกเขากล่าวว่า “มันมิใช่อะไรอื่น นอกจากเวทมนตร์ที่ถูกกุขึ้น และเราไม่เคยได้ยินข้อกล่าวอ้างเช่นนี้ในสมัยบรรพบุรุษของเราแต่กาลก่อนเลย”[กิศอศ:36]  และ ตัวอย่าง อื่นๆ ใน ซูเราะฮ อิสรออ์:101 นัมล์:13 ซาริยาต :39  ตัวอย่างที่สาม ศาสดาชุอัยบ์(อ) ถูกหาว่า เป็นคนโกหก  คนเล่นของในซูเราะฮฺ ชุอารออฺ 185-186

 

ในยุคต้นประวัติศาสตร์อิสลาม ปัญหาเรื่องข่าวลือ ก็เป็นเรื่องยุ่งยาก และสร้างความเดือดร้อนให้กับศาสดาและบรรดามุสลิมเช่นเดียวกัน สังคมอิสลามบางส่วนในยุคนั้น ต้องเผชิญกับวิกฤต สองแง่สองง่าม ลังเล สงสัย  และความอ่อนแอ อาจจะพูดได้ว่ายุคของศาสดามูฮัมหมัด(ศ) เป็นยุคที่มีข่าวลือเกิดขึ้นมากที่สุด ในแต่ละยุคสมัยของศาสดาก็ว่าได้ เพราะทุกอย่างที่ศาสดาองค์ก่อน ก่อนถูกหาว่าไม่ดี มันถูกนำมารวมกันแล้วโยนให้กับศาสดาของอิสลาม  อัลกุรอาน หยิบเหตุการณ์นี้มาเป็นตัวอย่างว่า “เช่นนั้นแหละ ไม่มีรอซูลคนใดมายังบรรดา (หมู่ชน) ก่อนหน้าพวกเขา เว้นแต่พวกเขากล่าวว่าเป็นนักเล่นกลหรือคนบ้า [ซาริยาต : 53]

 

ข่าวลือในยุคสมัยของศาสดามูฮัมมัด ที่ถูกบันทึกไว้ในอัลกุรอาน มีดังนี้

 

-การสร้างข่าวลือว่า ศาสดา (ศ) เป็น คุณไสย และ นักกวี [อัมบียา :5 และซอฟฟาต : 36

-การสร้างข่าวลือว่าทรยศ หลังจากนั้นโองการ 161 อาลิอิมรอน จึงถูกประทานลงมา

-การสร้างข่าวลือว่า ท่านไม่ยุติธรรม เรื่องนี้ถูกเอ่ยถึงใน ซูเราะฮ์ เตาบะฮ์ : 58

-การสร้างข่าวลือว่า ท่านเป็นคนเชื่อคนง่าย [เตาบะ :61]

-การสร้างข่าวลือว่า ศาสดา เสียชีวิต เพื่อให้ทหารเสียขวัญ ในสงครามอุฮูด เรื่องนี้ระบุในบท อาลิอิมรอน 144-146

-การสร้างข่าวลือว่า กองทัพอิสลามแพ้ศึกในสงครามตะบู๊ก [เตาบะ 38 ]

ผู้สร้างข่าวลวงและข่าวลือ มักจะจัดอยู่ในกลุ่มจำพวกศัตรู คนกลับกรอก คู่แข่ง หรือบางครั้งก็เป็นคนโง่ สมอ และผู้เผยแพร่ข่าวลือ มักจะเป็นศัตรู คนโง่ คนสองหัวใจ คนเชื่อคนง่ายเสมอ

 

ข่าวลือเหล่านี้ ประกอบไปด้วย 4 สายจึงจะดีดให้ดังได้ คือ
-การสร้างเรื่อง
-การสร้างอารมณ์
-การสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
– การทำลายความสงบ

 

ถ้ามีข่าวอะไร และมีสาย 1 สายใดหรือครบทั้ง 4 สายในเรื่องข่าวนั้น มีคนเดือดร้อน มีเรื่องที่ยังไม่แน่นอนว่าจริงหรือเท็จ ความสงบมันหายไป ความรุนแรงเข้ามาแทนที่ ก็ให้สงสัย ไว้ก่อนได้เลยว่า นี่อาจจะเป็นข่าวลือ หรือมีแนวโน้มว่าจะเป็นข่าวลือ

 

ส่วนเป้าหมายของข่าวลือ  ผมขอสรุปไว้ดังนี้
– ทำลายภาพลักษณ์ของเหยื่อ
– กลั่นแกล้งรังแกบุคคล สร้างความเสียหายเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
-กระตุ้นและยั่วยุให้เกิดความรุนแรง
-สร้างความแตกแยกและการแบ่งพรรคแบ่งพวก
-สร้างมุมมองในแง่ร้าย
-ทำลายขวัญและจิตวิญญาณของกลุ่มเป้าหมาย
-แสวงหาผลประโยชน์จากการเผยแพร่ข่าวลือ

 

ส่วนปัจจัยที่ทำให้คนเชื่อข่าวลิอ ผมสรุปไว้ใน 5 ข้อด้วยกันคือ
1 ใช้ความเกลียด และความรักของผู้บริโภคข่าว
2 มีการผสมกันระหว่างเรื่องที่เป็นข่าวลือกับเรื่องจริงอยู่
3 การเชื่อคนง่ายของผู้บริโภคข่าว
4 การคาดคะเนถึงความถูกต้องของข่าวลือ ขาดความรู้และไม่สามารถเข้าถึงข้อเท็จจริงของข่าวลือนั้น
5 การมองโลกในแง่ร้าย

 

วิธีการรับมือ กับข่าวลือ ตามที่ พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้แนะนำ

 

(يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنْ جَاءَكُمْ فَاسِقٌ بِنَبَإٍ فَتَبَيَّنُوا أَنْ تُصِيبُوا قَوْمًا بِجَهَالَةٍ فَتُصْبِحُوا عَلَىٰ مَا فَعَلْتُمْ نَادِمِينَ)
 

“โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย ! หากคนชั่วนำข่าวใดๆ มาแจ้งแก่พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัด หาไม่แล้วพวกเจ้าก็จะก่อเคราะห์กรรมแก่พวกหนึ่งโดยไม่รู้ตัว แล้วพวกเจ้าจะกลายเป็นผู้เสียใจในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไป” [ฮุตญุรอต:6]

 

-โองการได้ตั้งข้อสังเกตว่า การจะพิจารณาว่า อะไรคือเรื่องจริงอะไรคือเรื่องเท็จ ให้ดูว่าคนพูดคือคนที่ยุติธรรมหรือเป็นพวกกดขี่ เป็นพวกละเมิดฝ่าฝืน ? ถ้าเรายังหาไม่ได้ว่าใครเป็นผู้พูดและผู้พูดมีสถานะ ความซื่อสัตย์อย่างไร ก็ควรชั่งไว้ในใจก่อน

 

– หากผู้พูดเป็นคนละเมิด คนผิด คนเลว ก็ให้ตรวจสอบเสียก่อน ว่าเรื่องที่คนไม่ดีคนนี้พูดมีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหน

-ตะบัยยุนในโองการ หมายถึงการแยก หรือการทำให้สว่างหรือการตรวจสอบ ข้อเท็จจริง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แบบที่ไม่มีความสงสัย แคลงใจใดๆหลงเหลืออีก

-โองการยังได้ให้หลักการกับเรา ว่า จะต้องไม่ยอมรับข่าวใดๆจากบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ ตราบใดที่มันยังไม่กระจ่างชัด จะต้องไม่ยอมจำนนให้ข่าวลือหรือตกเป็นเหยื่อและเครื่องมือ แต่จะต้องทำการสืบค้นหาความจริง และคนฉลาด จะต้อง รับข่าวสารจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือเท่านั้น หากนำหลักการนี้ไปยึดถือ ในเรื่องของการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง และเรื่องราวต่างๆรอบตัวเรา โรค”หูเบา” ก็จะรักษาให้หายขาดได้

 

บทลงโทษที่พระองค์คาดไว้กับ นักสร้างข่าวลือทั้งหลาย คือ

 

(لَئِنْ لَمْ يَنْتَهِ الْمُنَافِقُونَ وَالَّذِينَ فِي قُلُوبِهِمْ مَرَضٌ وَالْمُرْجِفُونَ فِي الْمَدِينَةِ لَنُغْرِيَنَّكَ بِهِمْ ثُمَّ لَا يُجَاوِرُونَكَ فِيهَا إِلَّا قَلِيلًا)

 

“แน่นอน ถ้าพวกผู้กลับกรอกและบรรดาผู้ที่ในหัวใจของพวกเขาป่วย และกลุ่มผู้ก่อกวนความสงบในนครมะดีนะฮฺไม่ระงับ (การกระทำที่เลวทรามของพวกเขา) แน่นอนยิ่ง เราจะให้เจ้ามีอำนาจเหนือพวกเขา แล้วพวกเขาจะไม่กลับมาพำนักเป็นเพื่อนบ้านของเจ้าในนั้นอีกเว้นแต่เพียงชั่วเวลาอันเล็กน้อยเท่านั้น” [อะฮ์ซาบ : 60]

 

การบริโภคข่าวสาร จะต้องเป็นไปอย่างชาญฉลาดมีไหวพริบ ไม่หลงเชื่อใครง่ายๆ แล้วตรวจสอบอย่างแน่นอนถ้า เรากล่าวหาว่าคนคนหนึ่งเลว ทั้งๆที่ฟังผู้คนเขาพูดกันมาโดยที่ยังไม่มีข้อเท็จจริงใดๆ แล้วมาพบในภายหลังว่า ผู้ที่เรากล่าวหานั้นไม่ได้เป็นอย่างที่เขาลือกันจริงๆ เราเองนี่แหละที่เป็นคนอธรรม ในทางตรงข้าม หากเราไม่เชื่อข่าวลือง่ายๆ และรับรู้แต่สิ่งที่ยืนยันถึงข้อเท็จจริงได้เท่านั้น เราจะปลอดภัยจากการทำร้ายผู้อื่นและทำร้ายหัวใจตัวเอง

 

บทความโดย Muhammad Behesti


ที่มา เอบีนิวส์ทูเดย์

0
0% (نفر 0)
 
نظر شما در مورد این مطلب ؟
 
امتیاز شما به این مطلب ؟
اشتراک گذاری در شبکه های اجتماعی:

latest article

...
...
ฟาฏิมะฮฺ(อ.) กับสถานภาพอันสูงส่ง
กุรอาน ฆอดีรคุม อิมามอะลี (อ.) ...
สิทธิ ของหู ดวงตาและเท้า
ท่านอะบูฏอลิบ คือ ใคร
ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ...
“มุบาฮะละฮ์” ในประวัติศาสตร์
จากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์ ...
มะอาด : ...

 
user comment